ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธงชาติเซอร์เบีย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 68: บรรทัด 68:
=== ธงสมัยใหม่ ===
=== ธงสมัยใหม่ ===


รัฐธรรมนูญเซอร์เบียในปี [[ค.ศ. 1835]] ได้ระบุถึงลักษณะของธงชาติเซอร์เบียว่าเป็นธงสามสีแบบแนวนอน มีแถบสีแดง สีขาว และสีน้ำเงินเข้ม (ในต้นฉบับใช้คำว่า ''čelikasto-ugasita'' ซึ่งหมายถึงสีน้ำเงินเข้มจนเกือบดำ) รัฐธรรมนูญดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก[[รัสเซีย]] และแบบธงดังกล่าวเองก็ถูกมองว่าเป็นการจงใจเลือกให้พ้องกับธงรัฐบาลปฏิวัติของ[[ฝรั่งเศส]] (ในปี ค.ศ. 1835 ฝรั่งเศสอยู่ในยุคของ[[ราชวงศ์บูร์บงฟื้นฟู]] ใช้ธงสีขาวเป็นสัญลักษณ์) <ref>Mih. Gavrilovic, Suspendovanje prvog srpskog ustava februar-mart 1835 god., Arhiv za pravne i drustvene nauke, I, 1906, 410-412</ref> หลังจากนั้นไม่นาน จักรวรรดิออตโตมันจึงได้เรียกร้องให้ [[เจ้าชายมิโลช โอเบรโนวิช]] เจ้าผู้ครองราชรัฐเซอร์เบีย (Miloš Obrenović I, Prince of Serbia) ให้ร่างรัฐธรรมนุญใหม่โดยมีบทบัญญัติว่าด้วยธงชาติและตราแผ่นดิน<ref>D. Samardzic, Vojne zastave Srba do 1918, Beograd, 1983</ref> และหลังจากนั้นไม่นาน จึงได้มีราชโองการของจักรพรรดิแห่งออตโตมันในปีนั้น อนุญาตให้ชาวเซิร์บสามารถใช้ธงเดินเรือทะเลของตนเองได้ โดยธงดังกล่าวเป็นธงสามสี เรียงแถบสีแดงอยู่บน สีน้ำเงินอยู่กลาง และสีขาวอยู่ล่าง<ref>D. Matic, Javno pravo Knjazevstva Srbije, Beograd, 1851, 33</ref> นับได้ว่าเป็นการปรากฏขึ้นครั้งแรกของแถบสีธงที่กลายเป็นธงชาติเซอร์เบียปัจจุบัน
รัฐธรรมนูญเซอร์เบียในปี [[ค.ศ. 1835]] ได้ระบุถึงลักษณะของธงชาติเซอร์เบียว่าเป็นธงสามสีแบบแนวนอน มีแถบสีแดง สีขาว และสีน้ำเงินเข้ม (ในต้นฉบับใช้คำว่า ''čelikasto-ugasita'' ซึ่งหมายถึงสีน้ำเงินเข้มจนเกือบดำ) รัฐธรรมนูญดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก[[รัสเซีย]] และแบบธงดังกล่าวเองก็ถูกมองว่าเป็นการจงใจเลือกให้พ้องกับธงรัฐบาลปฏิวัติของ[[ฝรั่งเศส]] (ในปี ค.ศ. 1835 ฝรั่งเศสอยู่ในยุคของ[[ราชวงศ์บูร์บงฟื้นฟู]] ใช้ธงสีขาวเป็นสัญลักษณ์) <ref>Mih. Gavrilovic, Suspendovanje prvog srpskog ustava februar-mart 1835 god., Arhiv za pravne i drustvene nauke, I, 1906, 410-412</ref> หลังจากนั้นไม่นาน จักรวรรดิออตโตมันจึงได้เรียกร้องให้ [[เจ้าชายมิโลช โอเบรโนวิช]] เจ้าผู้ครองราชรัฐเซอร์เบีย (Miloš Obrenović I, Prince of Serbia) ให้ร่างรัฐธรรมนุญใหม่โดยมีบทบัญญัติว่าด้วยธงชาติและตราแผ่นดิน<ref>D. Samardzic, Vojne zastave Srba do 1918, Beograd, 1983</ref> และหลังจากนั้นไม่นาน จึงได้มีราชโองการของจักรพรรดิแห่งออตโตมันในปีนั้น อนุญาตให้ชาวเซิร์บสามารถใช้ธงเดินเรือทะเลของตนเองได้ โดยธงดังกล่าวเป็นธงสามสี เรียงแถบสีแดงอยู่บน สีน้ำเงินอยู่กลาง และสีขาวอยู่ล่าง<ref>D. Matic, Javno pravo Knjazevstva Srbije, Beograd, 1851, 33</ref> นับได้ว่าเป็นการปรากฏขึ้นครั้งแรกของแถบสีธงที่กลายเป็นธงชาติเซอร์เบียปัจจุบัน.<ref>{{cite web |url=http://www.flaggenlexikon.de/fserbien.htm |title=National flagge des Königreichs Serbien|accessdate=2004-11-03 |author=Volker Preuß|coauthors= }} {{de}}</ref>


