หูกวาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หูกวาง
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: โรสิด
อันดับ: อันดับชมพู่
วงศ์: วงศ์สมอ
สกุล: Terminalia
L.
สปีชีส์: Terminalia catappa
ชื่อทวินาม
Terminalia catappa
L.
ชื่อพ้อง[2]
รายการ
    • Badamia commersonii Gaertn.
    • Buceras catappa (L.) Hitchc.
    • Catappa domestica Rumph.
    • Juglans catappa (L.) Lour.
    • Myrobalanus catappa (L.) Kuntze
    • Myrobalanus terminalia Poir.
    • Terminalia badamia DC.
    • Terminalia intermedia Bertero ex Spreng.
    • Terminalia latifolia Blanco
    • Terminalia moluccana Lam.
    • Terminalia myrobalana Roth
    • Terminalia ovatifolia Noronha
    • Terminalia paraensis Mart.
    • Terminalia procera Roxb.
    • Terminalia rubrigemmis Tul.
    • Terminalia subcordata Humb. & Bonpl. ex Willd.
ผลหูกวาง (Terminalia catappa) ที่แก่แห้งแล้ว

หูกวาง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Terminalia catappa; อังกฤษ: tropical almond) เป็นไม้ยืนต้นประเภทผลัดใบ มีความสูงประมาณ 8–25 เมตร มีเปลือกเรียบ กิ่งแตกรอบลำต้นตามแนวนอนเป็นชั้น ๆ คล้ายฉัตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่ง ใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้น ๆ โคนใบสอบแคบ เว้า ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ขนาดเล็ก มีสีขาวนวล ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ผลเป็นรูปไข่หรือรูปรีป้อม ๆ แบนเล็กน้อยคล้ายเมล็ดแอลมอนด์ มีขนาดกว้างประมาณ 2–5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3–7 เซนติเมตร มีสีเขียว เมื่อแห้งมีสีดำคล้ำ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

เป็นต้นไม้ยืนต้นอายุยาวนาน สูงได้ถึง 15–25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลแกมดำ ลอกออกตามยาว กิ่งก้านแผ่ออกเป็นชั้น กิ่งสีน้ำตาลแกมน้ำตาลหนาแน่นใกล้ยอด[3]

ใบออกสลับ อัดแน่นที่ปลายกิ่ง ก้านใบกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5–2 เซนติเมตร รูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบแคบ ยาวประมาณ 12–30 เซนติเมตร กว้าง 8–15 เซนติเมตร ผิวทั้งสองด้านเกลี้ยงเกลาหรือมีขนเบาบางตามแนวแกน เมื่อยังอ่อน ฐานใบแคบ ตัดปลายหรือปลายทู่ เส้นใบ 10–12 คู่[3]

ช่อดอกออกตามซอกใบ เรียบง่าย ยาว แหลมเรียว 15–20 เซนติเมตร ออกดอกจำนวนมาก ดอกสีขาวในระยะเวลาสั้น ๆ มีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยงกลีบเลี้ยงปลายกลีบดอก 0.7–0.8 เซนติเมตร รังไข่หนาแน่นมาก รูปถ้วยบาง กลีบดอก 5 กลีบ เกสรตัวผู้ 10 แฉก ยาว 0.2–0.3 เซนติเมตร[3]

ผลไม่แตกลาย เมื่อสุกสีแดงหรือเขียวอมดำ ทรงรี แบนข้างเล็กน้อย มี 2 ปีก (ปีกกว้าง 3 มม.) ผลยาว 3–5.5 เซนติเมตร กว้าง 2–3.5 เซนติเมตร เกลี้ยงเกลา เมื่อแก่จัดเปลือกผลแบบเปลือกไม้ออกดอกช่วง มี.ค.–มิ.ย. ออกผลช่วง พฤษภาคม, ก.ค.–ก.ย.[3]

สถานะเกือบอยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในบางพื้นที่[4][ต้องการคำอ้างอิงเพื่อยืนยัน] โดยทั่วไปอยู่สถานะความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ (LC)[5]

ถิ่นกำเนิด[แก้]

เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในเขตร้อนของอนุทวีปอินเดีย, เอเชียอาคเนย์ ไปจนถึงภูมิภาคโอเชียเนียและหมู่เกาะฮาวาย[6] โดยมักจะพบประจำที่บริเวณชายหาดหรือป่าชายหาดริมทะเล[7][4] เพราะเป็นไม้ที่ขึ้นได้ดีในดินแบบดินร่วนปนทราย

การใช้ประโยชน์[แก้]

มีประโยชน์โดยเปลือกและผลมีรสฝาดมาก ใช้แก้อาการท้องเสีย ย้อมหนังสัตว์ ทำหมึก

เมล็ดในผลรับประทานได้ และให้น้ำมันคล้ายน้ำมันอัลมอนด์

นอกจากนี้แล้วใบของหูกวางโดยเฉพาะใบแห้ง เป็นที่รู้จักดีของผู้นิยมเลี้ยงปลาสวยงามหรือปลากัด เนื่องจากใช้ใบแห้งหมักน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาได้ เพราะสารแทนนินในใบหูกวาง จะทำให้สภาพน้ำมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) สูงขึ้น เหมาะสำหรับใช้เลี้ยงปลาที่มาจากแหล่งน้ำที่มีค่าความเป็นกรดสูง ทั้งนี้ยังช่วยลดการสะท้อนแสงของน้ำ เพื่อให้ปลาสบายตา ไม่เสียสายตา รู้สึกปลอดภัย ไม่ใช้ปากคีดกระจก และใช้รักษาอาการบาดเจ็บของปลากัดได้เป็นอย่างดี เพราะมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรียได้เป็นอย่างดี[8]

