การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2551

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาปี พ.ศ. 2551

← พ.ศ. 2547 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2555 →
ผู้ใช้สิทธิ61.6% (มีสิทธิเลือกตั้ง) [1]
 
ผู้ได้รับเสนอชื่อ บารัก โอบามา จอห์น แมคเคน
พรรค พรรคเดโมแครต พรรครีพับลิกัน
รัฐเหย้า รัฐอิลลินอย รัฐแอริโซนา
คู่สมัคร โจ ไบเดน ซาราห์ แพลิน
คะแนนคณะผู้เลือกตั้ง 365 173
รัฐที่ชนะ 28 + ดี.ซี. + เนบราสกา เขต 2 22
คะแนนเสียง 69,498,516 59,948,323
% 52.9% 45.7%

ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
สีน้ำเงิน แสดงถึงรัฐหรือเขตที่โอบามา/ไบเดนชนะ
สีแดง แสดงถึงรัฐหรือเขตที่แมคเคน/แพลินชนะ
ตัวเลขหมายถึงจำนวนคะแนนเสียงของคณะผู้เลือกตั้งซึ่งจะเป็นของผู้ชนะในเขตนั้น

ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาก่อนการเลือกตั้ง

จอร์จ ดับเบิลยู. บุช
พรรครีพับลิกัน

ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

บารัก โอบามา
พรรคเดโมแครต

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2551 เป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีทุกสี่ปีครั้งที่ 56 และมีขึ้นในวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 บารัก โอบามา สมาชิกวุฒิสภาจากรัฐอิลลินอย และโจ ไบเดน สมาชิกวุฒิสภาจากรัฐเดลาแวร์ ผู้สมัครจากพรรคเดโมแครต เอาชนะจอห์น แมคเคน สมาชิกวุฒิสภาจากรัฐแอริโซนา และแซราห์ เพลิน ผู้ว่ารัฐอะแลสกาไปได้ โอบามาเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาคนแรกที่ถูกเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี และเป็นสมาชิกวุฒิสภาที่กำลังดำรงตำแหน่งอยู่คนที่สามที่ถูกเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี (สองคนแรกคือวาร์เรน จี. ฮาร์ดิง และจอห์น เอฟ. เคนเนดี) ในขณะเดียวกัน นี่เป็นเพียงครั้งที่สองที่ผู้สมัครซึ่งประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภาทั้งสองคนชนะการเลือกตั้ง (ครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 2503) และเป็นการเลือกตั้งเพียงครั้งเดียวที่แคนดิเดตประธานาธิบดีของทั้งสองพรรคใหญ่กำลังดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา นี่เป็นการเลือกตั้งครั้งแรกตั้งแต่ปี 2495 ที่ประธานาธิบดีหรือรองประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งอยู่ไม่ลงเลือกตั้ง

ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ดำรงตำแหน่งครบวาระและไม่สามารถลงเลือกตั้งสมัยที่สามได้เนื่องจากข้อจำกัดวาระที่กำหนดโดยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญครั้งที่ 22 แมคเคนชนะการเลือกตั้งไพรมารี่พรรครีพับลิกันในเดือนมีนาคม 2551 โดยเอาชนะอดีตผู้ว่ารัฐอย่างมิตต์ รอมนีย์ ไมค์ ฮัคบี และผู้ท้าชิงคนอื่น ๆ การเลือกตั้งไพรมารี่พรรคเดโมแครตมีการแข่งขันอย่างดุเดือดระหว่างโอบามากับตัวเต็งในช่วงแรกอย่างสมาชิกวุฒิสภาฮิลลารี คลินตัน รวมถึงผู้ท้าชิงคนอื่นที่ออกจากการแข่งขันก่อนการเลือกตั้งไพรมารี่เริ่มต้น ซึ่งรวมถึงสมาชิกวุฒิสภาอย่างจอห์น เอ็ดเวิร์ด และโจ ไบเดนที่กลายมาเป็นแคนดิเดตรองประธานาธิบดีคู่กับโอบามา ชัยชนะของคลินตันในการแข่งขันไพรมารี่ในรัฐนิวแฮมป์เชอร์เป็นครั้งแรกที่ผู้หญิงชนะไพรมารี่ในพรรคใหญ่ หลังจากการแข่งขันที่ยาวนาน โอบามาชนะการเลือกตั้งไพรมารี่พรรคเดโมแครตในเดือนมิถุนายน 2551 นี่เป็นการเลือกตั้งครั้งแรกตั้งแต่ปี 2495 ที่ประธานาธิบดีหรือรองประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งอยู่ไม่ได้ถูกเสนอชื่อให้เป็นแคนดิเดต