แถบสีธงดังกล่าวนั้นเป็นการเรียงแถบสีกลับกันกับ[[ธงชาติรัสเซีย]]อย่างชัดเจน เรื่องเล่าต่างๆ ของชาวเซอร์เบียหลายเรื่องที่ยังคงอยู่ถึงทุกวันนี้ส่วนหนึ่งมักเป็นเรื่องของสาเหตุที่แถบสีธงเซอร์เบียสลับกับธงรัสเซีย ยกตัวอย่างเช่น<ref>{{cite news| author=LJ. M. V. - J. Ž. S.| title=Hej, Bože pravde!| date=2006-08-01| work =[[Vecernje novosti]]| url=http://www.novosti.rs/code/navigate.php?Id=1&status=jedna&vest=92154&datum=2006-07-25|accessdate=2007-04-17}}</ref>
แถบสีธงดังกล่าวนั้นเป็นการเรียงแถบสีกลับกันกับ[[ธงชาติรัสเซีย]]อย่างชัดเจน เรื่องเล่าต่างๆ ของชาวเซอร์เบียหลายเรื่องที่ยังคงอยู่ถึงทุกวันนี้ส่วนหนึ่งมักเป็นเรื่องของสาเหตุที่แถบสีธงเซอร์เบียสลับกับธงรัสเซีย ยกตัวอย่างเช่น<ref>{{cite news| author=LJ. M. V. - J. Ž. S.| title=Hej, Bože pravde!| date=2006-08-01| work =[[Vecernje novosti]]| url=http://www.novosti.rs/code/navigate.php?Id=1&status=jedna&vest=92154&datum=2006-07-25|accessdate=2007-04-17}}</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:26, 30 มิถุนายน 2554

ธงชาติเซอร์เบีย
ธงชาติ (Народна застава)
การใช้ธงพลเรือน และ ธงเรือพลเรือน
สัดส่วนธง2:3
ประกาศใช้16 ส.ค. 2004
ลักษณะธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบ่งสามแถบแนวนอน สีแดง-น้ำเงิน-ขาว
ธงรัฐบาล (Државна застава)
การใช้ธงราชการ ธงเรือราชการ และ ธงกองทัพ
สัดส่วนธง2:3
ประกาศใช้16 ส.ค. 2004
ลักษณะธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบ่งสามแถบแนวนอน สีแดง-น้ำเงิน-ขาว มีตราอาร์มน้อยของเซอร์เบีย[1]
การใช้ธงนาวี
สัดส่วนธง2:3
ประกาศใช้2006
ลักษณะธงสีแดง มีรูปธงราชการที่มุมธงบนด้านคันธง

