ราชวงศ์ที่ยี่สิบแห่งอียิปต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชวงศ์ที่ยี่สิบแห่งอียิปต์

1189 ปีก่อนคริสตกาล–1077 ปีก่อนคริสตกาล
ภาพวาดของฟาโรห์รามเสสที่ 9 จากหลุมฝังพระบรมศพเควี 6
ภาพวาดของฟาโรห์รามเสสที่ 9 จากหลุมฝังพระบรมศพเควี 6
เมืองหลวงไพ-รามเสส
ภาษาทั่วไปภาษาอียิปต์
ศาสนา
ศาสนาอียิปต์โบราณ
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ยุคประวัติศาสตร์ยุคเหล็ก
• ก่อตั้ง
1189 ปีก่อนคริสตกาล
• สิ้นสุด
1077 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์ที่สิบเก้าแห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่ยี่สิบเอ็ดแห่งอียิปต์

ราชวงศ์ที่ยี่สิบแห่งอียิปต์ เป็นราชวงศ์ลำดับที่สามและราชวงศ์สุดท้ายของในช่วงสมัยราชอาณาจักรใหม่ของอียิปต์โบราณ ซึ่งนับตั้งแต่ 1189 ปีก่อนคริสตกาลถึง 1,077 ปีก่อนคริสตกาล นอกจากนี้ ราชวงศ์ที่สิบเก้าและยี่สิบยังรวมกันเป็นกลุ่มของราชวงศ์ที่อยู่ช่วงสมัย ยุครามเสส และราชวงศ์ที่ยี่สืบถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของความเสื่อมถอยของอียิปต์โบราณ

ประวัติราชวงศ์[แก้]

เบื้องหลังของราชวงศ์ที่ยี่สิบ[แก้]

หลังจากการสวรรคตของพระนางทวอสเรต ซึ่งเป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่สิบเก้า อียิปต์ได้เข้าสู่ช่วงสงครามกลางเมือง ซึ่งยืนยันโดยจารึกจากเกาะเอลิเฟนไทน์ที่โปรดให้สร้างโดยฟาโรห์เซตนัคห์เต ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุการสวรรคตของพระองค์อย่างแน่ชัด พระองค์อาจจะสวรรคตอย่างสงบในระหว่างรัชสมัยของพระองค์ หรือถูกโค่นพระราชบัลลังก์โดยฟาโรห์เซตนัคห์เต ซึ่งน่าจะอยู่ในวัยกลางคนแล้วในขณะนั้น[1]

ราชวงศ์ที่ยี่สิบแห่งอียิปต์[แก้]

ประเด็นที่สอดคล้องกันของราชวงศ์ที่ยี่สิบคือการสูญเสียอำนาจของฟาโรห์ให้กับมหาปุโรหิตแห่งอามุน ฟาโรห์ฮอร์เอมเฮบแห่งราชวงศ์ที่สิบแปดแห่งอียิปต์ทรงได้ฟื้นฟูศาสนาอียิปต์โบราณแบบดั้งเดิมและฐานะปุโรหิตแห่งอามุน หลังจากที่ฟาโรห์อะเคนอาเตนได้ทรงยกเลิกการบูชาไปนั้น ด้วยที่มหาปุโรหิตทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างเทพเจ้าและประชาชน แทนที่จะเป็นฟาโรห์ ตำแหน่งของฟาโรห์ไม่ได้ควบคุมอำนาจแบบเดียวกับในอดีตอีกต่อไป[2]

ฟาโรห์เซตนัคห์เต[แก้]

พระองค์ทรงทำให้อียิปต์เกิดเสถียรภาพ และอาจจะขับไล่ความพยายามรุกรานของชาวทะเล พระองค์ทรงปกครองอยู่ประมาณ 4 ปีก่อนที่พระราชโอรส คือ ฟาโรห์รามเสสที่ 3 จะขึ้นครองราชย์แทน

ฟาโรห์รามเสสที่ 3[แก้]

