โรงเรียนจักราชวิทยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนจักราชวิทยา
Chakkarat Wittaya School
ตราสัญลักษณ์โรงเรียนจักราชวิทยา
ที่ตั้ง
เลขที่ 28 หมู่ 4 ถนนเทศบาล 9 ตำบลจักราช อำเภอจักราช
จังหวัดนครราชสีมา 30230 ไทย
ข้อมูล
ชื่ออื่นจ.ว. / C.R.W.
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ประเภทสหศึกษา
คำขวัญมานะดี มีวินัย ใจอดทน
เขตการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 31
จำนวนนักเรียน2557 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2565)[1]
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนภายในโรงเรียน ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
จีน ภาษาจีน
สี███ แดง
███ ขาว
เพลงมาร์ชโรงเรียนจักราชวิทยา
เพลง จ.ว.ที่รัก
เว็บไซต์https://www.jv.ac.th/

โรงเรียนจักราชวิทยา อักษรย่อ จ.ว. /C.R.W. ตั้งอยู่ที่เลขที่ 28 ถนนเทศบาล 9 ตำบลจักราช อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา รหัสไปรษณีย์ 30230 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 กลุ่มโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมีเนื้อที่ 44 ไร่ 1 งาน 17 ตารางวา เขตพื้นที่บริการ ประกอบด้วย 98 หมู่บ้าน 8 ตำบล ได้แก่ ตำบลจักราช ตำบลหนองขาม ตำบลคลองเมือง ตำบลสีสุก ตำบลทองหลาง ตำบลหนองพลวง ตำบลศรีละกอ ตำบลหินโคน และเทศบาลจักราช

ประวัติ[แก้]

โรงเรียนจักราชวิทยา ได้รับอนุมัติเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอจักราช เมื่อ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 ด้วยความริเริ่มจากความร่วมแรงร่วมใจของประชาชนชาวอำเภอจักราชและ นายสมบุญ เจริญสันธิ์ คหบดีชาวอำเภอจักราช ได้มอบที่ดินจัดตั้งโรงเรียน 25 ไร่

  • ปีการศึกษา 2513 เปิดรับสมัครนักเรียนจำนวน 2 ห้องเรียน จำนวน 70 คน (สหศึกษา) กรมวิสามัญศึกษา(เดิม) ได้บรรจุครูมาดำรงตำแหน่ง 3 ท่าน มีนายวิศิษฐ์ ทรายงาม มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ในขณะนั้นได้อาศัยอาคารเรียนของโรงเรียนจักราชราษฎร์สามัคคี
  • ปีการศึกษา 2514 กรมวิสามัญศึกษาได้จัดสรรงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ 212 ก 1 หลัง จำนวน 4 ห้องเรียน แล้วได้ย้ายมาเรียน ณ. สถานที่ปัจจุบัน
  • ปีการศึกษา 2517 นายเจริญ วณิชนิกุล ได้มอบที่ดินจำนวน 18 ไร่ 43 ตารงวา ซึ่งใช้เป็นสนามกีฬาในปัจจุบัน
  • ปีการศึกษา 2523 โรงเรียนได้รับการพิจารณา ให้เป็นโรงเรียนผู้นำในการใช้หลักสูตรของกรมสามัญศึกษา และโรงเรียนเปิดรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • ปีการศึกษา 2524 โรงเรียนได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นโรงเรียนที่ได้รับรางวัลดีเด่นพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษาประเภทโรงเรียนขนาดกลาง เขตการศึกษา 11
  • วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2531 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเยี่ยมโรงเรียนจักราชวิทยา พร้อมเป็นองค์ประธานรับมอบทุนการศึกษาของอำเภอจักราช
  • ปีการศึกษา 2543 ได้รับรางวัลเสมาธรรมจักรจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในฐานะหน่วยงานที่ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา
  • ปีการศึกษา 2543 ได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนนำร่องปฏิรูปการศึกษา
  • ปีการศึกษา 2546 ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ 1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน
  • ปีการศึกษา 2548 ได้รับการประเมินเป็นโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝัน
  • ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนได้ทอดผ้าป่าการศึกษา สร้างรั้วโรงเรียน และอาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
  • ปีการศึกษา 2553 ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล World Class Standard School รุ่นที่ 1 เป็น 1 ใน 369 โรงเรียนทั่วประเทศ[2]
  • ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนได้รับอนุมัติ อาคารเรียนแบบ 324 ล. (ตอกเสาเข็ม) 4 ชั้น 1 หลัง
  • ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนได้ทอดผ้าป่าการศึกษา สร้างโดมอนุสรณ์ 47 ปีจักราชวิทยา

แผนการเรียนที่เปิดสอน[แก้]

  • ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
  1. แผนการเรียนเข้มวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  2. แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  3. แผนการเรียนภาษาอังกฤษ
  4. แผนการเรียนภาษาจีน
  5. แผนการเรียนคอมพิวเตอร์
  6. แผนการเรียนกีฬา
  7. แผนการเรียนดนตรี
  8. แผนการเรียนทั่วไป
  • ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
  1. แผนการเรียนเข้มวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  2. แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  3. แผนการเรียนภาษาอังกฤษ
  4. แผนการเรียนภาษาจีน
  5. แผนการเรียนนักปกครอง
  6. แผนการเรียนทั่วไป
  7. แผนการเรียนทวิศึกษา (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)

อาคารเรียน[แก้]

  1. อาคาร 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา กลุ่มงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (แนะแนว) ห้องเรียนศิลปะ-ดนตรีไทย ห้องประชาสัมพันธ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
    อาคารเรียน 1 โรงเรียนจักราชวิทยา
  2. อาคาร 2 ธนาคารโรงเรียน ห้องสมุด ห้องโสตทัศนอุปกรณ์ ห้องสมุดอาเซียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ห้องเรียนสุขศึกษา ห้องพยาบาล หมายเหตุ ขณะนี้งดใช้อาคารเนื่องจากจะดำเนินการรื้อถอนอาคารในปี พ.ศ. 2563
    อาคารเรียน 2 โรงเรียนจักราชวิทยา
  3. อาคาร 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
  4. อาคาร 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ(คอมพิวเตอร์) ห้องเรียนเข้มวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (Intensive Science Math Program : ISMP) กลุ่มงานวิชาการ กลุ่มงานบริหารงานบุคคล กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป กลุ่มงานบริหารงบประมาณ ห้องผู้อำนวยการ ห้องเรียนอัจฉริยะ (Genius Classroom)
    อาคารเรียน4 โรงเรียนจักราชวิทยา
  5. โดม 47 ปี กระโดนทองอนุสรณ์ (ปัจจุบันถูกใช้เป็น โรงอาหารชั่วคราว)
  6. หอประชุม 25 ปี อนุสรณ์
  7. ห้องประชุม ศรีวิกรม์
  8. หอประชุมเล็ก
  9. อาคารปฏิบัติการดนตรี
  10. อาคารเรียนนาฏศิลป์
  11. อาคารคหกรรม
  12. โดมอนุสรณ์ 42 ปี จักราชวิทยา
    อาคารโดมอนุสรณ์ 42 ปีจักราชวิทยา
  13. โรงอาหาร หมายเหตุ ขณะนี้กำลังดำเนินการรื้อถอนและสร้างอาคารโรงอาหารใหม่
  14. อาคารเกษตรกรรม

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน[แก้]

นับตั้งแต่ก่อตั้งโรงเรียนจนถึงปัจจุบัน โรงเรียนจักราชวิทยา มีรายนามผู้บริหารดังต่อไปนี้

ที่ ชื่อ ปีที่ดำรงตำแหน่ง
1 นายวิศิษฐ์ ทรายงาม พ.ศ. 2513-2523
2 นายศิลปสิทธิ์ ทับทิมธงไชย พ.ศ. 2523-2532
3 นายวิจิตร คุรุกิจกำจร พ.ศ. 2532-2533
4 นายโกมล ไพโรจน์ พ.ศ. 2533-2536
5 นายสุกิจ ชันษา พ.ศ. 2536-2541
6 นายถวิล บาทขุนทด พ.ศ. 2541-2544
7 นายโสภณ สุรโยธี พ.ศ. 2544-2546
8 นายวิรุฬ ประจันเขตต์ พ.ศ. 2546-2554
9 นายโกศล พงษ์พานิช พ.ศ. 2554-2556
10 นายเอกฉัตร จอดนอก พ.ศ. 2556-2558
11 นายโกเมศ หอยมุกข์ พ.ศ. 2558-2560
12 นายพงษ์มิตร สิทธินอก พ.ศ. 2560-2562
13 นายสุพล จอกทอง

(ผู้อำนวยการโรงเรียนห้วยแถลงพิทยาคม

รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนจักราชวิทยา(ชั่วคราว))

พ.ศ. 2562
14 นายนิสิทธิ์ ส่งสุข พ.ศ. 2563-ปัจจุบัน

โรงเรียนอื่น ๆ ในกลุ่มโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. https://data.bopp-obec.info/emis/student.php?Edu_year=2565&Area_CODE=300001 จำนวนนักเรียนโรงเรียนจักราชวิทยา
  2. http://www.obec.go.th/sites/obec.go.th/files/document/attachment/49905/588148.pdf[ลิงก์เสีย] รายชื่อโรงเรียนในโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล (World - Class Standard School)