ฟาโรห์เซเมนคาเร เนบนูนิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ฟาโรห์เนบนูนิ)

เซเมนคาเร เนบนูนิ (หรือ เนบนูน และ เนบเนนนู) เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณที่มีไม่ค่อยพบหลักฐานรับรอง ซึ่งทรงขึ้นครองราชย์ในช่วงต้นของราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์ในสมัยช่วงระหว่างกลางที่สอง โดยอ้างอิงจากนักไอยคุปต์วิทยาอย่างดาร์เรล เบเกอร์ และคิม รีฮอล์ต ฟาโรห์เนบนูนิทรงเป็นผู้ปกครองลำดับที่เก้าของราชวงศ์สิบสาม[1][2] ส่วนเยอร์เกน ฟอน เบ็คเคอราทและเดตเลฟ ฟรานเคอ ได้เสนอความเห็นว่า พระองค์ทรงเป็นฟาโรห์พระองค์ที่แปดของราชวงศ์ที่สิบสามแทน[3][4][5]

หลักฐานรับรอง[แก้]

พระนามของฟาโรห์เนบนูนิปรากฎของในบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูรินในคอลัมน์ที่ 7 บรรทัดที่ 11 หรือ คอลัมน์ที่ 6 บรรทัดที่ 11 ในการอ่านบันทึกพระนามแบบการ์ดิเนอร์ และในส่วนที่บันทึกระยะเวลาของการครองราชย์ของพระองค์ได้สูญหายไปจากส่วนที่เสียหายของบันทึก โดยหลงเหลือเพียงช่วงท้ายที่บันทึกไว้ว่า "[...] และ 22 วัน"[1][2] ส่วนการรับรองการมีอยู่ของพระองค์มาจากหลักฐานชั้นต้นร่วมสมัยเพียงชิ้นเดียว คือ จารึกดินเผาที่แสดงภาพที่พระองค์กำลังทรงยืนต่อหน้าเทพพทาห์ "ทางใต้กำแพงของพระองค์" ซึ่งเป็นคำเรียกของเทพเจ้าประจำเมืองเมมฟิส และอีกด้านหนึ่งทรงยืนต่อหน้าเทพฮอรัส ซึ่งเป็น "เจ้าแห่งต่างแดน" จารึกดังกล่าวถูกจารึกด้วยพระนามประสูติและพระนามครองราชย์ของฟาโรห์เนบนูนิ และจารึกดังกล่าวได้ถูกค้นพบที่ญะบัล อัล-เซอิต บนชายฝั่งทะเลแดงในคาบสมุทรไซนาย ซึ่งเป็นที่ตั้งของเหมืองกาเลนา[6]

รัชสมัย[แก้]

คิม รีฮอล์ต นักไอยคุปต์วิทยาได้ระบุให้ให้ฟาโรห์เนบนูนิทรงครองราชย์เป็นระยะเวลาสองปีในช่วงระหว่าง 1785 ถึง 1783 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนอีกทางหนึ่ง นักอียิปต์วิทยาอย่างรอล์ฟ เคราสส์, เดตเลฟ ฟรานเคอ และธอมัส ชไนเดอร์ได้ระบุให้พระองค์ทรงครองราชย์เพียงแค่หนึ่งปีในช่วง 1739 ปีก่อนคริสตกาล[7] ถึงแม้จะไม่ค่อยทราเหตุการณ์ภายในรัชสมัยของฟาโรห์เนบนูนิมากนัก แต่การมีอยู่ของจารึกของพระอค์แสดงให้เห็นว่าในช่วงเวลาดังกล่าว ผู้ปกครองของราชวงศ์ที่สิบสามยังคงมีอำนาจเพียงพอในการจัดการสำรวจเหมืองแร่ในคาบสมุทรไซนายเพื่อจัดหาวัสดุก่อสร้างและการผลิตสินค้าฟุ่มเฟือย และท้ายที่สุด รีฮอล์ตได้ชี้ให้เห็นถึงการขาดความเชื่อมโยงระหว่างระหว่างรัชสมัยของฟาโรห์เนบนูนิกับผู้ปกครองก่อนหน้าของพระองค์ เขาจึงสรุปว่าฟาโรห์เนบนูนิอาจจะทรงแย่งชิงพระราชบัลลังก์มา[1][2]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 K.S.B. Ryholt, The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c.1800–1550 BC, Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997, excerpts available online here.
  2. 2.0 2.1 2.2 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 245
  3. Jürgen von Beckerath: Untersuchungen zur politischen Geschichte der Zweiten Zwischenzeit in Ägypten, Glückstadt, 1964
  4. Jürgen von Beckerath: Chronologie des pharaonischen Ägyptens, Münchner Ägyptologische Studien 46, Mainz am Rhein, 1997
  5. Thomas Schneider: Ancient Egyptian Chronology - Edited by Erik Hornung, Rolf Krauss, And David a. Warburton, available online, see p. 176
  6. Georges Castel and Georges Soukiassian: Dépôt de stèles dans le sanctuaire du Nouvel Empire au Gebel Zeit, BIFAO 85 (1985), ISSN 0255-0962, p. 290, pl. 62
  7. Thomas Schneider following Detlef Franke: Lexikon der Pharaonen, Albatros, Düsseldorf 2002, ISBN 3-491-96053-3