ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรคอัลไซเมอร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Drgarden (คุย | ส่วนร่วม)
Drgarden (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 1,868: บรรทัด 1,868:
| laysummary = http://www.physorg.com/news150695213.html
| laysummary = http://www.physorg.com/news150695213.html
}}</ref> และหากใช้ในระยะยาวอาจส่งผลเกี่ยวข้องกับการเพิ่มภาวะการตาย<ref name="pmid19138567" />
}}</ref> และหากใช้ในระยะยาวอาจส่งผลเกี่ยวข้องกับการเพิ่มภาวะการตาย<ref name="pmid19138567" />

=== การรักษาทางจิตสังคม ===
[[ไฟล์:Snoezelruimte.JPG|righ|thumb||Upright|ห้องที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อการบำบัดด้วยบูรณาการการรับความรู้สึก เรียกว่า [[สโนซีเลน]] (snoezelen) เป็นการบำบัดผู้ป่วยสมองเสื่อมด้วยจิตสังคมโดยมุ่งเน้นอารมณ์]]
การรักษาทาง[[จิตสังคม]]ถูกใช้ร่วมกับการรักษาด้วยยา แบ่งออกเป็นวิธีมุ่งเน้นด้านพฤติกรรม (behaviour-oriented) , อารมณ์ (emotion-oriented) , การรู้ (cognition-oriented) หรือการกระตุ้น (stimulation-oriented) ส่วนงานวิจัยถึงประสิทธิผลนั้นยังไม่สามารถหาได้และไม่จำเพาะต่อโรคอัลไซเมอร์ แต่มุ่งเน้นไปยังภาวะสมองเสื่อมทั่วไปแทน<ref name="pracGuideAPA">{{cite web
| url = http://www.psychiatryonline.com/pracGuide/loadGuidelinePdf.aspx?file=AlzPG101007
| format = PDF
| title = Practice Guideline for the Treatment of Patients with Alzheimer's disease and Other Dementias
| publisher = American Psychiatric Association
| month = October | year=2007
| accessdate = 2007-12-28
| doi = 10.1176/appi.books.9780890423967.152139
}}</ref>

[[การแก้ไขพฤติกรรม]]คือการพยายามระบุและลดสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนและผลที่ตามมาของพฤติกรรมปัญหา วิธีดังกล่าวยังไม่แสดงผลสำเร็จในการทำให้หน้าที่โดยรวมดีขึ้น<ref name="pmid16323385">{{cite journal
| author = Bottino CM, Carvalho IA, Alvarez AM, ''et al''
| title = Cognitive rehabilitation combined with drug treatment in Alzheimer's disease patients: a pilot study
| journal = Clin Rehabil
| volume = 19
| issue = 8
| pages = 861–869
| year = 2005
| pmid = 16323385
| doi = 10.1191/0269215505cr911oa
}}</ref> แต่สามารถช่วยลดปัญหาพฤติกรรมบางอย่างได้ เช่น [[การกลั้นปัสสาวะไม่ได้]]<ref name="pmid11342679">{{cite journal
| author = Doody RS, Stevens JC, Beck C, ''et al''
| title = Practice parameter: management of dementia (an evidence-based review). Report of the Quality Standards Subcommittee of the American Academy of Neurology
| journal = Neurology
| volume = 56
| issue = 9
| pages = 1154–1166
| year = 2001
| pmid = 11342679
}}</ref> ปัจจุบันยังขาดข้อมูลที่มีคุณภาพสูงเกี่ยวกับประสิทธิผลของเทคนิคดังกล่าวในการรักษาปัญหาพฤติกรรมอื่นๆ เช่น การชอบหนีออกจากบ้าน<ref name="pmid17253573">{{cite journal
| author = Hermans DG, Htay UH, McShane R
| title = Non-pharmacological interventions for wandering of people with dementia in the domestic setting
| journal = Cochrane Database Syst Rev
| issue = 1
| pages = CD005994
| year = 2007
| pmid = 17253573
| doi = 10.1002/14651858.CD005994.pub2
}}</ref><ref name="pmid17096455">{{cite journal
| author = Robinson L, Hutchings D, Dickinson HO, ''et al''
| title = Effectiveness and acceptability of non-pharmacological interventions to reduce wandering in dementia: a systematic review
| journal = Int J Geriatr Psychiatry
| volume = 22
| issue = 1
| pages = 9–22
| year = 2007
| pmid = 17096455
| doi = 10.1002/gps.1643
}}</ref>