ธงชาติเซอร์เบีย เป็นธงสามสีพื้นสีอุดมการณ์ร่วมสลาฟ (Pan-Slavic colours) โดยแบ่งภายในเป็นแถบแนวนอน 3 ริ้ว มีสีแดงอยู่บนสุด สีน้ำเงินอยู่กลาง สีขาวอยู่ล่าง ธงดังกล่าวนี้ได้ปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์เซอร์เบียในรูปแบบต่างๆ ที่หลากหลาย และถือกันว่าเป็นธงชาติของชนชาวสลาฟทั้งมวล สำหรับธงที่ใช้ในราชการนั้นจะมีรูปตราอาร์มแผ่นดินอย่างย่อของเซอร์เบียอยู่ตรงกลาง โดยตำแหน่งของตรานั้นจะห่างจากด้านซ้ายของธง 1 ใน 7 ส่วนของความยาวธง[2]

ธงลักษณะข้างต้นนี้เดิมเคยใช้เป็นธงชาติของราชอาณาจักรเซอร์เบียตั้งแต่ปี ค.ศ. 1882 จนถึงปี ค.ศ. 1918 เมื่อเซอร์เบียเข้าร่วมในราชอาณาจักรเซอร์เบีย, โครเอเชีย และสโลวีเนีย ต่อมาในปี ค.ศ. 1945 เซอร์เบียได้กลายเป็นสาธารณรัฐภายใต้การปกครองของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย รูปดาวแดงของลัทธิคอมมิวนิสต์จึงได้ถูกเพิ่มลงบนธงชาติเซอร์เบียตราบจนกระทั่งได้มีการยกเลิกอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1992 สำหรับธงที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้เป็นธงที่ได้รับการรับรองจากรัฐสภาเซอร์เบียอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ. 2004[3] ต่อมาเมื่อเซอร์เบียได้มีการประกาศรัฐธรรมนูญใหม่ในปี ค.ศ. 2006 การใช้ธงสามสีแดง-น้ำเงิน-ขาว เป็นธงชาติ จึงได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการตามรัฐธรรมนูญ (พร้อมกันกับตราแผ่นดินและเพลงชาติ) โดยทั้งธงชาติและธงรัฐบาลนั้นถือเป็นธงที่มีสถานะเท่าเทียมกัน[4] ธงของเซอร์เบียแบบที่ไม่มีตราแผ่นดินนั้น เดิมเคยใช้ในฐานะของธงชาติและธงราชการ นับตั้งแต่การประกาศรัฐธรรมนูญฉบับ ค.ศ. 2006 เป็นต้นมา ธงนี้มีสถานะเป็นธงชาติเพียงธงเดียวเท่านั้น

แบบธง

ธงชาติเซอร์เบียมีลักษณะกว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ความกว้างของแต่ละแถบสีทั้งสามแถบเป็น 1 ใน 3 ของความกว้างทั้งหมด โดยใช้ค่าสีแต่ละสีดังนี้[5]

ไฟล์:Flag of Serbia construction sheet.png

ประวัติ

ยุคกลาง

ธงของกษัตริย์วลาดิสลาฟ

แบบจำลองของธงเซอร์เบียโบราณ ตามความในบันทึกปี ค.ศ. 1281

คำบรรยายลักษณะธงของเซอร์เบียที่เก่าแก่ที่สุดปรากฏอยู่ในเอกสารคำพรรณาว่าด้วยทรัพย์สมบัติของกษัตริย์สเตฟาน วลาดิสลาฟ ซึ่งได้ถูกเก็บรักษาไว้ที่สาธารณรัฐดูรอฟนิก[6] ในเอกสารดังกล่าวได้ระบุถึงธงอย่างหนึ่งด้วยภาษาละตินว่า vexillum unum de zendato rubeo et blavo หมายถึง "ธงซึ่งทำด้วยผ้าสีแดงและสีน้ำเงินผืนหนึ่ง"[7] อย่างไรก็ตามข้อมูลดังกล่าวนี้ไม่สามารถบอกได้ว่ารายละเอียดของธงนี้เป็นอย่างไร มีการจัดเรียงแถบสีอย่างไรกันแน่ รูปธงสีแดง-น้ำเงินซึ่งได้แสดงตัวอย่างไว้ในบทความนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของธงดังกล่าวซึ่งมักมีการใช้ประดับเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของเซอร์เบียในยุคกลาง[8] สำหรับอายุของการใช้ธงนั้น แม้ว่ากษัตริย์วลาดิสลาฟจะทรงครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 1234 - 1243 และสวรรคตในปี ค.ศ. 1264 แต่การใช้ธงดังกล่าวน่าจะมีมาก่อนนั้น โดยประมาณว่าไม่เกินช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13

