สำนักงานการบูรณะ
復興庁 ฟุกโกโจ | |
ตึกศูนย์ราชการที่ 4 ซึ่งเป็นที่ทำการสำนักงานการบูรณะ (โตเกียว) ตั้งอยู่ | |
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 |
หน่วยงานก่อนหน้า |
|
เขตอำนาจ | ญี่ปุ่น |
สำนักงานใหญ่ | ตึกศูนย์ราชการที่ 4 1-1 คาซูมิงาเซกิ เขตชิโยดะ โตเกียว 100-0013 ประเทศญี่ปุ่น |
บุคลากร | 417 คน |
งบประมาณต่อปี | 2.433 ล้านล้านเยน |
ต้นสังกัดหน่วยงาน | รัฐบาลญี่ปุ่น |
สำนักงานการบูรณะ (ญี่ปุ่น: 復興庁; โรมาจิ: Fukkyō Chō; ทับศัพท์: ฟุกโกโจ) เป็นหน่วยงานของรัฐบาลญี่ปุ่น ขึ้นตรงต่อคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น[1] ที่จัดตั้งขึ้นในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เพื่อประสานงานการบูรณะฟื้นฟูที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ พ.ศ. 2554 และภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่งแทนกองบัญชาการการบูรณะเนื่องจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในตะวันออกของญี่ปุ่นที่จัดตั้งขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554[1][2]
ภารกิจ
[แก้]ภารกิจของหน่วยงานนี้มีดังนี้:[3]
- วางแผน ประสานงาน และขับเคลื่อนนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการบูรณะ
- เป็นตัวกลางในการติดต่อ มอบความช่วยเหลือ หรืออื่น ๆ แก่ทบวงการเมือง
ภูมิหลังและหน้าที่
[แก้]สำนักงานการบูรณะถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อแทนที่ กองบัญชาการการบูรณะเนื่องจากเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในตะวันออกของญี่ปุ่น[4] สำนักงานการบูรณะในขณะนั้นนำโดย นายกรัฐมนตรีโยชิฮิโกะ โนดะ ซึ่งเขาได้รับหน้าที่ดังกล่าวเพื่อสร้างความแข็งแรงของผู้บริหารระดับสูง[5] ทัตสึฮิโระ ฮิราโนะ เป็นรัฐมนตรีการจัดการภัยพิบัติคนแรกก่อนถูกแทนที่โดยโอซามุ ฟูจิมูระในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555[6] ถึงแม้ว่าสำนักงานการบูรณะนั้นไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี แต่สำนักงานการบูรณะมีอำนาจเหนือกระทรวงอื่น ๆ[7][8] จากการคาดการณ์แล้ว การบูรณะจัดเสร็จสิ้นภายใน 10 ปีนับตั้งแต่ภัยพิบัติเกิดขึ้น ซึ่งจะยุบสำนักงานการบูรณะลง แต่หลังจากการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรีในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ได้มีการออกแนวนโยบายยุคการบูรณะและการฟื้นฟู (Basic Guidelines on Reconstruction and Revitalization) ซึ่งจะขยายกรอบเวลาการบูรณะและฟื้นฟูอีก 10 ปี (จนถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2573) ส่งผลให้สำนักงานฯ ยังคงดำเนินกิจการของตนเองต่อจนกว่าจะหมดวาระของกรอบเวลาดังกล่าว[1][9][10]
สำนักงานการบูรณะมีสำนักงานส่วนภูมิภาค 3 แห่งใน จังหวัดอิวาเตะ จังหวัดมิยางิ และจังหวัดฟูกูชิมะ อีกทั้งยังมีสำนักงานส่วนภูมิภาคขนาดเล็กในเมืองฮาจิโนเฮะ จังหวัดอาโอโมริ และเมืองมิโตะ จังหวัดอิบารากิ นอกจากนี้สำนักงานการบูรณะยังสร้างความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจในประเทศญี่ปุ่นเพื่อฟื้นฟูกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่ภูมิภาคโทโฮกุที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว คลื่นสึนามิ และภัยพิบัตินิวเคลียร์ สำนักงานการบูรณะ สมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น สมาคมผู้บริหารบริษัทญี่ปุ่น และหอการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น ได้ร่วมกันจัดตั้งสภาการออกแบบบูรณะเพื่อตอบโต้ต่อแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในตะวันออกของญี่ปุ่น[5][11]