ในปีที่ 5 แห่งการครองราชย์ พระองค์ทรงเอาชนะการรุกรานอียิปต์ของชนเผ่าลิเบียโบราณโดยชาวลิบู เมชเวส และเซเปดผ่านมาร์มาริกา ซึ่งก่อนหน้านี้บุกไม่สำเร็จในรัชสมัยของฟาโรห์เมอร์เนพทาห์[3]

พระองค์ทรงมีชื่อเสียงที่สุดในการเอาชนะกลุ่มพันธมิตรของชาวทะเลอย่างเด็ดขาด รวมถึงชาวเดนเยน, ทเจกเกอร์, เพเลเซต, ชาร์ดินา และเมชเวสในยุทธการที่ดจาฮิและยุทธการที่ปากน้ำไนล์ในช่วงปีที่ 8 ในรัชสมัยของพระองค์ ในปาปิรุสแฮร์ริส หมายเลข 1 ซึ่งยืนยันเหตุการณ์เหล่านี้อย่างละเอียด ว่ากันว่าพระองค์ทรงได้ตั้งถิ่นฐานให้กับชาวทะเลที่พ่ายแพ้ใน "ฐานที่มั่น" ซึ่งน่าจะอยู่ในคานาอันในฐานะราษฎรของพระองค์[2][4]

ในปีที่ 11 แห่งการครองราชย์ของพระองค์ กลุ่มพันธมิตรผู้รุกรานชาวลิเบียอีกกลุ่มหนึ่งพ่ายแพ้ในอียิปต์

ระหว่างปีที่ 12 ถึงปีที่ 29 แห่งการครองราชย์ มีการดำเนินโครงการจัดระเบียบลัทธิต่าง ๆ ของศาสนาอียิปต์โบราณอย่างเป็นระบบ โดยสร้างและให้ทุนสนับสนุนลัทธิใหม่และบูรณะวัดวิหาร

ในปีที่ 29 แห่งการครองราชย์ เกิดการหยุดงานประท้วงครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ หลังจากการปันส่วนอาหารสำหรับผู้สร้างสุสานราชวงศ์และช่างฝีมือในหมู่บ้านเชต มาอัต (ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ เดียร์ อัล-เมดินา) ไม่สามารถจัดเตรียมได้[5]

รัชสมัยของฟาโรห์รามเสสที่ 3 ยังเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องการสมรู้ร่วมคิดในราชสำนัก ซึ่งพระราชินีทีเย หนึ่งในมเหสีของพระองค์มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพยายามลอบสังหารฟาโรห์ โดยมีเป้าหมายเพื่อวางให้เจ้าชายเพนทาเวอร์ พระราชโอรสของพระองค์ขึ้นครองพระราชบัลลังก์ แต่ไม่สำเร็จ ฟาโรห์รามเสสที่ 3 สวรรคตจากการพยายามปลิดชีวิตพระองค์ อย่างไรก็ตาม รัชทายาทและพระราชโอรสโดยชอบด้วยกฎหมายของพระองค์คือฟาโรห์รามเสสที่ 4 ซึ่งเป็นผู้สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์ ซึ่งหลังจากนั้นพระองค์ได้จับกุมและประหารผู้สมรู้ร่วมคิดประมาณ 30 คน[6][7]

ฟาโรห์รามเสสที่ 4[แก้]

ในตอนต้นของรัชสมัย พระองค์ทรงโปรดให้ได้เริ่มโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ในระดับเดียวกับโครงการของฟาโรห์รามเสสมหาราช พระองค์ทรงเพิ่มจำนวนกลุ่มคนงานที่หมู่บ้านเซต มาอัต ขึ้นสองเท่าเป็น 120 คน และส่งคณะเดินทางจำนวนมากไปยังเหมืองหินของวาดิ ฮัมมามัต และเหมืองเทอร์คอยซ์ของไซนาย หนึ่งในคณะสำรวจที่ใหญ่ที่สุดประกอบด้วยทหาร 8,368 คน ในจำนวนนี้เป็นทหารประมาณ 2,000 นาย[8] พระองค์ทรงโปรดให้ขยายวิหารคอนซูของพระราชบิดาที่คาร์นัก และอาจจะโปรดให้เริ่มสร้างวิหารเก็บศพของพระองค์ขึ้นที่พื้นที่ใกล้กับวิหารฮัตเชปซุต วัดขนาดเล็กอีกแห่งที่มีความเกี่ยวข้องกับพระองค์ในทางตอนเหนือของเมดิเนตฮาบู