ธงของซาร์ดูซาน

ธงของเซอร์เบียบนแผนที่ของแองเจลิโน ดุลเซิร์ท

ภาพวาดธงของเซอร์เบียที่เก่าที่สุดเท่าที่มีการค้นพบปรากฏอยู่ในแผนที่ในปี ค.ศ. 1339 ของแองเจลิโน ดุลเซิร์ท (Angelino Dulcert) นักวาดแผนที่ในช่วงคริตส์ศตวรรษที่ 14 ชาวสเปน ในแผนที่ดังกล่าวได้ปรากฏรูปธงของดินแดนต่างๆ จำนวนหนึ่ง ซึ่งรูปธงของเซอร์เบียในแผนที่ดังกล่าวปรากฏอยู่เหนือจุดบอกตำแหน่งเมืองสโกเปีย (ระบุชื่อในแผนที่ Skopi) โดยมีชื่อประเทศเซอร์เบีย (Seruja) กำกับไว้ที่ด้านต้นของธง รูปของธงนั้นแสดงด้วยรูปนกอินทรีสองหัวสีแดงบนพื้นธงสีเหลือง[9]

ยุคแห่งการลุกขึ้นสู้ครั้งแรกของชาวเซิร์บ

ในยุคแห่งการลุกขึ้นสู้ครั้งแรกของชาวเซิร์บ[10] ได้ปรากฏการธงต่างเป็นสัญลักษณ์ในการรบอย่างหลากหลาย ท่ามกลางธงเหล่านี้ มีอยู่ธงหนึ่งที่มีความเกี่ยวโยงมาถึงธงชาติเซอร์เบียยุคปัจจุบัน ได้แก่ ธงของมาเตยา เนนาโดวิช (Mateja Nenadović) อาร์คบิชอปชาวเซิร์บซึ่งเป็นผู้นำสำคัญคนหนึ่งในการลุกขึ้นสู้ครั้งนั้น ธงดังกล่าวนั้นเป็นธงสีขาว-แดง-น้ำเงิน ภายในธงมีรูปกางเขน 3 รูป[11] บรรดากองทัพที่เข้าร่วมในการลุกขึ้นสู้ครั้งนั้น โดยทั่วไปจะใช้ธงสีเหลืองมีรูปเครื่องหมายต่างๆ เป็นสัญลักษณ์ ส่วนธงของวอยโวดต่างๆ (voivode - ชื่อเขตการปกครองเทียบเท่าระดับมณฑลหรือจังหวัดของรัฐในคาบสมุทรบอลข่าน) มักจะใช้ธงสีแดง-ขาว ทำด้วยผ้าไหม มีรูปเครื่องหมายนกอินทรีสองหัวตามแบบตราอาร์มของรัสเซีย ธงเหล่านี้อาจใช้พื้นสีเป็นสีอื่นๆ ได้เช่นกัน เช่น แดง-เหลือง, แดง-ขาว-น้ำเงิน, และ แดง-น้ำเงิน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสีของตราสัญลักษณ์ที่หน่วยการปกครองของตนเองใช้อยู่ สัญลักษณ์ที่มักปรากฏในธงยุคนี้บ่อยที่สุดได้แก่กางเขนเซอร์เบีย รองลงมาคือตราอาร์มของดินแดนทรีบัลเลีย (Tribalia) และกางเขนรูปแบบอื่นๆ[12]

