สะเดาเทียม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สะเดาเทียม
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: โรสิด
อันดับ: เงาะ
วงศ์: กระท้อน
สกุล: Azadirachta
(Jack) Jacobs[2]
สปีชีส์: Azadirachta excelsa
ชื่อทวินาม
Azadirachta excelsa
(Jack) Jacobs[2]
ชื่อพ้อง[2]
  • Melia excelsa Jack
  • Trichilia excelsa (Jack) Spreng.

สะเดาเทียม, สะเดาช้าง หรือ เทียม เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานประจำจังหวัดสงขลา เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงราว 20-35 เมตร ชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Azadirachta excelsa (Jack) Jacobs. จัดอยู่ในตระกูล Meliaceae

เปลือกต้นสีเทาเรียบ พอต้นอายุมากเปลือกจะแตกเป็นแผ่นล่อนสีเทาปนดำ เนื้อไม้มีคุณ-ภาพดี มอดและปลวกไม่ค่อยทำลาย และจัดอยู่ในประเภทของไม้อเนกประสงค์ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ขึ้นเรียงสลับและกระจุกอยู่ใกล้ปลายกิ่ง แต่ละใบมีใบย่อยออกเป็นคู่เยื้อง ๆ สลับกันเล็กน้อย ราว 7-11 คู่ ใบย่อยรูปทรงรีเป็นรูปไข่บางใบเบี้ยวไม่มีรูปทรง กว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย

ดอกอ่อนรับประทานได้ ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกย่อยขนาดเล็ก เวลาบานมี 5 กลีบ สีขาวอมเหลือง ส่งกลิ่นหอมทั้งวัน กลีบดอกเป็นรูปทรงรี กว้าง 0.2-0.3 เซนติเมตร ยาว 0.5-0.6 เซนติเมตร พบตามหัวไร่ปลายนาทางภาคใต้ ตั้งแต่ชุมพรและสุราษฎร์ธานีลงไป

ประโยชน์[แก้]

  • ใบกับเมล็ด นำมาสกัดสารทำยาฆ่าแมลง
  • เปลือก นำไปต้มดื่มน้ำทำเป็นยาแก้บิดและท้องร่วง

อ้างอิง[แก้]

  1. Barstow, M. (2018). "Azadirachta excelsa". IUCN Red List of Threatened Species. 2018: e.T61792368A61793302. doi:10.2305/IUCN.UK.2018-1.RLTS.T61792368A61793302.en. สืบค้นเมื่อ 20 November 2021.
  2. 2.0 2.1 "Azadirachta excelsa". Plants of the World Online. Royal Botanic Gardens, Kew. สืบค้นเมื่อ 12 June 2019.