ฟาโรห์เซบคาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เซบคาย (หรือ เซเบคาย หรือ เซเบคาอิ[1]) เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณในช่วงสมัยระหว่างกลางที่สอง ซึ่งเป็นระยะเวลานานมาแล้วที่ปรากฏปัญหาเกี่ยวกับตำแหน่งตำแหน่งตามลำดับเวลาของพระองค์และพระองค์ถูกจัดจัดให้เป็นฟาโรห์ในราชวงศ์ที่สิบสาม อย่างไรก็ตาม การค้นพบหลุมฝังพระบรมศพของฟาโรห์ที่มีพระนามว่า เซเนบคาย จึงมีความเป็นไปได้ฟาโรห์เนบคายจะเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์พระองค์ดังกล่าว ส่วนการเขียนพระนาม "เซบคาย" นั้นเป็นเพียงการสะกดพระนามผิดเท่านั้น[2]

ไม่ค่อยทราบข้อมูลเกี่ยวพระองค์มากนัก เนื่องจากพระนามของพระองค์ปรากฏอยู่บนงาแห่งการเกิด (ไม้กายสิทธิ์) ที่พบในอไบดอส และปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์ไคโร (ซีจี 9433 / เจอี 34988)[3]

การระบุตัวตน[แก้]

นับตั้งแต่มีการค้นพบไม้กายสิทธิ์ดังกล่าว นักไอยคุปต์วิทยาหลายคนพยายามสืบค้นเกี่ยวกับฟาโรห์พระองค์ดังกล่าวร่วมกับผู้ปกครองคนอื่นๆ ในช่วงสมัยระหว่างกลางที่สอง โดยที่สตีเฟน เควิร์ก เชื่อว่าพระนาม "เซบคาย" เป็นคำย่อของพระนาม "เซดเจฟาคาเร" ซึ่งเป็นพระนามครองราชย์ของฟาโรห์คาย-อเมนเอมฮัต[4] ในขณะที่เยือร์เกิน ฟ็อน เบ็คเคอราธได้พิจารณาว่าเป็นพระนามในรูปแบบย่อของพระนามประสูติ "โซเบคโฮเทป" แทน[1] ซึ่งโทมัส ชไนเดอร์ได้สนับสนุนสมมติฐานของฟ็อน เบ็คเคอราธ โดยที่ระบุว่าฟาโรห์โซเบคโฮเทปพระองค์ดังกล่าวน่าจะเป็นฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 2[5]

ในส่วนข้อสมมติฐานที่ต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิงนั้นมาจากคิม ไรฮอล์ท ซึ่งเสนอให้อ่านพระนามว่า "พระราชโอรสแห่งเซบ, คาย" แล้วได้แยกพระนามว่า "เซบ-คาย" โดยพฤตินัยออกเป็นฟาโรห์สองพระองค์ และด้วยเหตุดังกล่าวจึงเป็นการเติมเต็มช่องว่างในบันทึกพระนามแห่งตูรินที่สูญหายไปก่อนหน้าส่วนของฟาโรห์คาย-อเมนเอมฮัต นอกจากนี้ ในการตีความบันทึกพระนามใหม่ดังกล่าว พระนามของฟาโรห์พระองค์หลังที่กล่าวถึงควรได้รับการพิจารณาว่าเป็นพระนามสร้อยด้วย และต้องอ่านว่า "อเมนเอมฮัต พระราชโอรสแห่งคาย" จึงกำหนดเส้นสายพระราชวงศ์ที่ประกอบด้วยฟาโรห์สามพระองค์ ได้แก่ พระราชโอรสแห่งเซบ, คาย และอเมเนมฮัต ซึ่งเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์พระองค์หลัง จากการการตีความของไรฮอล์ทถือเป็นการโต้แย้งข้อสันนิษฐานอื่นและเป็นที่ถกเถียงของนักไอยคุปต์วิทยาบางคน[5]

ในปี ค.ศ. 2014 ที่อไบดอส ทีมนักโบราณคดีได้ค้นพบหลุมฝังพระบรมศพของฟาโรห์จากช่วงสมัยระหว่างกลางที่สองที่ไม่ทราบกันมาก่อน ซึ่งปรากฏพระนามว่า เซเนบคาย จึงทำให้มีการเสนอความเห็นว่าผู้ปกครองพระองค์ดังกล่างและฟาโรห์เซบคาย อาจจะทรงเป็นบุคคลพระองค์เดียวกัน[6]

ภาพของไม้กายสิทธิ์งาช้าง ซึ่งด้านซ้ายสลักพระนาม "เซบคาย"

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Jürgen von Beckerath, Untersuchungen zur politischen Geschichte der Zweiten Zwischenzeit in Ägypten, Glückstadt, Augustin, 1964, p. 46.
  2. Ilin-Tomich, Alexander, 2016, Second Intermediate Period. In Wolfram Grajetzki and Willeke Wendrich (eds.), UCLA Encyclopedia of Egyptology, Los Angeles. http://digital2.library.ucla.edu/viewItem.do?ark=21198/zz002k7jm9 p. 10
  3. Georges Daressy, Catalogue Général des Antiquités Égyptiennes du Musée du Caire: Textes et dessins magiques. Le Caire: Imprimerie de L'institut Français D'archéologie Orientale (1903), pl. XI.
  4. "Sebkay page on". Eglyphica.de. สืบค้นเมื่อ 2014-08-18.
  5. 5.0 5.1 Thomas Schneider, in Erik Hornung, Rolf Krauss, and David A. Warburton (eds) Ancient Egyptian Chronology, Brill, Leiden – Boston, 2006, pp. 178-79.
  6. Finding a Lost Pharaoh เก็บถาวร 2014-01-28 ที่ archive.today, Archaeology and arts. Retrieved 08 May 2014