ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศนาอูรู"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 60: บรรทัด 60:


== ประวัติศาสตร์ ==
== ประวัติศาสตร์ ==
[[File:Nauruan-warrior-1880ers.jpg|thumb|left|upright|นักรบชาวนาอูรู]]
[[ไมโครนีเซีย|ชาวไมโครนีเซีย]]และ[[โพลินีเซีย|ชาวโพลินีเซีย]]เข้ามาอยู่บนเกาะนาอูรูตั้งแต่อย่างน้อยสามพันปีก่อน นาอูรูถูกยึดครองโดย[[จักรวรรดิเยอรมัน|เยอรมนี]]ในปีพ.ศ. 2431 มีการค้นพบ[[ฟอสเฟต]]ในปีพ.ศ. 2443 และเริ่มมีการส่งออกฟอสเฟตในอีกสี่ปีต่อมา ในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]] [[ประเทศออสเตรเลีย|ออสเตรเลีย]]เข้ายึดครองนาอูรูในปีพ.ศ. 2457 หลังจากสงคราม [[สันนิบาตชาติ]]ให้นาอูรูเป็นดินแดนในอำนาจ (แมนเดต) ของออสเตรเลีย ร่วมกับ[[สหราชอาณาจักร]]และ[[ประเทศนิวซีแลนด์|นิวซีแลนด์]] รัฐบาลของสามประเทศลงนามในความตกลงเกาะนาอูรูในปีค.ศ. 1919 ซึ่งตั้งคณะกรรมการฟอสเฟตบริเตน ให้ได้สิทธิการทำเหมืองฟอสเฟตบนนาอูรู
ชาวไมโครนีเซียและเมลานีเซียได้เดินทางเข้ามาอาศัยอยู่ในเกาะนาอูรูอย่างน้อย 3,000 ปีขึ้นไป<ref name="UNCCD">{{cite web|author=Nauru Department of Economic Development and Environment|year=2003|url=http://www.unccd.int/cop/reports/asia/national/2002/nauru-eng.pdf |archiveurl=http://web.archive.org/web/20110722013720/http://www.unccd.int/cop/reports/asia/national/2002/nauru-eng.pdf |archivedate=2011-07-22 |title=First National Report To the United Nations Convention to Combat Desertification|publisher=UNCCD|accessdate=25 June 2012}}</ref> โดยกลุ่มคนที่เข้ามาอาศัยอยู่ในนาอูรูสามารถแบ่งออกได้เป็น 12 เผ่า ซึ่งในธงชาติของประเทศนาอูรูในปัจจุบันนั้นแทนด้วยดาว 12 แฉก<ref>{{cite journal|last=Whyte|first=Brendan|title=On Cartographic Vexillology|journal=Cartographica: The International Journal for Geographic Information and Geovisualization|year=2007|volume=42|issue=3|pages=251–262|doi=10.3138/carto.42.3.251}}</ref> ในธรรมเนียมดั้งเดิมของชาวนาอูรูจะนับญาติทางสายมารดาเป็นหลัก ประชากรเหล่านี้นิยมเลี้ยงและเพาะพันธุ์ปลาไว้ใน[[ลากูนบูอาดา]] เพื่อเป็นแปล่งอาหารให้กับประชากร ในขณะที่แหล่งอาหารในท้องถิ่นอื่น ๆ ที่มีปลูกในพื้นที่เกาะคือ[[มะพร้าว]]และ[[เตยทะเล]]<ref name=pollock>{{Cite book| author=Pollock, Nancy J|chapter=5: Social Fattening Patterns in the Pacific—the Positive Side of Obesity. A Nauru Case Study|editor=De Garine, I|title=Social Aspects of Obesity|pages=87–111|publisher=Routledge|year=1995}}</ref><ref name=spennemann/> สำหรับในส่วนของชื่อ ''นาอูรู'' นั้นมีการสันนิษฐานว่ามาจากศัพท์คำว่า ''Anáoero'' ใน[[ภาษานาอูรู]] ซึ่งมีความหมายว่าฉันไปที่ชายหาด<ref name=west>{{cite encyclopedia|encyclopedia=Encyclopedia of the Peoples of Asia and Oceania|title=Nauruans: nationality|pages=578–580|last=West|first=Barbara A|isbn=978-1-4381-1913-7|year=2010|publisher=Infobase Publishing}}</ref>


