ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สยามสแควร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 156: บรรทัด 156:


และในปี พ.ศ. 2550 ภาพยนตร์เรื่อง "[[รักแห่งสยาม]]" กำกับโดย[[ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล]] นำแสดงโดย [[สินจัย เปล่งพานิช]] , [[เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์]] , [[ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี]], [[มาริโอ้ เมาเร่อ]] , [[วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงศ์กุล]], [[กัญญา รัตนเพชร์]] และ [[อธิชา พงศ์ศิลป์พิพัฒน์]] เป็นภาพยนตร์ความรักในรูปแบบต่างๆ และเรื่องราวส่วนใหญ่ก็เกิดขึ้นที่นี่ โดยการถ่ายทำส่วนใหญ่อยู่ที่สยามสแควร์ เหตุที่ใช้ฉากหลังเป็นสยามสแควร์เพราะผู้เขียนบทที่ได้เริ่มเขียนบทตอนอยู่ที่[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] ได้เกิดความประทับใจ จึงเป็นที่มาของบทภาพยนตร์เรื่องนี้<ref>[http://www.thaicinema.org/kit49raksiam.asp รักแห่งสยาม] thaicinema.org</ref>
และในปี พ.ศ. 2550 ภาพยนตร์เรื่อง "[[รักแห่งสยาม]]" กำกับโดย[[ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล]] นำแสดงโดย [[สินจัย เปล่งพานิช]] , [[เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์]] , [[ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี]], [[มาริโอ้ เมาเร่อ]] , [[วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงศ์กุล]], [[กัญญา รัตนเพชร์]] และ [[อธิชา พงศ์ศิลป์พิพัฒน์]] เป็นภาพยนตร์ความรักในรูปแบบต่างๆ และเรื่องราวส่วนใหญ่ก็เกิดขึ้นที่นี่ โดยการถ่ายทำส่วนใหญ่อยู่ที่สยามสแควร์ เหตุที่ใช้ฉากหลังเป็นสยามสแควร์เพราะผู้เขียนบทที่ได้เริ่มเขียนบทตอนอยู่ที่[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] ได้เกิดความประทับใจ จึงเป็นที่มาของบทภาพยนตร์เรื่องนี้<ref>[http://www.thaicinema.org/kit49raksiam.asp รักแห่งสยาม] thaicinema.org</ref>

นอกจากนี้สยามสแควร์ยังเป็นสถานที่ที่ถ่ายมิวสิกวิดีโออยู่หลายตัว ไม่ว่าจะเป็น มิวสิกวิดีโอเพลง Gossip ของวงเกิร์ลลี่ เบอร์รี่<ref>[http://www.yimsiam.com/club/board/topicRead.asp?wbID=lovegirlyberryclub&id=000116 4 สาว “เกิร์ลลี่ เบอร์รี่” ...เซ็กซี่ ป่วน! กลางสยามสแควร์ จนถึง สี่แยกราชประสงค์!] yimsiam.com</ref>, เพลง SAY Hi ของ ฟิล์ม รัฐภูมิ<ref>[http://www.newswit.com/news/2005-03-21/7ce6abdf702a1ddd42e1ff61faf8217e/ "ฟิล์ม-รัฐภูมิ" เผลอใจ...เกือบหอมแก้ม"พิตต้า" หวานใจเพื่อนซี้ โชว์แร็พกลางสยามสแควร์ ลงมิวสิกเพลง "SAY Hi"]</ref>, กันและกัน ของคิว วงฟลัวร์<ref>[http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/popup_news_textmark.aspx?newsid=143838&NewsType=1&Template=1 คิว วงฟลัว ทำกล้ากลางสยาม ฉายเดี่ยวถ่ายเอ็มวีเขินสุดๆ] dailynews.co.th</ref> และเพลง ลำพัง ของวงเบิร์น<ref>[http://www.centerpoint108.com/free/teen_news_index.asp?id=97 ย้ง-ทรงยศ โดนใจเพลง 'ลำพัง'
เอ่ยปากกุมบังเหียนกำกับมิวสิกวิดีโอให้วง Burn] centerpoint108.com</ref> เป็นต้น


==อ้างอิง==
==อ้างอิง==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:31, 23 ธันวาคม 2550

สยามสแควร์ ศูนย์การค้าแบบเชิงราบ (สยามสแควร์ซอย 3 ในปัจจุบัน)

สยามสแควร์ (Siam Square) หรือเรียกกันว่า สยาม ศูนย์รวมแฟชั่นในกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บนหัวมุมถนนพญาไท และถนนพระราม 1 โดยด้านหลังติดกับถนนอังรีดูนังต์ และด้านทิศตะวันออกติดต่อกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกด้านหนึ่งติดกับ ห้างสรรพสินค้ามาบุญครอง และอีกด้านหนึ่งติดกับ สยามเซ็นเตอร์ สยามสแควร์เป็นเนื้อที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ธุรกิจในสยามสแควร์มีความหลากหลาย ทั้งโลกของแฟชั่น อาหาร พื้นที่โฆษณา โรงเรียนกวดวิชา สังคมเด็กแนว หรือในแวดวงทางการธุรกิจการตลาด เป็นสถานที่ที่มีการทดลองสินค้า และกิจกรรมการตลาดแบบแปลกใหม่และเข้มข้นที่สุดแห่งหนึ่ง มีจำนวนคนเดินในสยามสแควร์ในวันธรรมดาเฉลี่ยวันละ 20,000 คน วันหยุดไม่ต่ำกว่า 50,000 คน ซึ่งแต่ละคนมีกำลังซื้อเฉลี่ย 1,000 บาท/ครั้ง/คน

นอกจากนั้นยังมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมสมัยนิยมโดยมีภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสยามสแควร์อย่างเช่นเรื่อง รักแห่งสยาม และ สยามสแควร์ ด้วย

สถานที่ตั้ง

ไฟล์:Masterplansiamsquare.jpg
ผังบริเวณ สยามสแควร์

สยามสแควร์เป็นศูนย์การค้าเปิดโล่งแนวราบขนาดใหญ่ ตั้งอยุ่บริเวณสี่แยกปทุมวัน[1] มีพื้นที่ทางทิศเหนือติดกับถนนพระราม 1 และทางทิศตะวันตกติดกับถนนพญาไท ทางด้านทิศตะวันออกติดกับถนนอังรีดูนังต์ และทางทิศใต้คือซอยจุฬา 64 ซึ่งในบริเวณใกล้เคียงยังมี ศูนย์การค้ามาบุญครอง สยามดิสคัฟเวอร์รี่ สยามเซ็นเตอร์ สยามพาราก้อน รวมถึง วัดปทุมวนาราม วังสระปทุม และสนามศุภชลาศัย เป็นต้น ส่วนการเดินทางมายังสยามสแควร์นั้น ยังสามารถเดินทางมาได้โดยรถไฟลอยฟ้า โดยสถานีสยามยังเป็นสถานีเปลี่ยนเส้นทางของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท และ สายสีลม อีกด้วย