ส่วนราชการ
[แก้]สำนักงานการบูรณะ (ญี่ปุ่น: 復興庁; โรมาจิ: Fukkōcho)
- สำนักงานการรับมือเร่งด่วนอิวาเตะ (ญี่ปุ่น: 岩手復興局; โรมาจิ: Iwate Fukkō Kyoku)
- สำนักงานการรับมือเร่งด่วนมิยางิ (ญี่ปุ่น: 宮城復興局; โรมาจิ: Miyagi Fukkō Kyoku)
- สำนักงานการรับมือเร่งด่วนฟูกูชิมะ (ญี่ปุ่น: 福島復興局; โรมาจิ: Fukushima Fukkō Kyoku)
- สำนักงานอาโอโมริ (ญี่ปุ่น: 青森事務所; โรมาจิ: Aomori Jimusho)
- สำนักงานอิบารากิ (ญี่ปุ่น: 茨城事務所; โรมาจิ: Ibraki Jimusho)
- สภาการออกแบบบูรณะเพื่อตอบโต้ต่อแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในตะวันออกของญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 復興推進会議; โรมาจิ: Fukkō Suishin Kaigi)
- กลุ่มศึกษาสภาการออกแบบบูรณะเพื่อตอบโต้ต่อแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในตะวันออกของญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 復興推進委員会; โรมาจิ: Fukkō Suishin Iinkai)[12][13][14][15]
การวิจารณ์
[แก้]การก่อตั้งสำนักงานการบูรณะได้รับข้อวิพากย์วิจารณ์ทั้งการก่อตั้งที่ช้า และสถานที่ที่ตั้งของสำนักงาน ผู้พำนักอาศัยและข้าราชการในภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ โดยอย่างยิ่ง ยูเฮ ซาโต ผู้ว่าราชการจังหวัดฟูกูชิมะได้กล่าวถึงความเฉื่อยช้าในการจัดตั้งสำนักงานฯ:[16]
ในมุมมองของผู้ประสบภัย ผมคงต้องตั้งคำถามจริง ๆ ว่า "พวกเขาสามารถจัดตั้งสำนักงานฯ ได้เร็วกว่านี้หรือไม่"
— ยูเฮ ซาโต (ผู้ว่าราชการจังหวัดฟูกูโอกะในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555)
การตรากฎหมายการจัดตั้งสำนักงานการบูรณะในรัฐสภาญี่ปุ่นนั้นถูกชลอลงสืบเนื่องจากการลาออกของนายกรัฐมนตรีนาโอโตะ คังในเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 ทำให้การจัดต้ังสำนักงานฯ ถูกเลื่อนไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 โดยที่นาโอโตะทราบถึงการบริหารงาน และควบคุมภัยพิบัติในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554 ที่ช้าและให้คำมั่นสัญญาว่าจะเร่งดำเนินการฟื้นฟูอย่างเร็วที่สุด[5][18] ผู้พักอาศัยที่ถูกอพยพจากคลื่นสึนามิไคัคัดค้านแผนการก่อสร้างเมืองในจุดที่สูงขึ้น และห่างออกจากชายฝั่งมากขึ้นของสำนักงานการบูรณะ เพราะเห็นว่าเป็นการตัดขาดการเชื่อมต่อระหว่างรัฐ
บาลกลางและประชากรในภูมิภาคโทโฮกุ[19] ซึ่งหลังจากการตรวจสอบโครงการในขั้นต้นต่าง ๆ สำนักงานการบูรณะได้อนุมัติโครงการจำนวนมากในรอบที่สองของการตรวจสอบในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 รวมถึงกองทุนการปรับปรุงเมืองและเกษตรกรรม[20]
ดูเพิ่ม
[แก้]- แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ พ.ศ. 2554
- ภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง
- นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "Reconstruction Agency". www.reconstruction.go.jp (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-10-18.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 復興庁発足は2月10日、首相と復興相が確認 [Reconstruction Agency to be established February 10, Prime Minister and Minister of State for Disaster Management confirmed]. Yomiuri Shinbun (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: Yomiuri Shinbun. 2012-01-19. OCLC 10795749. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-04. สืบค้นเมื่อ 2012-06-01.