[[จอห์น เฟิร์น]] นักล่าวาฬชาวอังกฤษเป็นชาวยุโรปคนแรกที่เดินทางมาถึงเกาะนาอูรูในปี ค.ศ. 1798 โดยเขาได้ตั้งชื่อเกาะแห่งนี้ว่า "Pleasant Island" นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1830 เป็นต้นมา ชาวนาอูรูได้ติดต่อกับเรือล่าวาฬของชาวตะวันตก ซึ่งเรือล่าวาฬเหล่านี้จะแสวงหาน้ำจืดจากนาอูรูเพื่อเก็บไว้ใช้ในเรือ<ref name=spennemann>{{cite journal|last=Spennemann|first=Dirk HR|journal=Aquaculture International|date=January 2002|volume=10|issue=6|pages=551–562|doi=10.1023/A:1023900601000|title=Traditional milkfish aquaculture in Nauru}}</ref> ในช่วงระหว่างนี้กะลาสีเรือที่เลิกทำงานให้กับเรือล่าวาฬเริ่มเข้ามาอยู่อาศัยในนาอูรู ชาวเกาะได้เริ่มการแลกเปลี่ยนค้าขายกับชาวตะวันตกมากยิ่งขึ้น โดยชาวเกาะจะนำอาหารไปแลกเปลี่ยนกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และอาวุธสงคราม<ref>{{cite journal|last=Marshall|first=Mac|coauthors=Marshall, Leslie B|title=Holy and unholy spirits: The Effects of Missionization on Alcohol Use in Eastern Micronesia|journal=Journal of Pacific History|date=January 1976|volume=11|issue=3|pages=135–166|doi=10.1080/00223347608572299}}</ref> อาวุธสงครามที่ได้มาจากชาวตะวันตกเหล่านี้ได้มีการนำมาใช้ในสงครามระหว่างชนเผ่าในนาอูรูในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1878 - 1888<ref>{{cite journal|journal=New York Law School Journal of International and Comparative Law|title=Nauru v. Australia|author=Reyes, Ramon E, Jr|volume=16|issue=1–2|year=1996|url=http://heinonline.org/HOL/LandingPage?collection=journals&handle=hein.journals/nylsintcom16&div=6&id=&page=}}</ref>
กองทัพ[[จักรวรรดิญี่ปุ่น|ญี่ปุ่น]]เข้ายึดนาอูรูในวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2485 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง [[สหประชาชาติ]]อนุมัติภาวะทรัสตี ให้ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหราชอาณาจักรเป็นทรัสตี นาอูรูเริ่มปกครองตนเองในปีพ.ศ. 2509 และกลายเป็นประเทศเอกราชในปีพ.ศ. 2511 ในปี 2510 ประชาชนนาอูรูได้ซื้อสินทรัพย์ของคณะกรรมการฟอสเฟตบริเตน และต่อมาก็ไปอยู่ในความควบคุมของบริษัทฟอสเฟตนาอูรูของรัฐบาล

ในปี ค.ศ. 1888 เยอรมนีได้ผนวกเกาะนาอูรูเขาเป็นส่วนหนึ่งของ[[หมู่เกาะมาร์แชลล์]]ในอารักขา<ref name=firth>{{cite journal|last=Firth|first=Stewart|title=German labour policy in Nauru and Angaur, 1906–1914|journal=The Journal of Pacific History|date=January 1978|volume=13|issue=1|pages=36–52|doi=10.1080/00223347808572337}}</ref> การเข้ามาของเยอรมนีในครั้งนี้ช่วยให้สงครามกลางเมืองระหว่างชนเผ่าต่างๆสิ้นสุดลง นอกจากนี้ยังมีการตั้งตำแหน่งพระมหากษัตริย์ในการปกครองเกาะแห่งนี้ โดยพระมหากษัตริย์ของนาอูรูที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ[[พระเจ้าโอเวอีดาแห่งนาอูรู|พระเจ้าโอเวอีดา]] คณะมิชชันนารีสอนศาสนาเริ่มเข้ามาในปี ค.ศ. 1888 โดยเป็นกลุ่มมิชชันนารีที่เดินทางมาจาก[[หมู่เกาะกิลเบิร์ต]]<ref name=hill/><ref>{{cite book|author=Ellis, AF|year=1935|title=Ocean Island and Nauru&nbsp;– their story|publisher=Angus and Robertson Limited|pages=29–39}}</ref> ชาวเยอรมีนที่เข้ามาอาศัยในนาอูรูจะเรียกนาอูรูว่า ''Nawodo'' หรือ ''Onawero''<ref>{{cite book|title=Deutsche Rundschau für Geographie und Statistik|author=Hartleben, A|year=1895|page=429}}</ref> จักรวรรดิเยอรมันเข้าปกครองนาอูรูอยู่ราว ๆ 3 ทศวรรษ โดยโรเบิร์ต ราช พ่อค้าชาวเยอรมันที่แต่งงานกับผู้หฯิงชาวนาอูรูเป็นผู้บริหารของนาอูรูคนแรกในปี ค.ศ. 1890<ref name=hill>{{cite book|last=Hill|first=Robert A (ed)|title=The Marcus Garvey and Universal Negro Improvement Association Papers|year=1986|publisher=University of California Press|isbn=978-0-520-05817-0|chapter=2: Progress Comes to Nauru|volume=5}}</ref>

ในปี ค.ศ. 1900 [[อัลเบิร์ต ฟูลเลอร์ เอลลิส]] นักสำรวจแร่ได้ค้นพบแหล่งแร่ฟอสเฟตในนาอูรู<ref name=firth/> จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1906 บริษัทแปซิฟิกฟอสเฟตได้ทำข้อตกลงกับรัฐบาลของเยอรมนีในการเริ่มต้นทำกิจกรรมเหมืองแร่ฟอสเฟต โดยเริ่มการส่งออกฟอสเฟตไปขายยังต่างประเทศในปี ค.ศ. 1907<ref name=autogenerated1>{{cite journal|last=Manner|first=HI|coauthors=Thaman, RR; Hassall, DC|title=Plant succession after phosphate mining on Nauru|journal=Australian Geographer|date=May 1985|volume=16|issue=3|pages=185–195|doi=10.1080/00049188508702872}}</ref> เมื่อเกิด[[สงครามโลกครั้งที่ 1]]ในปี ค.ศ. 1914 กองทัพออสเตรเลียได้ส่งกองกำลังเข้ายึดครองนาอูรู จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1919 [[ออสเตรเลีย]] [[นิวซีแลนด์]]และ[[สหราชอาณาจักร]]ได้ลงนามในข้อตกลงนาอูรู ซึ่งมีผลให้เกิดการสถาปนา[[คณะกรรมาธิการฟอสเฟตของอังกฤษ]] (British Phosphate Commission - BPC) โดยคณะกรรมาธิการนี้มีสิทธิ์ในการประกอบกิจการเหมืองฟอสเฟตในนาอูรู<ref name=gowdy>{{cite journal|journal=Land Economics|volume=75|issue=2|title=The Physical Destruction of Nauru|author=Gowdy, John M; McDaniel, Carl N|date=May 1999|pages=333–338}}</ref>