ภายในสยามสแควร์ ทางทิศเหนือตั้งแต่ทางด้านซ้าย บริเวณโรงหนังสกาล่า คือสยามสแควร์ซอย 1 แล้วไล่ไปทางขวาถึงสยามสแควร์ซอย 6 คั่นด้วยถนนเชื่อมระหว่างถนนพญาไทและถนนอังรีดูนังต์ คือสยามสแควร์ซอย 7 และไล่จากขวาไปซ้ายตั้งแต่สยามสแควร์ซอย 8 จนถึงซอย 11

ประวัติ

ที่ดินบริเวณสยามสแควร์เป็นที่ดินที่จุฬาฯ ได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 5 เพื่อการศึกษา โดยก่อนปี 2505 ย่านสยามสแควร์สมัยนั้นที่ดินย่านนั้นเป็นสวนผัก เป็นชุมชนแออัด จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ ชาวบ้านก็ออกจากพื้นที่ไป และนิสิตจุฬาฯ ก็มาช่วยคุ้มกันพื้นที่ไม่ให้ชาวบ้านกลับเข้ามา เจ้าของที่ดิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[2] ซึ่งมีพลเอก ประภาส จารุเสถียร รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ซึ่งครั้งนั้นได้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีแผนในการพัฒนาที่ดินบริเวณสยามสแควร์ ให้เป็นแหล่งค้าขาย เพื่อป้องกันการบุกรุกที่ดินของชุมชนแออัดที่อยู่อาศัยแต่เดิม[3]

ในปี พ.ศ. 2508 ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งเป็นเจ้าของสถานที่ได้มอบหมายให้บริษัท เซาท์อีสท์เอเซียก่อสร้าง (ซีคอน เจ้าของ ซีคอนสแควร์) ทำการพัฒนาที่ดินขนาด 63 ไร่ เป็นศูนย์การค้าแบบเชิงราบ พื้นที่เปิดโล่ง พื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยอาคารพาณิชย์ สูง 3-4 ชั้น ชั้นล่างเป็นร้านค้า ชั้นบนเป็นที่อยู่อาศัย บริษัทก่อสร้างเสร็จปี 2507 จำนวน 550 ห้อง มีโรงภาพยนตร์ โรงโบว์ลิ่ง มีไอซ์สเก็ตติ้ง เป็นศูนย์การค้าแนวราบที่ใหญ่สุดของเมืองไทยในขณะนั้น[4] และเพิ่มเป็น 610 ห้อง ในเวลาต่อมา ซึ่งทางจุฬาฯ ให้สิทธิซีคอนเก็บผลประโยชน์จากผู้เช่าห้องแถว 10 ปี จากนั้นทางจุฬาฯ ก็เก็บผลประโยชน์ต่อ[3]

เดิมสยามสแควร์ใช้ชื่อว่า ปทุมวันสแควร์ มี พล.อ.ประภาส จารุเสถียร รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยในตอนนั้นเป็นประธานวางศิลาฤกษ์ ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น สยามสแควร์ และในขณะนั้นฝั่งตรงข้ามกำลังสร้างโรงแรมสยามอินเตอร์-คอนติเนนตัล ซึ่งเดิมทีจะใช้ชื่อโรงแรมว่า บางกอกอินเตอร์-คอนฯ แต่แล้วก็เปลี่ยนชื่อเป็น โรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัลในเวลาไร่เลี่ยกัน (ปัจจุบัน ทุบทิ้งสร้างเป็นสยามพารากอน)[4] และศูนย์การค้าที่สร้างใหม่ในบริเวณนั้น ก็ตั้งชื่อให้สอดคล้องกัน คือ สยามเซ็นเตอร์

ไฟล์:Siamsquareinpast.jpg
ภาพสยามสแควร์ ในอดีต

มีการวางผังอาคาร ถนน ที่จอดรถ ระบบสาธารณูปโภค และอาคารขนาดใหญ่ประกอบด้วย โรงภาพยนตร์ จำนวน 3 โรง โรงโบว์ลิ่ง ธุรกิจที่เข้ามาเปิดดำเนินการส่วนใหญ่เป็นร้านอาหาร ร้านหนังสือ ร้านเสื้อผ้า และร้านตัดผม ซึ่งย้ายหรือขยายสาขามาจากย่านอื่น เช่น วังบูรพา สุรวงค์ สีลม[5]จุดเด่นของสยามสแควร์อยู่ที่มีโรงหนังถึง 3 โรง คือ สยาม และลิโด สร้างก่อน แล้วต่อมาจึงสร้าง สกาลา บริเวณโรงหนังสกาลา เดิมจะทำเป็นไอซ์สเก็ตติ้ง แต่มีปัญหา จึงเปลี่ยนมาเป็นโรงหนังแทน และได้กลุ่มเอเพ็กซ์ ของ คุณพิสิษฐ์ ตันสัจจา เข้ามารับผิดชอบ ส่วนโรงโบว์ลิ่งได้ กลุ่มเจริญรัชตะภาคย์ เครือโรงแรมเพรสิเด้นท์ มาดำเนินการ[4] ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 ได้มีการรื้อโรงโบว์ลิ่งออก สร้างเป็นโรงแรมโนโวเทล สยามสแควร์

ปี 2540 เกิดวิกฤตทางด้านเศรษฐกิจในประเทศไทยอย่างหนัก ผู้คนไม่มีกำลังซื้อ และค่าเช่าห้องแถวซึ่งปรับตัวสูงมากก่อนหน้านี้ สำนักทรัพย์สินจุฬาฯได้ปรับราคาค่าเช่าขึ้นถึง 1,200% จากค่าเช่าเซ้งเดิม 10 ปี ราคา 500,000 บาท ปรับขึ้นเป็นราคา 6-7 ล้านบาท ถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของผู้ค้าขายในสยามสแควร์ ถึงขนาดมีการชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่ จนในที่สุดจุฬาฯได้ปรับลดลงจาก 1,200% ที่ขึ้นราคา ลดลงเหลือ 600% ขณะเดียวกันช่วงเดียวกันนี้ กำลังมีก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส [3]

ทำให้ผู้เช่าร้านจำนวนมากอยู่ไม่ได้จึงตัดสินใจปิดตัวไปเป็นจำนวนมาก ร้านตัดเสื้อหลายแห่งต้องเปลี่ยนรูปแบบ มาเป็นขายเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพื่อให้เหมาะกับกำลังซื้อของลูกค้า พฤติกรรมการซื้อของของคนเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ขณะเดียวกันก็เกิดเจ้าของธุรกิจรายเล็กๆ เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันทางจุฬาฯ ให้เช่าเพื่อเป็นโรงเรียนกวดวิชา โดยเฉพาะซอย 5-6-7 จากเดิมมีไม่กี่โรงเรียน ก็เพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 50 โรงเรียน เมื่อรถไฟฟ้าสร้างแล้วเสร็จก็ยิ่งทำให้สยามสแควร์กลายเป็นศูนย์กลางเดินทางเข้าถึงได้สะดวกมากขึ้น[2]

