ก้านกล้วย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ก้านกล้วย
ใบปิดประชาสัมพันธ์
กำกับคมภิญญ์ เข็มกำเนิด
เขียนบทอัมราพร แผ่นดินทอง
จรูญ ปรปักษ์ประลัย
สร้างจากเจ้าพระยาปราบหงสาวดี
โดย อริยา จินตพานิชการ
อำนวยการสร้างอัจฉรา กิจกัญจนาสน์
นักแสดงนำอัญญาฤทธิ์ พิทักษ์ติกุล
ภูริ หิรัญพฤกษ์
จุรี โอศิริ
รอง เค้ามูลคดี
เทพ โพธิ์งาม
ชาญณรงค์ ขันทีท้าว
ตัดต่อพรสวรรค์ ศรีบุญวงษ์
ดนตรีประกอบชาติชาย พงษ์ประภาพันธ์
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล
วันฉาย18 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
ความยาว104 นาที
ประเทศไทย
ภาษาไทย
ทุนสร้าง150 ล้านบาท
ทำเงิน93.63 ล้านบาท[1]
ต่อจากนี้ก้านกล้วย 2
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย
ข้อมูลจากสยามโซน

ก้านกล้วย เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันแนวผจญภัยของไทยในปี พ.ศ. 2549 เรื่องราวเกี่ยวกับสยามในสมัยอยุธยา เล่าเรื่องราวของช้างไทยที่พเนจรไปจากแม่ของตนและได้รับตำแหน่งเป็นช้างทรงในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สร้างจากนิยายเรื่อง เจ้าพระยาปราบหงสาวดี โดย อริยา จินตพานิชการ ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้เวลาสร้าง 3 ปี เข้าฉายในประเทศไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ในปี พ.ศ. 2551 ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้เข้าฉายในสหรัฐอเมริกาในชื่อ The Blue Elephant ในวันที่ 2 กันยายน และเข้าฉายในอินเดียในชื่อ Jumbo ในวันที่ 25 ธันวาคม

ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับโดยคมภิญญ์ เข็มกำเนิด ซึ่งเคยไปศึกษาการทำแอนิเมชันที่สหรัฐและเคยทำภาพเคลื่อนไหวร่วมกับดิสนีย์และบลูสกาย สตูดิโอส์ ในภาพยนตร์แอนิเมชันอย่างทาร์ซาน, ไอซ์ เอจ และแอตแลนติส[2] ผลิตโดยกันตนา แอนิเมชัน เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันสามมิติเรื่องแรกของไทย และเป็นภาพยนตร์ของไทยลำดับต้น ๆ ต่อจากสุดสาคร ภาพยนตร์แอนิเมชันแนวเซล โดยปยุต เงากระจ่าง ในปี พ.ศ. 2522 ภาคต่อของภาพยนตร์เรื่องนี้คือ ก้านกล้วย 2 [เป็นเรื่องเกี่ยวกับลูกช้างแฝดของก้านกล้วย และการโจมตีอีกครั้งของหงสาวดี ทำให้ตัวละครต้องเลือกทางระหว่ายอยู่ร่วมกับครอบครัวหรือรบกับพม่า] ซีรีส์แอนิเมชันทางโทรทัศน์เรื่อง ก้านกล้วยผจญภัยผลิตโดย กัญจนาแอนิเมชันสตูดิโอ ออกอากาศทาง BBTV ช่อง 7

เนื้อเรื่อง[แก้]

ประเทศไทยสมัยอยุธยา หลังการเสียกรุงฯครั้งที่ 1 ในป่าแห่งหนึ่ง ลูกช้างเพศผู้ชื่อ ก้านกล้วย เป็นลูกชายของพลายภูผาและพังแสงดา ซึ่งภูผานั้นเป็นช้างศึกเลื่องชื่อ ผู้ล่วงลับไปแต่สงครามคราวเสียกรุงฯ ส่งผลให้ก้านกล้วยต้องการออกตามพบพ่อของเขา

คืนหนึ่ง ก้านกล้วยแอบหนีออกจากป่าเพื่อตามหาพ่อ ระหว่างทาง ก้านกล้วยถูกตามล่าโดยทหารพม่า แต่รอดมาได้เพราะการช่วยเหลือของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ก้านกล้วยเดินทางต่อเพียงลำพัง มาพบกับช้างสาววัยเดียวกับเขา ชื่อ ชบาแก้ว ทั้งสองผูกมิตรภาพและตกหลุมรักกัน ก้านกล้วยขอกลับป่าไปหาแม่ แต่ไม่พบ ชบาแก้วจึงชักชวนให้ก้านกล้วยมาพักอยู่กับเธอ ที่หมู่บ้านหินขาว ณ ที่นั่น ก้านกล้วยพบมะหูด ชายชราผู้เป็นหัวหน้าควาญช้าง มะหูดรับก้านกล้วยมาอยู่กับตน ต่อมา ก้านกล้วยพบและผูกมิตรกับ จิ๊ดริด นกพิราบสื่อสารของกรุงศรีอยุธยา

ไม่กี่วันต่อมา เหล่าทหารพม่ายกพวกมารุกรานหมู่บ้านหินขาว ก้านกล้วยได้ช่วยมะหูดและชบาแก้วไว้จากอันตราย หลังจากนั้น จิ๊ดริดแนะนำแก่ก้านกล้วยว่า ก้านกล้วยควรเป็นช้างศึก โดยบอกว่า ผู้ที่จะพบภูผาที่เป็นช้างศึกอันดับต้นได้นั้น ต้องเป็นช้างศึกด้วยกัน ก้านกล้วยเข้ารับการฝึกทหารโดยมะหูด จนเติบใหญ่กลายเป็นช้างพลายที่มีพละกำลังมาก ต่อมา ก้านกล้วยสามารถเอาชนะเหล่าทหารพม่าที่มารุกรานอย่างราบคาบ มะหูดเห็นดังนั้นจึงพาก้านกล้วยไปเข้ารับเป็นช้างศึด

