การกำหนดช่วงเวลาของอียิปต์โบราณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รูปสลักขนาดมหึมาสามรูป ด้านซ้าย: ฟาโรห์คาฟเรทรงขึ้นครองราชย์จากสมัยราชอาณาจักรเก่า ตรงกลาง: รูปสลักของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 2 จากสมัยราชอาณาจักรกลาง ด้านขวา: รูปสลักของฟาโรห์ราเมสเซสที่ 2 จากสมัยราชอาณาจักรใหม่

การกำหนดช่วงเวลาของอียิปต์โบราณ เป็นการใช้การกำหนดเวลาเพื่อจัดระเบียบช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ 3,000 ปีของอียิปต์โบราณ[1] ระบบช่วงเวลาแบบสามสิบราชวงศ์ที่บันทึกโดยแมนิโธ ซึ่งเป็นนักบวชชาวอียิปต์ที่พูดภาษากรีกในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาลยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน[2] อย่างไรก็ตาม ระบบของ "ช่วงเวลา" และ "ราชอาณาจักร" ที่ใช้ในการจัดกลุ่มราชวงศ์นั้นเพิ่งเริ่มใช้ขึ้น (คริสต์ศตวรรษที่ 19 - 20)[3] ระบบใหม่ดังกล่าวประกอบด้วย "ยุคทอง" จำนวนสามยุค (ประกอบด้วยราชอาณาจักรเก่า, ราชอาณาจักรกลาง และราชอาณาจักรใหม่) สลับระหว่าง "ช่วงระหว่างกลาง" (ซึ่งมักจะเรียกกันว่าช่วงวิกฤตหรือยุคมืด) และช่วงต้นและช่วงปลายแห่งอียิปต์โบราณ[3]

สมัยราชอาณาจักรเก่า กลาง ใหม่[แก้]

บุนเซิน[แก้]

ในปี ค.ศ. 1844 –1857 งานเขียน Ägyptens Stelle in der Weltgeschichte ของคริสทีอัน ชาลส์ โยซีอัส ฟ็อน บุนเซิน ซึ่งกลายเป็นนักไอยคุปต์วิทยาคนแรกที่เสนอสิ่งที่จะกลายเป็นการแบ่งช่วงเวลาออกเป็นสามช่วงเวลาในประวัติศาสตร์อียิปต์[3]

บุนเซินได้อธิบายในงานเขียนปี ค.ศ. 1844 ที่แปลเป็นภาษาอังกฤษว่าการแบ่งช่วงเวลาออกเป็นสามช่วงนั้นมาได้อย่างไร ดังนี้[4]

ในปี ค.ศ. 1834 ฉันได้ค้นพบกุญแจสำคัญในรายการของเอราทอสเทเนสในการตีความใหม่เกี่ยวกับสิบสองราชวงศ์แรกของแมนิโธ และด้วยเหตุนี้จึงสามารถแก้ไขความยาวของจักรวรรดิเก่าได้ ประเด็นทั้งสองนี้ได้รับการตัดสินแล้ว เห็นได้ชัดว่าขั้นตอนต่อไป คือ การเติมเต็มช่องว่างระหว่างจักรวรรดิเก่าและใหม่ ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่าสมัยฮิกซอส ... ฉันเชื่อมั่นอย่างเต็มที่นับตั้งแต่การตีความครั้งแรก (ในปี ค.ศ.1834) ของทั้งสามจักรวรรดิอียิปต์ โดยจักรวรรดิกลางในรวมช่วงเวลาแห่งการปกครองของชาวฮิกซอส ส่วนราชวงศ์ที่สิบสองของแมนิโธนั้นเป็นราชวงศ์สุดท้ายของจักรวรรดิเก่า และเป็นพระราชบัลลังก์ของฟาโรห์ที่ปกครองจากเมืองเมมฟิส ตามการเชื่อมโยงซึ่งการตีความใหม่นั้นทำให้ฉันสามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแมนิโธ และเอราทอสเทเนส โดยผู้ปกครองพระองค์ที่สี่จากราชวงศ์ที่สิบสามส่งต่อไปยังกษัตริย์ผู้ทรงเลี้ยงแกะ (กษัตริย์ฮิกซอส)

เมื่อเปรียบเทียบกับการจัดกลุ่มสมัยใหม่ จักรวรรดิเก่าของบุนเซินได้รวมเอาสิ่งที่ปัจจุบันเรียกว่าสมัยราชอาณาจักรกลางแห่งอียิปต์เข้าไปด้วย ในขณะที่จักรวรรดิกลางของบุนเซ็นในปัจจุบันเรียกว่าสมัยระหว่างกลางที่สองแห่งอียิปต์[3]

เล็พซิอุส[แก้]

คาร์ล ริชาร์ด เล็พซิอุส ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของบุนเซิน ได้ใช้เป็นระบบสองช่วงเวลาเป็นหลักในงานเขียน Denkmäler aus Ägypten und Äthiopien ในปี ค.ศ. 1849–1858[5]

  • Altes Reich ("จักรวรรดิเก่า") = ตั้งแต่ราชวงศ์ที่หนึ่งจนถึงราชวงศ์ที่สิบหก
  • Neues Reich ("จักรวรรดิใหม่") = ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ที่สิบเจ็ดจนถึงราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ด

