อโรคา ปาร์ตี้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อโรคา ปาร์ตี้
ภาพตราสัญลักษณ์รายการอโรคา ปาร์ตี้
ภาพตราสัญลักษณ์รายการอโรคา ปาร์ตี้
ประเภทวาไรตี้
พัฒนาโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)
เสนอโดยธงชัย ประสงค์สันติ
พอลลีน เต็ง
ประเทศแหล่งกำเนิดญี่ปุ่น ประเทศญี่ปุ่น
ภาษาต้นฉบับไทย
จำนวนตอน77 ตอน (นับถึงวันที่ 5 ตุลาคม 2552)
การผลิต
ความยาวตอน45 นาที
ออกอากาศ
เครือข่ายโมเดิร์นไนน์ทีวี
ออกอากาศ6 มีนาคม พ.ศ. 2551 –
5 ตุลาคม พ.ศ. 2552

อโรคา ปาร์ตี้ (อังกฤษ: AROKA PARTY) เป็นรายการวาไรตี้โชว์เพื่อสุขภาพ ซึ่งเป็นรายการที่นำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว ซึ่งเป็นรายการวาไรตี้โชว์จากประเทศญี่ปุ่น โดยมีชื่อว่า (ญี่ปุ่น: 最終警告!たけしの本当は怖い家庭の医学โรมาจิSaijyuukeikoku! Takeshi no hontou wa Kowaikatei no igaku) มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า "Medical Horror Check Show" ซึ่งเรียกห้องส่งของรายการว่า Black Hospital ผลิตขึ้นโดยบริษัท ทีวีอาซาฮี จำกัด ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถูกผลิตขึ้นให้ผู้คนหวาดกลัว (ต่อโรคที่เป็นแล้วจะมีลักษณะใด)

ในประเทศไทยได้รับลิขสิทธิ์รายการนี้มาผลิตในประเทศไทยโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ร่วมมือกับโรงพยาบาลพญาไท โดยใช้ชื่อว่า "อโรคา ปาร์ตี้" ดังกล่าว โดยออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 22.05 น. - 22.50 น. (จากนั้นเลื่อนเวลาออกอากาศเป็น 22.15 น. - 23.00 น. และจะเปลี่ยนวันออกอากาศเป็นทุกวันจันทร์ เวลา 22.15 - 23.00 น.เริ่มตั้งแต่วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2552) เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2551 และ ออกอากาศเป็นเทปสุดท้ายวันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ดำเนินรายการโดย ธงชัย ประสงค์สันติ และ หมอพี (ทันตแพทย์หญิง พอลลีน เต็ง) โดยใช้คำปรัชญาประจำรายการว่า "อโรคาปาร์ตี้ วาไรตี้ไม่มีโรค"รายการอโรคาปาร์ตี้นำมาออกอากาศอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 2 มกราคม 2553 เวลา 20.15 - 21.10 น.ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5และปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นรายการเกมโชว์ควิซโชว์โดยใช้ชื่อรายการเป็น ปาร์ตี้วิทยาศาสตร์ ตอน อโรคา ซายส์ ปาร์ตี้ แทน อโรคาปาร์ตี้

ลักษณะรายการ[แก้]

เป็นรายการวาไรตี้ที่ให้ความรู้เรื่องโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ว่า เมื่อเป็นโรคนี้แล้วจะมีอาการอย่างไรบ้าง ภายในรายการจะมีแขกรับเชิญ 5 คนเข้ามาคุยกันเกี่ยวกับเรื่องโรคที่จะนำเสนอในสัปดาห์นั้น ๆ ซึ่งทั้ง 5 คนที่เชิญเข้ามาจะมีลักษณะที่คาดว่าเสี่ยงต่อการเป็นโรคที่จะนำมาเสนอหรือไม่ และมีแพทย์ประจำโรงพยาบาลพญาไทที่เชี่ยวชาญเฉพาะโรคมาให้ความรู้และตอบปัญหาข้อสงสัยของแขกรับเชิญทั้ง 5 คนได้

ประวัติการทำรายการ[แก้]

  • ปี พ.ศ. 2551
    • ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2551
    • 26 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ได้เพิ่มช่วง "อโรคา การ์ตูน" เกี่ยวกับตอบปัญหาสั้น ๆ ผ่านทางการ์ตูน, สิ้นสุดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2551 และกลับมาเสนออีกครั้งในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ 2551 และยกเลิกการนำเสนอไปในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 แต่เปลี่ยนมาเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องคลอเลสเตอรอลแทน
    • 4 กันยายน พ.ศ. 2551 เปลี่ยนเพลงประกอบรายการ เป็นครั้งที่ 2 และเปลี่ยนเนื้อหาช่วงละครให้น่าสนใจมากขึ้น
  • ปี พ.ศ. 2552
    • 1 มกราคม พ.ศ. 2552 เริ่มการเปิดโอกาสให้ผู้ชมรายการส่ง SMS เข้ามาร่วมสนุก โดยทายว่าผู้ร่วมรายการท่านใดจะเป็นผู้เข้าไปอยู่ในพื้นที่ RED ZONE ผู้ที่ทายถูก 5 ท่านแรก จะได้รับรางวัลเพื่อสุขภาพจากโรงพยาบาลพญาไท
    • 16 เมษายน พ.ศ. 2552 เปลี่ยนเพลงประกอบรายการ เป็นครั้งที่ 3, และเพิ่มช่วง "ชีพจร ขึ้นหัว" และ "โบราณ บานบุรี"
    • 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ได้ลดจำนวนแขกรับเชิญเหลือ 4 คน
    • 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เปลี่ยนวันออกอากาศเป็นทุกวันจันทร์ เวลา 22.15 - 23.00 น.
    • 5 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ออกอากาศเป็นเทปสุดท้าย
  • ปี พ.ศ. 2553
    • 2 มกราคม พ.ศ. 2553 กลับมาออกอากาศอีกครั้งทาง ททบ.5 ทุกวันเสาร์ 20.15 น.- 21.05 น. โดยใช้ชื่อว่า ปาร์ตี้วิทยาศาสตร์ ตอน อโรคา ซายส์ ปาร์ตี้ โดยเปลี่ยนรูปแบบเป็นเกมโชว์ควิซโชว์
  • ปี พ.ศ. 2557
    • 12 มกราคม พ.ศ. 2557 กลับมาออกอากาศอีกครั้งทาง ททบ.5 ทุกวันอาทิตย์ 17.00 น.- 17.50 น. โดยใช้ชื่อว่า อโรคา ปาร์ตี้ 2014 โดยเปลี่ยนรูปแบบเป็นวาไรตี้เกมโชว์ควิซโชว์ โดยที่พิธีกรเป็น สมพล ปิยะพงศ์สิริ และ ทันตแพทย์หญิง พอลลีน (ล่ำซำ) เต็ง

รายชื่อตอนที่ออกอากาศ[แก้]

ตอนที่ วันที่ออกอากาศ ชื่อตอน
1 6 มีนาคม 2551 โรคหยุดหายใจ
2 13 มีนาคม 2551 โรคกระดูกข้อต่อหัวสะโพกตาย
3 20 มีนาคม 2551 โรคกระจกตาเปื่อย
4 27 มีนาคม 2551 โรคเนื้องอกในโสตประสาท
5 3 เมษายน 2551 โรคมะเร็งรังไข่
6 10 เมษายน 2551 โรคฝากล่องเสียงอักเสบเฉียบพลัน
7 17 เมษายน 2551 โรคเส้นเลือดในสมองแตกชนิดที่เกิดจากความผิดปกติของไต
8 24 เมษายน 2551 โรคลดความอ้วน
9 1 พฤษภาคม 2551 โรคเครียด
10 8 พฤษภาคม 2551 โรคมะเร็งปอดฉับพลัน (Epidermoid Carcinoma)
11 15 พฤษภาคม 2551 โรคไขสันหลังตึงรั้ง
12 22 พฤษภาคม 2551 โรคมะเร็งมดลูก
13 5 มิถุนายน 2551 โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
14 19 มิถุนายน 2551 โรคตุ่มพุพอง
15 26 มิถุนายน 2551 โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
16 3 กรกฎาคม 2551 โรคติดเชื้อจากสัตว์เลี้ยง
17 10 กรกฎาคม 2551 โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
18 17 กรกฎาคม 2551 โรคไส้เลื่อนที่ขาหนีบ
19 24 กรกฎาคม 2551 โรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร
20 31 กรกฎาคม 2551 โรคติดเชื้อแบคทีเรียจากช่องปากชนิดรุนแรง (Descending Necrotizing Mediastinitis)
21 7 สิงหาคม 2551 โรคมะเร็งทางเดินอาหาร
22 14 สิงหาคม 2551 โรคภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง (Dermatomyositis)
23 21 สิงหาคม 2551 โรคจอประสาทตาหลุดลอก
24 28 สิงหาคม 2551 โรคกล้ามเนื้อลีบ
25 4 กันยายน 2551 โรคต้อหิน
26 11 กันยายน 2551 โรคนอนไม่เป็นเวลา (Circadian Rhythm Sleep Disorder)
27 18 กันยายน 2551 โรคภาวะเสียสมดุลของเกลือแร่ (Electrolytes Imbalance)
28 25 กันยายน 2551 โรคมะเร็งตับอ่อน
29 2 ตุลาคม 2551 โรคกรวยไตอักเสบเฉียบพลัน
30 9 ตุลาคม 2551 โรคกล้ามเนื้อหดเกร็ง (Muscle Pain Syndrome)
31 23 ตุลาคม 2551 โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง
32 30 ตุลาคม 2551 โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
33 6 พฤศจิกายน 2551 โรคเนื้องอกของต่อมใต้สมอง (Acromegaly)
34 13 พฤศจิกายน 2551 โรคเส้นเลือดใหญ่อุดตัน
35 20 พฤศจิกายน 2551 โรคกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อน
36 27 พฤศจิกายน 2551 โรคเบาหวานประเภทที่ 1 แบบรุนแรง
37 4 ธันวาคม 2551 โรคมะเร็งกล่องเสียง
38 11 ธันวาคม 2551 โรคอ่อนเพลียเหนื่อยล้าเรื้อรัง (Chronic Fatigue Syndrome)
39 18 ธันวาคม 2551 โรคลิ่มเลือดอุดตัน (Lung Infraction)
40 25 ธันวาคม 2551 โรคเชื้อราในโพรงไซนัส
41 1 มกราคม 2552 โรคเนื้องอกที่ไต
42 8 มกราคม 2552 โรคเลือดออกที่เยื่อหุ้มสมอง
43 15 มกราคม 2552 โรคหัวใจสลาย (Broken Heart Syndrome)
44 22 มกราคม 2552 โรคมะเร็งชนิดที่เกิดจากไฝ (Melanoma)
45 29 มกราคม 2552 โรคหลอดเลือดสมองอุดตันชนิดที่เกิดจากการกดทับของกระดูกสันหลังส่วนคอ (Cerebral Infarction)
46 5 กุมภาพันธ์ 2552 โรคข้อเข่าเสื่อม
47 12 กุมภาพันธ์ 2552 โรคแท้งลูกเพราะภูมิแพ้ตัวเอง (Antiphospholipid Antibody Syndrome)
48 19 กุมภาพันธ์ 2552 โรคกล้ามเนื้อที่คอเกร็งบิด
49 5 มีนาคม 2552 โรคถุงลมโป่งพอง
50 12 มีนาคม 2552 โรคเส้นเลือดลำไส้อุดตัน
51 19 มีนาคม 2552 โรคพาร์กินสัน
52 26 มีนาคม 2552 โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน
53 2 เมษายน 2552 โรคเบาหวานแฝงเร้น
54 16 เมษายน 2552 โรคต้อหินฉับพลัน
55 23 เมษายน 2552 โรคมะเร็งปอดเรื้อรัง (Lung Cancer)
56 30 เมษายน 2552 โรคเส้นเอ็นข้อไหล่ฉีก (Rotator Cuff Injury)
57 7 พฤษภาคม 2552 โรคกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน (Overactive Bladder)
58 14 พฤษภาคม 2552 โรคแพ้อากาศ
59 21 พฤษภาคม 2552 โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน (Acute Promyelocytic Leukemia)
60 28 พฤษภาคม 2552 โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน (Meniere's Disease)
61 4 มิถุนายน 2552 โรคกระดูกพรุน
62 11 มิถุนายน 2552 โรคมะเร็งเต้านม
63 18 มิถุนายน 2552 โรคกระเปาะทวารหนัก (Rectocele)
64 25 มิถุนายน 2552 โรคหลอดเลือดลำคออุดตัน
65 6 กรกฎาคม 2552 โรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
66 13 กรกฎาคม 2552 โรคนิ่วทางเดินปัสสาวะ
67 20 กรกฎาคม 2552 โรคสมองตาย
68 27 กรกฎาคม 2552 โรคจอประสาทตาเสื่อม
69 3 สิงหาคม 2552 โรคหอบหืด
70 10 สิงหาคม 2552 โรคเส้นเลือดโป่งพองที่บริเวณขา
71 17 สิงหาคม 2552 โรคการติดเชื้อวัณโรคในเยื่อหุ้มสมอง
72 24 สิงหาคม 2552 โรคผนังลำไส้อักเสบ
73 31 สิงหาคม 2552 โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
74 7 กันยายน 2552 โรคลิ้นหัวใจรั่ว
75 14 กันยายน 2552 โรคงูสวัด
76 28 กันยายน 2552 โรคไตเสื่อมเรื้อรัง
77 5 ตุลาคม 2552 โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

การออกอากาศ[แก้]

  • 29 พฤษภาคม 2551 งดออกอากาศ
  • 12 มิถุนายน 2551 งดออกอากาศ
  • 16 ตุลาคม 2551 งดออกอากาศ
  • 26 กุมภาพันธ์ 2552 งดออกอากาศ
  • 9 เมษายน 2552 งดออกอากาศ
  • 21 กันยายน 2552 งดออกอากาศ

ปัญหาของการออกอากาศ[แก้]

เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2552 รายการก็หลุดออกจากผังช่อง 9 เนื่องจากความผิดพลาดในการสื่อสารและประสานงานกันของบริษัทกับสถานี

รายละเอียดรายการ[แก้]

ในส่วนของการดำเนินรายการจะมีการนำเสนอโรคประจำสัปดาห์ที่ออกอากาศ โดยมีลำดับการดำเนินรายการอย่างเป็นขั้นตอนดังนี้

ช่วงเกริ่นนำ[แก้]

พิธีกรทั้ง 2 ท่านจะพูดคุยกับแขกรับเชิญทั้ง 5 คนในเรื่องการดูแลสุขภาพ และอาการที่แขกรับเชิญได้บอกว่าเป็นแบบนั้นบ่อย ๆ โดยที่เนื้อหาการคุยกันจะเกี่ยวข้องกับโรคที่จะนำเสนอ

ช่วงละคร[แก้]

ช่วงละครนั้น จะเป็นละครที่จำลองมาจากเหตุการณ์จริง ถึงผู้ที่ป่วยหรือเสียชีวิตด้วยโรคนี้ โดยมีผู้บรรยายเล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในละคร ซึ่งจะบรรยายอาการของโรคที่จะนำเสนอดังกล่าวว่า มีอาการอย่างไรบ้าง และลักษณะของผู้ที่ป่วยหรือเสียชีวิตด้วยโรคดังกล่าวนั้นเป็นอย่างไรบ้าง ลักษณะเนื้อหาของละครนั้น จะมีลักษณะน่ากลัวคล้ายกับภาพยนตร์แนวสยองขวัญ เพื่อให้รู้ว่า อาการของโรคนั้น เป็นแล้วน่ากลัวมากแค่ไหน

หลังจากที่ละครได้ดำเนินมาถึงอาการขั้นสุดท้ายของโรค ผู้บรรยายจะเฉลยชื่อโรคที่นำเสนอพร้อมบรรยาย และเตือนผู้ชมทางบ้านว่า อาการลักษณะใดที่เสี่ยงต่อการทำให้เกิดโรคดังกล่าว ซึ่งข้อความคำพูดมักจะบอกว่า "คุณ (มีอาการตามลักษณะที่เสี่ยงต่อโรค) หรือไม่... หากปล่อยไว้เป็นเช่นนี้ คุณอาจเป็นผู้โชคร้ายคนต่อไปก็ได้..."

ช่วงตรวจอาการ[แก้]

ก่อนที่แขกรับเชิญทั้ง 5 คนเข้าร่วมรายการนั้น จะมีการตรวจสุขภาพเพื่อตรวจสอบความเสี่ยงที่จะเป็นโรคที่จะนำเสนอที่โรงพยาบาลพญาไท แล้วเข้ามาฟังผลในรายการ ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคดังกล่าว จะถูกเชิญเข้าไปนั่งในพื้นที่สีแดง (RED ZONE) หรือพื้นที่อันตราย ซึ่งแต่ละสัปดาห์ อาจมีแขกรับเชิญเข้าไปนั่งในพื้นที่สีแดงมากกว่า 1 คนหรือไม่มีก็ได้

ต่อมา ทางรายการได้เปลี่ยนแปลงลักษณะการตรวจอาการ ให้ดูมีสาระและดูไม่น่ากลัวมากขึ้น โดยการแบ่งสีออกเป็น 4 สี นั่นคือ แดง ส้ม เหลือง และ เขียว ซึ่งบ่งบาอกลักษณะสุขภาพว่า ยังปลอดภัยจากโรคที่นำเสนอหรือไม่ โดยมีป้ายตามหมายเลขกำกับ เมื่อพิธีกรเปิดป้ายแล้วเป็นแขกรับเชิญคนใด แขกรับเชิญคนนั้นจะมีความเสี่ยงตามป้ายดังกล่าว ในบางครั้งในแต่ละป้ายอาจจะมีมากกว่าหนึ่งคนหรือไม่มีก็ได้ ซึ่งการแบ่งอัตราความเสียงจะเป็นดังนี้

  • ██ สีแดง (ป้ายหมายเลข 1) คือ มีความเสียงมากที่เป็นโรคนี้ จะต้องเข้าไปในพื้นที่สีแดง (RED ZONE)
  • ██ สีส้ม (ป้ายหมายเลข 2) คือ มีความเสี่ยงปานกลาง
  • ██ สีเหลือง (ป้ายหมายเลข 3) คือ มีความเสียงน้อย
  • ██ สีเขียว (ป้ายหมายเลข 4) คือ ไม่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้

ช่วงท้ายรายการ[แก้]

หลังจากนั้น จะมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญประจำโรคประจำสัปดาห์จากโรงพยาบาลพญาไท มาให้ความรู้พร้อมกับอธิบายโรคดังกล่าวโดยละเอียด และตอบคำถามของแขกรับเชิญต่าง ๆ ที่สงสัย เพื่อให้มีวิธีรักษาและป้องกันโรคดังกล่าวได้

ช่วงพิเศษ[แก้]

ทางรายการ ได้นำเอาช่วงพิเศษ มาเป็นสาระความรู้เพิ่มเติม โดยมีรายละเอียดดังนี้

กระแสตอบรับ[แก้]

มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก[ต้องการอ้างอิง] ว่ารายการนี้นำเสนอให้ประชาชนมีความหวาดกลัวในโรคต่างๆ เกินจริง และร้องขอการตรวจทางการแพทย์ที่เกินความจำเป็น ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะความเครียดเพราะความกังวลดังกล่าวได้ในที่สุดจะเห็นได้จากการนำเสนออย่างเกินจริงในบางโรคซึ่งมิใช่โรคที่พบได้ทั่วไป แต่พบได้น้อยถึงน้อยมาก กลับมาทำให้หวาดกลัวกันในประชาชนหมู่มาก จึงนับว่าเป็นดาบสองคมของการบริโภคสื่อ ของผู้รักสุขภาพในปัจจุบัน

อย่างไรก็ดี รายการดังกล่าวก็ได้รับเสียงตอบรับอย่างดี ทำให้ผู้คนหมั่นใส่ใจในสุขภาพเพิ่มมากขึ้น

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]