ข้อเสีย[แก้]

ไม่ควรปลูกในบริเวณลานจอดรถเนื่องจากผลที่แข็งและใบร่วงมาก หรือมีระบบรากที่ใหญ่และแผ่กว้างซึ่งอาจสามารถทำความเสียหายให้กับสิ่งก่อสร้างโดยรอบ เช่น อาคารหรือพื้นคอนกรีตได้ แต่อย่างไรก็ตามในทางกลับกัน ระบบรากที่แข็งแรงนี้เป็นโครงสร้างทางวิศวกรรมทางธรรมชาติชั้นดีในการช่วยยึดเกาะกันระหว่างต้นไม้และตลิ่งไม่ให้ถูกน้ำทะเลกัดเซาะได้โดยง่าย นับได้ว่าว่าเป็นต้นไม้ที่สำคัญต่อระบบนิเวศริมทะเลและพื้นที่ชายหาดที่มีลมและคลื่นแรง[4]

ในประเทศไทย[แก้]

ในยุคหนึ่งนิยมใช้ปลูกในงานภูมิทัศน์ที่มีขนาดโครงการค่อนข้างใหญ่มากเช่น รีสอร์ตริมทะเล และสวนสาธารณะ เนื่องจากเป็นต้นไม้ที่โตเร็วและแข็งแรงคงทน สามารถเติบโตได้ในพื้นที่แห้งแล้งและดินทุกชนิด โดยเฉพาะในดินปนทรายที่มีพืชน้อยชนิดที่สามารถเติบโตได้ดี อีกทั้งยังมีความสวยงามในแง่ของรูปทรงพุ่มที่ค่อนข้างกลมหรือรูปพีระมิดหนาทึบ นอกจากนั้นยังผลัดใบจากสีเขียวอ่อนเป็นสีส้มแดงดูสดใสสวยงามในฤดูหนาว ช่วงเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน[4]

หูกวางเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดตราด และเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยสยาม

หูกวางยังมีชื่อเรียกต่างกันออกไปตามแต่ละจังหวัดหรือภูมิภาคด้วย เช่น โคน (นราธิวาส), ดัดมือ หรือ ตัดมือ (ตรัง), ตาปัง (พิษณุโลก, สตูล), ตาแปห์ (มลายู-นราธิวาส), หลุมปัง (สุราษฎร์ธานี) เป็นต้น[9]

ภูมิทัศน์บริเวณริมชายหาดที่มีความเป็นเอกลักษณ์ที่มีการปลูกต้นหูกวาง ได้แก่ ชายหาดเมืองพัทยา บางส่วนมีอายุตั้งแต่หลายสิบปีไปจนถึงหลักร้อยปี[4][ต้องการคำอ้างอิงเพื่อยืนยัน] จากบันทึกข้อมูลพบว่าต้นหูกวางที่หาดพัทยาปลูกไว้ 2 ครั้ง คือ พ.ศ. 2508 และ พ.ศ. 2512[10] ซึ่งในปี พ.ศ. 2564 มีการดำเนินการเข้าไปรื้อถอนและทำลายต้นหูกวางในบริเวณชายหาดพัทยาเหนือ-ใต้ ตลอดระยะทางประมาณ 2.7 กิโลเมตรของโครงการ Pattaya New look เพื่อปลูกพืชตระกูลปาล์มแทนตลอดแนว[4][11] ซึ่งเกิดกระแสวิจารณ์ต่อต้านอย่างหนัก และผู้รับเหมาได้หยุดตัดแต่งถอนโค่น “ต้นหูกวาง” ริมหาดพัทยาเป็นการชั่วคราว[12]

ระเบียงภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Thomson, L.; Evans, B. (2019). "Terminalia catappa". IUCN Red List of Threatened Species. 2019: e.T61989853A61989855. doi:10.2305/IUCN.UK.2019-3.RLTS.T61989853A61989855.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
  2. "The Plant List: A Working List of All Plant Species". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-01. สืบค้นเมื่อ 2023-05-20.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "Terminalia catappa in Flora of China @ efloras.org". www.efloras.org.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 "รู้จักต้นหูกวางที่กำลังจะหายไป! กับภูมิทัศน์ใหม่ของหาดเมืองพัทยา". บ้านและสวน (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-08-17.
  5. Evans, Barry; Lex Thomson (University of the Sunshine Coast, Queensland (2018-12-31). "IUCN Red List of Threatened Species: Terminalia catappa". IUCN Red List of Threatened Species.
  6. "Terminalia catappa L. | Plants of the World Online | Kew Science". Plants of the World Online (ภาษาอังกฤษ).
  7. "ป่าชายหาด (Beach Forest)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-25. สืบค้นเมื่อ 2011-03-29.
  8. บทความเรื่อง ใบหูกวางกำจัดเชื้อราและแบคทีเรียในปลากัดได้ จากวารสารข่าวของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีที่ 10 ฉบับที่ 7 เดือนกรกฎาคม 2549
  9. ต้นหูกวาง ต้นไม้ประจำจังหวัดตราด
  10. "กังขา!ตัดต้นไม้หาดพัทยารับโฉมปรับภูมิทัศน์ 166 ล้าน". Thai PBS. 2021-08-23.
  11. "'ต้นหูกวาง' ผิดตรงไหน ทำไมไม่มีสิทธิอยู่คู่หาด 'พัทยา'".{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. "สวนนงนุชหยุดตัดแต่งถอนโค่น "ต้นหูกวาง" ริมหาดพัทยาเป็นการชั่วคราว". mgronline.com (ภาษาอังกฤษ). 2021-08-18.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

แม่แบบ:WestAfricanPlants