ฟาโรห์รามเสสที่ 4 ทรงเห็นปัญหาเกี่ยวกับการปันส่วนอาหารแก่คนงานของพระองค์ คล้ายกับสถานการณ์ในรัชสมัยของพระราชบิดา รามเสสนัคต์ มหาปุโรหิตแห่งอามุนในเวลานั้นได้เริ่มติดตามเจ้าหน้าที่ของรัฐขณะที่พวกเขาไปจ่ายปันส่วนให้กับคนงานโดยแนะนำว่าอย่างน้อยก็ในบางส่วน วิหารแห่งอามุนไม่ใช่รัฐอียิปต์ที่รับผิดชอบค่าจ้าง[ต้องการอ้างอิง]

นอกจากนี้พระองค์ยังโปรดให้ทำบันทึกปาปิรัสแฮร์ริส หมายเลข 1 ซึ่งเป็นบันทึกปาปิรัสจากอียิปต์โบราณที่ยาวที่สุดที่ทราบ โดยมีความยาว 41 เมตรพร้อมข้อความ 1,500 บรรทัดเพื่อเฉลิมฉลองความสำเร็จของพระราชบิดาของพระองค์

ฟาโรห์รามเสสที่ 5[แก้]

พระองค์ทรงครองราชย์ได้ไม่เกิน 4 ปี ก็เสด็จสวรรคตด้วยไข้ทรพิษเมื่อ 1143 ปีก่อนคริสตกาล บันทึกปาปิรุสแห่งตูริน หมายเลข 2044 ได้ยืนยันว่าในรัชสมัยของพระองค์ คนงานของเซต มาอัตถูกบังคับให้หยุดสร้างหลุมฝังศพ เควี 9 ของพระองค์เป็นระยะ เนื่องจาก "กลัวศัตรู" บ่งบอกถึงความไม่มั่นคงที่เพิ่มขึ้นในอียิปต์และการไม่สามารถปกป้องประเทศจากสิ่งที่สันนิษฐานว่าเป็นฝ่ายจู่โจมจากลิเบีย[9]

บันทึกปาปิรุสวิลบัวร์ ซึ่งคาดว่ามีอายุตั้งแต่รัชสมัยฟาโรห์รามเสสที่ 5 ในรัชสมัยของพระองค์ บันทึกดังกล่าวเผยให้เห็นว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ในอียิปต์ ณ ตอนนั้นถูกควบคุมโดยวิหารแห่งอามุน และวิหารแห่งอามุนก็ควบคุมการเงินของอียิปต์อย่างสมบูรณ์[10]

ฟาโรห์รามเสสที่ 6[แก้]

ฟาโรห์รามเสสที่ 6 เป็นที่ทราบดีในเรื่องหลุมฝังพระบรมศพของพระองค์ ซึ่งเมื่อได้สร้างขึ้นทับหลุมฝังพระบรมศพของฟาโรห์ทุตอังค์อามุนไว้ข้างใต้โดยไม่ได้ตั้งใจ ทำให้หลุมฝังพระบรมศพของพระองค์ปลอดภัยจากการปล้นสุสานจนกระทั่งฮาวเวิร์ด คาร์เตอร์ค้นพบในปี ค.ศ. 1922

ฟาโรห์รามเสสที่ 7[แก้]

อนุสรณ์สถานเพียงอย่างเดียวของพระองค์ คือ หลุมฝังพระบรมศพ เควี 1[ต้องการอ้างอิง]

