การเลือกตั้งในสหรัฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การเลือกตั้งในสหรัฐ คือการเลือกตั้งบุคคลเพื่อเข้าไปทำหน้าที่ในระดับ รัฐบาลกลาง รัฐ และท้องถิ่น ของสหรัฐ ในระดับรัฐบาลกลาง ประมุขของรัฐคือประธานาธิบดี ได้รับการเลือกตั้งทางอ้อมโดยประชาชนของแต่ละรัฐผ่านคณะผู้เลือกตั้ง ส่วนการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาสหรัฐ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะลงคะแนนในแบบ popular vote ของรัฐของตน และเป็นการเลือกตั้งทางตรงจากประชาชนของแต่ละรัฐ มีตำแหน่งจำนวนมากถูกเลือกตั้งในระดับรัฐ แต่ละรัฐมีการเลือกตั้งผู้ว่าการรัฐและสมาชิกสภานิติบัญญัติเป็นอย่างน้อย นอกจากนี้ยังมีการเลือกตั้งตำแหน่งในระดับท้องถิ่นซึ่งคือ เคาน์ตี นคร เมือง ชุมชน โบโรฮ์ และหมู่บ้าน รวมถึงเขตเมืองพิเศษและเขตพื้นที่การศึกษาที่อาจมีฐานะเหนือกว่าเคาน์ตีหรือเขตการปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆด้วยเช่นกัน จากการการศึกษาของนักรัฐศาสตร์ Jennifer Lawless พบว่ามีเจ้าหน้าที่ที่ได้รับเลือกตั้งจำนวน 519,682 คนในปี ค.ศ. 2012[1]

ขณะที่รัฐธรรมนูญสหรัฐ ยังกำหนดตัวแปรการเลือกตั้งเจ้าหน้าที่รัฐบาลกลาง ไม่ใช่กฎหมายรัฐบาลกลาง แต่เป็นกฎหมายรัฐเป็นผู้ควบคุมการเลือกตั้งส่วนใหญ่ในสหรัฐ รวมถึงการเลือกตั้งขั้นต้น สิทธิของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (นอกเหนือจากคำนิยามตามรัฐธรรมนูญ) การสรรหาคณะผู้เลือกตั้ง รวมถึงการเลือกตั้งของแต่ละรัฐและท้องถิ่น การเลือกตั้งทั้งหมดของ รัฐบาลกลาง รัฐ และท้องถิ่น ได้รับการจัดการโดยภายในแต่ละรัฐ[2]

ข้อบังคับและการขยายสิทธิออกเสียงไปยังกลุ่มต่าง ๆ เป็นกระบวนการที่มีการโต้เถียงกันมาตลอดประวัติศาสตร์ของสหรัฐ รัฐบาลกลางเองมีส่วนร่วมในความพยายามที่จะเพิ่มสัดส่วนของผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยการออกมาตรการต่างๆ เช่น พระราชบัญญัติการขึ้นทะเบียนผู้มีสิทธิเลือกตั้งแห่งชาติ ค.ศ.1993 การจัดหาเงินทุนสำหรับการเลือกตั้งนั้นก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันมานาน เพราะแหล่งที่มาส่วนบุคคลจะเป็นการบริจาคเพื่อการสนับสนุนการหาเสียงเสียเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในการเลือกตั้งในระดับชาติ แนวคิดของการกำหนดเพดานการให้เงินสนับสนุนแก่การระดมทุนจากสาธารณะเพื่อผู้สมัครของการเลือกตั้งขั้นต้นและการเลือกตั้งประธานาธิบดี ถูกเสนอใน ค.ศ.1974 คณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งชาติถูกก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ.1975 โดยการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งแห่งชาติ มีหน้าที่เปิดเผยข้อมูลทางการเงินของการรณรงค์หาเสียง เพื่อบังคับใช้บทบัญญัติของกฎหมาย เช่น เพดานการให้เงินสนับสนุน ข้อห้ามในการบริจาค และเพื่อกำกับดูแลการระดมทุนจากสาธารณชนในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ

ระบบการลงคะแนนที่ถูกใช้ในแต่ละรัฐ:
  ระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด (First past the post "FPTP")
  ระบบแบ่งเขตสองรอบ (Two-round system "TRS")
  ระบบรอบตัดสินแบบทันที (Instant-runoff voting "IRV") หรือ ระบบตัวเลือกจัดอันดับ
  ระบบเลือกตั้งขั้นต้นลุยเซียนา
  ระบบเลือกตั้งขั้นต้นไม่สนใจพรรค

วิธีที่ถูกใช้กันมากที่สุดในการเลือกตั้งของสหรัฐคือระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด ที่ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนสูงสุดจะชนะการเลือกตั้ง [3] บางรัฐอาจใช้ระบบแบ่งเขตสองรอบ ซึ่งหากไม่มีผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเสียงตามที่กำหนดก็จะมีการเลือกตั้งรอบที่ 2 ระหว่างผู้สมัคร 2 คนที่มีคะแนนมากที่สุด[ต้องการอ้างอิง]

ตั้งแต่ ค.ศ. 2002 หลายเมืองได้ประกาศใช้การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งระบบรอบตัดสินแบบทันที (หรือ ระบบตัวเลือกจัดอันดับ) แทนที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะลงคะแนนให้ผู้สมัครเพียงคนเดียว พวกเขาจะจัดอันดับบรรดาผู้สมัครในลำดับที่ชอบแทน หากผู้สมัครคนใดได้รับคะแนนเสียงมากกว่าครึ่งหนึ่งของคะแนนเสียงทั้งหมด ผู้สมัครคนนั้นจะชนะทันที ไม่เช่นนั้นผู้สมัครที่มีคะแนนน้อยที่สุดจะถูกตัดออก บัตรลงคะแนนที่ลงให้กับผู้สมัครที่ถูกตัดออกจะได้รับการนับคะแนนใหม่และนับให้กับผู้สมัครที่อยู่ในลำดับถัดไป กระบวนการนี้จะดำเนินต่อไปจนกระทั่งมีผู้สมัครคนใดคนหนึ่งชนะโดยได้รับคะแนนเสียงมากกว่าครึ่งหนึ่งของคะแนนเสียงทั้งหมด[ต้องการอ้างอิง] ค.ศ. 2016 รัฐเมนเป็นรัฐแรกที่ใช้ระบบรอบตัดสินแบบทันที ซึ่งแม้ว่าจะเป็นเพราะบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญของรัฐ แต่ระบบนี้จะถูกใช้กับการเลือกตั้งระดับชาติ และในไม่ช้าสำหรับการเลือกตั้งขั้นต้น และการเลือกตั้งประธานาธิบดี

อ้างอิง[แก้]

  1. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มีนาคม 31, 2015. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 19, 2015.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  2. "Elections & Voting". Whitehouse.gov. April 2, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-31. สืบค้นเมื่อ October 14, 2017.
  3. Dunleavy, Patrick; Diwakar, Rekha (2013). "Analysing multiparty competition in plurality rule elections" (PDF). Party Politics. 19 (6): 855–886. doi:10.1177/1354068811411026.