การรักษาที่มุ่งเน้นด้านอารมณ์ได้แก่ [[การบำบัดด้วยความทรงจำ]] (reminiscence therapy; RT), [[การบำบัดด้วยการให้เหตุผล]] (validation therapy), [[จิตบำบัด]]แบบประคับประคอง (supportive psychotherapy), การบูรณาการการรับความรู้สึก (sensory integration) หรือที่เรียกว่า [[สโนซีเลน]] (snoezelen), และ[[การบำบัดด้วยการจำลองการมีอยู่]] (simulated presence therapy; SPT)

มีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์น้อยมากหรือไม่เป็นทางการที่ยอมรับการรักษาด้วยจิตบำบัดแบบประคับประคอง แต่แพทย์บางส่วนพบว่าวิธีนี้ช่วยให้ผู้ป่วยที่บกพร่องไม่มากสามารถปรับความเจ็บป่วยของเขาได้<ref name="pracGuideAPA"/>

การบำบัดด้วยความทรงจำ (reminiscence therapy; RT) คือการอภิปรายถึงประสบการณ์ในอดีตของแต่ละคนหรือของกลุ่ม ซึ่งบางครั้งอาจใช้ภาพถ่าย สิ่งของเครื่องใช้ในบ้าน ดนตรีหรือเสียง หรือสิ่งของที่ผู้ป่วยคุ้นเคยในอดีตมาช่วยในการบำบัด แม้จะยังมีการศึกษาที่มีคุณภาพน้อยชิ้นเกี่ยวกับประสิทธิผลของวิธีนี้ แต่การบำบัดด้วยความทรงจำให้ผลดีต่อ[[การรู้]]และ[[พื้นอารมณ์]]<ref name="pmid15846613">{{cite journal
| author = Woods B, Spector A, Jones C, Orrell M, Davies S
| title = Reminiscence therapy for dementia
| journal = Cochrane Database Syst Rev
| issue = 2
| pages = CD001120
| year = 2005
| pmid = 15846613
| doi = 10.1002/14651858.CD001120.pub2
}}</ref>

การบำบัดด้วยการจำลองการมีอยู่ (simulated presence therapy; SPT) นั้นคือการรักษาที่อาศัยพื้นฐานของ[[ทฤษฎีความผูกพัน]] (attachment theory) คือการเล่นเสียงบันทึกของญาติสนิทหรือบุคคลสนิทของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ มีหลักฐานชั้นต้นที่ยืนยันว่าการบำบัดแบบนี้ช่วยลด[[ความวิตกกังวล]]และ[[พฤติกรรมท้าทาย]]<ref name="pmid11827626">{{cite journal
| author = Peak JS, Cheston RI
| title = Using simulated presence therapy with people with dementia
| journal = Aging Ment Health
| volume = 6
| issue = 1
| pages = 77–81
| year = 2002
| pmid = 11827626
| doi = 10.1080/13607860120101095
}}</ref><ref name="pmid10203120">{{cite journal
| author = Camberg L, Woods P, Ooi WL, ''et al''
| title = Evaluation of Simulated Presence: a personalised approach to enhance well-being in persons with Alzheimer's disease
| journal = J Am Geriatr Soc
| volume = 47
| issue = 4
| pages = 446–452
| year = 1999
| pmid = 10203120
}}</ref>