และเมื่อ พ.ศ. 2541 มีการปรับปรุงพื้นที่บริเวณซอย 5 ให้เป็นศูนย์รวมวัยรุ่น มีลานกิจกรรม ลานน้ำพุ เรียกว่า เซ็นเตอร์พอยต์ เปิดดำเนินการเมื่อ พ.ศ. 2542 ที่สร้างสีสันและความคึกคักขึ้น มีสินค้าและบริการหลายอย่างที่ต้องการเปิดตัว ก็มักมาทำกิจกรรมที่นี่ อีกทั้งการเปิดตัวของสยามพารากอน และการปรับโฉมของสยามเซ็นเตอร์ มาบุญครอง ก็เอื้อให้จำนวนคนที่แวะเวียนมาในสยามสแควร์มากขึ้น[3]

ในปี 2548 สำนักทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการปรับขึ้นราคาเช่าพื้นที่เพิ่มขึ้นอีก 600% โดยอ้างว่าไม่ได้ขึ้นค่าเช่ามานานนับสิบปี ทำให้โรงเรียนกวดวิชา ซึ่งปักหลักอยู่ที่นี่มานาน เริ่มหันไปหาทำเลแห่งใหม่ เช่น โรงเรียนกวดวิชาของอาจารย์อุ๊ ได้ย้ายไปเปิดอาคารแห่งใหม่ที่หัวมุมถนนศรีอยุธยา[3]

31 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ถือเป็นวันสิ้นสุดสัญญาเช่าของบริษัท พรไพลิน ในการเช่าพื้นที่บริเวณเซ็นเตอร์พ้อยท์ และสำนักทรัพย์สินจุฬาฯ ได้เปิดประมูลพื้นที่ใหม่[3] โดยมีการจัดงานอำลาในชื่องานว่า "เซ็นเตอร์พ้อยท์ อินฟินีตี้ ปาร์ตี้" โดยในงานมีการปิดถนนหน้า เซ็นเตอร์พ้อยท์ (สยามสแควร์ซอย 7) และจัดคอนเสิร์ต 2 เวที มีศิลปิน นักร้อง ดีเจ วีเจ มาร่วมงานมากมาย[6] และภายหลังจากนี้อีกไม่กี่เดือน จะมีการก่อสร้างอาคารแบบใหม่ ในคอนเซ็ปต์ "ดิจิตอล ซิตี้"[7]

ธุรกิจ

ธุรกิจในสยามสแควร์มีความหลากหลาย ทั้งโลกของแฟชั่น อาหาร พื้นที่โฆษณา โรงเรียนกวดวิชา สังคมเด็กแนว หรือในแวดวงทางการธุรกิจการตลาด เป็นสถานที่ที่มีการทดลองสินค้า และกิจกรรมการตลาดแบบแปลกใหม่และเข้มข้นที่สุดแห่งหนึ่ง [8] มีจำนวนคนเดินในสยามสแควร์ในวันธรรมดาเฉลี่ยวันละ 20,000 คน วันหยุดไม่ต่ำกว่า 50,000 คน ซึ่งแต่ละคนมีกำลังซื้อเฉลี่ย 1,000 บาท/ครั้ง/คน[9]

โรงเรียนสอนพิเศษ

สยามสแควร์ ถือว่าเป็นสถานที่หนึ่งในกรุงเทพมหานครที่มีโรงเรียนสอนพิเศษ หรือ โรงเรียนกวดวิชาที่มากที่สุดเขตหนึ่ง มีทั้งโรงเรียนขนาดเล็กและขนาดใหญ่รวมประมาณ 30 โรงเรียน โดยทั่วไปจะเปิดสอนรอบเดียวในวันธรรมดามีนักเรียนมาติวประมาณ 10,000-20,000 คน หากเป็นวันเสาร์-อาทิตย์ จะเปิดสอนประมาณวันละ 4 รอบ ซึ่งอาจพูดได้ว่าจะมีนักเรียนเพิ่มขึ้นอีก 4 เท่า หรือถ้านับเฉลี่ยต่อสัปดาห์แล้ว มีผู้เข้ามาเรียนเกือบ 1 แสนคนที่หมุนเวียนมากวดวิชา เหตุเพราะสถานที่ตั้งของสยามสแควร์เป็นทำเลที่เข้าถึงสะดวกสบาย มีรถไฟฟ้ามาถึง ก็ยิ่งทำให้โรงเรียนกวดวิชามีมากขึ้นและหลากหลายประเภท ตั้งแต่การสอนวิชาพื้นฐาน สังคม ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ไปจนถึงวิชาที่ต้องติวเข้มอย่างหนัก อย่างเคมี ฟิสิกส์[10]

สำหรับโรงเรียนกวดวิชาย่านสยามสแควร์ อาทิ กวดวิชาบ้านคณิต-วิทย์ เตรียมวิทยา กวดวิชาภาษาอังกฤษอาจารย์ชัชชัย กวดวิชาอาจารย์สุทัศน์ บ้านคำนวณ ศูนย์ความรู้สัญญา กวดวิชานวศึกษาสยามสแควร์ คลังปัญญา วิทย์ศิลป์ เดอะติวเตอร์สยามสแควร์ กวดวิชาวรรณวัชร กวดวิชาวรรณสรณ์สยามสแควร์ (เคมีอ.อุ๊) วิทย์ศิลป์สยามสแควร์ บุญเลิศลีลาศ ดนตรีสยามสแควร์ เป็นต้น[11]

สื่อ

จอเชกเกอร์สกรีน ร้านมิลค์พลัส

พื้นที่บริเวณสยามสแควร์ นอกจากเป็นสนามทดลอง การประชาสัมพันธ์ของแบรนด์สินค้าใหม่ ๆ และบริการต่าง ๆ แล้ว ยังเป็นสื่อใหม่ ๆ ที่มึความคิดสร้างสรรค์แปลก ๆ ใหม่ ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์สินค้าต่าง ๆ ให้เป็นที่สะดุดตาของคนทุกกลุ่ม ทุกวัย

ปัจจุบันนี้สื่อขนาดใหญ่และเด่นที่สุดในพื้นที่สยามสแควร์คือจอ LED ขนาด 4 x 4.5 เมตร มีชื่อเรียกว่า "Shaker Screen" จอนี้ติดตั้งอยู่บนตึกแถวขนาด 4 ชั้น บริเวณร้านมิลค์พลัส ตรงข้ามลานน้ำพุเซ็นเตอร์พ้อยท์ ซึ่งมีการลงทุนสูงกว่า 25 ล้านบาท มีการประเมินว่าทุก ๆ 3-5 นาทีจะมีคนแหงนหน้ามอง ในรูปแบบของรายการเพลง และศิลปินคนดัง ซึ่งมีภาพเคลื่อนไหวตลอดทุก ๆ 15-30 นาที มีระบบเสียงรอบทิศที่มีรัศมีความดังตั้งแต่สยามสแควร์ ซอย 1-7 และมีระยะการชมประมาณ 10 -20 เมตร