นักวิชาการอื่นๆ[แก้]

งานเขียน Aperçu de l'histoire ancienne d'Égypte ของโอกุสต์ มาเรียตต์ในปี ค.ศ. 1867[5]

  • ราชอาณาจักรเก่า = ตั้งแต่ราชวงศ์ที่หนึ่งจนถึงราชวงศ์ที่สิบ
  • ราชอาณาจักรกลาง = ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ที่สิบเอ็ดจนถึงราชวงศ์ที่สิบเจ็ด
  • ราชอาณาจักรใหม่ = ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ที่สิบแปดจนถึงราชวงศ์ที่สามสิบ

งานเขียน Ägyptische Geschichte ของอัลเฟรท ไวเดอมันน์[5]

  • ก่อนประวัติศาสตร์ = ตั้งแต่ราชวงศ์ที่หนึ่งจนถึงราชวงศ์ที่สิบเอ็ด
  • ราชอาณาจักรกลาง = ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ที่สิบสองจนถึงราชวงศ์ที่สิบเก้า
  • ราชอาณาจักรใหม่ = ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ที่ยี่สิบจนถึงราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ด

งานเขียน Le Livre des Rois d'Egypte ของอ็องรี เกาธิเออร์ในปี ค.ศ. 1907–1917[5]

  • Ancien Empire ("จักรวรรดิโบราณ") = ราชวงศ์ที่หนึ่ง – สิบ
  • Moyen Empire ("จักรวรรดิกลาง")= ราชวงศ์ที่สิบเอ็ด – สิบเจ็ด
  • Nouvel Empire ("จักรวรรดิใหม่") = ราชวงศ์ที่สิบเจ็ด – ยี่สิบห้า
  • Époque saïto-persane ("ยุคไซโต-เปอร์เซีย") = ราชวงศ์ที่ยี่สิบหก – สามสิบเอ็ด
  • Époque macédo-grecque ("ยุคมาซิโดเนีย–กรีก") = ราชวงศ์ที่สามสิบสอง (มาซิโดเนีย) และสามสิบสาม (ปโตเลมี)

สมัยระหว่างกลาง[แก้]

สมัยระหว่างกลางที่หนึ่ง[แก้]

การศึกษาไอยคุปต์วิทยาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ไม่ได้ใช้แนวคิดของ "สมัยระหว่างกลาง" ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวได้ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของช่วงเวลาก่อนหน้า "ในช่วงเวลาระหว่างหรือช่วงเปลี่ยนผ่าน"[6]

ในปี ค.ศ. 1926 หลังจากช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง งานเขียน Die Blütezeit des Pharaonenreiches ของจอร์จ สไตน์ดอร์ฟ และงานเขียน Egypt and Syria in the First Intermediate Period ของเฮนรี แฟรงฟอร์ท ได้กำหนดให้ราชวงศ์ที่หกจนถึงราชวงศ์ที่สิบสองในอยู่นิยามของคำว่า "สมัยระหว่างกลางที่หนึ่ง" โดยคำดังกล่าวได้รับการยอมรับเป็นอย่างมากในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1940[6]

สมัยระหว่างกลางที่สอง[แก้]

ในปี ค.ศ. 1942 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง งานเขียน Studien zur Geschichte und Archäologie der 13. bis 17. Dynastie ของฮานส์ สตอก์ค ซึ่งเป็นนักไอยคุปต์วิทยาชาวเยอรมัน ได้ส่งเสริมให้มีการใช้คำว่า "สมัยระหว่างกลางที่สอง"[6]

สมัยระหว่างกลางที่สาม[แก้]

ในปี ค.ศ. 1978 หนังสือของเค็นเน็ธ คิตเชน ซึ่งเป็นนักไอยคุปต์วิทยาชาวอังกฤษชื่อว่า The Third Intermediate Period in Egypt (1100–650 BC) ได้มีการบัญญัติคำว่า "สมัยระหว่างกลางที่สาม"[6]

การกำหนดช่วงเวลาสมัยใหม่[แก้]

Late Period of ancient EgyptThird Intermediate Period of EgyptNew Kingdom of EgyptSecond Intermediate Period of EgyptMiddle Kingdom of EgyptFirst Intermediate Period of EgyptOld Kingdom of EgyptEarly Dynastic Period (Egypt)

อ้างอิง[แก้]

  1. Schneider 2008, p. 181.
  2. Clayton (1994) p. 6
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Schneider 2008, p. 182.
  4. Egypt's place in universal history: an historical investigation in five books, pages xiii and 42
  5. 5.0 5.1 5.2 Schneider 2008, p. 183.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Schneider 2008, p. 183-185.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Schneider, Thomas (27 August 2008). "Periodizing Egyptian History: Manetho, Convention, and Beyond". ใน Klaus-Peter Adam (บ.ก.). Historiographie in der Antike. Walter de Gruyter. pp. 181–197. ISBN 978-3-11-020672-2.
  • Clayton, Peter A. (1994). Chronicle of the Pharaohs. London: Thames and Hudson. ISBN 978-0-500-05074-3.