กองพลที่ 1 รักษาพระองค์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองพลที่ 1 รักษาพระองค์
ตราประจํากองพลที่ 1 รักษาพระองค์
ประจำการพ.ศ. 2448 - ปัจจุบัน
ประเทศ ไทย
เหล่า กองทัพบกไทย
กำลังรบกองพล
ขึ้นกับกองทัพภาคที่ 1
กองบัญชาการแขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
สมญานักรบวงศ์เทวัญ
วงศ์เทวัญ
ปฏิบัติการสำคัญ
สงครามโลกครั้งที่สอง

 • สงครามฝรั่งเศส-ไทย
 • สงครามแปซิฟิก
 • การทัพพม่า

สงครามเย็น

 • สงครามเกาหลี
 • สงครามเวียดนาม
 • การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย

 • เหตุปะทะชายแดนไทย–เวียดนาม
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการปัจจุบันพลตรี สิทธิพร จุลปานะ

กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ เป็นหน่วยทหารราบของกองทัพบกไทย ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพภาคที่ 1 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก่อตั้งกองพลที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2448 พระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร กำหนดให้กองพลนี้เป็นหน่วยทหารรักษาพระองค์ เมื่อ พ.ศ. 2516

กองพลที่ 1 ประกอบด้วย 1 กรมทหารราบ คือ กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ โดยกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และกรมทหารราบที่ 11 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ถูกโอนย้ายไปสังกัดหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์

วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 พลตรี[1] สิทธิพร จุลปานะ ​[2]เป็น ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์

ประวัติ[แก้]

จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช องค์ผู้กราบบังคับทูลขอพระบรมราชานุญาต

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการจัดตั้งกองพลที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2448 ตามคำแนะนำของพระราชโอรส คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ (เทียบเท่าตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก) กระทรวงกลาโหม พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดชมีพระประสงค์จะจัดโครงสร้างของกองทัพสยามตามแบบยุโรป ประกอบด้วย 10 กองพลเป็นอย่างน้อย เมื่อถึง พ.ศ. 2449 กองพลที่ 1 ได้เข้าประจำการโดยมีฐานที่มั่นอยู่ในกรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2451 ได้มีการจัดระเบียบกองทัพอีกครั้ง โดยกองพลที่ 1 ประกอบด้วย 5 หน่วย (กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ 2 มหาดเล็กรักษาพระองค์ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นกรมทหารราบที่ 11) กรมทหารม้าที่ 1 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 และกรมทหารช่างที่ 1) กองพลที่ 1 ได้รับหน้าที่ถวายความปลอดภัยพระมหากษัตริย์ ดูแลความสงบเรียบร้อยทั้งพระบรมมหาราชวัง พระนคร และลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาโดยรอบ[3]

หน่วยขึ้นตรง[แก้]

รายพระนามและรายนามผู้บัญชาการ[แก้]