การขายสื่อบริเวณเซ็นเตอร์พ้อยท์จะนิยมซื้อขายกันเป็นแพ็กเกจ ซึ่งมีราคาอย่างต่ำ 1 ล้านบาท สิ่งที่ได้รับคือโฆษณาบนจอโทรทัศน์ วิทยุ และกิจกรรมต่างๆ หรือจะแบ่งเช่าเป็นส่วนๆ เช่น ค่าเช่าลานกิจกรรมครั้งละ 30,000 -100,000 บาท

นอกจากนี้ยังมีสื่ออื่น ๆ ที่เกิดขึ้นมาเป็นสิ่งตกแต่งกลายๆ ของสยามสแควร์ไปด้วย[12]

ประเภทสื่อ รายละเอียด จุดที่ติดตั้ง สินค้าที่นิยมใช้สื่อประเภทนี้
โพลแบนเนอร์ แอด
(Polebanner Ad)
มีลักษณะเป็นป้ายรูปแบบธงญี่ปุ่น ขนาดพื้นที่โฆษณา 2.5 x 0.6 เมตร พิมพ์ด้วยระบบอิงค์เจ็ตออนไวนีลทึบแสง ติดประกบหน้าหลัง 89 ป้าย บริเวณเสาไฟฟ้าทั่วสยามสแควร์ รองเท้า เครื่องดื่ม สินค้าคอนซูเมอร์
เบ็นช์ แอด
(Bench Ad)
สติกเกอร์สกรีนตัวม้านั่งหรือมีหุ่นประกอบ ขนาดพื้นที่โฆษณา 3 ตร.ม. และ 6 ตร.ม. 4 จุด บริเวณลานตรงข้ามเซ็นเตอร์พ้อยท์ รองเท้า สายการบิน กางเกงยีนส์ ขนมขบเคี้ยว
ไลต์ บ็อกซ์
(Light Box)
สื่อขนาดใหญ่ใช้งานได้ทั้งกลางวันและกลางคืน สามารถแสดงภาพโฆษณาได้เต็มพื้นที่ 2.7 ตร.ม. มี 3 ด้านต่อ 1 ป้าย 24 ป้าย บริเวณต้นซอยในสยามสแควร์ แฟชั่น เครื่องสำอาง สินค้าคอนซูเมอร์
ไตรวิชัน แอด
(Trivision Ad)
แสดงภาพ 3 หน้า/ป้าย ขนาด 4x8 เมตร ทำงานวันละ 18 ชม. ตั้งแต่ 06.00-24.00 น. พิมพ์ด้วยระบบอิงค์เจ็ต ลงบนสติกเกอร์ โดยยึดโครงสร้างเหล็กไว้กับตึก 3 จุด บริเวณสยามสแควร์ซอย 7 ขนมขบเคี้ยว เครื่องดื่ม อาหารประเภทฟาสต์ฟู้ด
สโคลล์ แอด
(Scroll Ad)
ป้ายตั้งส่องสว่าง พื้นที่โฆษณา 1.6 X 1.0 เมตร ในรูปแบบเคลื่อนได้ 1 ด้าน และติดตาย 1 ด้าน 10 ป้าย ทั่วสยามสแควร์ สินค้ากีฬา แฟชั่น โอเปอเรเตอร์โทรศัพท์มือถือ
พิลลาร์ แอด
(Pillar Ad)
ป้ายโฆษณาแบบไลต์ บ็อกซ์แสดงภาพโฆษณา 3 ด้านแนวตั้ง สามารถหมุนได้รอบ ขนาด 1.8 x 1.2 เมตร 13 ป้าย ทั่วสยามสแควร์ ภาพยนตร์ แฟชั่น

อาหาร

กาโตว์ เฮ้าส์ ร้านเบเกอรี่ที่เปิดที่สยามสแควร์ซอย 4

สยามสแควร์ ยังเป็นศูนย์รวมร้านอาหารนานาชาติ และร้านอาหารมากมายและเครื่องดื่ม ที่กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ 67 ไร่ มีจำนวนร้านมากถึง 150 ร้าน[13]ไม่ว่าจะเป็นข้าวแกงราคาถูกจนถึงอาหารราคาแพง ในส่วนของชื่อร้านจะถูกตั้งตามสมัยนิยม อย่างเช่นร้านอาหารเมื่อหลายสิบปีก่อน มักจะมีคำว่า เฮ้าส์ ห้องอาหาร ภัตตาคาร อาทิ ยูเอฟเอ็ม เบเกอรี่ เฮ้าส์ นิวไลท์ คอฟฟี่เฮ้าส์ ภัตตาคารหูฉลามสกาล่า และรสดีเด็ด เป็นต้น

เวลาเปิด-ปิดของร้านอาหารในสยามสแควร์ บางร้านอาจเริ่มตั้งแต่หกโมงเช้าเพื่อรองรับมื้อแรกของคนทำงานย่านนั้น เช่น โจ๊ก แต่ส่วนใหญ่จะเปิดบริการก่อนเที่ยงวัน และมีบางร้านปิดบริการเมื่อเข้าสู่วันใหม่ และมีหลายร้านที่เปิดถึง 12 ชั่วโมง เช่น ภัตตาคารหูฉลามสกาล่า เปิดบริการตั้งแต่ 11.00-23.00 น.

สำหรับร้านอาหารแบรนด์ชื่อดัง อย่างเช่น ห้องอาหารสีฟ้า ที่เปิดที่สยามสแควร์มากกว่า 31 ปี (ในปี 2550),เอ็มเค สุกี้,ก๋วยเตี๋ยวเรือท่าสยาม (เปิดในปี 2542)และ กาโตว์ เฮ้าส์ ร้านเบเกอรี่ที่เปิดที่สยามสแควร์ซอย 4 เป็นแห่งแรก ตั้งแต่ปี 2530 นอกจากนั้นยังมีธุรกิจอาหารประเภทใหม่ อย่างเช่นร้านตำนัว, ไอดิน กลิ่น ครก , เดอะ ครก และกระต๊าก

