จักรพรรดิกวีนติลลุส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กวีนติลลุส
จักรพรรดิโรมัน

เหรียญทองของจักรพรรดิกวีนติลลุส ซึ่งสลักข้อความที่อ่านว่า IMP C M AVR QVINTILLVS AVG
พระนามเต็ม มาร์กุส เอาเรลิอุส เกลาดิอุส กวีนติลลุส
อภิไธย อิมแปราตอร์ ไกซาร์ มาร์กุส เอาเรลิอุส เกลาดิอุส กวีนติลลุส เอากุสตุส[1]
ครองราชย์
สมัย ค.ศ. 270 (17–77 วัน)
ก่อนหน้า เกลาดิอุส กอทิกุส
ถัดไป ออเรลิอัน
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชสมภพ ค.ศ. 212, ซีร์มิอูง ปันนอนิอาอีงแฟริออร์ (สเรมสกามิตรอวิตซา เซอร์เบีย)
สวรรคต ค.ศ. 270 (พระชนมพรรษา 58 พรรษา), อากวีเลยา อิตาลี
พระบุตร พระราชโอรส 2 พระองค์
หมวดหมู่: จักรพรรดิโรมัน
จักรพรรดิโรมันตะวันตก - จักรพรรดิโรมันตะวันออก

มาร์กุส เอาเรลิอุส เกลาดิอุส กวีนติลลุส (ละติน: Marcus Aurelius Claudius Quintillus; สวรรคตเมื่อ ค.ศ. 270) เป็นจักรพรรดิแห่งโรมัน พระองค์เป็นพระเชษฐาของจักรพรรดิเกลาดิอุส กอทิกุส ซึ่งพระองค์ทรงสืบทอดตำแหน่งหลังจากการเสด็จสวรรคตของจักรพรรดิเกลาดิอุสใน ค.ศ. 270 การอ้างสิทธิ์ในตำแหน่งจักรพรรดิของจักรพรรดิกวีนติลลุสได้ถูกคัดค้านโดยจักรพรรดิเอาเรลิอานุสซึ่งกองทหารของพระองค์ได้ประกาศให้พระองค์เป็นจักรพรรดิ รัชสมัยของจักรพรรดิกวีนติลลุสนั้นกินเวลาไม่เกินหกเดือน แหล่งข้อมูลหลายชิ้นได้ระบุสาเหตุการสวรรคตของพระองค์ไว้ต่าง ๆ นานา เช่น ทรงถูกทหารของพระองค์เองปลงพระชนม์ ทรงถูกสังหารระหว่างการสู้รบกับจักรพรรดิเอาเรลิอานุส หรือทรงกระทำอัตวิบาตกรรม

สถานที่เสด็จพระราชสมภพของพระองค์ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด โดยที่จักรพรรดิกวีนติลลุสทรงเป็นชาวอิลลีเรีย พระองค์น่าจะเสด็จพระราชสมภพในปันนอนิอาอีงแฟริออร์ ตามที่ระบุไว้ในเหรียญกษาปณ์ของพระองค์[2] จักรพรรดิกวีนติลลุสมีพระชาติกำเนิดมาจากครอบครัวที่มีฐานะต่ำต้อย พระองค์ทรงเริ่มมีชื่อเสียงด้วยการขึ้นครองตำแหน่งของจักรพรรดิเกลาดิอุส กอทิกุส ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระองค์ใน ค.ศ. 268 จักรพรรดิกวีนติลลุสทรงอาจเคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนของซาร์ดิเนียในรัชสมัยของพระอนุชาของพระองค์

อ้างอิง[แก้]

  1. Cooley, Alison E. (2012). The Cambridge Manual of Latin Epigraphy. p. 500. ISBN 978-0-521-84026-2
  2. Manders 2012, p. 258.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Manders, Erika (2012). Coining Images of Power: Patterns in the Representation of Roman Emperors on Imperial Coinage, A.D. 193-284. BRILL. ISBN 978-9004189706.