ท้ายที่สุด การบำบัดด้วยการให้เหตุผล (validation therapy) นั้นอาศัยพื้นฐานของการยอมรับความเป็นจริงและความจริงส่วนบุคคลของประสบการณ์ผู้อื่น ต่างจากการบูรณาการการรับความรู้สึก (sensory integration) ที่อาศัยการออกกำลังเพื่อกระตุ้น[[ประสาทสัมผัส]]เป็นพื้นฐาน หลักฐานที่สนับสนุนถึงประโยชน์ในวิธีนี้ยังมีน้อย<ref name="pmid12917907">{{cite journal
| author = Neal M, Briggs M
| title = Validation therapy for dementia
| journal = Cochrane Database Syst Rev
| issue = 3
| pages = CD001394
| year = 2003
| pmid = 12917907
| doi = 10.1002/14651858.CD001394
}}</ref><ref name="pmid12519587">{{cite journal
| author = Chung JC, Lai CK, Chung PM, French HP
| title = Snoezelen for dementia
| journal = Cochrane Database Syst Rev
| issue = 4
| pages = CD003152
| year = 2002
| pmid = 12519587
| doi = 10.1002/14651858.CD003152
}}</ref>


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:27, 11 เมษายน 2552

โรคอัลไซเมอร์
(Alzheimer's disease)
แผนภาพเปรียบเทียบระหว่างสมองของผู้สูงอายุปกติ (ซ้าย) และสมองผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ (ขวา)
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10G30, F00
ICD-9331.0, 290.1
OMIM104300
DiseasesDB490
MedlinePlus000760
eMedicineneuro/13
MeSHD000544

โรคอัลซไฮเมอร์[1] (อังกฤษ: Alzheimer's disease หรือ AD) หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า โรคอัลไซเมอร์ เป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุด โรคนี้ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) โดยจิตแพทย์ชาวเยอรมันชื่อว่า อาลอยส์ อัลซไฮเมอร์ (Alois Alzheimer) โรคนี้จัดเป็นโรคความเสื่อมที่รักษาไม่หายและจัดเป็นอาการป่วยระยะสุดท้าย โดยทั่วไปแล้วสามารถวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ได้ในผู้ป่วยอายุมากกว่า 65 ปี[2] แต่ก็พบโรคอัลไซเมอร์ชนิดหนึ่งคือ โรคอัลไซเมอร์ชนิดเกิดเร็ว (early-onset Alzheimer's) ซึ่งเกิดในคนอายุน้อยแต่มีความชุกของโรคน้อยกว่า ประมาณการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2549 มีประชากรราว 26.6 ล้านคนทั่วโลกที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ และจะเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าใน พ.ศ. 2593[3]

ถึงแม้ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์แต่ละคนจะมีอาการแตกต่างกันออกไป แต่ก็มีอาการที่พบร่วมกันหลายประการ[4] อาการแรกสุดที่พบคือความเครียด ซึ่งมักจะเข้าใจผิดว่าเป็นอาการที่เกิดขึ้นเองตามอายุ[5] อาการที่พบในระยะแรกคือการสูญเสียความจำ เช่นพยายามจำข้อมูลที่เรียนรู้เมื่อไม่นานมานี้ไม่ได้ เมื่อแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์จะยืนยันการวินิจฉัยโดยการประเมินพฤติกรรมและทดสอบการรู้ และมักตามด้วยการสแกนสมอง[6] เมื่อโรคดำเนินไประยะหนึ่งผู้ป่วยจะมีอาการสับสน หงุดหงิดง่ายและก้าวร้าว อารมณ์แปรปรวน เสียความสามารถทางภาษา สูญเสียความทรงจำระยะยาว และเพิกเฉยต่อสิ่งต่างๆ เนื่องจากผู้ป่วยเสียการรับความรู้สึก[5][7] และต่อมาจะสูญเสียการทำงานต่างๆ ของร่างกาย และเสียชีวิตในที่สุด[8] การพยากรณ์โรคในผู้ป่วยแต่ละรายนั้นทำได้ยากเนื่องจากระยะเวลาของโรคมีความหลากหลาย การดำเนินโรคของโรคนี้จะมีช่วงระยะเวลาที่ไม่แสดงอาการแน่ชัดก่อนจะปรากฏอาการชัดเจน การคาดหมายคงชีพหลังได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์โดยเฉลี่ยอยู่ประมาณ 7 ปี[9] มีผู้ป่วยน้อยกว่าร้อยละ 3 ที่มีชีวิตอยู่ได้มากกว่า 14 ปีหลังได้รับการวินิจฉัย[10]