แบรนด์ดังๆ อย่าง เอ็มเค สุกี้ เคเอฟซี พิซซ่าฮัท ดังกิ้นโดนัทจะเช่าพื้นที่บริเวณอาคารซึ่งติดกับถนนพระราม 1 ด้วยพื้นที่เช่า 2-3 ชั้น โดยดังกิ้น โดนัท บริเวณด้านหน้าซอย 4 ถือเป็นสาขาแรกในประเทศไทย และยังมีร้านโอ บอง แปง เกิดขึ้นในอาคารเดียวกัน ดังกิ้นโดนัทสาขาสยามสแควร์ยังคงเป็นสถานที่นัดพบ ติวหนังสือของเด็กนักเรียนย่านนี้ด้วย ส่วนร้านอาหารที่หาทานยากจะพบได้ที่สยามสแควร์ที่เดียวอย่างเช่น เอแอนด์ดับบลิว ตั้งอยู่ตรงข้ามกับน้ำพุเซ็นเตอร์ พ้อยท์ และจุฑารส ซอย 1 ซึ่งมีลูกชิ้นรสเด็ดและผัดไทยกุ้งสดเป็นเมนูขึ้นชื่อ เปิดบริการมากว่า 38 ปี และรสดีเด็ด ที่เปิดมาร่วม 30 ปี เป็นต้น ส่วนทางด้านธุรกิจร้านอาหารกลางคืน อย่าง ฮาร์ดร็อกคาเฟ่ ซอย 11 และ กินดื่ม ทูซิท ซอย 3 ที่เป็นร้านอาหารกึ่งผับ เป็นต้น[14]

ร้านตัดผม

สยามสแควร์ถือเป็นสถานที่ที่มีร้านตัดผมมากที่สุดแห่งหนึ่ง โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ บาร์เบอร์ หรือร้านตัดผมชาย,สถาบันออกแบบทรงผม และ ซาลอน สำหรับบาร์เบอร์ ปัจจุบันมีเหลืออยู่ประมาณ 4 ร้าน ซึ่งเปิดมานานแล้วหลายร้านอย่างร้าน “สกาลาบาร์เบอร์” เป็นร้านตัดผมชายร้านแรกๆ ของสยาม เปิดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 โดยมีกลุ่มเป้าหมายต่างจากเพชรสยามเพชรสยามบาร์เบอร์ ด้วยความที่ไม่ตามแฟชั่น โดยมีลูกค้าส่วนใหญ่เป็น ”นายทหารและตำรวจชั้นผู้ใหญ่” ในสมัยนั้น ส่วนร้านตัดผมชายอื่นๆ เช่น แววสยามบาร์เบอร์และเพชรสยามบาร์เบอร์ ที่มีกลุ่มลูกค้าจากลูกค้าประจำ

มีการตั้งสถาบันออกแบบทรงผมในสยามสแควร์อย่างเช่น สถาบันออกแบบทรงผมเรืองฤทธิ์ ตั้งอยู่สยามสแควร์ ซอย 11 เริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 และยังมีโรงเรียนเกศเกล้า สถาบันอบรมแต่งผมออด๊าซ

สำหรับร้านซาลอน หรือร้านทำผมสมัยใหม่ที่มีจำนวนมากที่สุดในสยาม แต่ก็มีการเปิด-ปิด เปลี่ยนกันไปเช่นเดียวกันกับร้านค้าประเภทอื่นๆ ของสยามสแควร์ เพราะกระแสแฟชั่นที่คาดเดาไม่ได้ของวัยรุ่น ในปัจจุบันรูปแบบร้านทำผมที่ได้รับความนิยมคือร้านทำผมที่ทำผมสไตล์เกาหลี-ญี่ปุ่น อย่างเช่น ร้าน Chic Club, Q Cut, Art Hair เป็นต้น[15]

แฟชั่น

สยามสแควร์มีร้านค้าเสื้อผ้ามากถึงถึงกว่า 150 ร้าน ทั้งเสื้อผ้าสำเร็จรูปราคาถูก ถึงเสื้อแบรนด์นำเข้าจากต่างประเทศ และยังมีร้านรับตัดชุดวิวาห์ซึ่งมีกว่า 20-30 ร้าน [9]

ธุรกิจแฟชั่นเกี่ยวกับเสื้อผ้าในสยามสแควร์มีมานานแล้วและบางร้านก็ยังคงอยู่ อย่างเช่นร้านคิคูย่า ผู้ประกอบการที่ขายผ้าเมตร ในขณะเดียวกันสยามสแควร์ถือเป็นศูนย์รวมแฟชั่นอันหลากหลาย เสื้อผ้าตามกระแสแฟชั่นของวัยรุ่นมากมาย เสื้อผ้าที่ได้รับความนิยมเป็นแฟชั่นจากนักออกแบบรุ่นใหม่ และ ผู้ประกอบการรายเล็กรายย่อย โดยมีมากในบริเวณใต้โรงภาพยนตร์ลิโดและโซนบายพาสใกล้กับศูนย์หนังสือจุฬา มีร้านแฮปปี้ เบอร์รี่ ซึ่งเป็นร้านเสื้อผ้าวัยรุ่นที่ได้รับการโปรโมตผ่านสื่อมากที่สุด

ส่วนสินค้าแบรนด์เนมชื่อดัง กลับไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร หลายรายก็ปิดตัวไปอย่างร้านเพลย์ บอย แต่ก็ยังคงมีร้าน ลาคอสท์ นอติก้า เซอรูติ ที่ยังคงเปิดอยู่[16]

เพลงและหนัง

โรงภาพยนตร์สกาล่า

แผงเทปและแผงซีดีในสยามสแควร์นั้น ร้านที่มีชื่อเสียงคือร้านดีเจสยาม แต่เดิมอยู่บริเวณหน้าดังกิ้นโดนัท จนย้ายมาอยู่ใกล้เซ็นเตอร์พ้อยท์ในปัจจุบัน โดยร้านนี้มี เปี๊ยก ดีเจสยามที่สืบทอดธุรกิจครอบครัวเป็นเจ้าของร้าน มีเทคนิคการขายแบบชวนลูกค้าคุยและเชียร์ซีดีเพลงของศิลปิน รวมถึงมีกิจกรรมต่างๆ บริเวณหน้าร้านไม่ว่าจะเป็น แจกลายเซ็นของศิลปิน มินิคอนเสิร์ต เป็นต้น[17] ส่วนอีกร้านที่เปิดมานานกว่า 20 ปีคือร้านโดเรมี มีพนักงานขายหลักที่คนทั่วไปเรียก "ป้าโด" ได้มีการย้ายสถานที่ร้านอยู่หลายครั้ง ตั้งแต่สยามสแควร์ซอย 5 ย้ายมาริมถนนพระราม 1 ใกล้บริเวณรถไฟฟ้าลอยฟ้า จนปัจจุบันที่บริเวณสยามสแควร์ซอย 11 ร้านโดเรมีเคยมีข่าวถูกจารกรรมสินค้าจากร้านเป็นจำนวนมากเมื่อปี 2549[18] นอกจากนี้ยังมีร้านขายซีดีอีกประปรายตามสยามสแควร์ไม่ว่าจะเป็นใต้โรงหนังสยาม เป็นต้น