รายพระนามและรายนามผู้บัญชาการ​
ลำดับ พระนามและนาม วาระการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
1 พลตรี พระยาสุรเสนา (กลิ่น แสง-ชูโต) พ.ศ. 2450 - 2452
2 พลตรี พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นกำแพงเพ็ชร์อรรคโยธิน พ.ศ. 2452 - 2454
3 พลตรี พระยาเสนาภิมุข (เล็ก ปาณิกบุตร) พ.ศ. 2454 - 2456
4 พลตรี พระยารามกำแหง (ทองอยู่ ภีมะโยธิน) พ.ศ. 2456 - 2460
5 พลตรี พระยารามรณรงค์ (หม่อมหลวงช่วย ฉัตรกุล) พ.ศ. 2460- 2463
6 พลตรี สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา พ.ศ. 2463 - 2466
7 พลตรี พระยาพิชัยรณรงค์สงคราม (ทองดี จารุทัต) พ.ศ. 2466 - 2472
8 พลตรี พระยาประเสริฐสงคราม (เทียบ คมกฤส) พ.ศ. 2472 - 2473
9 พลตรี พระยาเสนาสงคราม (หม่อมราชวงศ์อี๋ นพวงศ์) พ.ศ. 2473 - 2475
10 พลตรี ขุนปลดปรปักษ์ (ปลด ปลดปรปักษ์) พ.ศ. 2485 - 2487
11 พลตรี หลวงวีรวัฒน์โยธิน (วีรวัฒน์ วีรวัฒนโยธิน) พ.ศ 2487 - 2491
12 พลตรี สฤษดิ์ ธนะรัชต์ พ.ศ. 2491 - 2493
13 พลตรี ถนอม กิตติขจร พ.ศ. 2493 - 2495
14 พลตรี ประภาส จารุเสถียร พ.ศ. 2495 - 2500
15 พลตรี กฤษณ์ สีวะรา พ.ศ. 2500 - 2504
16 พลตรี ประยูร หนุนภักดี พ.ศ. 2504 - 2505
17 พลตรี เกรียงไกร อัตตะนันทน์ พ.ศ. 2505 - 2508
18 พลตรี ประเสริฐ ธรรมศิริ พ.ศ. 2508 - 2515
19 พลตรี เอื้อม จิรพงศ์ พ.ศ. 2515 - 2518
20 พลตรี อรุณ ทวาทวศิน พ.ศ. 2518 - 2520
21 พลตรี พัฒน์ อุไรเลิศ พ.ศ. 2520 - 2522
22 พลตรี อาทิตย์ กำลังเอก พ.ศ. 2522 - 2523
23 พลตรี สุจินต์ อารยะกุล พ.ศ. 2523 - 2524
24 พลตรี พิจิตร กุลละวณิชย์ พ.ศ. 2524 - 2527
25 พลตรี อิสระพงศ์ หนุนภักดี พ.ศ. 2527 - 2528
26 พลตรี วิมล วงศ์วานิช พ.ศ. 2528 - 2529
27 พลตรี ศัลย์ ศรีเพ็ญ พ.ศ. 2529 - 2531
28 พลตรี มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ พ.ศ. 2531 - 2532
29 พลตรี วัฒนา สรรพานิช พ.ศ. 2532 - 2533
30 พลตรี ชัยณรงค์ หนุนภักดี พ.ศ. 2533 - 2534
31 พลตรี ธิติพงษ์ เจนนุวัตร พ.ศ. 2534 - 2535
32 พลตรี สมภพ อัตตะนันทน์ พ.ศ. 2535 - 2539
33 พลตรี อาชวินทร์ เศวตเศรณี พ.ศ. 2539 - 2541
34 พลตรี นพดล อินทปัญญา พ.ศ. 2541 - 2542
35 พลตรี วันชัย ทองสุขุม พ.ศ. 2542 - 2543
36 พลตรี ไพศาล กตัญญู พ.ศ. 2543 - 2545
37 พลตรี จิรสิทธิ เกษะโกมล พ.ศ. 2545 - 2546
38 พลตรี อนุพงษ์ เผ่าจินดา พ.ศ. 2546 - 2547
39 พลตรี พฤณท์ สุวรรณทัต พ.ศ. 2547 - 2549
40 พลตรี ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ พ.ศ. 2549 - 2550
41 พลตรี ไพบูลย์ คุ้มฉายา พ.ศ. 2550 - 2552
42 พลตรี กัมปนาท รุดดิษฐ์ พ.ศ. 2552 - 2554
43 พลตรี พิสิทธิ์ สิทธิสาร พ.ศ. 2554 - 2555
44 พลตรี วราห์ บุญญะสิทธิ์ พ.ศ. 2555 - 2557
45 พลตรี อภิรัชต์ คงสมพงษ์ พ.ศ. 2557 - 2557
46 พลตรี พงษ์สวัสดิ์ พรรณจิตต์ พ.ศ. 2557 - 2558
47 พลตรี ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ พ.ศ. 2558 - 2561
48 พลตรี ทรงวิทย์ หนุนภักดี พ.ศ. 2561 - 2562
49 พลตรี ทรงพล สาดเสาเงิน พ.ศ. 2562 - 2564
50 พลตรี วรยส เหลืองสุวรรณ พ.ศ. 2564 - 2565
51 พลตรี ณัฐเดช จันทรางศุ พ.ศ. 2565 - 2566
52 พลตรี สิทธิพร จุลปานะ พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน

หมายเหตุ ยศทหารเป็นยศขณะดำรงตำแหน่งตามประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 39 ข หน้า 12 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 209 ง หน้า 27 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  3. "History of the 1st Division, King's Guard (English)". กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (Official website of the 1st Infantry Division, King's Guard). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-13. สืบค้นเมื่อ 22 June 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]