ในปี ค.ศ. 1920 เกิดการระบาดของไวรัสไข้หวัดใหญ่ ส่งผลให้ชาวนาอูรูร้อยละ 18 ล้มตายจากการระบาดในครั้งนี้<ref>{{cite journal|last=Shlomowitz|first=R|title=Differential mortality of Asians and Pacific Islanders in the Pacific labour trade|journal=Journal of the Australian Population Association|date=November 1990|volume=7|issue=2|pages=116–127|pmid=12343016}}</ref> หลังจากการระบาดของไข้หวัดใหญ่ 3 ปี [[สันนิบาตชาติ]]ได้ให้อำนาจออสเตรเลีย สหราชอาณาจักรและนิวซีแลนด์เป็นผู้ดูแลนาอูรูในฐานะดินแดนในอาณัติ<ref>{{cite journal|last=Hudson|first=WJ|title=Australia's experience as a mandatory power|journal=Australian Outlook|date=April 1965|volume=19|issue=1|pages=35–46|doi=10.1080/10357716508444191}}</ref> ในวันที่ 6 และ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1940 เรือเยอรมันสองลำได้[[การโจมตีของเยอรมนีในนาอูรู|จมเรือของฝ่ายสัมพันธมิตร 5 ลำ]]บริเวณใกล้กับนาอูรู นอกจากการจมเรือแล้ว เรือเยอรมันทั้งสองลำได้สร้างความเสียหายให้กับบริเวณเหมืองแร่และสายพานลำเลียงฟอสเฟตอีกด้วย<ref>{{cite book|last=Waters|first=SD|title=German raiders in the Pacific|year=2008|publisher=Merriam Press|isbn=978-1-4357-5760-8|edition=3rd|page=39}}</ref><ref name=bogart>{{cite journal|author=Bogart, Charles H|title=Death off Nauru|pages=8–9|date=November 2008|journal=CDSG Newsletter|url=http://cdsg.org/reprint%20PDFs/CDSGNnov08.pdf|accessdate=16 June 2012}}</ref>

[[File:Nauru surrender WW2.jpg|thumb|การยอมแพ้ของจักรวรรดิญี่ปุ่นบนเรือรบเดียมันตินา]]
[[จักรวรรดิญี่ปุ่น]]ได้ส่งกองกำลัง[[การยึดครองนาอูรูของญี่ปุ่น|เข้ายึดครองนาอูรู]] ในวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1942<ref name=bogart/> หลังจากนั้นได้เกณฑ์แรงงานชาวญี่ปุ่น ชาวเกาหลี ชาวนาอูรูและชาวกิลเบิร์ตให้สร้างสนามบิน โดยในระยะเวลาต่อมา กองทัพอากาศของสหรัฐอเมริกาได้ทิ้งระเบิดสนามบินนี้ครั้งแรกในวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1943 เพื่อตัดการสนับสนุนเสบียงอาหารที่จะส่งไปยังนาอูรู การที่เสบียงอาหารมีน้อยลงเป็นผลให้กองทัพญี่ปุ่นต้องนำชาวนาอูรู 1,200 คนออกจากเกาะโดยส่งไปอยู่ที่[[เกาะชุก]]ในหมู่เกาะแคโรไลน์<ref name=PacMag>{{cite journal|author=Haden, JD|year=2000|url=http://166.122.164.43/archive/2000/April/04-03-19.htm|title=Nauru: a middle ground in World War&nbsp;II|journal=Pacific Magazine|accessdate=16 June 2012}}</ref> การที่นาอูรูโดนกองกำลังอเมริกาปิดล้อมมาอย่างยาวนาน นำไปสู่การยอมจำนนของผู้นำกองกำลังญี่ปุ่นบนเกาะนาอูรูคือ[[ฮิซาฮาชิ โซเอดะ]]ในวันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 1945 ต่อกองทัพออสเตรเลีย<ref>{{cite web|first1=Akira |last1= Takizawa |first2=Allan |last2=Alsleben |url= http://www.dutcheastindies.webs.com/japan_garrison.html |title=Japanese garrisons on the by-passed Pacific Islands 1944–1945 |date=1999–2000 |work=Forgotten Campaign: The Dutch East Indies Campaign 1941–1942}}</ref> การยอมจำนนของญี่ปุ่นในครั้งนี้ได้รับการยอมรับโดยพลจัตวาสตีเวนสัน ซค่งเป็นผู้แทนของพลโทเวอรนอน สตูร์ดี ผู้บัญชาการกองทัพออสเตรเลียที่ 1 บนเรือรบเดียมันตินา<ref>''The Times'', 14&nbsp;September 1945</ref><ref>{{cite news|url=http://trove.nla.gov.au/ndp/del/article/971354|title=Nauru Occupied by Australians; Jap Garrison and Natives Starving|newspaper=The Argus|date=15 September 1945|accessdate=30 December 2010}}</ref> หลังจากการบอมแพ้ของกองกำลังญี่ปุ่น ได้มีการส่งชาวนาอูรู 737 คนที่รอดชีวิตจากเกาะชุกกลับไปยังนาอูรู โดยเรือของคณะกรรมาธิการฟอสเฟตของอังกฤษที่ชื่อว่า ''Trienza'' ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1946<ref>{{cite book|author=Garrett, J|year=1996|title=Island Exiles|publisher=ABC|isbn=0-7333-0485-0|pages=176–181}}</ref> ในปี ค.ศ. 1947 สหประชาชาติได้มอบหมายให้ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และสหราชอาณาจักรเป็นผู้ดูแลเกาะนาอูรูในฐานะดินแดนในภาวะทรัสตี<ref name=highet/>