สำหรับโรงภาพยนตร์ในสยามสแควร์นั้น มีอยู่ 3 โรง ในเครือเอเพ็กซ์ คือภาพยนตร์สยาม ลิโด้ และสกาล่า โดยโรงภาพยนตร์แรกคือโรงภาพยนตร์สยาม มีที่นั่ง 800 ที่นั่ง ทำสํญญาเช่ากับทางจุฬาฯ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2510 ต่อมาคือโรงภาพยนตร์ลิโด้เดิมทีจะใช้คำว่าโรงภาพยนตร์จุฬา แต่เปลี่ยนเพราะเกรงต่อเสียงตำหนิและอีกโรงสกาล่า ทั้งสองโรงนี้ลงทุนสร้างโดย บริษัท สยามมหรสพ จำกัด ซึ่งเป็นเครือเดียวกับโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย โรงภาพยนตร์ลิโด้สัญญากับทางจุฬาฯ เมื่อวันที่ 1 กรกฏาคม พ.ศ. 2511 ส่วนสกาล่า ทำสัญญาเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2513 ต่อมาโรงภาพยนตร์ลิโด้ได้ปรับปรุงสร้างใหม่ในช่วงปลายปี 2537 เป็นโรงใหม่ 3 โรง หลังจากเกิดเพลิงไหม้ไปเมื่อวันที่ 16 มี่นาคม พ.ศ. 2536 เสียหายไปกว่า 10 ล้านบาท[19]

อื่น ๆ

สำหรับธุรกิจอย่างอื่นที่ได้รับความนิยมอย่างเช่น ร้านถ่ายรูปที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงปี 2543-2544 ที่เป็นการถ่ายแบบสนุกสนาน ได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่น ถึงแม้ความคึกคักในธุรกิจประเภทนี้จะลดลง อันด้วยเทคโนโลยีการถ่ายภาพจากกล้องดิจิตอลและโทรศัพท์มือถือ แต่ก็มีวัยรุ่นส่วนหนึ่งที่นิยมนำรูปที่ถ่ายนี้ไปขึ้นในไฮไฟฟ์และอัลบั้มออนไลน์บนเว็บต่างๆ [20]

นอกจากนั้นทางด้านธุรกิจหนังสือ สิ่งพิมพ์ เพราะสยามสแควร์ไม่เพียงแต่เป็นสถานที่ที่มีการแจกแผ่นพับ ใบปลิวประชาสัมพันธ์ทางการค้าอย่างกว้างขวาง จึงได้มีการเติบโตของกลุ่มหนังสือแจกฟรี ที่ได้รับการสนับสนุนจากธุรกิจโฆษณาสินค้าต่างๆ อีกที ก็เป็นที่ได้รับความนิยมจากกลุ่มวัยรุ่น ไม่ว่าจะเป็น You Are Here ที่ทำมานาน 3 ปี ที่กำลังต่อยอดไปยังนิตยสารออนไลน์ หรือนิตยสาร “Centerpoint Magazine” ที่แจกฟรีในเล่มแรกและประสบความสำเร็จดี เจ้าของก็ตัดสินใจทำเพื่อขาย โดยก็เริ่มทำเป็นนิตยสารรายเดือน และนิตยสารแจกฟรีอื่นๆ เช่น BK แมกกาซีน,Happening,@Siam[21]

ส่วนร้านค้าและอาคารประเภทอื่น ๆ ในสยามสแควร์เช่น ธนาคาร คลีนิกต่างๆ ร้านหนังสือ ร้านขายของขวัญ การ์ด อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน ร้านนาฬิกา ร้านแว่นตา ร้านขายยาและเวชภัณฑ์ ร้านดอกไม้ ร้านอัดล้างรูป สำนักงาน และ ร้านนวดแผนไทย[22]

ปัญหา การพัฒนาและปรับปรุง

นับตั้งแต่สยามสแควร์ได้เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 และธุรกิจมีการแข่งขันต่อเนื่อง ทั้งการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงภายนอก รูปแบบอาคารอยู่เสมอ แต่ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ รวมถึงภูมิทัศน์ ก็ย่อมเสื่อมสภาพและทรุดโทรมตามกาลเวลา ปัญหาที่ผู้ค้าและผู้ใช้บริการต้องประสบอยู่ เช่น สภาพภายนอกอาคารเก่า ทางเดินเท้าที่แคบและชำรุด ความสกปรกของระบบการระบายน้ำเสีย ปัญหาน้ำท่วม การวางระบบสาธารณูปโภคที่ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย เช่นสายไฟฟ้าหรือโทรศัพท์และระบบการกำจัดขยะ เป็นต้น ซึ่งมีการแก้ปัญหาเป็นบางส่วน แต่ระบบสาธารณูปโภคโดยรวมยังไม่ได้มีการวางแผนระยะยาว[5]

การปรับขยายทางเท้าให้กว้างขวางขึ้น

มีการปรับปรุงดำเนินการปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่างในบริเวณสยามสแควร์ใหม่ทั้งหมด มีการขอความอนุเคราะห์จากสถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน ในการจัดเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจเพิ่มเติม เพื่อความปลอดภัยของผู้ประกอบการและผู้ใช้บริการ รวมทั้งเจ้าหน้าที่จัดความเรียบร้อยและการจราจรในบริเวณสยามสแควร์ สำหรับในด้านระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานมหาวิทยาลัยได้ดูแล มีการซ่อมบำรุงผิวจราจร จ้างทำความสะอาดกวาดพื้นถนน ทางเท้า ดูแลรักษาบำรุงสวนหย่อม จัดจ้างล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำปีละอย่างน้อย 6 ครั้ง การบริหารจัดการต่างๆของมหาวิทยาลัย ในบริเวณสยามสแควร์นั้น[5]

ในปี 2541 สยามสแควร์ได้เริ่มโครงการ Siam Square Animation Windows คือมีการแพร่ภาพสื่อผ่านทางจอโทรทัศน์ โดยเริ่มจากมีจอโทรทัศน์ พลาสม่าจำนวน 8 จุด บริเวณใต้โรงภาพยนตร์สยามและลิโด้[5]

ส่วนปัญหาของผู้ค้าคือปัญหาเรื่องค่าเช่า โดยเริ่มจากการขึ้นค่าเช่าในปี 2540 จากค่าเช่าเซ้งเดิม 10 ปี ราคา 500,000 บาท ปรับขึ้นมาก 600% จากนั้นในปี พ.ศ. 2548 ได้มีการปรับค่าเช่าใหม่อีก 600% อยู่ที่ 80,000-160,000 บาทต่อเดือนต่อคูหา ซึ่งอัตราค่าเช่าจะขึ้นอยู่กับแต่ละทำเล คือบริเวณที่แพงที่สุด (พื้นที่เอบวก) คือติดสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส หรือบริเวณสยามสแควร์ซอย 3-4 มีพื้นที่ให้เช่าทั้งหมด 48 คูหา จากทั้งหมด 610 คูหา จะคิดค่าเช่าขึ้นเป็น 2.5 แสนบาทต่อเดือนต่อคูหา และจะสัญญาใหม่ทุกๆ 3-5 ปี และหากเป็นทำเลมีศักยภาพมากจะทำสัญญาระยะสั้น 3 ปี สัดส่วนของเกรดทำเลพื้นที่ในสยามสแควร์ คือพื้นที่ระดับเอบวก ที่อยู่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส กับเซ็นเตอร์พอยต์ สยามสแควร์ซอย 3 และ 4 ประมาณ 8% ระดับเอ 22% และที่เหลือคือระดับบีอีก 70%

