กระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
文部科学省 มนบุ คากากุโช | |
ตราสัญลักษณ์กระทรวงศึกษาธิการฯ | |
ที่ตั้งกระทรวงศึกษาธิการฯ | |
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 6 มกราคม พ.ศ. 2544 |
หน่วยงานก่อนหน้า |
|
เขตอำนาจ | ญี่ปุ่น |
สำนักงานใหญ่ | 3-2-2 คาซูมิงาเซกิ เขตชิโยดะ โตเกียว 100-8959 ประเทศญี่ปุ่น |
ต้นสังกัดหน่วยงาน | รัฐบาลญี่ปุ่น |
กระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (ญี่ปุ่น: 文部科学省; โรมาจิ: Monbu Kagakushō; ทับศัพท์: มนบุ คากากุโช) เป็นกระทรวงที่มีฐานะเป็นคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลญี่ปุ่น มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและการวิจัยในประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมอบทุนการศึกษาและทุนวิจัยทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย
ภูมิหลัง
[แก้]กระทรวงศึกษาธิการ (ญี่ปุ่น: 文部省; โรมาจิ: Monbushō) ก่อตั้งเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2414 และเริ่มวางรากฐานระบบการศึกษาในปีถัดมา[1][2] หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2499 ได้มีการจัดตั้งสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ญี่ปุ่น: 科学技術庁; โรมาจิ: Kagaku Gijitsu Chō) ขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2544 รัฐบาลญี่ปุ่นได้มีการปฏิรูปรัฐบาลกลาง (ญี่ปุ่น: 中央省庁再編; โรมาจิ: Chūon Shōchō Saihen) ส่งผลให้มีการกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียุบและรวมเป็นกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา และเทคโนโลยีจนถึงปัจจุบันนี้[2]
กระทรวงศึกษาธิการ วิทยาศาสตร์ กีฬา และวัฒนธรรม เป็นกระทรวงที่มีอำนาจและมีอิทธิพลมากในรัฐบาล รัฐบาลญี่ปุ่นได้รวมอำนาจการบริหารการศึกษาไว้ที่ส่วนกลาง และให้ระบบราชการของรัฐเป็นผู้ควบคุมกระบวนการศึกษา เช่น โรงเรียนทุกโรงเรียนต้องใช้ตำราที่รัฐบาลรับรองเท่านั้น ครูต้องเป็นคนญี่ปุ่นและจะต้องได้รับการตรวจสอบให้แน่ใจว่าเด็กจะได้รับการศึกษาที่เหมาะสม[ต้องการอ้างอิง]
รัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจากสมาชิกรัฐสภา เป็นผู้บริหารสูงสุดของกระทรวงศึกษาธิการ วิทยาศาสตร์ กีฬา และวัฒนธรรม
ส่วนราชการ
[แก้]กระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (ญี่ปุ่น: 文部科学省; โรมาจิ: Monbu Kagakushō)
- สำนักงานเลขาธิการรัฐมนตรี (ญี่ปุ่น: 大臣官房; โรมาจิ: Daiji Kanbō)
- กองการวางแผนสิ่งอำนวยความสะดวกและการป้องกันภัยพิบัติ (ญี่ปุ่น: 文教施設企画防災部; โรมาจิ: Bunkyō Shisetsu Kikaku Bōsaibu)
- กรมนโยบายการศึกษา (ญี่ปุ่น: 総合教育政策局; โรมาจิ: Sogō Kyōiku Seisaku Kyoku)
- กรมประถมศึกษาและมัธยมศึกษา (ญี่ปุ่น: 初等中等教育局; โรมาจิ: Shotō Chutō Kyōiku Kyoku)
- กรมอุดมศึกษา (ญี่ปุ่น: 高等教育局; โรมาจิ: Kōtō Kyōiku Kyoku)
- กรมนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ญี่ปุ่น: 科学技術・学術政策局; โรมาจิ: Kagaku Gijuttsu Gakujuttsu Seisaku Kyoku)
- กรมส่งเสริมการวิจัย (ญี่ปุ่น: 研究振興局; โรมาจิ: Kenkyū Shinkō Kyoku)
- กรมวิจัยและพัฒนา (ญี่ปุ่น: 研究開発局; โรมาจิ: Kenkyū Kaihatsu Kyoku)
- กองสถาบันการศึกษาเอกชน (ญี่ปุ่น: 私学部; โรมาจิ: Shigakubu)
- สำนักงานการกีฬา (ญี่ปุ่น: スポーツ庁長官; โรมาจิ: Supōtsu Chōchōkan)
- สำนักงานวัฒนธรรม (ญี่ปุ่น: 文化庁長官; โรมาจิ: Bunka Chōchōkan)[3][4]
ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น