นาอูรูได้สิทธิ์ในการปกครองตนเองในเดือนมกราคม ค.ศ. 1966 และเมื่อการประชุมร่างรัฐธรรมนูญได้ผ่านไป 2 ปีหลังจากนั้น นาอูรูจึงได้ประกาศเอกราชในปี ค.ศ. 1968 โดยมีประธานาธิบดี[[แฮมเมอร์ ดีโรเบิร์ต]]เป็นประธานาธิบดีคนแรก<ref name=davidson>{{cite journal|last=Davidson|first=JW|title=The republic of Nauru|journal=The Journal of Pacific History|date=January 1968|volume=3|issue=1|pages=145–150|doi=10.1080/00223346808572131}}</ref> ในปี ค.ศ. 1967 ประชาชนชาวนาอูรูได้ร่วมกันซื้อทรัพย์สินของคณะกรรมาธิการฟอสเฟตของอังกฤษ ซึ่งนาอูรูได้สิทธิ์ในการบริหารจัดการกิจการเหมืองแร่ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1970 ภายใต้การบริหารของ[[[บริษัทนาอูรูฟอสเฟต]]<ref name=autogenerated1 /> รายได้ของนาอูรูที่ได้จากการทำเหมืองแร่ส่งผลให้ประชาชนชาวนาอูรูมีมาตรฐานการครองชีพสูงที่สุดในกลุ่มประเทศแถมแปซิฟิก<ref>{{cite news|url=http://news.bbc.co.uk/2/hi/programmes/from_our_own_correspondent/7296832.stm|title=Nauru seeks to regain lost fortunes|author=Squires, Nick| date=15 March 2008|publisher=BBC News Online|accessdate=16 March 2008}}</ref> ในปี ค.ศ. 1989 นาอูรูได้ฟ้องออสเตรเลียต่อ[[ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ]]จากความล้มเหลวของออสเตรเลียในการแก้ไขความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการทำเหมืองแร่ฟอสเฟตในครั้งที่อสสเตรเลียมีอำนาจบริหารกิจการต่าง ๆ ในนาอูรู<ref name=highet>{{cite journal|author=Highet, K; Kahale, H|year=1993|url=http://www.icj-cij.org/docket/index.php?p1=3&p2=3&code=naus&case=80&k=e2|title=Certain Phosphate Lands in Nauru|journal=American Journal of International Law|volume= 87|pages=282–288}}</ref><ref>{{cite book|series=ICJ Pleadings, Oral Arguments, Documents|title=Case Concerning Certain Phosphate Lands in Nauru (Nauru v. Australia) Application: Memorial of Nauru|date=January 2004|isbn=978-92-1-070936-1|publisher=United Nations, International Court of Justice}}</ref>


== การเมือง ==
== การเมือง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:54, 4 เมษายน 2557

สาธารณรัฐนาอูรู

Republic of Nauru (อังกฤษ)
Ripublik Naoero (นาอูรู)
ธงชาตินาอูรู
คำขวัญGod's Will First (พระประสงค์ของพระเจ้ามาก่อน)
เพลงชาติNauru Bwiema
(นาอูรู ถิ่นฐานของเรา)
ที่ตั้งของนาอูรู
เมืองหลวงยาเรน (โดยพฤตินัย[a]
ภาษาราชการภาษาอังกฤษและภาษานาอูรู
การปกครองสาธารณรัฐประชาธิปไตย
• ประธานาธิบดี
บารอน วากา
ประกาศเอกราช
• พ้นจากดินแดนในภาวะพึ่งพิงของสหประชาชาติ  [b]
31 มกราคม ค.ศ. 1968
พื้นที่
• รวม
21 ตารางกิโลเมตร (8.1 ตารางไมล์) (203)
น้อยมาก
ประชากร
• ค.ศ. 2014 ประมาณ
9,488[1] (227)
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2011
10,084[2]
480 ต่อตารางกิโลเมตร (1,243.2 ต่อตารางไมล์) (24)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2005 (ประมาณ)
• รวม
60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ [1] (224)
5,000 ดอลลาร์สหรัฐ [1] (160)
สกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย (AUD)
เขตเวลาUTC+12
ขับรถด้านซ้ายมือ
รหัสโทรศัพท์674
โดเมนบนสุด.nr
^ นาอูรูไม่มีเมืองหลวงอย่างเป็นทางการ ที่ทำการรัฐบาลและรัฐสภาแห่งชาติตั้งอยู่ในเขตยาเรนซึ่งเป็นหน่วยการบริหารระดับล่างสุด จึงอาจถือว่ายาเรนเป็นชื่อเมืองหลวงโดยอนุโลม ^ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหราชอาณาจักรร่วมกันบริหาร