อัตราการคิดราคาในแต่ละทำเลนั้นไม่ตายตัว โดยจุฬาฯ จะให้ส่วนลดกับผู้เช่าเก่าที่เช่ากับจุฬาฯโดยตรง และถ้าไม่ได้ปล่อยเช่าช่วงเป็นเวลาตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไปก็จะมีการปรับลดราคาค่าเช่าให้อีก 50% ของค่าเช่าที่ปรับใหม่[23]

การปรับขึ้นราคาครั้งนี้ทำให้ผู้เช่าต่างไม่พอใจกับการขึ้นราคาไม่เป็นธรรมนี้ โดยประเด็นคือ ส่อให้เห็นถึงความไม่โปร่งใสและการกระทำที่ผิดกฎหมายอยู่หลายประเด็น มีการปรับค่าเช่าที่สูงไป และไม่เปิดโอกาสให้ตัวแทนผู้เช่าซึ่งเป็นคู่สัญญาได้เข้าพูดคุยการปรับค่าเช่า[24]

ยังก่อให้เกิดปัญหาตามมาไม่ว่าจะเป็นเกิดความระแวงกันเอง ความร้าวฉานระหว่างผู้ประกอบการด้วยกัน ยังมีปัญหากังวลต่อการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ ของเจ้าหน้าที่ของสำนักงานจัดการทรัพย์สิน อีกทั้งความเอาแน่เอานอนไม่ได้ในการดำเนินการของผู้บริหารมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผลต่อการประกอบธุรกิจในสยามสแควร์ในอนาคต[25]

อนาคต

จากแผนสรุปการวางผังแม่บทในช่วงปี พ.ศ. 2547 ได้วางผังแม่บทไว้ให้สยามสแควร์เป็นวอล์กกิง สตรีต มอลล์แห่งแรก และในปี 2551 เป็นช่วงจังหวะที่สัญญาเช่าพื้นที่ในหลาย ๆ จุดจะหมดสัญญาลง สำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาฯ ได้ออกมาประกาศว่า จะพลิกโฉมสยามสแควร์ ไปสู่รูปแบบการพัฒนาครั้งใหม่ โดยเริ่มจากพื้นที่ 1 ไร่เศษของลานเซ็นเตอร์พ้อยส์ระหว่างซอย 3 และซอย 4 จึงได้ดำเนินตามผังแม่บทใหม่มีการเปิดประมูลให้เอกชนรายใหม่เข้ามาพัฒนาพื้นที่[8] สำหรับผู้ที่ชนะการประมูลในครั้งนี้คือบริษัท ทิพย์พัฒนอาร์เขต จำกัด มานำเสนอรูปแบบของ "ดิจิตอลซิตี้" มาเป็นจุดขาย คือสร้างทางเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าที่เรียกว่า “ดิจิตอล เกตเวย์” และมีการทางเดินยกระดับที่เปิดร้านให้เช่าด้วย

ไฟล์:ดิจิตอลเซ็นเตอร์พ้อยท์เกตเวย์.jpg
โครงการดิจิตอล เกตเวย์ ในอนาคต

จะเป็นรูปแบบอาคาร 4 ชั้น รูปทรงของหลังคามีลักษณะเป็นรูปทรงอิสระคล้ายคลื่น ใช้วัสดุก่อสร้างที่ทันสมัยที่สุด คือ กระจก อะลูมิเนียม และหลังคาผ้าใบ ภายในอาคารมีร้านค้าปลีก โดยเฉพาะชั้น 2 และชั้น 3 ที่ขายเสื้อผ้า และอาหาร มีสินค้าไอที และชั้นบนสุดเป็นลานกว้างและสวนต้นไม้ ที่เรียกว่า "Roof Garden" โดยส่วนชั้น 3 ต่อเชื่อมกับดิจิตอล เกตเวย์หรือทางเข้าสู่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส และชั้นล่างสุดคือลานแสดงเทคโนโลยีที่ทันสมัย ที่เรียกว่า ดิจิตอล คอนเวนชัน ฮอลล์เป็นเหมือนศูนย์แสดงนิทรรศการ[26] อีกทั้งทางเดินเชื่อมที่เรียกว่า "สกายวอร์ก" เพื่อเชื่อมต่อกับพื้นที่จากฝั่งราชประสงค์ และ ฝั่งมาบุญครอง เข้ามาบริเวณสยามสแควร์และขยายธุรกิจการค้าขายลอยฟ้า โดยสกายวอร์กหรือทางเดินยกระดับจะทำให้บริเวณชั้นสองสาม มีมูลค่าการค้าขายมากขึ้น[27]

ส่วนพื้นที่บริเวณอื่น จะมีการพัฒนาพื้นที่บริเวณด้านหลังโรงแรมโนโวเทล บริเวณร้านสุกี้แคนตัน เป็นโครงการอาคารจอดรถ 10 ชั้น มีเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ครึ่ง ที่สามารถรองรับปริมาณการจอดรถได้ 800 คัน และ จัดพื้นที่ภายในเพื่อให้ร้านค้าเข้ามาเช่าภายในตัวอาคาร โดยจุฬาฯเป็นผู้ลงทุนมูลค่าการลงทุน 1,000 ล้านบาท เริ่มดำเนินการก่อสร้างต้นปี 2551[27]

สำหรับแผนระยะยาว คาดว่าจะมีอาคารจอดรถอีกแห่งที่คาดว่าจะดำเนินการขึ้น หลังจากโครงการจอดรถบริเวณด้านหลังโรงแรมโนโวเทลเสร็จสิ้นลง คือ อาคารจอดรถบริเวณหัวมุมถนนฝั่งมาบุญครอง บริเวณร้านฮาร์ดร็อกคาเฟ่ สูง 10 ชั้น และโครงการต่อมาคือโครงการโรงแรม 3 ดาวครึ่ง ขนาด 25 ชั้น 400 ห้อง ติดกับโรงแรมโนโวเทล คาดว่าจะเป็นโครงการที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับอาคารที่จอดรถแห่งใหม่ บริเวณร้านสุกี้แคนตัน เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่เป็นโรงแรมระดับ 3 ดาว เพื่อความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เน้นคนระดับกลางไม่หรูหราเกินไป[27]

สยามสแควร์ในวัฒนธรรมสมัยนิยม

จากภาพยนตร์เรื่องรักแห่งสยาม ที่มีฉากหลังส่วนใหญ่อยู่ที่สยามสแควร์

สยามสแควร์เป็นสถานที่ที่เป็นศูนย์กลางของวัยรุ่นตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน จึงทำให้มีภาพยนตร์ใช้สยามสแควร์เป็นฉากหลังในการดำเนินเรื่อง รวมถึงเนื้อหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นที่สยาม อย่างเช่นภาพยนตร์เรื่อง "สยามสแควร์" ในปี พ.ศ. 2527 กำกับโดยศุภักษร ซึ่งทางวงร่วมแสดงด้วยโดย อนุสรา จันทรังษี และ สุริวิภา กุลตังค์วัฒนา ที่สามารถแสดงภาพความนิยมและชีวิตของกลุ่มวัยรุ่นในสยามสแควร์ได้ดี[5]