[แก้]ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น หรือมักเรียกว่า ทุนมง เป็นทุนการศึกษาที่ กระทรวงศึกษาธิการ วิทยาศาสตร์ กีฬา และวัฒนธรรมมอบให้แก่นักศึกษาชาวต่างชาติเพื่อศึกษาต่อในระดับอนุปริญญา (ญี่ปุ่น: 国費外国人留学生制度; โรมาจิ: Kokuhi Gaikokujin Ryūgakusei Seido) โดยเริ่มให้ทุนการศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2497 จนถึงปัจจุบัน[5] ซึ่งเป็นทุนการศึกษาแบบให้เปล่าไม่มีข้อผูกมัดใด ๆ โดยแบ่งประเภททุนการศึกษาออกเป็น 7 ประเภทได้แก่:[5][6][7][8]
- ทุนนักศึกษาปริญญาตรี (Undergraduate Student)
- ทุนนักศึกษาวิจัย (Research Student)
- ทุนญี่ปุ่นศึกษา (Japanese Studies Student)
- ทุนฝึกอบรมวิชาชีพครู (Teacher Training Student)
- ทุนนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิค (College of Technology Student)
- ทุนนักศึกษาฝึกอบรมวิชาชีพ (Specialized Training College Student)
- ทุนนักศึกษาประเภท Youth Leaders' Program (YLP)[ก]
สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ได้รับความร่วมมือจากกระทรวงศึกษาธิการในการคัดเลือกนักเรียนและนักศึกษาไทยที่ผ่านคุณสมบัติเป็นประจำทุกปี
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ เฉพาะนักเรียนและนักศึกษาจากประเทศจีน ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศไทย ประเทศบรูไน ประเทศเวียดนาม ประเทศลาว ประเทศพม่า ประเทศกัมพูชา ประเทศมองโกเลียประเทศคาซัคสถาน ประเทศคีร์กีซสถาน ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศอุซเบกิสถาน ประเทศบังกลาเทศ ประเทศอินเดีย ประเทศปากีสถาน ประเทศศรีลังกา ประเทศออสเตรเลีย ประเทศฮังการี ประเทศเช็กเกีย ประเทศสโลวะเกีย ประเทศโปแลนด์ ประเทศบัลแกเรีย และประเทศตุรกี[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Reischauer, Edwin O. and Jansen, Marius B. (2005) , The Japanese Today, p.187, Tuttle Publishing: Tokyo.
- ↑ 2.0 2.1 "Chronology of the Ministry of Education, Culture, Sports, Science and Technology(MEXT)". www.mext.go.jp. สืบค้นเมื่อ 2021-10-19.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "組織図の紹介:文部科学省". 文部科学省ホームページ (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2021-10-21.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "MEXT : Organization Chart". www.mext.go.jp (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-10-21.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 5.0 5.1 "ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น". jeic-bangkok.org. สืบค้นเมื่อ 2021-10-19.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ข้อมูลทุนรัฐบาลญี่ปุ่น (Monbukagakusho:MEXT)". Ministry of Foreign Affairs of Japan. สืบค้นเมื่อ 2021-10-19.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "'ทุนมง' ทุนรัฐบาลญี่ปุ่นที่ใครๆ ก็อยากได้". www.hotcourses.in.th. สืบค้นเมื่อ 2021-10-19.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Types of Japanese Government (Monbukagakusho) Scholarships|Scholarships Offered by Private Organizations|Japanese Government (MEXT) Scholarship Students|Planning studies in Japan|Essential guide for international students considering study in Japan". www.studyinjapan.go.jp (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-10-19.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "APPLICATION GUIDELINES JAPANESE GOVERNMENT (MEXT) SCHOLARSHIP FOR 2022YOUNG LEADERS' PROGRAM (YLP) STUDENT (SCHOOL OF GOVERNMENT)" (PDF). www.mext.go.jp (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-10-19.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- กระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (ภาษาอังกฤษ)
- กระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (ภาษาญี่ปุ่น)