นาอูรู (อังกฤษ: Nauru, ออกเสียง: /nɑːˈu:ruː/; นาอูรู: Naoero) หรือชื่ออย่างเป็นทางการ สาธารณรัฐนาอูรู (อังกฤษ: Republic of Nauru; นาอูรู: Ripublik Naoero) เป็นประเทศเกาะตั้งอยู่ในภูมิภาคไมโครนีเซีย ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก ประเทศนาอูรูตั้งอยู่ใกล้กับเกาะบานาบาของประเทศคิริบาสมากที่สุด โดยอยู่ห่างกัน 300 กิโลเมตร ไปทางตะวันออก ประเทศนาอูรูเป็นประเทศที่มีขนาดเล็กที่สุดในมหาสมุทรแปซิฟิกและเล็กเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากนครรัฐวาติกัน โดยมีพื้นที่ 21 ตารางกิโลเมตร (8.1 ตารางไมล์) และมีประชากรอาศัยอยู่ทั้งสิ้น 9,488 คน

ดินแดนที่เป็นประเทศนาอูรูในปัจจุบันมีชาวไมโครนีเซียและโพลินีเซียเข้ามาอยู่อาศัย ในระยะเวลาต่อมาจักรวรรดิเยอรมนีได้ผนวกดินแดนนาอูรูเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุด นาอูรูกลายเป็นดินแดนในอาณัติของสันนิบาตชาติโดยมีออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และสหราชอาณาจักรเป็นผู้บริหารกิจการต่าง ๆ ในเกาะแห่งนี้ร่วมกัน ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 จักรวรรดิญี่ปุ่นได้เข้ามายึดครองนาอูรู เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด นาอูรูกลายเป็นดินแดนในภาวะทรัสตีและได้รับเอกราชในปี ค.ศ. 1968

เกาะนาอูรูเป็นเกาะหินฟอสเฟต โดยปริมาณของหินฟอสเฟตมีอยู่เป็นจำนวนมากตามผิวดิน ทำให้สามารถทำเหมืองแบบเปิดได้โดยง่าย อย่างไรก็ตามแหล่งฟอสเฟตบางส่วนไม่สามารถสกัดออกมาใช้ได้ เนื่องจากไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนสกัดด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน[3] ในช่วงระหว่างปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 ถึงต้นคริสต์ทศวรรษ 1970นาอูรูเป็นประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวสูงมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในโลก เมื่อแหล่งแร่ฟอสเฟตเริ่มหมดลง รวมไปถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมืองแร่ฟอสเฟต ส่งผลให้ความน่าเชื่อถือทางการเงินของประเทศลดลงไป ด้วยเหตุนี้เองส่งผลให้นาอูรูต้องหารายได้จากแหล่งอื่น โดยนาอูรูได้กลายเป็นที่หลบภาษี (Tax haven) และศูนย์กลางของการฟอกเงิน นอกจากนี้นาอูรูยังมีรายได้จากการบริจาคของประเทศออสเตรเลีย โดยแลกเปลี่ยนกับการที่นาอูรูยินยอมให้มีการจัดตั้งศูนย์กักกันของออสเตรเลียในประเทศนาอูรู

ประวัติศาสตร์

นักรบชาวนาอูรู

ชาวไมโครนีเซียและเมลานีเซียได้เดินทางเข้ามาอาศัยอยู่ในเกาะนาอูรูอย่างน้อย 3,000 ปีขึ้นไป[4] โดยกลุ่มคนที่เข้ามาอาศัยอยู่ในนาอูรูสามารถแบ่งออกได้เป็น 12 เผ่า ซึ่งในธงชาติของประเทศนาอูรูในปัจจุบันนั้นแทนด้วยดาว 12 แฉก[5] ในธรรมเนียมดั้งเดิมของชาวนาอูรูจะนับญาติทางสายมารดาเป็นหลัก ประชากรเหล่านี้นิยมเลี้ยงและเพาะพันธุ์ปลาไว้ในลากูนบูอาดา เพื่อเป็นแปล่งอาหารให้กับประชากร ในขณะที่แหล่งอาหารในท้องถิ่นอื่น ๆ ที่มีปลูกในพื้นที่เกาะคือมะพร้าวและเตยทะเล[6][7] สำหรับในส่วนของชื่อ นาอูรู นั้นมีการสันนิษฐานว่ามาจากศัพท์คำว่า Anáoero ในภาษานาอูรู ซึ่งมีความหมายว่าฉันไปที่ชายหาด[8]

