โรงเรียนเทพารักษ์ราชวิทยาคม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนเทพารักษ์ราชวิทยาคม
Teparak Ratchawittayakom School
ข้อมูล
ชื่ออื่นท.ร.ว.
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษา ประเภทสหวิทยา สังกัด อบจ.นครราชสีมา กระทรวงศึกษาธิการ
สถาปนา10 มีนาคม พ.ศ. 2532
เขตการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
ผู้อำนวยการนายสุเทพ คงวิริยะวิทยา
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1—6 สหศึกษา
เพลงมาร์ชทรว

โรงเรียนเทพารักษ์ราชวิทยาคม อักษรย่อ ท.ร.ว. (MT) เป็นโรงเรียนในจังหวัดนครราชสีมา และเป็นโรงเรียนประจำอำเภอของอำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา

ข้อมูลทั่วไป[แก้]

โรงเรียนเทพารักษ์ราชวิทยาคม เป็นโรงเรียนประจำอำเภอในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา

  • คติธรรมประจำโรงเรียน = สุวิชาโน ภวํ โหติ (ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ)
  • คำขวัญของโรงเรียน = เรียนดี มีวินัย ใฝ่คุณธรรม
  • ปรัชญาโรงเรียน = ลูกเขียวเหลือง เป็นคนเก่งและคนดี
  • สีประจำโรงเรียน = เขียว-เหลือง
  • ต้นไม้ประจำโรงเรียน = ต้นราชพฤกษ์
  • อักษรย่อโรงเรียน = ท.ร.ว.
  • พระพุทธรูปประจำโรงเรียน =พระพุทธรูปปัญญาราชวิทยาคมประวัติโรงเรียน


ประวัติ[แก้]

โรงเรียนเทพารักษ์ราชวิทยาคม อำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา เดิมชื่อ โรงเรียนสำนักตะคร้อวิทยาคม ตั้งอยู่ที่ตำบลสำนักตะคร้อ จังหวัดนครราชสีมา ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 10 มีนาคม 2532

ก่อนที่จะมีการจัดตั้งโรงเรียน กรมสามัญศึกษาได้อนุญาตให้เป็นหน่วยเรียน ขึ้นตรงต่อโรงเรียนมัธยมด่านขุนทด และได้เปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 โดยรับนักเรียนชั้น ม. 1 จำนวน 2 ห้องเรียน มีนักเรียน 49 คน โดยมีนายสะอาด นาคาเริงฤทธิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมด่านขุนทดในสมัยนั้น ได้มาดำเนินการเรื่องสถานที่ เนื่องจากจัดหาที่ดินเพื่อเตรียมขออนุญาตเปิดโรงเรียนในปีการศึกษา 2532 และได้จัดครูโรงเรียนมัธยมศึกษา มาช่วยสอน 1 คน คือนายชิด ไพเราะ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้บริหารโรงเรียนวังไม้แดงพิทยาคม[1]

ในปีการศึกษา 2532 กรมสามัญศึกษาได้รับเป็นโรงเรียนในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น แต่เนื่องจากในระยะแรกยังไม่มีผู้บริหาร กรมสามัญศึกษาจึงได้แต่งตั้งให้ นายชวลิต ตัณฑเสรณีวัฒน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์สมัยนั้น มาปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารและได้จัดครูจากโรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์ จำนวน 9 คน โดยมีรถรับ - ส่ง จากตัวเมืองนครราชสีมาเพื่อมาทำการสอน เช้าไปเย็นกลับ ตั้งแต่วันที่ 15 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2532 เป็นต้นมา โดยครั้งแรกทำการสอนที่โรงเรียนบ้านสำนักตะคร้อ สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา

ต่อมาโรงเรียน ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากกรมสามัญศึกษา ด้ก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว ห้องน้ำ ห้องส้วม 1 หลัง 4 ที่ บ้านพักครู 1 หลัง บ้านพักนักการ 1 หลัง สนามบาสเกตบอล ในการก่อสร้างอาคารชั่วคราวสมัยแรก ได้รับความอนุเคราะห์จากท่านพระครูวิภัชธรรมสาร เจ้าอาวาสวัดสำนักตะคร้อ นายภุชงค์ เชษฐ์ขุนทด ซึ่งเป็นกำนันตำบาลสำนักตะคร้อ ในสมัยนั้นได้เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาจังหวัดนครราชสีมา นายบุญไหล กาศขุนทด อดีตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านสำนักตะคร้อ นายสามารถ โชติขุนทด อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้าสำนักตะคร้อ และชาวบ้านสำนักตะคร้อเป็นอย่างดี และในการก่อสร้างครั้งนี้ได้รับการบริจาคที่ดินจากนายเพ้ง เชาว์ขุนทด ข้าราชการบำนาญและนางอ๋วง ชิวขุนทด เนื้อที่ประมาณ 46 ไร่ 3 งาน

เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2532 กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งนายยิ่งยศ ดอกสันเทียะ มาดำรงตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนสำนักตะคร้อวิทยาคม เป็นคนแรก

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2537 กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งนายวิทยา โพธิ์แสง ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ เป็นคนที่ 2 และเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ได้แต่งตั้งนางกฤษณา มือขุนทด เป็นผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่

เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2538 คณะครู - อาจารย์ นำโดยนายวิทยา โพธิ์แสง ได้เข้ากราบนมัสการพระราชวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ) เพื่อขอประทานสมณศักดิ์ของท่าน คือ พระราชวิทยาคม ให้เป็นชื่อของโรงเรียน เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2540 กรมสามัญศึกษา ประกาศให้ เปลี่ยนชื่อโรงเรียนสำนักตะคร้อวิทยาคม เป็นโรงเรียนเทพารักษ์ราชวิทยาคม

เมื่วันที่ 20 มีนาคม 2543 กรมสามัญศึกษาได้มีคำสั่งให้นายสุเทพ คงวิริยะวิทยา มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนเทพารักษ์ราชวิทยาคม เป็นคนที่ 3[2]

อ้างอิง[แก้]