ธงสมัยใหม่

รัฐธรรมนูญเซอร์เบียในปี ค.ศ. 1835 ได้ระบุถึงลักษณะของธงชาติเซอร์เบียว่าเป็นธงสามสีแบบแนวนอน มีแถบสีแดง สีขาว และสีน้ำเงินเข้ม (ในต้นฉบับใช้คำว่า čelikasto-ugasita ซึ่งหมายถึงสีน้ำเงินเข้มจนเกือบดำ) รัฐธรรมนูญดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากรัสเซีย และแบบธงดังกล่าวเองก็ถูกมองว่าเป็นการจงใจเลือกให้พ้องกับธงรัฐบาลปฏิวัติของฝรั่งเศส (ในปี ค.ศ. 1835 ฝรั่งเศสอยู่ในยุคของราชวงศ์บูร์บงฟื้นฟู ใช้ธงสีขาวเป็นสัญลักษณ์) [13] หลังจากนั้นไม่นาน จักรวรรดิออตโตมันจึงได้เรียกร้องให้ เจ้าชายมิโลช โอเบรโนวิช เจ้าผู้ครองราชรัฐเซอร์เบีย (Miloš Obrenović I, Prince of Serbia) ให้ร่างรัฐธรรมนุญใหม่โดยมีบทบัญญัติว่าด้วยธงชาติและตราแผ่นดิน[14] และหลังจากนั้นไม่นาน จึงได้มีราชโองการของจักรพรรดิแห่งออตโตมันในปีนั้น อนุญาตให้ชาวเซิร์บสามารถใช้ธงเดินเรือทะเลของตนเองได้ โดยธงดังกล่าวเป็นธงสามสี เรียงแถบสีแดงอยู่บน สีน้ำเงินอยู่กลาง และสีขาวอยู่ล่าง[15] นับได้ว่าเป็นการปรากฏขึ้นครั้งแรกของแถบสีธงที่กลายเป็นธงชาติเซอร์เบียปัจจุบัน.[16]

แถบสีธงดังกล่าวนั้นเป็นการเรียงแถบสีกลับกันกับธงชาติรัสเซียอย่างชัดเจน เรื่องเล่าต่างๆ ของชาวเซอร์เบียหลายเรื่องที่ยังคงอยู่ถึงทุกวันนี้ส่วนหนึ่งมักเป็นเรื่องของสาเหตุที่แถบสีธงเซอร์เบียสลับกับธงรัสเซีย ยกตัวอย่างเช่น[17]

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 การใช้สามสีของเซอร์เบียได้กลายเป็นสิ่งต้องห้ามในเซอร์เบียส่วนที่ถูกยึดครอง[18] เมื่อสิ้นสุดสงครามแล้วจึงได้มีการสถาปนาราชอาณาจักรยูโกสลาเวียขึ้น ธงของเซอร์เบียจึงไม่ปรากฏในยุคนี้เพราะเซอร์เบียได้กลายเป็นเขตการปกครองหนึ่งของยูโกสลาเวีย ต่อมาในช่วงหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 สันนิบาตคอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวียได้มีอำนาจในการปกครองประเทศในปี ค.ศ. 1945 จึงได้มีการแบ่งเขตการปกครองของยูโกสลาเวียเป็น 6 สาธารณรัฐย่อย ซึ่งหนึ่งในจำนวนนั้นก็มีเซอร์เบียรวมอยู่ด้วย ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้เอง ดาวแดงของลัทธิคอมมิวนิสต์ก็ได้ถูกเพิ่มเข้ามาในธงชาติเซอร์เบียเดิมเพื่อใช้เป็นธงของสาธารณรัฐสังคมนิยมเซอร์เบีย โดยธงดังกล่าวนี้ใช้เป็นธงของมอนเตเนโกรในช่วงเวลาเดียวกันด้วย อนึ่ง ลักษณะของธงเซอร์เบียในยุคนี้ถือว่าคล้ายคลึงอย่างยิ่งกับธงชาติยูโกสลาเวีย ซึ่งใช้ธงสามสีมีรูปดาวแดงอยูกลางธง[18][19]

