จักรพรรดิอาร์ตาเซิร์กซีสที่ 3

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาร์ตาเซิร์กซีสที่ 3
𐎠𐎼𐎫𐎧𐏁𐏂
หินสลักรูปนูนของกษัตริย์ ทรงหันหน้าไปทางขวา
ภาพสลักหินของกษัตริย์อาร์ตาเซิร์กซีสในเพอร์เซโพลิส
จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิอะคีเมนิด
ครองราชย์359/8–338 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้าอาร์ตาเซิร์กซีสที่ 2
ถัดไปอาร์เซส
ฟาโรห์แห่งอียิปต์
ครองราชย์340/39–338 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้าเนคทาเนโบที่ 2
ถัดไปอาร์เซส
ประสูติโอคัส
สวรรคตเดือนสิงหาคม/กันยายน 338 ปีก่อนคริสตกาล[1]
ฝังพระศพเพอร์เซโพลิส
พระราชบุตร
ราชวงศ์อะคีเมนิด
พระราชบิดาอาร์ตาเซิร์กซีสที่ 2
พระราชมารดาสตาเตรา
ศาสนาโซโรอัสเตอร์

โอคัส (กรีก: Ὦχος Ochos) เป็นที่รู้จักกันในพระนามเมื่อทรงครองราชย์แล้วว่า อาร์ตาเซิร์กซีสที่ 3 (เปอร์เซียโบราณ: Artaxšaçāʰ; กรีก: Ἀρταξέρξης) เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิอะคีเมนิด ระหว่างตั้งแต่ราว 359/58 ถึง 338 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์เป็นพระราชโอรสและผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของกษัตริย์อาร์ตาเซิร์กซีสที่ 2 และพระราชมารดาของพระองค์คือ สตาเตรา

ก่อนที่พระองค์ทรงขึ้นครองพระราชบัลลังก์ พระองค์เป็นข้าหลวงและผู้บัญชาการกองทัพของพระราชบิดาของพระองค์ กษัตริย์อาร์ตาเซิร์กซีสทรงขึ้นสู่อำนาจหลังจากพระเชษฐาพระองค์หนึ่งของพระองค์ทรงถูกสำเร็จโทษ อีกพระองค์ทรงทำอัตวินิบาตกรรม และพระองค์สุดท้ายก็ทรงถูกสังหาร และพระราชบิดาของพระองค์ กษัตริย์อาร์ตาเซิร์กซีสที่ 2 เสด็จสวรรคต หลังจากทรงขึ้นเป็นกษัตริย์ได้ไม่นาน กษัตริย์อาร์ตาเซิร์กซีสที่ 3 ทรงได้สังหารเชื้อพระวงศ์ทั้งหมดเพื่อรักษาตำแหน่งของพระองค์ในฐานะกษัตริย์ พระองค์ทรงเริ่มดำเนินการทางทหารครั้งใหญ่สองครั้งกับอียิปต์ ซึ่งดำเนินการทางทหารครั้งแรกนั้นล้มเหลว และตามมาด้วยการก่อกบฏทั่วส่วนตะวันตกของจักรวรรดิของพระองค์ และการำเนินการทางทหารทครั้งที่สอง กษัตริย์อาร์ตาเซิร์กซีสที่ 3 ก็ทรงเอาชนะเนคทาเนโบที่ 2 ฟาโรห์แห่งอียิปต์ได้ และผนวกดินแดนอียิปต์กลับสู่จักรวรรดิเปอร์เซีย หลังจากเป็นอิสระเป็นระยะเวลาหกทศวรรษ

ในปีต่อๆ มาของกษัตริย์อาร์ตาเซิร์กซีส พระราชอำนาจของกษัตริต์ฟิลิปที่ 2 แห่งมาซิดอนได้เพิ่มมากขึ้นในดินแดนกรีซ ซึ่งพระองค์พยายามโน้มน้าวชาวกรีกให้ก่อการกบฏต่อจักรวรรดิอะคีเมนิด แต่ถูกต่อต้านโดยกษัตริย์อาร์ตาเซิร์กซีส และด้วยการสนับสนุนของพระองค์ เมืองเพริธอสก็สามารถต่อต้านการปิดล้อมของกองทัพมาซิโดเนียได้

ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับพระราชนโยบายในการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างใหม่ที่เมืองเพอร์เซโพลิส ในพระชนม์ชีพบั้นปลายของพระองค์ ซึ่งกษัตริย์อาร์ตาเซิร์กซีสที่ 3 ได้ทรงโปรดให้สร้างพระราชวังใหม่และสร้างสุสานของพระองค์เอง และเริ่มโครงการก่อสร้างระยะยาว เช่น ประตูที่ยังสร้างไม่แล้วเสร็จ

พระนาม[แก้]

อาร์ตาเซิร์กซีส เป็นรูปแบบภาษาละตินของภาษากรีก Artaxerxes (Αρταξέρξης) ซึ่งมาจากภาษาเปอร์เซียโบราณ Artaxšaçā ("พระองค์ ผู้ทรงปกครองด้วยสัจจะ")[2] เป็นที่รู้จักกันในภาษาอื่นว่า; อีลาไมต์ Ir-tak-ik-ša-iš-ša, Ir-da-ik-ša-iš-ša; อัคคาเดียน Ar-ta-ʾ-ḫa-šá-is-su; เปอร์เซียกลางและเปอร์เซียใหม่ Ardašīr[3][4] ส่วนพระนามส่วนพระองค์ของพระองค์คือ โอคัส (กรีก: Ὦχος Ôchos; บาบิโลน: 𒌑𒈠𒋢 Ú-ma-kuš)[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Depuydt 2010, p. 197.
  2. Schmitt 1986b, pp. 654–655.
  3. Frye 1983, p. 178.
  4. Wiesehöfer 1986, pp. 371–376.
  5. Schmitt 1986a, pp. 658–659.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Schmitt, R. (1986b). "Artaxerxes". Encyclopaedia Iranica, Vol. II, Fasc. 6. pp. 654–655.
  • Frye, R. N. (1983). "The political history of Iran under the Sasanians". ใน Yarshater, Ehsan (บ.ก.). The Cambridge History of Iran, Volume 3(1): The Seleucid, Parthian and Sasanian Periods. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 0-521-20092-X.
  • Wiesehöfer, Joseph (1986). "Ardašīr I i. History". Encyclopaedia Iranica, Vol. II, Fasc. 4. pp. 371–376.
  • Schmitt, R. (1986a). "Artaxerxes III". Encyclopaedia Iranica, Vol. II, Fasc. 6. pp. 658–659.