สาเหตุและการดำเนินโรคของโรคอัลไซเมอร์ยังไม่เป็นที่เข้าใจดีนักในปัจจุบัน งานวิจัยบ่งชี้ว่าโรคนี้มีความสัมพันธ์กับโครงสร้างคล้ายคราบในสมองที่เรียกว่า พลาก (plaque) และแทงเกิล (tangle) [11] การรักษาในปัจจุบันช่วยเกี่ยวกับอาการของโรคเพียงเล็กน้อย แต่ยังไม่มีการรักษาที่ช่วยชะลอหรือหยุดการดำเนินโรคอย่างแท้จริง ในปี พ.ศ. 2551 มีการทดลองทางคลินิกมากกว่า 500 งานวิจัยเพื่อทดสอบความเป็นไปได้ในการรักษาโรคอัลไซเมอร์แต่ก็ยังไม่มีงานวิจัยใดที่สรุปว่าประสบความสำเร็จ[12] แม้มีวิธีต่างๆ มากมายที่เชื่อว่าป้องกันโรคอัลไซเมอร์แต่ก็ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ว่าช่วยชะลอการดำเนินโรคและลดความรุนแรงของโรคได้ แต่แนวทางแนะนำที่เชื่อว่าจะช่วยป้องกันและจัดการโรคได้นั้นคือการกระตุ้นทางจิตใจ (Mental stimulation) การออกกำลังกาย และรับประทานอาหารครบทุกหมู่[13]

เนื่องจากโรคอัลไซเมอร์เป็นโรคความเสื่อมที่รักษาไม่หาย การบำบัดและดูแลผู้ป่วยจึงนับเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะบทบาทของผู้ดูแลซึ่งมักจะเป็นคู่สมรสหรือญาติใกล้ชิด[14] เป็นที่รับรู้ว่าโรคอัลไซเมอร์นั้นสร้างภาระให้แก่ผู้ดูแลอย่างมาก ทั้งในทางกายสังคม ทางจิต ทางสังคมและเศรษฐกิจ[15][16][17] ในประเทศกำลังพัฒนาโรคนี้นับเป็นหนึ่งในโรคที่ก่อค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจต่อสังคมมากที่สุด[18][19]

อาการ

ลำดับการดำเนินโรคอัลไซเมอร์แบ่งออกเป็น 4 ระยะ โดยมีลักษณะของความบกพร่องของหน้าที่และการรู้ที่แย่ลงเรื่อยๆ

