การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2551
| |||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ใช้สิทธิ | 61.6% (มีสิทธิเลือกตั้ง) [1] | ||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
| |||||||||||||||||||||||||||||
ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา สีน้ำเงิน แสดงถึงรัฐหรือเขตที่โอบามา/ไบเดนชนะ สีแดง แสดงถึงรัฐหรือเขตที่แมคเคน/แพลินชนะ ตัวเลขหมายถึงจำนวนคะแนนเสียงของคณะผู้เลือกตั้งซึ่งจะเป็นของผู้ชนะในเขตนั้น | |||||||||||||||||||||||||||||
|
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2551 เป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีทุกสี่ปีครั้งที่ 56 และมีขึ้นในวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 บารัก โอบามา สมาชิกวุฒิสภาจากรัฐอิลลินอย และโจ ไบเดน สมาชิกวุฒิสภาจากรัฐเดลาแวร์ ผู้สมัครจากพรรคเดโมแครต เอาชนะจอห์น แมคเคน สมาชิกวุฒิสภาจากรัฐแอริโซนา และแซราห์ เพลิน ผู้ว่ารัฐอะแลสกาไปได้ โอบามาเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาคนแรกที่ถูกเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี และเป็นสมาชิกวุฒิสภาที่กำลังดำรงตำแหน่งอยู่คนที่สามที่ถูกเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี (สองคนแรกคือวาร์เรน จี. ฮาร์ดิง และจอห์น เอฟ. เคนเนดี) ในขณะเดียวกัน นี่เป็นเพียงครั้งที่สองที่ผู้สมัครซึ่งประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภาทั้งสองคนชนะการเลือกตั้ง (ครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 2503) และเป็นการเลือกตั้งเพียงครั้งเดียวที่แคนดิเดตประธานาธิบดีของทั้งสองพรรคใหญ่กำลังดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา นี่เป็นการเลือกตั้งครั้งแรกตั้งแต่ปี 2495 ที่ประธานาธิบดีหรือรองประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งอยู่ไม่ลงเลือกตั้ง
ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ดำรงตำแหน่งครบวาระและไม่สามารถลงเลือกตั้งสมัยที่สามได้เนื่องจากข้อจำกัดวาระที่กำหนดโดยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญครั้งที่ 22 แมคเคนชนะการเลือกตั้งไพรมารี่พรรครีพับลิกันในเดือนมีนาคม 2551 โดยเอาชนะอดีตผู้ว่ารัฐอย่างมิตต์ รอมนีย์ ไมค์ ฮัคบี และผู้ท้าชิงคนอื่น ๆ การเลือกตั้งไพรมารี่พรรคเดโมแครตมีการแข่งขันอย่างดุเดือดระหว่างโอบามากับตัวเต็งในช่วงแรกอย่างสมาชิกวุฒิสภาฮิลลารี คลินตัน รวมถึงผู้ท้าชิงคนอื่นที่ออกจากการแข่งขันก่อนการเลือกตั้งไพรมารี่เริ่มต้น ซึ่งรวมถึงสมาชิกวุฒิสภาอย่างจอห์น เอ็ดเวิร์ด และโจ ไบเดนที่กลายมาเป็นแคนดิเดตรองประธานาธิบดีคู่กับโอบามา ชัยชนะของคลินตันในการแข่งขันไพรมารี่ในรัฐนิวแฮมป์เชอร์เป็นครั้งแรกที่ผู้หญิงชนะไพรมารี่ในพรรคใหญ่ หลังจากการแข่งขันที่ยาวนาน โอบามาชนะการเลือกตั้งไพรมารี่พรรคเดโมแครตในเดือนมิถุนายน 2551 นี่เป็นการเลือกตั้งครั้งแรกตั้งแต่ปี 2495 ที่ประธานาธิบดีหรือรองประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งอยู่ไม่ได้ถูกเสนอชื่อให้เป็นแคนดิเดต