จอห์น เฟิร์น นักล่าวาฬชาวอังกฤษเป็นชาวยุโรปคนแรกที่เดินทางมาถึงเกาะนาอูรูในปี ค.ศ. 1798 โดยเขาได้ตั้งชื่อเกาะแห่งนี้ว่า "Pleasant Island" นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1830 เป็นต้นมา ชาวนาอูรูได้ติดต่อกับเรือล่าวาฬของชาวตะวันตก ซึ่งเรือล่าวาฬเหล่านี้จะแสวงหาน้ำจืดจากนาอูรูเพื่อเก็บไว้ใช้ในเรือ[7] ในช่วงระหว่างนี้กะลาสีเรือที่เลิกทำงานให้กับเรือล่าวาฬเริ่มเข้ามาอยู่อาศัยในนาอูรู ชาวเกาะได้เริ่มการแลกเปลี่ยนค้าขายกับชาวตะวันตกมากยิ่งขึ้น โดยชาวเกาะจะนำอาหารไปแลกเปลี่ยนกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และอาวุธสงคราม[9] อาวุธสงครามที่ได้มาจากชาวตะวันตกเหล่านี้ได้มีการนำมาใช้ในสงครามระหว่างชนเผ่าในนาอูรูในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1878 - 1888[10]

ในปี ค.ศ. 1888 เยอรมนีได้ผนวกเกาะนาอูรูเขาเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะมาร์แชลล์ในอารักขา[11] การเข้ามาของเยอรมนีในครั้งนี้ช่วยให้สงครามกลางเมืองระหว่างชนเผ่าต่างๆสิ้นสุดลง นอกจากนี้ยังมีการตั้งตำแหน่งพระมหากษัตริย์ในการปกครองเกาะแห่งนี้ โดยพระมหากษัตริย์ของนาอูรูที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือพระเจ้าโอเวอีดา คณะมิชชันนารีสอนศาสนาเริ่มเข้ามาในปี ค.ศ. 1888 โดยเป็นกลุ่มมิชชันนารีที่เดินทางมาจากหมู่เกาะกิลเบิร์ต[12][13] ชาวเยอรมีนที่เข้ามาอาศัยในนาอูรูจะเรียกนาอูรูว่า Nawodo หรือ Onawero[14] จักรวรรดิเยอรมันเข้าปกครองนาอูรูอยู่ราว ๆ 3 ทศวรรษ โดยโรเบิร์ต ราช พ่อค้าชาวเยอรมันที่แต่งงานกับผู้หฯิงชาวนาอูรูเป็นผู้บริหารของนาอูรูคนแรกในปี ค.ศ. 1890[12]

ในปี ค.ศ. 1900 อัลเบิร์ต ฟูลเลอร์ เอลลิส นักสำรวจแร่ได้ค้นพบแหล่งแร่ฟอสเฟตในนาอูรู[11] จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1906 บริษัทแปซิฟิกฟอสเฟตได้ทำข้อตกลงกับรัฐบาลของเยอรมนีในการเริ่มต้นทำกิจกรรมเหมืองแร่ฟอสเฟต โดยเริ่มการส่งออกฟอสเฟตไปขายยังต่างประเทศในปี ค.ศ. 1907[15] เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1ในปี ค.ศ. 1914 กองทัพออสเตรเลียได้ส่งกองกำลังเข้ายึดครองนาอูรู จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1919 ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และสหราชอาณาจักรได้ลงนามในข้อตกลงนาอูรู ซึ่งมีผลให้เกิดการสถาปนาคณะกรรมาธิการฟอสเฟตของอังกฤษ (British Phosphate Commission - BPC) โดยคณะกรรมาธิการนี้มีสิทธิ์ในการประกอบกิจการเหมืองฟอสเฟตในนาอูรู[16]

ในปี ค.ศ. 1920 เกิดการระบาดของไวรัสไข้หวัดใหญ่ ส่งผลให้ชาวนาอูรูร้อยละ 18 ล้มตายจากการระบาดในครั้งนี้[17] หลังจากการระบาดของไข้หวัดใหญ่ 3 ปี สันนิบาตชาติได้ให้อำนาจออสเตรเลีย สหราชอาณาจักรและนิวซีแลนด์เป็นผู้ดูแลนาอูรูในฐานะดินแดนในอาณัติ[18] ในวันที่ 6 และ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1940 เรือเยอรมันสองลำได้จมเรือของฝ่ายสัมพันธมิตร 5 ลำบริเวณใกล้กับนาอูรู นอกจากการจมเรือแล้ว เรือเยอรมันทั้งสองลำได้สร้างความเสียหายให้กับบริเวณเหมืองแร่และสายพานลำเลียงฟอสเฟตอีกด้วย[19][20]

