มะเดื่อ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มะเดื่อ
ต้นมะเดื่อที่ฮ่องกง
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Rosales
วงศ์: Moraceae
เผ่า: Ficeae
สกุล: Ficus
สกุลย่อย: Ficus
สปีชีส์: F.  carica
ชื่อทวินาม
Ficus carica
L.
แผนที่แสดงการส่งออกมะเดื่อหลังปี ค.ศ. 2005

มะเดื่อ มะเดื่อฝรั่ง หรือ มะเดื่อญี่ปุ่น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Ficus carica) เป็นไม้ยืนต้นที่แยกดอกแยกต้นเจริญได้ดีในที่สูงถึง 6 เมตร หรือ 19 ฟุต อยู่ในสกุล Ficus วงศ์ Moraceae เป็นพืชพื้นเมืองในแถบตะวันออกกลาง[1] เป็นพืชคนละชนิดกับมะเดื่ออุทุมพรหรือมะเดื่อชุมพร (F. racemosa) ซึ่งเป็นไม้พื้นเมืองในอินเดียและศรีลังกา[2]

มะเดื่อเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นเป็นปุ่มแตกกิ่งก้านออก ใบเดี่ยว ด้านหนึ่งหยาบ อีกด้านหนึ่งมีขนอ่อน ลำต้นมียางสีขาว ผลออกเป็นกระจุก กลมแป้นหรือรูปไข่ เปลือกบาง ผลอ่อนสีเขียว พอสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง แดงหรือชมพูแล้วแต่พันธุ์ เนื้อในสีแดงเข้ม สุกแล้วมีกลิ่นหอม การปลูกเป็นการค้าเริ่มที่เอเชียตะวันตก แล้วจึงแพร่หลายสู่ซีเรีย ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน[3] ปัจจุบันปลูกมากในยุโรปใต้ สหรัฐ ตุรกี ออสเตรเลีย แอฟริกาใต้ มาดากัสการ์ ในอดีต ประเทศไทยจะนำเข้ามะเดื่อในรูปผลแห้ง เริ่มนำต้นเข้ามาปลูกครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2524 ที่ดอยอ่างขาง[3] โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ มูลนิธิโครงการหลวง เพื่อทดแทนการปลูกฝิ่น[4] เป็นผลไม้ต่างถิ่นชนิดหนึ่ง มีคุณค่าทางอาหารสูงอยู่ใน 10 อันดับแรกของโลก

ประวัติ[แก้]

การปลูกมะเดื่อพบว่า มีมากว่า 2,000 ปีแล้ว ตำนานของยุโรป และ ตะวันออกยุคโบราณบันทึกไว้ว่า ชาวอียิปต์และชาวกรีกเชื่อว่ามะเดื่อเป็นผลไม้ศักดิ์สิทธิ์ เป็นอาหารสำหรับนักกีฬาโอลิมปิกสมัยโบราณ[3] มีปรากฏในไบเบิลของศาสนาคริสต์และอัลกุรอ่านของศาสนาอิสลาม[5]

คุณค่าทางโภชนาการ[แก้]

ในผลมะเดื่อมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิด เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็กในปริมาณสูงมาก โปรตีน วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินซี ไนอาซิน คาร์โบไฮเดรต ผลมะเดื่อ มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง เช่น กล้ามเนื้อแข็งแรง สร้างสมดุลสภาวะกรดในร่างกาย ลดรอยเหี่ยวย่น ป้องกันโรคนิ่วในไต ช่วยฟอกตับและม้าม ช่วยสมานแผลในปาก ช่วยย่อยอาหาร ป้องกันโรคมะเร็ง (สารสกัดจากผลมะเดื่อสามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งในการทดลองได้) ไม่มีไขมันหรือโคเลสเตอรอล[6]

การใช้ประโยชน์และความเชื่อ[แก้]

ผลมะเดื่อสดผ่าให้เห็นเนื้อข้างใน
ผลมะเดื่อแห้ง
ผลมะเดื่อแห้ง
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน1,041 กิโลจูล (249 กิโลแคลอรี)
63.87 g
น้ำตาล47.92 g
ใยอาหาร9.8 g
0.93 g
3.30 g
วิตามิน
ไทอามีน (บี1)
(7%)
0.085 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(7%)
0.082 มก.
ไนอาซิน (บี3)
(4%)
0.619 มก.
(9%)
0.434 มก.
วิตามินบี6
(8%)
0.106 มก.
โฟเลต (บี9)
(2%)
9 μg
วิตามินซี
(1%)
1.2 มก.
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(16%)
162 มก.
เหล็ก
(16%)
2.03 มก.
แมกนีเซียม
(19%)
68 มก.
ฟอสฟอรัส
(10%)
67 มก.
โพแทสเซียม
(14%)
680 มก.
สังกะสี
(6%)
0.55 มก.
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA FoodData Central

มะเดื่อใช้กินเป็นผลไม้สด หรือใช้ทำขนม เช่น พาย พุดดิ้ง เค้ก ไอศกรีม แยม อบแห้ง ผสมในชาไข่มุก หรือใส่ขนมแทนลูกเกด ผลแห้งนำไปคั่วแล้วป่นใช้แทนกาแฟ เป็นผลไม้ที่มีใยอาหารสูง เป็นยาระบาย [3]

อ้างอิง[แก้]

  1. The Fig: its History, Culture, and Curing, Gustavus A. Eisen, Washington, Govt. print. off., 1901
  2. ประชิดวามานนท์. ไม่ประดับเพื่อการตกแต่ง. กทม. บ้านและสวน. 2550
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. มะเดื่อฝรั่ง ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า149
  4. มะเดื่อฝรั่ง
  5. "Foods of the prophet". IslamOnline. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-15. สืบค้นเมื่อ 2012-03-08.
  6. "Figs-มะเดื่อฝรั่ง (ญี่ปุ่น)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-24. สืบค้นเมื่อ 2012-11-14.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]