ข้ามไปเนื้อหา

ก้านกล้วย ๒

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ก้านกล้วย 2)
ก้านกล้วย ๒
ใบปิดภาพยนตร์
กำกับทวีลาภ ศรีวุฒิวงศ์
บทภาพยนตร์
  • จรูญพร ปรปักษ์ประลัย
  • อมราพร แผ่นดินทอง
เนื้อเรื่อง
  • จรูญพร ปรปักษ์ประลัย
  • พรสวรรค์ ศรีบุญวงษ์
  • ทวีลาภ ศรีวุฒิวงศ์
  • อัจฉรา กิจกัญจนาสน์
  • อมราพร แผ่นดินทอง
นักแสดงนำ
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายกันตนาแอนิเมชัน
วันฉาย26 มีนาคม พ.ศ. 2552
ความยาว95 นาที
ประเทศไทย
ภาษาไทย
ทุนสร้าง120 ล้านบาท[1]
ทำเงิน79 ล้านบาท[1][2]
ก่อนหน้านี้ก้านกล้วย

ก้านกล้วย ๒ เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันสามมิติของไทยที่ออกฉายใน พ.ศ. 2552 นับเป็นภาพยนตร์ภาคต่อของ ก้านกล้วย ที่ออกฉายใน พ.ศ. 2549 ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับโดยทวีลาภ ศรีวุฒิวงศ์ ผลิตและจัดจำหน่ายโดยกันตนาแอนิเมชัน ภาพยนตร์มีฉากในกรุงหงสาวดี และมีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับก้านกล้วยที่มีลูกแฝดกับชบาแก้ว แต่ลูกแฝดกับชบาแก้วถูกทหารหงสาวดีจับไปเป็นเชลย ทำให้ก้านกล้วยต้องตัดสินใจเลือกทางเดินระหว่างครอบครัวกับบ้านเมือง ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้งบประมาณในการสร้าง 120 ล้านบาท แต่ทำรายได้เพียง 79 ล้านบาท

พ.ศ. 2567 ได้มีการประกาศสร้างภาคต่อ ก้านกล้วย ๓ อย่างเป็นทางการ โดยจะเล่าเหตุการณ์ต่อจากภาคสองถึงการทำสงครามยุทธนาวี กองทัพเรือของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และการขยายอำนาจทางทะเลของอยุธยา

เนื้อเรื่อง

[แก้]

หลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเอาชนะสงครามยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชมังกะยอชวากรุงศรีอยุทธยาก็สงบสุขและได้รับเอกราชจากหงสาวดี แต่ผลจากสงครามยุทธหัตถีครั้งนั้นสร้างความแค้นใจให้กับพระเจ้านันทบุเรงเป็นอย่างมาก เนื่องจากต้องสูญเสียลูกชายด้วยน้ำมือของพระนเรศวร จึงยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาเสมอ พระนเรศวรทรงแต่งตั้งให้ก้านกล้วยรับตำแหน่งเป็นเจ้าพระยาปราบหงสาวดี และร่วมออกศึกคู่พระองค์เรื่อยมา แต่เนื่องจากต้องออกศึกบ่อยครั้ง ก้านกล้วยที่แต่งงานกับชบาแก้วและกำลังจะมีลูกด้วยกันจึงไม่มีเวลาดูแลชบาแก้วเท่าที่ควร ทำให้ชบาแก้วทุกข์ใจและหนีก้านกล้วยไปอยู่ที่หมู่บ้านหินขาว(หมู่บ้านที่ชบาแก้วเคยอาศัยอยู่) พร้อมกับแสงดา แม่ของก้านกล้วย และได้คลอดลูกออกมา เป็นช้างแฝดชื่อ ต้นอ้อและกอแก้ว

งานพากย์

[แก้]
ตัวละคร เสียงพากย์ไทย
ก้านกล้วย อรรถพร ธีมากร
ชบาแก้ว แอน ทองประสม
จิ๊ดริด วรุฒ วรธรรม
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พระองค์ดำ) มนตรี เจนอักษร
อองสา
พระเจ้านันทบุเรง นนทรีย์ นิมิบุตร
พระสุพรรณกัลยา อภิรดี ภวภูตานนท์
แสงดา นัฏฐา ลอยด์
งานิล ทวีลาภ ศรีวุฒิวงศ์
สมเด็จพระเอกาทศรถ (พระองค์ขาว)
นายผอมกรุงศรีอยุธยา กริน อักษรดี
นายล่ำกรุงศรีอยุธยา รบ เพชรประสิทธิ์
นายอ้วนกรุงศรีอยุธยา พรสวรรค์ ศรีบุญวงษ์
คราญนุ
หัวหน้าหมู่หงสาวดี วสันต์ พัดทอง
คุณตามะหูด สุเทพ โพธิ์งาม
ดุ๊ยดุ่ย ด.ช.อัญญาฤทธิ์ พิทักษ์ติกุล
กอไผ่ ด.ช.ประสิทธิโชค มานะสันธชาติ
ส้มจื้ด ด.ญ.ปัณฑารีย์ เตียรถ์สุวรรณ
ใบบอน ด.ช.ดรัณย์ ตันติวิชิตเวช
ข้าวเม่า ด.ช.นพรุจ คุณยิ่งใหญ่
ต้นอ้อ ด.ช.เปรมปารัช ทองใหญ่
กอแก้ว ด.ญ.ปริมปารัช ทองใหญ่
พระโอรส ด.ช.ศิลป์พีระ นาคจำรัสตรี

เพลงประกอบ

[แก้]

ภาพยนตร์มีเพลงประกอบชื่อว่า "ทางที่ต้องเดิน" ขับร้องโดย อรรถพร ธีมากร ผู้พากย์เสียงก้านกล้วยซึ่งเป็นตัวละครหลักของภาพยนตร์ เพลงนี้แต่งโดยคงเดช จาตุรันต์รัศมี และมิวสิกวิดีโอกำกับโดยปวีณ ภูริจิตปัญญา[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "๙ ศาสตรา กับตำนานอนิเมชันไทย". ลงทุนแมน. 20 มกราคม 2561. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. หนังไทยไตรมาสสี่ เก็บถาวร 2009-10-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน deknang.com
  3. "เบื้องหลัง MV ทางที่ต้องเดิน ของ ก้านกล้วย 2". กระปุก.คอม. 25 มีนาคม 2552. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]