การยอมแพ้ของจักรวรรดิญี่ปุ่นบนเรือรบเดียมันตินา

จักรวรรดิญี่ปุ่นได้ส่งกองกำลังเข้ายึดครองนาอูรู ในวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1942[20] หลังจากนั้นได้เกณฑ์แรงงานชาวญี่ปุ่น ชาวเกาหลี ชาวนาอูรูและชาวกิลเบิร์ตให้สร้างสนามบิน โดยในระยะเวลาต่อมา กองทัพอากาศของสหรัฐอเมริกาได้ทิ้งระเบิดสนามบินนี้ครั้งแรกในวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1943 เพื่อตัดการสนับสนุนเสบียงอาหารที่จะส่งไปยังนาอูรู การที่เสบียงอาหารมีน้อยลงเป็นผลให้กองทัพญี่ปุ่นต้องนำชาวนาอูรู 1,200 คนออกจากเกาะโดยส่งไปอยู่ที่เกาะชุกในหมู่เกาะแคโรไลน์[21] การที่นาอูรูโดนกองกำลังอเมริกาปิดล้อมมาอย่างยาวนาน นำไปสู่การยอมจำนนของผู้นำกองกำลังญี่ปุ่นบนเกาะนาอูรูคือฮิซาฮาชิ โซเอดะในวันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 1945 ต่อกองทัพออสเตรเลีย[22] การยอมจำนนของญี่ปุ่นในครั้งนี้ได้รับการยอมรับโดยพลจัตวาสตีเวนสัน ซค่งเป็นผู้แทนของพลโทเวอรนอน สตูร์ดี ผู้บัญชาการกองทัพออสเตรเลียที่ 1 บนเรือรบเดียมันตินา[23][24] หลังจากการบอมแพ้ของกองกำลังญี่ปุ่น ได้มีการส่งชาวนาอูรู 737 คนที่รอดชีวิตจากเกาะชุกกลับไปยังนาอูรู โดยเรือของคณะกรรมาธิการฟอสเฟตของอังกฤษที่ชื่อว่า Trienza ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1946[25] ในปี ค.ศ. 1947 สหประชาชาติได้มอบหมายให้ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และสหราชอาณาจักรเป็นผู้ดูแลเกาะนาอูรูในฐานะดินแดนในภาวะทรัสตี[26]

นาอูรูได้สิทธิ์ในการปกครองตนเองในเดือนมกราคม ค.ศ. 1966 และเมื่อการประชุมร่างรัฐธรรมนูญได้ผ่านไป 2 ปีหลังจากนั้น นาอูรูจึงได้ประกาศเอกราชในปี ค.ศ. 1968 โดยมีประธานาธิบดีแฮมเมอร์ ดีโรเบิร์ตเป็นประธานาธิบดีคนแรก[27] ในปี ค.ศ. 1967 ประชาชนชาวนาอูรูได้ร่วมกันซื้อทรัพย์สินของคณะกรรมาธิการฟอสเฟตของอังกฤษ ซึ่งนาอูรูได้สิทธิ์ในการบริหารจัดการกิจการเหมืองแร่ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1970 ภายใต้การบริหารของ[[[บริษัทนาอูรูฟอสเฟต]][15] รายได้ของนาอูรูที่ได้จากการทำเหมืองแร่ส่งผลให้ประชาชนชาวนาอูรูมีมาตรฐานการครองชีพสูงที่สุดในกลุ่มประเทศแถมแปซิฟิก[28] ในปี ค.ศ. 1989 นาอูรูได้ฟ้องออสเตรเลียต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจากความล้มเหลวของออสเตรเลียในการแก้ไขความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการทำเหมืองแร่ฟอสเฟตในครั้งที่อสสเตรเลียมีอำนาจบริหารกิจการต่าง ๆ ในนาอูรู[26][29]

การเมือง

นาอูรูเป็นสาธารณรัฐและใช้ระบอบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล รัฐสภาของนาอูรูประกอบด้วยสมาชิก 18 คน มาจากการเลือกตั้งทุกสามปี นาอูรูไม่มีโครงสร้างพรรคการเมืองอย่างเข้มแข็งเท่าใดนัก โดยตัวแทนส่วนใหญ่เป็นผู้สมัครอิสระ ประธานาธิบดีจะได้รับการแต่งตั้งจากสมาชิกรัฐสภา

หลังจากการประกาศเอกราช นาอูรูเข้าเป็นสมาชิกพิเศษของเครือจักรภพ และเป็นสมาชิกเต็มในปีพ.ศ. 2543 นาอูรูได้เข้าเป็นสมาชิกธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียในปีพ.ศ. 2534 และสหประชาชาติในปีพ.ศ. 2542

การแบ่งเขตการปกครอง

นาอูรูมี 14 เขต:

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ภูมิศาสตร์

นาอูรูเป็นเกาะทรงรีในมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจากเส้นศูนย์สูตรมาทางตอนใต้ 42 กิโลเมตร ล้อมรอบด้วยแนวปะการัง ซึ่งทำให้ไม่สามารถสร้างท่าเรือได้ นาอูรูเป็นหนึ่งในสามเกาะหินฟอสเฟตใหญ่ในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยอีกสองแห่งคือเกาะบานาบาของประเทศคิริบาส และมากาเทียของเฟรนช์โปลินีเซีย อย่างไรก็ตาม ฟอสเฟตของประเทศนั้นถูกนำมาใช้เกือบหมดแล้ว การทำเหมืองฟอสเฟตในที่ราบสูงตอนกลาง ทำให้พื้นที่กลายเป็นที่ไร้พืช เต็มไปด้วยหินปูนขรุขระที่มียอดสูงสุด 15 เมตร การทำเหมืองแร่เป็นเวลาหนึ่งศตวรรษ ได้สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ถึงสี่ในห้า นอกจากนี้ยังสร้างความเสียหายพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำเพาะโดยรอบ โดยประมาณการว่า 40% ของสัตว์น้ำตายจากของเหลวที่ปล่อยออกมา ซึ่งเต็มไปด้วยฟอสเฟต[30]

เศรษฐกิจ

นาอูรูมีแร่ฟอสเฟตอยู่มาก และรายได้แทบทั้งหมดของประเทศมาจากอุตสาหกรรมการขุดและส่งออกแร่ฟอสเฟต ซึ่งมีรายได้ดีจนทำให้ชาวนาอูรู มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวสูงเป็นอันดับต้นในหมู่ประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกด้วยกัน

