ภาษาฮีบรูมิซนะห์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาษาฮีบรูมิซนะห์ (Mishnaic Hebrew language) หรือภาษาฮีบรูแรบไบรุ่นแรก (Early Rabbinic Hebrew language) เป็นลูกหลานโดยตรงของภาษาฮีบรูไบเบิลภาษาหนึ่ง ที่รักษาไว้โดยชาวกรุงในบาบิโลน และได้รับการบันทึกโดยชาวยิวที่เขียนมิซนะห์ สำเนียงนี้ไม่ได้ถูกใช้โดยชาวซามาริทันที่รักษาสำเนียงของตนในรูปภาษาฮีบรูซามาริทัน

สัทวิทยา[แก้]

ระบบการออกเสียงของภาษาฮีบรูมิซนะห์ใกล้เคียงกับภาษาฮีบรูไบเบิล อย่างไรก็ตาม เสียงท้ายพยางค์ /m/ มักจะถูกแทนที่ด้วย /n/ ในมิซนะห์ ในหน่วยเสียงที่เป็นที่ตกลงกัน เสียงท้ายพยางค์ที่เป็นเสียงนาสิกถูกตัดออก โดยสระก่อนหน้านั้นถูกทำให้เป็นสระนาสิกแทน ต่อมาหน่วยเสียงที่เป็นที่ตกลงกันนี้ถูกเปลี่ยนแปลงไปโดยอิทธิพลของภาษาอราเมอิก นอกจากนั้น ในภาษาฮีบรูมิซนะห์ไม่มีการแยกความแตกต่างของเสียงอะลิฟ (א) และอะยิน (ע)

ระบบกริยา[แก้]

ระบบคำกริยาของภาษาฮีบรูมิซนะห์คล้ายกับภาษาฮีบรูไบเบิล แต่มีความเปลี่ยนแปลงซึ่งพบในสำเนียงอื่นๆของภาษาฮีบรูด้วย รวมทั้งภาษาฮีบรูในม้วนหนังสือแห่งทะเลสาบเดดซีและภาษาฮีบรูสมัยใหม่

  • รูปอดีต ใช้รูปแบบเดียวกับภาษาฮีบรูสมัยใหม่ ตัวอย่างเช่น "משה קיבל תורה מסיניי"

อดีตกำลังกระทำ แสดงโดยใช้ Verb to be + รูปปัจจุบันซึ่งต่างไปจากภาษาฮีบรูไบเบิลและภาษาฮีบรูสมัยใหม่ ตัวอย่างเช่น "הוא היה אומר"

  • ปัจจุบัน ใช้รูปแบบเดียวกับภาษาฮีบรูสมัยใหม่ เช่น การใช้อนุภาค (בינוני) ตัวอย่างเช่น "על שלושה דברים העולם עומד"
  • อนาคต แสดงโดยใช้รูปอนาคต หรือ עתיד + คำชี้เฉพาะ ตัวอย่างเช่น "ולפני מי אתה עתיד ליתן דין וחשבון"
  • คำสั่ง แสดงในรูปแบบเดียวกับอนาคตในภาษาฮีบรูสมัยใหม่ ตัวอย่างเช่น "הוא היה אומר, אל תהיו כעבדים המשמשין את הרב"

ภาษาฮีบรูในยุคกลางมีลักษณะหลายอย่างที่ต่างจากภาษาฮีบรูในยุคโบราณ ได้แก่ ไวยากรณ์ ประโยค และรากศัพท์ใหม่ๆ ที่มีพื้นฐานมาจากรากศัพท์เก่า ในยุคทองของวรรณกรรมยิวในสเปน งานที่สำคัญทำโดยนักไวยากรณ์ในการอธิบายคำศัพท์และไวยากรณ์ของภาษาฮีบรูไบเบิล ซึ่งมีพื้นฐานมาจากนักไวยากรณ์ของภาษาฮีบรูคลาสสิก นักไวยากรณ์ภาษาฮีบรูที่สำคัญได้แก่ Judah ben David Hayyuj และ Jonah ibn Janah

ความต้องการที่จะแสดงความรู้ทางวิทยาศาสตร์และปรัชญาจากภาษากรีกคลาสสิกและภาษาอาหรับยุคกลาง ทำให้ภาษาฮีบรูยุคกลางมีการยืมคำและรูปแบบไวยากรณ์จากภาษาอื่น หรือคำที่มีค่าใกล้เคียง จากรากศัพท์ภาษาฮีบรูที่มีอยู่ ทำให้มีเอกลักษณ์เฉพาะของปรัชญาฮีบรูซึ่งเป็นการแปลจากภาษาอาหรับ

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]