เมื่อทราบข่าวว่า กรุงหงสาวดีกำลังจะยกทัพใหญ่มาตีกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงออกโองการเกณฑ์ทหารและช้างไปรับศึก ก้านกล้วยได้รับคัดเลือกเป็นช้างศึก รวมถึงเป็นช้างทรงในสมเด็จพระนเรศวร กระนั้น ก้านกล้วยพบแสงดาอีกครั้ง ก้านกล้วยพาแสงดาเข้าหอเทพกุญชร หวังว่าจะพบภูผา แต่กลับพบเพียงช้างเฒ่าเชือกหนึ่งชื่อ สิงขร ซึ่งเล่าความว่า เมื่อคราวหงสาวดียกทัพมาประชิดกำแพงเมือง ตนเกือบจะถูก งวงแดง ช้างศึกนำทัพหงสาวดีฆ่า แต่ภูผาสละชีวิตช่วยตนไว้ ก้านกล้วยและแสงดาต่างรู้สึกเสียใจเมื่อรู้ว่าภูผาเสียชีวิตแล้ว แต่สิงขรกล่าวให้กำลังใจก้านกล้วยให้ออกรบ เพื่อจะเป็นวีรชนทรงเกียรติเช่นบิดา ก้านกล้วยจึงตัดสินใจกลับสู่พระนครเพื่อถวายอารักขาสมเด็จพระนเรศวร

สมเด็จพระนเรศวรทรงช้างก้านกล้วยออกทำศึกกับหงสาวดี ขณะที่ก้านกล้วยฝ่ากองทัพหงสาวดีมามากจนถึงช่วงกลางของทัพ และถูกล้อมโดยข้าศึกจำนวนมาก สมเด็จพระนเรศวรทรงเชิญพระมหาอุปราชา แม่ทัพใหญ่หงสาวดี ที่ทรงช้างงวงแดง ให้เข้ากระทำยุทธหัตถี ก้านกล้วยได้สู้กับงววแดง งวงแดง

งานพากย์[แก้]

ภาพยนตร์ พ.ศ. 2549
ตัวละคร ให้เสียงพากย์ไทย
ก้านกล้วย อัญญาฤทธิ์ พิทักษ์ติกุล (วัยเด็ก)
ภูริ หิรัญพฤกษ์ (วัยหนุ่ม)
ชบาแก้ว นวรัตน์ เตชะรัตนประเสริฐ (วัยเด็ก)
วรัทยา นิลคูหา (วัยสาว)
จิ๊ดริด พงษ์สุข หิรัญพฤกษ์
แสงดา นันทนา บุญ-หลง
พังนวล จุรี โอศิริ
คุณตามะหูด สุเทพ โพธิ์งาม
สิงขร รอง เค้ามูลคดี
ตาแดง เอกชัย พงศ์สมัย
นายกองพม่า ชาญณรงค์ ขันทีท้าว
หัวหมู่พม่า วสันต์ พัดทอง
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช บุญชลิด โชคดีภูษิต (วัยเด็ก)
สุเมธ องอาจ (วัยหนุ่ม)
พระมหาอุปราชา สราวุธ เจริญลาภ (วัยเด็ก)
กลศ อัทธเสรี (วัยหนุ่ม)
มะโรง ฤทธิเดช ฤทธิชุ
มะโหนก เจริญพร อ่อนละม้าย
เสริม วิยะดา จิตมะหิมา
บักอึด พุทธิพันธ์ พรเลิศ
ทหารพม่า ธงชัย คะใจ
องอาจ เจียมเจริญพรกุล
ธีระวัฒน์ ทองจิตติ

การเปิดตัวและรางวัล[แก้]

การเปิดตัวของภาพยนตร์

ก้านกล้วย ได้รับการเปิดตัวในรูปแบบดีวีดีที่สหรัฐอเมริกา ในช่วงเดือนกันยายน ค.ศ. 2008 โดยใช้ชื่อในเวอร์ชันอเมริกันคือ The Blue Elephant

บริษัทเพอร์เซ็ปต์พิคเจอร์คอมพานีของอินเดีย ได้ซื้อสิทธิ์ภาพยนตร์และเปิดตัวในเวอร์ชันภาษาฮินดีโดยใช้ชื่อ Jumbo ซึ่งนักแสดงอินเดียชื่อ อักษัย กุมาร เป็นผู้ให้เสียงพากย์ตัวเอกของเรื่องที่ใช้ชื่อในเวอร์ชันนี้ว่า จัมโบ้[3]

รางวัล

  • ภาพยนตร์เรื่องก้านกล้วย ได้รับรางวัล Best Feature Film จากการประกวดแอนิเมชัน AniMadrid 2006 ที่ประเทศสเปน
  • ภาพยนตร์เกียรติยศแห่งปี, ภาพยนตร์ยอดนิยมแห่งปี ที่ทำรายได้สูงสุด, บันทึกเสียงยอดเยี่ยม, ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี (ตุ๊กตาทอง) ครั้งที่ 28 ประจำปี พ.ศ. 2549

อ้างอิง[แก้]

  1. [boxofficemojo\khankluay boxofficemojo\khankluay]. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help); ตรวจสอบค่า |url= (help)
  2. "คมภิญญ์ เข็มกำเนิด ผู้นำหนัง "ก้านกล้วย"". Positioning Magazine. 10 กุมภาพันธ์ 2548. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "Akshay Kumar's Jumbo is actually a Thai film", ScreenIndia; retrieved 2008-12-13

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]