การหาเสียงช่วงแรกเน้นไปที่สงครามอิรักและความนิยมที่ต่ำมากของบุช แมคเคนสนับสนุนสงครามอิรัก รวมถึงการเพิ่มจำนวนทหารซึ่งเริ่มต้นในปี 2550 ในขณะที่โอบามามีจุดยืนต่อต้านสงครามอิรัก บุชสนับสนุน (endorse) แมคเคน แต่ทั้งสองคนไม่ได้หาเสียงด้วยกัน และบุชไม่ได้ปรากฏตัวต่อหน้าฝูงชน (แต่ปรากฏตัวผ่านทางดาวเทียม) ที่การประชุมพรรครีพับลิกันระดับชาติปี 2551 โอบามาหาเสียงในธีม "วอชิงตันต้องเปลี่ยน" ขณะที่แมคเคนเน้นย้ำถึงประสบการณ์ของเขา การหาเสียงช่วงหลังได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์การเงิน พ.ศ. 2550–2551 ซึ่งหนักสุดในเดือนกันยายน 2551 การตัดสินใจหยุดหาเสียงของแมคเคนในช่วงพีคของวิกฤตส่งผลตรงกันข้ามกับที่ตั้งใจเอาไว้เนื่องจากโหวตเตอร์มองว่าเป็นการตัดสินใจที่แปลกประหลาด

โอบามาชนะแมคเคนอย่างถล่มทลายทั้งคะแนนคณะผู้เลือกตั้งและคะแนนมหาชน รวมถึงรัฐที่ไม่ได้โหวตให้ผู้สมัครพรรคเดโมแครตตั้งแต่ปี 2519 (นอร์ทแคโรไลนา) และปี 2507 (อินดีแอนา เวอร์จิเนีย และเขตที่ 2 ของแนบราสกา) โอบามาได้รับเปอร์เซ็นต์คะแนนมหาชนในฐานะผู้ชนะจากพรรคเดโมแครตสูงที่สุดตั้งแต่ลินดอน บี. จอห์นสันในปี 2507 และเป็นเดโมแครตคนแรกที่ได้รับคะแนนมหาชนเกิน 50% ตั้งแต่จิมมี คาร์เตอร์ในปี 2519 โอบามาพลิกเอาชนะในเก้ารัฐที่โหวตพรรครีพับลิกันในปี 2547 : โคโลราโด ฟลอริด้า อินดีแอนา ไอโอวา เนวาดา นิวเม็กซิโก นอร์ทแคโรไลนา โอไฮโอ และเวอร์จิเนีย รวมถึงเขตที่ 2 ของแนบราสกา นี่เป็นการเลือกตั้งครั้งสุดท้ายที่พรรคเดโมแครตชนะในรัฐอินดีแอนาและนอร์ทแคโรไลนาในการเลือกตั้งประธานาธิบดี

ผู้สมัครชิงตำแหน่ง[แก้]

พรรคเดโมแครต[แก้]

ผู้สมัครชุดล่าสุดก่อนได้ตัวแทนพรรค
ผู้สมัครที่ถอนตัว

พรรครีพับลิกัน[แก้]

ตัวแทนพรรค
ผู้สมัครชุดล่าสุดก่อนได้ตัวแทนพรรค
ผู้สมัครที่ถอนตัว

พรรคอื่น ๆ[แก้]

พรรครัฐธรรมนูญ (Constitution Party)

ผู้สมัครชิงตำแหน่ง จากพรรครัฐธรรมนูญ

พรรคกรีน (Green Party)

ผู้สมัครชิงตำแหน่ง จากพรรคกรีน

ผู้ที่อยู่ระหว่างการสมัคร
พรรคเสรีนิยม (Libertarian Party)

ผู้สมัครชิงตำแหน่ง จากพรรคเสรีนิยม

อ้างอิง[แก้]

  1. "2008 General Election Turnout Rates". George Mason University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-12. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "Gilmore drops longshot bid for presidential nomination เก็บถาวร 2007-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", Warren Fiske, The Virginian-Pilot, July 14, 2007.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]