- ↑ 復興庁 [Official website: Reconstruction Agency] (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: Reconstruction Agency. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-23. สืบค้นเมื่อ 2012-06-05.
- ↑ Cabinet Secretariat, Cabinet Public Relations Office (c. 2011). "The Role of Reconstruction Headquarters". Tokyo: Cabinet Secretariat, Cabinet Public Relations Office. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-23. สืบค้นเมื่อ 2012-06-01.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 "Reconstruction Agency to woo savvy execs". Japan Times Online. Tokyo: Japan Times Ltd. 2012-03-14. OCLC 45062153. สืบค้นเมื่อ 2012-06-01.
- ↑ Noda, Yoshihiko (2012-06-12). "A Cabinet reshuffle, and looking to the future". Tokyo: Cabinet Secretariat, Cabinet Public Relations Office. สืบค้นเมื่อ June 19, 2012.
- ↑ "New reconstruction agency launched with Hirano in charge". Japan Today. Tokyo: GPlusMedia Co., Ltd. 2012-02-11. สืบค้นเมื่อ 2012-06-04.
- ↑ Government of Japan (2012). Road to recovery (PDF). Tokyo: Government of Japan. p. 35. สืบค้นเมื่อ 2012-06-01.
- ↑ Government of Japan (2012). Road to recovery (PDF). Tokyo: Government of Japan. p. 35. สืบค้นเมื่อ 2012-06-01.
- ↑ "Japan earthquake and tsunami of 2011". Encyclopædia Britannica. Chicago, Ill.: Encyclopædia Britannica. 2012. สืบค้นเมื่อ 2012-06-04.
- ↑ Reconstruction Agency (2012). 復興の現状と取組 [Conditions of reconstruction and planning] (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: Reconstruction Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-08-07. สืบค้นเมื่อ 2012-06-01.
- ↑ "Organization of Reconstruction Headquarters in response to the Great East Japan Earthquake" (PDF). Tokyo: Reconstruction Agency. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-01-19. สืบค้นเมื่อ 2012-06-04.
- ↑ 復興庁の組織について [Organization of the Reconstruction Agency] (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: Reconstruction Agency. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-06. สืบค้นเมื่อ 2012-06-04.
- ↑ "Reconstruction Agency faces urgent problems". Daily Yomiuri Online. Tokyo: Japan Times Ltd. 2012-02-12. ISSN 0890-8710. OCLC 456167871. สืบค้นเมื่อ 2012-06-01.
- ↑ "The Reconstruction Design Council in the Great East Japan Earthquake" [Organization of the Reconstruction Agency] (PDF). Tokyo: Cabinet Secretariat. c. 2012. สืบค้นเมื่อ 2012-06-04.
- ↑ Peter Shadbolt (2012-03-01). "Japan one year on: What's changed?". CNN. สืบค้นเมื่อ 2012-06-03.
- ↑ "Japan scraps mascot promoting Fukushima wastewater dump". Guardian. 2012-04-15. สืบค้นเมื่อ 2021-06-22.
- ↑ Dvorak, Phred (2012-03-11). "Japan's Prime Minister Vows To Speed Up Reconstruction". Wall Street Journal. New York, N.Y.: Dow Jones & Company, Inc. ISSN 0099-9660. OCLC 43638285. สืบค้นเมื่อ 2012-06-04.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Year after tsunami, battles rage in Japan over how, where to rebuild". Miami Herald. Miami, Fla.: Herald Print. and Pub. Co. 2012-02-11. ISSN 0898-865X. OCLC 466657471. สืบค้นเมื่อ 2012-06-04.
- ↑ "Disaster reconstruction subsidies welcomed by local governments in Japan". McClatchy Washington Bureau. 2012-05-26. สืบค้นเมื่อ 2012-06-04.