ฟาโรห์รามเสสที่ 8[แก้]

แทบไม่มีทราบเกี่ยวกับรัชสมัยของพระองค์ ซึ่งครองราชย์เป็นระบะเวลาเพียงปีเดียว หลักฐานของพระองค์ได้ปรากฏที่เมดิเนตฮาบู และแผ่นโลหะเพียงไม่กี่ชิ้นเท่านั้น อนุสรณ์สถานเพียงแห่งเดียวในรัชสมัยของพระองค์ คือ หลุมฝังศพที่เรียบง่าย ซึ่งน่าจะใช้สำหรับฝังพระศพเจ้าชายเมนทูเฮอร์เคเปเชฟ ซึ่งเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์รามเสสที่ 9 มากกว่า[ต้องการอ้างอิง]

ฟาโรห์รามเสสที่ 9[แก้]

ในช่วงปีที่ 16 และปีที่ 17 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์รามเสสที่ 9 พระองค์ทรงพิจารณาคดีปล้นสุสานที่มีชื่อเสียงเกิดขึ้นตามที่ปรากฏในบันทึกปาปิรุสแอ็บบอตต์ ซึ่งมีการการตรวจสอบอย่างรอบคอบโดยคณะระดับขุนนางได้ดำเนินการกับสุสานหลวงสิบแห่ง สุสานสี่แห่งของคายิกาแห่งสาวิกาอันศักดิ์สิทธ์ และสุดท้ายคือสุสานในธีบส์ หลายแห่งพบว่าถูกทำลาย เช่น หลุมฝังพระบรมศพของฟาโรห์โซเบเคมซาฟที่ 2 ซึ่งมัมมี่ถูกขโมยไป[11]

คาร์ทูชของพระองค์ถูกพบที่เกเซอร์ในคานาอัน ซึ่งบ่งบอกว่าอียิปต์ในเวลานี้ยังคงมีอิทธิพลในระดับหนึ่งในภูมิภาคนี้[12]

โครงการก่อสร้างส่วนใหญ่ในรัชสมัยของพระองค์ อยู่ที่เมืองเฮลิโอโปลิส[13]

ฟาโรห์รามเสสที่ 10[แก้]

รัชสมัยของพระองค์ได้รับการบันทึกไว้น้อยมาก โดยบันทึกเนโครโพลิสแห่งเซต มาอัตได้บันทึกถึงความเกียจคร้านทั่วไปของคนงานในช่วงเวลาดังกล่าว เนื่องจากเสี่ยงต่ออันตรายจากผู้บุกรุกชาวลิเบีย[14]

ฟาโรห์รามเสสที่ 11[แก้]

ฟาโรห์รามเสสที่ 11 เป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่ยี่สิบแห่งอียิปต์ ในรัชสมัยของพระองค์ตำแหน่งเริ่มอ่อนแอลงจนทางตอนใต้ มหาปุโรหิตแห่งอามุนที่ธีบส์กลายเป็นผู้ปกครองอียิปต์บนโดยพฤตินัย ในขณะที่ฟาโรห์สเมนเดสได้ทรงควบคุมอียิปต์ล่างก่อนที่ฟาโรห์รามเสสที่ 11 จะเสด็จสวรรคต ในที่สุดฟาโรห์สเมนเดสก็ทรงสถาปนาราชวงศ์ที่ยี่สิบเอ็ดแห่งอียิปต์ที่เมืองทานิส[15]

การเสื่อมอำนาจ[แก้]