การหาเสียงช่วงแรกเน้นไปที่สงครามอิรักและความนิยมที่ต่ำมากของบุช แมคเคนสนับสนุนสงครามอิรัก รวมถึงการเพิ่มจำนวนทหารซึ่งเริ่มต้นในปี 2550 ในขณะที่โอบามามีจุดยืนต่อต้านสงครามอิรัก บุชสนับสนุน (endorse) แมคเคน แต่ทั้งสองคนไม่ได้หาเสียงด้วยกัน และบุชไม่ได้ปรากฏตัวต่อหน้าฝูงชน (แต่ปรากฏตัวผ่านทางดาวเทียม) ที่การประชุมพรรครีพับลิกันระดับชาติปี 2551 โอบามาหาเสียงในธีม "วอชิงตันต้องเปลี่ยน" ขณะที่แมคเคนเน้นย้ำถึงประสบการณ์ของเขา การหาเสียงช่วงหลังได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์การเงิน พ.ศ. 2550–2551 ซึ่งหนักสุดในเดือนกันยายน 2551 การตัดสินใจหยุดหาเสียงของแมคเคนในช่วงพีคของวิกฤตส่งผลตรงกันข้ามกับที่ตั้งใจเอาไว้เนื่องจากโหวตเตอร์มองว่าเป็นการตัดสินใจที่แปลกประหลาด
โอบามาชนะแมคเคนอย่างถล่มทลายทั้งคะแนนคณะผู้เลือกตั้งและคะแนนมหาชน รวมถึงรัฐที่ไม่ได้โหวตให้ผู้สมัครพรรคเดโมแครตตั้งแต่ปี 2519 (นอร์ทแคโรไลนา) และปี 2507 (อินดีแอนา เวอร์จิเนีย และเขตที่ 2 ของแนบราสกา) โอบามาได้รับเปอร์เซ็นต์คะแนนมหาชนในฐานะผู้ชนะจากพรรคเดโมแครตสูงที่สุดตั้งแต่ลินดอน บี. จอห์นสันในปี 2507 และเป็นเดโมแครตคนแรกที่ได้รับคะแนนมหาชนเกิน 50% ตั้งแต่จิมมี คาร์เตอร์ในปี 2519 โอบามาพลิกเอาชนะในเก้ารัฐที่โหวตพรรครีพับลิกันในปี 2547 : โคโลราโด ฟลอริด้า อินดีแอนา ไอโอวา เนวาดา นิวเม็กซิโก นอร์ทแคโรไลนา โอไฮโอ และเวอร์จิเนีย รวมถึงเขตที่ 2 ของแนบราสกา นี่เป็นการเลือกตั้งครั้งสุดท้ายที่พรรคเดโมแครตชนะในรัฐอินดีแอนาและนอร์ทแคโรไลนาในการเลือกตั้งประธานาธิบดี
ผู้สมัครชิงตำแหน่ง
[แก้]- ผู้สมัครชุดล่าสุดก่อนได้ตัวแทนพรรค
- ฮิลลารี คลินตัน (Hillary Clinton) , สมาชิกวุฒิสภาจากรัฐนิวยอร์ก และ อดีตสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง
- บารัก โอบามา (Barack Obama) , สมาชิกวุฒิสภาจากรัฐอิลลินอย
- ผู้สมัครที่ถอนตัว
- เดนนิส คูซินิช (Dennis Kucinich) , สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากรัฐโอไฮโอ
- โจ ไบเดน (Joe Biden) , สมาชิกวุฒิสภาจากรัฐเดลาแวร์ ถอนตัวเมื่อ 3 มกราคม พ.ศ. 2551 ภายหลังจาก ไอโอวาคอคัส
- คริสโตเฟอร์ ดอดด์ (Christopher Dodd) , สมาชิกวุฒิสภาจากรัฐคอนเนตทิคัต ถอนตัวเมื่อ 3 มกราคม พ.ศ. 2551 ภายหลังจาก ไอโอวาคอคัส
- บิลล์ ริชาร์ดสัน (Bill Richardson) , ผู้ว่าการรัฐนิวเม็กซิโก และ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของสหรัฐ ถอนตัวหลังจากนิวแฮมป์เชียร์ไพรมารี
- ทอม วิลแซก (Tom Vilsack) , อดีตผู้ว่าการรัฐไอโอวา ถอนตัวเนื่องจากสภาพทางการเงิน และหันไปสนับสนุนผู้สมัครคลินตันแทน
- จอห์น เอ็ดเวิดส์ (John Edwards) , อดีตสมาชิกวุฒิสภาจากรัฐนอร์ทแคโรไลนา และ ผู้สมัครรองประธานาธิบดีของพรรคเดโมแครต พ.ศ. 2547
- ไมก์ เกรเวิล (Mike Gravel) , อดีตสมาชิกวุฒิสภาจากรัฐอะแลสกา
- ตัวแทนพรรค
- ผู้สมัครชุดล่าสุดก่อนได้ตัวแทนพรรค
- รอน พอล (Ron Paul) , สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากรัฐเท็กซัส
- จอห์น แมคเคน (John McCain) , สมาชิกวุฒิสภาจากรัฐแอริโซนา
- ผู้สมัครที่ถอนตัว
- มิตต์ รอมนีย์ (Mitt Romney) , อดีตผู้ว่าการรัฐแมสซาชูเซตส์
- อลัน คียส์ (Alan Keyes) , อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ
- รูดี จูลีออนี (Rudy Giuliani) , อดีตนายกเทศมนตรีนครนิวยอร์ก
- เฟรด ทอมป์สัน (Fred Thompson) , อดีตสมาชิกวุฒิสภาจากรัฐเทนเนสซี ถอนตัวเมื่อ 22 มกราคม
- ดันแคน ฮันเทอร์ (Duncan Hunter) , สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากรัฐแคลิฟอร์เนีย ถอนตัวเมื่อ 19 มกราคม หลังจากคอคัสที่รัฐเนวาดา