และในปี พ.ศ. 2550 ภาพยนตร์เรื่อง "รักแห่งสยาม" กำกับโดยชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล นำแสดงโดย สินจัย เปล่งพานิช , เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์ , ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี, มาริโอ้ เมาเร่อ , วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงศ์กุล, กัญญา รัตนเพชร์ และ อธิชา พงศ์ศิลป์พิพัฒน์ เป็นภาพยนตร์ความรักในรูปแบบต่างๆ และเรื่องราวส่วนใหญ่ก็เกิดขึ้นที่นี่ โดยการถ่ายทำส่วนใหญ่อยู่ที่สยามสแควร์ เหตุที่ใช้ฉากหลังเป็นสยามสแควร์เพราะผู้เขียนบทที่ได้เริ่มเขียนบทตอนอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เกิดความประทับใจ จึงเป็นที่มาของบทภาพยนตร์เรื่องนี้[28]

นอกจากนี้สยามสแควร์ยังเป็นสถานที่ที่ถ่ายมิวสิกวิดีโออยู่หลายตัว ไม่ว่าจะเป็น มิวสิกวิดีโอเพลง Gossip ของวงเกิร์ลลี่ เบอร์รี่[29], เพลง SAY Hi ของ ฟิล์ม รัฐภูมิ[30], กันและกัน ของคิว วงฟลัวร์[31] และเพลง ลำพัง ของวงเบิร์น[32] เป็นต้น

อ้างอิง

  1. เส้นทางเดินเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 48 พรรษา สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว
  2. 2.0 2.1 Lucky Charm สยามสแควร์ Positioning Magazine ตุลาคม 2550
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 วัฒนะชัย ยะนินทร, จากสลัม สู่เซ็นเตอร์ของวัยโจ๋ Positioning Magazine ตุลาคม 2550
  4. 4.0 4.1 4.2 ย้อนตำนาน"สยามสแควร์" จากปาก กอบชัย ซอโสตถิกุล
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 สยามสแควร์ สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  6. อำลา "เซ็นเตอร์ พ้อยท์" ปาร์ตี้สุขปนเศร้า วัยรุ่นนับหมื่นตบเท้าเข้าร่วมงาน newswit.com
  7. ปิดฉากตำนานเซ็นเตอร์พ้อยท์ gotomanager.com
  8. 8.0 8.1 วัฒนะชัย ยะนินทร ,ทศวรรษใหม่... สยามสแควร์ Positioning Magazine ตุลาคม 2550
  9. 9.0 9.1 วัฒนะชัย ยะนินทร, คุณรู้อะไรไหมในสยามสแควร์ Positioning Magazine ตุลาคม 2550
  10. สุกรี แมนชัยนิมิต,ร.ร.กวดวิชา-ลมหายใจสยามฯ Positioning Magazine ตุลาคม 2550
  11. หัวข้อ สภาวิศวกรชี้ผิดกม.100% จี้ย้าย300ตึก"ร.ร.กวดวิชา" จากหนังสือประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 17-01-2548
  12. อรรถสิทธิ์ เหมือนมาตย์ ,สนามประลองสื่อแปลกแหวกแนว Positioning Magazine ตุลาคม 2550
  13. นิตยสาร Positioning ฉบับที่ 41 เดือนตุลาคม 2550
  14. อรรถสิทธิ์ เหมือนมาตย์, กิน ดื่ม เที่ยว ตั้งแต่ยาจกถึงเศรษฐี Positioning Magazine ตุลาคม 2550
  15. ศศิขวัญ ศรีกระจ่าง, ที่สุดของร้านตัดผม Positioning Magazine ตุลาคม 2550
  16. อรรถสิทธิ์ เหมือนมาตย์, ถนนสายแฟชั่น Positioning Magazine ตุลาคม 2550
  17. สมคิด เอนกทวีผล, เปี๊ยก ดีเจสยาม ตำนานบนแผงเทป Positioning Magazine ตุลาคม 2550
  18. ร้านซีดี : ทางรอดยุคขาลง bangkokbiznews.com
  19. ประวัติโรงภาพยนตร์สยาม ลิโด้ และสกาล่า thaifilm.com
  20. สมคิด เอนกทวีผล ,ร้านถ่ายรูป “วัยใส”Positioning Magazine ตุลาคม 2550
  21. สุกรี แมนชัยนิมิต ,จุดนัดฝันคนทำหนังสือ Positioning Magazine ตุลาคม 2550
  22. รายละเอียดร้านค้าใน สยามสแควร์ สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  23. สยามสแควร์ Today & Tomorrow ถึงเวลา" สวนหมัด " เพื่อความอยู่
  24. ชมรมสยามสแควร์รบแตกหักจุฬา ฟ้องค่าเช่า"สัญญาไม่เป็นธรรม"
  25. พรรษิษฐ์ ต่อสุวรรณ ,ข้อสังเกตเกี่ยวกับกระบวนการขึ้นราคา และเรียกเก็บค่าเช่าในสยามสแควร์ คอลัมน์ คลื่นความคิด มติชนรายวัน วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ปีที่ 28 ฉบับที่ 9966
  26. สุกรี แมนชัยนิมิต ,ดิจิตอลเซ็นเตอร์พ้อยท์ เกตเวย์ “สยามสแควร์” Positioning Magazine ตุลาคม 2550
  27. 27.0 27.1 27.2 วัฒนะชัย ยะนินทร, ผังแม่บทที่ดินโฉมใหม่ของสยามสแควร์ Positioning Magazine ตุลาคม 2550
  28. รักแห่งสยาม thaicinema.org
  29. 4 สาว “เกิร์ลลี่ เบอร์รี่” ...เซ็กซี่ ป่วน! กลางสยามสแควร์ จนถึง สี่แยกราชประสงค์! yimsiam.com
  30. "ฟิล์ม-รัฐภูมิ" เผลอใจ...เกือบหอมแก้ม"พิตต้า" หวานใจเพื่อนซี้ โชว์แร็พกลางสยามสแควร์ ลงมิวสิกเพลง "SAY Hi"
  31. คิว วงฟลัว ทำกล้ากลางสยาม ฉายเดี่ยวถ่ายเอ็มวีเขินสุดๆ dailynews.co.th
  32. [http://www.centerpoint108.com/free/teen_news_index.asp?id=97 ย้ง-ทรงยศ โดนใจเพลง 'ลำพัง' เอ่ยปากกุมบังเหียนกำกับมิวสิกวิดีโอให้วง Burn] centerpoint108.com

แหล่งข้อมูลอื่น