ประชากร

วัฒนธรรม

สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 Central Intelligence Agency (2014). "Nauru". The World Factbook. สืบค้นเมื่อ 1 April 2014.
  2. "The population of the Nauruan districts". citypopulation. สืบค้นเมื่อ 1 April 2014.
  3. Hogan, C Michael (2011). "Phosphate". Encyclopedia of Earth. National Council for Science and the Environment. สืบค้นเมื่อ 31 March 2013.
  4. Nauru Department of Economic Development and Environment (2003). "First National Report To the United Nations Convention to Combat Desertification" (PDF). UNCCD. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-22. สืบค้นเมื่อ 25 June 2012.
  5. Whyte, Brendan (2007). "On Cartographic Vexillology". Cartographica: The International Journal for Geographic Information and Geovisualization. 42 (3): 251–262. doi:10.3138/carto.42.3.251.
  6. Pollock, Nancy J (1995). "5: Social Fattening Patterns in the Pacific—the Positive Side of Obesity. A Nauru Case Study". ใน De Garine, I (บ.ก.). Social Aspects of Obesity. Routledge. pp. 87–111.
  7. 7.0 7.1 Spennemann, Dirk HR (January 2002). "Traditional milkfish aquaculture in Nauru". Aquaculture International. 10 (6): 551–562. doi:10.1023/A:1023900601000.
  8. West, Barbara A (2010). "Nauruans: nationality". Encyclopedia of the Peoples of Asia and Oceania. Infobase Publishing. pp. 578–580. ISBN 978-1-4381-1913-7.
  9. Marshall, Mac (January 1976). "Holy and unholy spirits: The Effects of Missionization on Alcohol Use in Eastern Micronesia". Journal of Pacific History. 11 (3): 135–166. doi:10.1080/00223347608572299. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  10. Reyes, Ramon E, Jr (1996). "Nauru v. Australia". New York Law School Journal of International and Comparative Law. 16 (1–2).{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  11. 11.0 11.1 Firth, Stewart (January 1978). "German labour policy in Nauru and Angaur, 1906–1914". The Journal of Pacific History. 13 (1): 36–52. doi:10.1080/00223347808572337.
  12. 12.0 12.1 Hill, Robert A (ed) (1986). "2: Progress Comes to Nauru". The Marcus Garvey and Universal Negro Improvement Association Papers. Vol. 5. University of California Press. ISBN 978-0-520-05817-0. {{cite book}}: |first= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  13. Ellis, AF (1935). Ocean Island and Nauru – their story. Angus and Robertson Limited. pp. 29–39.
  14. Hartleben, A (1895). Deutsche Rundschau für Geographie und Statistik. p. 429.
  15. 15.0 15.1 Manner, HI (May 1985). "Plant succession after phosphate mining on Nauru". Australian Geographer. 16 (3): 185–195. doi:10.1080/00049188508702872. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  16. Gowdy, John M; McDaniel, Carl N (May 1999). "The Physical Destruction of Nauru". Land Economics. 75 (2): 333–338.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  17. Shlomowitz, R (November 1990). "Differential mortality of Asians and Pacific Islanders in the Pacific labour trade". Journal of the Australian Population Association. 7 (2): 116–127. PMID 12343016.
  18. Hudson, WJ (April 1965). "Australia's experience as a mandatory power". Australian Outlook. 19 (1): 35–46. doi:10.1080/10357716508444191.
  19. Waters, SD (2008). German raiders in the Pacific (3rd ed.). Merriam Press. p. 39. ISBN 978-1-4357-5760-8.
  20. 20.0 20.1 Bogart, Charles H (November 2008). "Death off Nauru" (PDF). CDSG Newsletter: 8–9. สืบค้นเมื่อ 16 June 2012.
  21. Haden, JD (2000). "Nauru: a middle ground in World War II". Pacific Magazine. สืบค้นเมื่อ 16 June 2012.
  22. Takizawa, Akira; Alsleben, Allan (1999–2000). "Japanese garrisons on the by-passed Pacific Islands 1944–1945". Forgotten Campaign: The Dutch East Indies Campaign 1941–1942.
  23. The Times, 14 September 1945
  24. "Nauru Occupied by Australians; Jap Garrison and Natives Starving". The Argus. 15 September 1945. สืบค้นเมื่อ 30 December 2010.
  25. Garrett, J (1996). Island Exiles. ABC. pp. 176–181. ISBN 0-7333-0485-0.
  26. 26.0 26.1 Highet, K; Kahale, H (1993). "Certain Phosphate Lands in Nauru". American Journal of International Law. 87: 282–288.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  27. Davidson, JW (January 1968). "The republic of Nauru". The Journal of Pacific History. 3 (1): 145–150. doi:10.1080/00223346808572131.
  28. Squires, Nick (15 March 2008). "Nauru seeks to regain lost fortunes". BBC News Online. สืบค้นเมื่อ 16 March 2008.
  29. Case Concerning Certain Phosphate Lands in Nauru (Nauru v. Australia) Application: Memorial of Nauru. ICJ Pleadings, Oral Arguments, Documents. United Nations, International Court of Justice. January 2004. ISBN 978-92-1-070936-1.
  30. http://unfccc.int/resource/docs/natc/naunc1.pdf


แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link GA