ฟาโรห์ชาบาคา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
M8E10D28
nomen or birth name
šȝ bȝ kȝ (ชาบาคา)
ไฮเออโรกลีฟอียิปต์

เนเฟอร์คาเร ชาบาคา หรือ ชาบาโค (อียิปต์โบราณ: 𓆷𓃞𓂓 šꜣ bꜣ kꜣ, อัสซีเรีย: Sha-ba-ku-u) เป็นฟาโรห์แห่งคุชพระองค์ที่สามจากราชวงศ์ที่ยี่สิบห้าแห่งอียิปต์ ซึ่งทรงครองราชย์ระหว่าง 705 ถึง 690 ปีก่อนคริสตกาล[3] แหล่งข้อมูลทางกรีกเรียกพระองค์ว่า ซาบาคอน (Σαβακῶν) และถูกกล่าวถึงโดยทั้งเฮโรโดตัสและแมนิโธ[4][5]

พระราชวงศ์[แก้]

ฟาโรห์ชาบาคาทรงถูกคิดว่าเป็นพระราชโอรสของกษัตริย์คาชตากับพระนางเปบัทจ์มา ถึงแม้ว่าบันทึกจากช่วงรัชสมัยของฟาโรห์ทาฮาร์กาอาจจะตีความได้ว่า ฟาโรห์ชาบาคาเป็นพระเชษฐาของฟาโรห์ทาฮาร์กา และด้วยเหตุดังกล่าวพระองค์จึงเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ปิเย

พระมเหสีของฟาโรห์ชาบาคา คือ พระนางกัลฮาตา ตามบันทึกของอัสซีเรีย ซึ่งเป็นพระขนิษฐาของฟาโรห์ทาฮาร์กา ฟาโรห์ชาบาคาและพระนางกัลฮาตาเป็นพระราชบิดาและมารดาของฟาโรห์ทันต์อมานิ และอาจจะเป็นพระราชบิดาและมารดาของฟาโรห์เชบิตคูด้วยเช่นกัน แต่ประเด็นดังกล่าวกลับขัดแย้งกับหลักฐานที่สนับสนุนว่าฟาโรห์ซาบาคาทรงขึ้นครองราชย์หลังจากฟาโรห์เชบิตคู[2]

เป็นไปได้ว่าสมเด็จพระราชินีทาเบเคนอามุนเป็นพระมเหสีของฟาโรห์ชาบาคา[6] บางคนคิดว่าพระองค์เป็นพระมเหสีของฟาโรห์ทาฮาร์กา[2]

เจ้าชายฮาร์เอมอาเคต ซึ่งเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ชาบาคา ได้ทรงกลายเป็นมหาปุโรหิตแห่งอามุน และเป็นที่ทราบจากรูปสลักและชิ้นส่วนของรูปสลักที่พบในคาร์นัก[2] มีการกล่าวถึงสตรีนามว่า เมสบาต บนโลงพระศพของเจ้าชายฮาเรมาเคต และอาจจะเป็นพระราชมารดาของพระองค์[6]

ฟาโรห์ชาบาคาเป็นพระราชบิดาของพระราชธิดาอีกอย่างน้อยอีกสองพระองค์ แต่ไม่ทราบตัวตนของพระราชมารดาของพระองค์ได้ เจ้าหญิงพิอังค์อาร์ติต่อมาทรงกลายเป็นพระมเหสีของฟาโรห์ทันต์อมานิ ซึ่งเป็นพระเชษฐาของพระองค์ (คนละพระราชมารดา) พระนางพิอังค์อาร์ติทรงปรากฎบนจารึกแห่งสุบินกับพระสวามี ส่วนเจ้าหญิงอิเซตเอมเคบ เฮช มีความเป็นไปได้ที่จะทรงอภิเษกสมรสกับฟาโรห์ทันต์อมานิเช่นกัน พระองค์ทรงถูกฝังพระศพอยู่ในอไบดอส ประเทศอียิปต์[2]

การสวรรคต[แก้]

สันนิษฐานว่าฟาโรห์ชาบาคาเสด็จสวรรคตในปีที่ 15 แห่งการครองราชย์ตามรูปสลักลูกบาศก์รหัสหมายเลข บีเอ็ม 24429 ซึ่งตรงกับปีที่ 15 เดือนที่ 2 แห่งเชมู วันที่ 11 แห่งรัชสมัยของฟาโรห์ชาบาคา พระองค์ทรงถูกฝังพระบรมศพอยู่ในพีระมิดที่อัล-คุรรุ และฟาโรห์ทาฮาร์กา ผู้ซึ่งเป็นพระราชนัดดา ได้สืบพระราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์

อ้างอิง[แก้]

  1. [1] King Shabako
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Aidan Dodson & Dyan Hilton: The Complete Royal Families of Ancient Egypt. Thames & Hudson, 2004, ISBN 0-500-05128-3 p.237
  3. F. Payraudeau, Retour sur la succession Shabaqo-Shabataqo, Nehet 1, 2014, p. 115-127 online here
  4. A Dictionary of Greek and Roman biography and mythology, Sabacon
  5. Jack Finegan (1979). Archaeological History Of The Ancient Middle East. Westview Press. p. 137. ISBN 978-0891581642.
  6. 6.0 6.1 R. Morkot: The Black Pharaohs, Egypt's Nubian Rulers, London 2000, p. 205 ISBN 0-948695-24-2