ดังที่เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ที่สิบเก้าแห่งอียิปต์ในก่อนหน้านี้ ราชวงศ์ที่ยี่สิบก็ต้องเผชิญต่อผลกระทบของการข้อพิพาทระหว่างรัชทายาทของฟาโรห์รามเสสที่ 3 ตัวอย่างเช่น พระราชโอรสจำนวนสามพระองค์ที่แตกต่างกันของฟาโรห์รามเสสที่ 3 เป็นที่ทราบกันดีว่าได้ขึ้นมามีอำนาจเป็นฟาโรห์รามเสสที่ 4 ฟาโรห์รามเสสที่ 6 และฟาโรห์รามเสสที่ 8 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาดังกล่าว อียิปต์ยังถูกรุมเร้าด้วยภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง ระดับน้ำท่วมต่ำกว่าปกติในแม่น้ำไนล์ ความอดอยาก ความไม่สงบในบ้านเมือง และการฉ้อโกงของทางการ ซึ่งทั้งหมดนี้ได้จำกัดความสามารถในการบริหารจัดการของฟาโรห์ไม่ว่าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง

รายพระนามฟาโรห์[แก้]

ฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่ยี่สิบแห่งอียิปต์ทรงปกครองเป็นเวลาประมาณ 120 ปี นับตั้งแต่ 1187 ถึง 1064 ปีก่อนคริสตกาล วันและเวลาในตารางส่วนใหญ่นำมาจาก "Chronological Table for the Dynastic Period" ในเอริค ฮอร์นุง, รอล์ฟ เคราส์ & เดวิด วอร์เบอร์ตัน (บรรณาธิการ), Ancient Egyptian Chronology (คู่มือตะวันออกศึกษา), บริลล์, 2006 ฟาโรห์หลายพระองค์ทรงถูกฝังพระบรมศพอยู่ในหุบเขากษัตริย์ในธีบส์ (KV) ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ Theban Mapping Project[16]

ฟาโรห์ รูปภาพ พระนามครองราชย์ / พระนามประสูติ รัชสมัย หลุมฝังพระบรมศพ พระมเหสี คำอธิบาย
เซตนัคห์เต ยูเซอร์คาอูเร-เซเทปเอนเร 1189 – 1186 ปีก่อนคริสตกาล เควี 14 ทิย์-เมเรเนเซ อาจจะทรงแย่งชิงพระราชบัลลังก์มาจากฟาโรห์ทวอสเรต
รามเสสที่ 3 ยูเซอร์มาอัตเร-เมริอามุน 1186 – 1155 ปีก่อนคริสตกาล เควี 11 ไอเซต ทา-เฮมดเจิร์ตติติ

ทิเย

รามเสสที่ 4 ยูเซอร์มาอัตเร-เซเทปเอนอามุน, ภายหลังเป็น เฮกามาอัตเร-เซเทปเอนอามุน 1155 – 1149 ปีก่อนคริสตกาล เควี 2 ดูอัตเทนต์โอเพต
รามเสสที่ 5 / อาเมนฮิร์เคเปเชฟที่ 1 ยูเซอร์มาอัตเร เซเคเปอร์เอนเร 1149 – 1145 ปีก่อนคริสตกาล เควี 9 เฮนุตวาติ

ทาเวเรตเทนรู

รามเสสที่ 6 / อาเมนฮิร์เคเปเชฟที่ 2 เนบมาอัตเร เมริอามุน 1145 – 1137 ปีก่อนคริสตกาล เควี 9 นุบเคสเบด
รามเสสที่ 7 / อิตอามุน ยูเซอร์มาอัดเร เซเทปเอนเร เมริอามุน 1136 – 1129 ปีก่อนคริสตกาล เควี 1
รามเสสที่ 8 / เซตฮิร์เคเปเชฟ ยูเซอร์มาอัตเร-อาเคนอามุน 1130 – 1129 ปีก่อนคริสตกาล
รามเสสที่ 9 / คาเอมวาเซตที่ 1 เนเฟอร์คาเร เซเทปเอนเร 1129 – 1111 ปีก่อนคริสตกาล เควี 6 บาเคตเวอร์เนล
รามเสสที่ 10 / อาเมนฮิร์เคเปเชฟที่ 3 เคเปอร์มาอัตเร เซเทปเอนเร 1111 – 1107 ปีก่อนคริสตกาล เควี 18
รามเสสที่ 11 / คาเอมวาเซตที่ 1 เมนมาอัตเร เซตป์เอนพทาห์ 1107 – 1077 ปีก่อนคริสตกาล เควี 4 เทนต์อามุน

