ตะเคียนชันตาแมว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตะเคียนชันตาแมว
ตะเคียนชันตาแมวอายุ 1,500 ปี ที่มาเลเซีย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Malvales
วงศ์: Dipterocarpaceae
สกุล: Neobalanocarpus
P.S. Ashton
สปีชีส์: N.  heimii
ชื่อทวินาม
Neobalanocarpus heimii
(King) P. Ashton

ตะเคียนชันตาแมว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Neobalanocarpus heimii) จัดอยู่ในวงศ์ยางนา (Dipterocarpaceae) เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานปลูกเป็นมงคลประจำจังหวัดนราธิวาส[1] ลักษณะของตะเคียนชันตาแมว เป็นไม้ต้นสูงถึง 40 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมหรือบางครั้งแผ่กว้าง ลำต้นตรง เปลือกสีน้ำตาลเข้มแตกตามยาวและล่อนเป็นสะเก็ด ตกชันสีขาวใส เปลือกในสีเหลืองแกมเขียว เนื้อไม้สีเหลืองน้ำตาลแกมเหลืองถึงสีน้ำตาลเข้ม ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้าง 2-4 ซม. ยาว 8-15 ซม. ปลายใบสอบเรียวแหลม โคนใบมนหรือเบี้ยว ผิวใบเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย เส้นแขนงใบ 9-10 คู่ โค้งจรดขอบใบ ก้านใบยาวประมาณ 1.5 ซ.ม.ดอก ดอกสีขาวนวลถึงสีขาวอมเหลือง ออกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ผล รูปทรงกระบอกโค้ง ปลายแหลม กว้างประมาณ 1.5 ซม. ยาว 5-7 ซม. มีกลีบเลี้ยงรองผล 5 กลีบ ยาวไม่เกินครึ่งหนึ่งของความยาวของตัวผล ประโยชน์ ใช้ในการก่อสร้างได้แข็งแรงทนทาน เช่น ทำเสา รอด ตง ไม้หมอนรถไฟ และใช้ต่อเรือ ชันมีราคาสูง ใช้ผสมน้ำมันทาไม้ และน้ำมันชักเงาอย่างดี

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-21. สืบค้นเมื่อ 2022-02-28.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Neobalanocarpus heimii ที่วิกิสปีชีส์