เมื่อยูโกสลาเวียล่มสลายในปี ค.ศ. 1992 รูปดาวแดงจึงถูกยกเลิกและกลับมาใช้ธงสามสี แดง-น้ำเงิน-ขาว เป็นธงชาติเซอร์เบียอีกครั้ง (ในนามเซอร์เบียและมอนเตเนโกร) โดยคงอัตราส่วนความกว้างต่อความยาวธงไว้ที่ 1:2 ดังเช่นธงในสมัยยูโกสลาเวีย จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงแบบธงมาเป็นแบบปัจจุบันในปี ค.ศ. 2006 โดยคงลักษณะของธงไว้ตามเดิม แต่แก้ไขอัตราส่วนความกว้างต่อความยาวธงเป็น 2:3

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Volker Preuß. "National- und Staatsflagge des Königreichs Serbien". สืบค้นเมื่อ 2004-11-03. {{cite web}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |coauthors= (help) (เยอรมัน)
  2. Препорука о коришћењу грба, заставе и химне Републике Србије
  3. Official site of Parliament of Serbia
  4. "Constitution of the Republic of Serbia, Article 7". National Assembly of the Republic of Serbia.
  5. แม่แบบ:PDF (เซอร์เบีย)
  6. สาธารณรัฐดูรอฟนิก (Dubrovnik Republic) เป็นสาธารณรัฐทางทะเลซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองดูรอฟนิก (ภาษาอิตาลีและภาษาละตินเรียกชื่อว่า Ragusa) ในชายฝั่งดัลเมเชีย (ปัจจุบันอยู่ทางตอนใต้ของประเทศโครเอเชีย) ดำรงอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1358-1808
  7. D. Samardžić. Vojne zastave Srba do 1918. Beograd: Vojni muzej, 1983
  8. Flag of the Serbian Kingdom, XIIIth century ที่ Flags of the World
  9. Gordana Tomović. Monumenta Cartographica Jugoslaviae II, Beograd: Narodna Knjiga, 1979
  10. การลุกขึ้นสู้ครั้งแรกของชาวเซิร์บ หรือ First Serbian Uprising เป็นเหตุการณ์ที่ชาวเซิร์บลุกฮือต่อต้านการยึดครองของจักรววรดิออตโตมันและจักรวรรดิออสเตรียระหว่างปี ค.ศ. 1804–1813 เหตุการณ์ดังกล่าวนับเนื่องเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์การปฏิวัติเซอร์เบีย ซึ่งจะสิ้นสุดลงด้วยการสถาปนาประเทศราชรัฐเซอร์เบียขึ้นในปี ค.ศ. 1817
  11. B. A: Principality of Serbia (1830-1882) FOTW
  12. Dragana Samardžić: Старе заставе у Војном Музеју, Belgrade 1993
  13. Mih. Gavrilovic, Suspendovanje prvog srpskog ustava februar-mart 1835 god., Arhiv za pravne i drustvene nauke, I, 1906, 410-412
  14. D. Samardzic, Vojne zastave Srba do 1918, Beograd, 1983
  15. D. Matic, Javno pravo Knjazevstva Srbije, Beograd, 1851, 33
  16. Volker Preuß. "National flagge des Königreichs Serbien". สืบค้นเมื่อ 2004-11-03. {{cite web}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |coauthors= (help) (เยอรมัน)
  17. LJ. M. V. - J. Ž. S. (2006-08-01). "Hej, Bože pravde!". Vecernje novosti. สืบค้นเมื่อ 2007-04-17.
  18. 18.0 18.1 Branislav Ž. Vešović: Yugoslavia during the Second World War
  19. Recommendation on the use of the Flag of the Republic of Serbia ("Official Gazette of the Republic of Serbia", No. 49/1992.)

แหล่งอื่น