- จิม กิลมอร์ (Jim Gilmore) , อดีตผู้ว่าการรัฐเวอร์จิเนีย, ถอนตัวเนื่องจากขาดเงินสนับสนุน[2]
- จอห์น เอช. คอกซ์ (John H. Cox) ทนายความ และนักธุรกิจ
- ทอมมี ทอมป์สัน (Tommy Thompson) , อดีตผู้ว่าการรัฐวิสคอนซิน และ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสุขภาพและบริการ ถอนตัว
- ทอม แทนเครโด (Tom Tancredo) , สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากรัฐโคโลราโด
- แซม บราวน์แบ็ก (Sam Brownback) , สมาชิกวุฒิสภาจากรัฐแคนซัส
- ไมก์ ฮักคาบี (Mike Huckabee) , อดีตผู้ว่าการรัฐอาร์คันซอ
พรรคอื่น ๆ
[แก้]- พรรครัฐธรรมนูญ (Constitution Party)
ผู้สมัครชิงตำแหน่ง จากพรรครัฐธรรมนูญ
- ดอน เจ. กรันด์มันน์ (Don J. Grundmann) จากรัฐแคลิฟอร์เนีย
- ไบรอัน มาลาเทสทา (Bryan Malatesta) จากรัฐเท็กซัส
- ดิเอน เบียล เทมป์ลิน (Diane Beall Templin) จากรัฐแคลิฟอร์เนีย
- พรรคกรีน (Green Party)
ผู้สมัครชิงตำแหน่ง จากพรรคกรีน
- แจเร็ด บอล (Jared Ball) จากวอชิงตัน ดี.ซี. (เว็บไซต์หาเสียง เก็บถาวร 2008-01-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
- เจสส์ จอห์นสัน (Jesse Johnson) จากรัฐเวสต์เวอร์จิเนีย
- ซินเธีย แมคคินนี่ย์ (Cynthia McKinney) จากรัฐจอร์เจีย
- เคนท์ เมสเพลย์ (Kent Mesplay) จากรัฐแคลิฟอร์เนีย (เว็บไซต์หาเสียง เก็บถาวร 2020-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
- แคท สวิฟช์ (Kat Swift) จาก รัฐเท็กซัส
- ผู้ที่อยู่ระหว่างการสมัคร
- ราฟ เนเดอร์ (Ralph Nader) จากรัฐคอนเนตทิคัต
- พรรคเสรีนิยม (Libertarian Party)
ผู้สมัครชิงตำแหน่ง จากพรรคเสรีนิยม
- ดาเนี่ยล อิมเพอราโต (Daniel Imperato) จากรัฐฟลอริดา (เว็บไซต์หาเสียง เก็บถาวร 2017-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
- บ๊อบ แจ็คสัน (Bob Jackson) จากรัฐมิชิแกน (เว็บไซต์หาเสียง เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
- ไมค์ จิงโกเซียน (Mike Jingozian) จากรัฐออริกอน (เว็บไซต์หาเสียง)
- สตีฟ คับบี้ (Steve Kubby) จากรัฐแคลิฟอร์เนีย (เว็บไซต์หาเสียง เก็บถาวร 2007-01-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
- อัลเดน ลิงก์ (Alden Link) จากรัฐนิวยอร์ก (เว็บไซต์หาเสียง)
- จอร์จ ฟิลิปส์ (George Phillies) จากรัฐแมสซาชูเซตต์ (เว็บไซต์หาเสียง เก็บถาวร 2007-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
- เวนน์ อัลลี่น รูท (Wayne Allyn Root) จากรัฐเนวาดา (เว็บไซต์หาเสียง)
- คริสทีน สมิธ (Christine Smith) จากรัฐโคโลราโด (เว็บไซต์หาเสียง เก็บถาวร 2019-02-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "2008 General Election Turnout Rates". George Mason University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-12. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Gilmore drops longshot bid for presidential nomination เก็บถาวร 2007-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", Warren Fiske, The Virginian-Pilot, July 14, 2007.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- รวมข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 2008 เก็บถาวร 2007-12-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากดีมอซ