ยกสยามปี 2

หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ยกสยามปี 2

ยกสยาม
ยกสยาม
ออกอากาศ 12 มกราคม 2552 - 3 กุมภาพันธ์ 2553
รอบพิเศษ ศึกรวมดารา
8 กุมภาพันธ์ 2553 - 25 กุมภาพันธ์ 2553
สถานีโทรทัศน์ โมเดิร์นไนน์ทีวี
ผู้ดำเนินรายการ ปัญญา นิรันดร์กุล
ผลิตโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)

ยกสยาม เป็นรายการเกมโชว์ควิซโชว์ ซึ่งเน้นส่งเสริมให้คนในแต่ละจังหวัดรักบ้านเกิด รวมทั้งใช้ความรู้ความสามารถที่เกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นในแต่ละจังหวัดเพื่อตอบคำถาม หลังจากที่ประสบความสำเร็จใน ยกสยามปี 1 ทำให้มีการจัดการแข่งต่อในปีที่สอง ออกอากาศตั้งแต่ทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 18.27 - 18.52 น. เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2552 ทาง โมเดิร์นไนน์ ทีวี ผลิตโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ดำเนินรายการโดย ปัญญา นิรันดร์กุล

นอกจากนั้น พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ได้พระราชทานแผ่นประกาศนียบัตรจารึกพระนามาภิไธยย่อ "ม.ว.ก." เพื่อเป็นเกียรติแก่จังหวัดผู้ชนะในรายการยกสยาม[1]

วิธีการแข่งขัน

กติกา

จะแข่งกันเป็นภาคทั้งหมด 5 ภาค ซึ่งแชมป์แต่ละภาคนั้นนอกจากจะได้รับเงินรางวัลไปก่อน 1 ล้านบาทและถ้วยรางวัลจากรัฐมนตรี แล้วในรอบชิงชนะเลิศ แชมป์และรองแชมป์ของทั้ง 5 ภาคจะเข้ามาชิงชัยกันเพื่อครองสิ่งอันเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตกับ แผ่นเกียรติยศพระราชทานฯ จากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมเงินรางวัล 1 ล้านบาท เพื่อเป็นเกียรติแก่จังหวัดผู้ชนะในรายการยกสยาม[1]

วิธีการตอบ

การยกป้ายคำตอบในเกมจะแตกต่างจากยกสยามในปีแรก โดยหลังจากพิธีกรอ่านคำถามจบ จะมีเวลาในการปรึกษาภายในทีม 1 นาที จากนั้นการยกป้ายคำตอบจะให้หัวหน้าทีมและลูกทีมยกป้ายคำตอบพร้อมกัน (เหมือนกับ ยกที่ 3 ในรอบชิงชนะเลิศ ยกสยามปีที่ 1)

รอบการแข่งขัน

รอบแรก

  • การแข่งขันในรอบภาคตะวันออกและภาคเหนือ จะใช้ระบบการคิดคะแนนแบบยกสยามปี 1 ในสองรอบแรก โดยทีมที่ได้ 3 ใน 5 ข้อก่อน จะผ่านเข้ารอบ
  • การแข่งขันในรอบภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง จะใช้ระบบการคิดคะแนนแบบทีมที่ได้ 4 ใน 7 ข้อก่อน จะผ่านเข้ารอบ

รอบรองชนะเลิศประจำภาค

  • การแข่งขันในรอบรองชนะเลิศของภาค จะใช้ระบบการคิดคะแนนแบบทีมที่ทำได้ 5 คะแนนก่อนเป็นทีมชนะ
  • การแข่งขันในรอบรองชนะเลิศของภาคกลาง จะใช้ระบบการคิดคะแนนแบบทีมที่ทำได้ 3 คะแนนก่อนเป็นทีมชนะ โดยจะแข่งขันแบบพบกันหมด นำ 2 ทีมที่มีคะแนนดีที่สุดเข้ารอบชิงชนะเลิศ

รอบชิงชนะเลิศประจำภาค

  • การแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศของภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ใช้กติกาคือ ทีมที่มีจำนวนคนตอบข้อผิดมากกว่าจะต้องส่งตัวแทนลงเวที 1 คน ทีมใดที่สมาชิกในทีมหมดก่อนจะเป็นทีมแพ้
  • รอบชิงชนะประจำภาคตะวันออก ใช้กติกาสมาชิกในทีมตอบผิดต้องลงจากเวที ทีมที่สมาชิกในทีมหมดก่อนจะเป็นทีมแพ้

รอบชิงชนะเลิศระดับประเทศ

  • กติกาในรอบแรก จะเหมือนในรอบคัดเลือก คือ ทีมใดทำคะแนนได้ 5 คะแนน จาก 9 คะแนนก่อน เป็นผู้ชนะแข่งในระบบ จังหวัด ต่อ จังหวัด
  • กติกาในรอบที่ 2 จะเหมือนในรอบรองชิงแชมป์ประจำภาค ใน 5 จังหวัดสุดท้ายต้องแข่งขันพบกันหมดทีมใดมีคะแนนสูงสุด 2 จังหวัดแรกได้เข้ารอบชิงชนะเลิศระดับประเทศ

กติการอบชิงชนะเลิศระดับประเทศ

  • แข่งขันแบบให้ยกผิดออก ทีมใดสมาชิกในทีมหมดก่อนแพ้ โดยแบ่งการแข่งขันเป็น 3 ยก โดยยกที่ 1 และ 2 มีคะแนนยกละ 1 คะแนน ส่วนในยกที่ 3 มีคะแนน 2 คะแนน
  • ยกตัดสิน หัวหน้าทีมทั้ง 2 จังหวัดจะต้องตอบคำถามเพียงข้อเดียวและป้ายคำตอบเดียวตัดสิน ยกเฉพาะหัวหน้าทีมเท่านั้น ถ้าหากยกผิด หรือ ถูก อยู่ต่อ หากหัวหน้าทีมทั้ง 2 จังหวัดยกไม่เหมือนกัน มี 1 จังหวัดจะได้เป็นแชมป์ยกสยาม

กติกายกสยามนัดพิเศษ

  • ยกที่ 1 ระบบการแข่งขันเป็นแบบนับจำนวนข้อที่ถูก ทีมใดที่จำนวนข้อที่ถูกน้อยกว่า จะต้องหาตัวแทนลงจากเวที 1 คน ถ้าตอบแบบเททั้ง 2 ทีม แล้วถูก ทั้ง 2 ทีมจะต้องหาตัวแทนลงจากเวที 1 คน แล้วทีมใดมีสมาชิกหมดก่อนเป็นผู้แพ้ โดยแบ่งการแข่งขันเป็น 1 ยก โดยยกที่ 1 มี 1 คะแนน
  • ยกที่ 2 ยกสุดท้าย ทั้ง 2 ทีมจะตอบคำถามทั้งหมด 15 ข้อ โดยการที่จะยกป้ายคำตอบนั้นถูกรับ 1 คะแนน ยกผิดไม่ได้คะแนน ทีมไหนมีคะแนนมากกว่าทีมนั้นจะได้ 2 คะแนน และ เป็นแชมป์ยกสยามนัดพิเศษ รับรางวัลโล่สัญลักษณ์รายการ ยกสยาม

ในการแข่งขันนัดพิเศษนี้ การเทคำตอบผิด จะไม่มีผลทำให้ตกรอบแต่อย่างใด

ผลการแข่งขัน

ภาคตะวันออก

รอบที่ 1 (รอบคัดเลือก)

ในภาคตะวันออกมีทั้งหมด 7 จังหวัด โดยจะมี 1 จังหวัดที่จะได้ไปในรอบต่อไปทันที ไม่ต้องแข่งขันในรอบแรก