พระราชพงศาวลีราชวงศ์ที่ยี่สิบแห่งอียิปต์[แก้]

ราชวงศ์ที่ยี่สิบแห่งอียิปต์เป็นราชวงศ์สุดท้ายของช่วงสมัยราชอาณาจักรใหม่แห่งอียิปต์ ซึ่งปราฏความสัมพันธ์ในพระราชวงศ์ที่ไม่ชัดเจน โดยเฉพาะช่วงปลายราชวงศ์

เซตนัคต์เอทัยย์-เมอร์เอนเนเซ
อิเซต ทา-เฮมดเจิร์ตราเมสเซสที่ 3ทิเย
เพนทาเวเร
นุบเคสเบดราเมสเซสที่ 6ราเมสเซสที่ 4ดูอาเทนต์โอเพตอามุนเฮอร์เคเปชเอฟคาเอมวาเซต อีราเมสเซสที่ 8พาเรเฮอร์เวเนมเอฟมอนทูเฮอร์เคเปชเอฟ บีทาคัต บี
ราเมสเซสที่ 7ราเมสเซสที่ 5บาเคตเวอร์เนลราเมสเซสที่ 9
ทีติราเมสเซสที่ 10
ไม่ทราบราเมสเซสที่ 11

เส้นเวลาของราชวงศ์ที่ยี่สิบแห่งอียิปต์[แก้]

Ramesses XIRamesses XRamesses IXRamesses VIIIRamesses VIIRamesses VIRamesses VRamesses IVRamesses IIISetnakhte

อ้างอิง[แก้]

  1. Hartwig Altenmüller, "The Tomb of Tausert and Setnakht," in Valley of the Kings, ed. Kent R. Weeks (New York: Friedman/Fairfax Publishers, 2001), pp.222-31
  2. 2.0 2.1 "New Kingdom of Egypt". World History Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ 2017-05-06.
  3. Grandet, Pierre (2014-10-30). "Early–mid 20th dynasty". UCLA Encyclopedia of Egyptology. 1 (1): 4.
  4. Lorenz, Megaera. "The Papyrus Harris". fontes.lstc.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-15. สืบค้นเมื่อ 2017-05-06.
  5. William F. Edgerton, The Strikes in Ramses III's Twenty-Ninth Year, JNES 10, No. 3 (July 1951), pp. 137-145
  6. Dodson and Hilton, pg 184
  7. Grandet, Pierre (2014-10-30). "Early–mid 20th dynasty". UCLA Encyclopedia of Egyptology. 1 (1): 5–8.
  8. Jacobus Van Dijk, 'The Amarna Period and the later New Kingdom' in The Oxford History of Ancient Egypt, ed. Ian Shaw, Oxford University Press paperback, (2002), pp.306-307
  9. A.J. Peden, The Reign of Ramesses IV, (Aris & Phillips Ltd: 1994), p.21 Peden's source on these recorded disturbances is KRI, VI, 340-343
  10. Alan H. Gardiner, R. O. Faulkner: The Wilbour Papyrus. 4 Bände, Oxford University Press, Oxford 1941-52.
  11. Une enquête judiciaire à Thèbes au temps de la XXe dynastie : ...Maspero, G. (Gaston), 1846-1916.
  12. Finkelstein, Israel. "Is the Philistine Paradigm Still Viable?" (ภาษาอังกฤษ): 517. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  13. Nicolas Grimal, A History of Ancient Egypt, Blackwell Books, 1992. p.289
  14. E.F. Wente & C.C. Van Siclen, "A Chronology of the New Kingdom" in Studies in Honor of George R. Hughes, (SAOC 39) 1976, p.261
  15. Dodson and Hilton, pg 185-186
  16. Sites in the Valley of the Kings