ระยะก่อนสมองเสื่อม

ในระยะก่อนสมองเสื่อม (Predementia) อาการแรกสุดมักจะเข้าในผิดว่าเกิดขึ้นเองจากความชรา หรือเกิดจากภาวะเครียด[5] การทดสอบทางจิตประสาทวิทยาแสดงความบกพร่องทางการรู้เล็กน้อยซึ่งกินเวลาถึง 8 ปีกว่าที่ผู้ป่วยจะมีลักษณะครบตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์[20] อาการเริ่มแรกจะมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันที่ซับซ้อนส่วนใหญ่[21] ความบกพร่องที่เห็นชัดคือการสูญเสียความจำ คือพยายามจำข้อมูลที่เรียนรู้เมื่อไม่นานมานี้ไม่ได้และไม่สามารถรับข้อมูลใหม่ๆ ได้[22][23] ปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่การบริหารจัดการ อาทิความใส่ใจต่อสิ่งหนึ่งๆ การวางแผน, ความยืดหยุ่น และความคิดเชิงนามธรรม หรือความบกพร่องของความจำเชิงอรรถศาสตร์ (การจำความหมายและความสัมพันธ์เชิงแนวคิด เช่น ปลาวาฬเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แอปเปิลมีสีแดง เป็นต้น) อาจปรากฏอาการได้ในโรคอัลไซเมอร์ระยะแรก[24][25] อาจพบภาวะไร้อารมณ์ (apathy) ได้ในระยะนี้และจะเป็นอาการที่คงปรากฏอยู่ตลอดทุกระยะเวลาการดำเนินโรค[26][27][28] ในระยะก่อนแสดงอาการทางคลินิกนี้อาจเรียกอีกอย่างว่า ความบกพร่องทางการรู้เล็กน้อย (mild cognitive impairment) [29] แต่ก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันว่าชื่อดังกล่าวเป็นโรคหนึ่งซึ่งได้รับการวินิจฉัยต่างหากหรือเป็นเพียงระยะแรกของโรคอัลไซเมอร์[30]

สมองเสื่อมระยะแรก

ระยะสมองเสื่อมระยะแรก (Early dementia) ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จะมีความบกพร่องของความจำและการเรียนรู้จนสามารถวินิจฉัยอย่างแน่นอนได้ ผู้ป่วยบางส่วนมีอาการบกพร่องทางภาษา การบริหาร การกำหนดรู้ (ภาวะเสียการระลึกรู้ (agnosia)) หรือการจัดการเคลื่อนไหว (ภาวะเสียการรู้ปฏิบัติ (apraxia)) เด่นกว่าการสูญเสียความทรงจำ[31] โรคอัลไซเมอร์ไม่ได้มีผลกระทบต่อความจำทั้งหมดเท่าๆ กัน แต่ความทรงจำระยะยาวที่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะตัวของผู้ป่วย (ความจำเชิงเหตุการณ์ (episodic memory)) ความรู้ทั่วไป (ความจำเชิงอรรถศาสตร์ (semantic memory)) และความจำโดยปริยาย (implicit memory; ความจำของร่างกายว่าทำสิ่งต่างๆ อย่างไร เช่น การใช้ช้อนส้อมรับประทานอาหาร) ทั้งสามอย่างนี้จะได้รับผลกระทบน้อยกว่าความจำหรือความรู้ใหม่[32][33] ปัญหาทางภาษามีลักษณะเด่นคือการรวบคำให้สั้นและพูดหรือใช้ศัพท์ไม่ฉะฉานหรือคล่องเหมือนเดิม ซึ่งทำให้พูดหรือเขียนภาษาได้น้อยลง ในระยะนี้ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ยังสามารถสื่อสารบอกความคิดพื้นฐานของตนได้[34][35][36] เมื่อผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวโดยละเอียด เช่น การเขียน การวาดภาพ หรือการแต่งตัว อาจพบความบกพร่องของการประสานการเคลื่อนไหวและการวางแผน (ภาวะเสียการรู้ปฏิบัติ) ทำให้ผู้ป่วยดูเงอะงะหรือซุ่มซ่าม[37] เมื่อโรคดำเนินต่อไปผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มักสามารถทำงานหลายอย่างได้ด้วยตัวเองแต่อาจต้องอาศัยผู้ช่วยหรือผู้ดูแลในกิจกรรมที่ต้องอาศัยกระบวนการคิดหรือการรู้อย่างมาก[31]

สมองเสื่อมระยะปานกลาง

ระยะสมองเสื่อมระยะปานกลาง (Moderate dementia) จะพบความเสื่อมของสมองจนไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ด้วยตนเอง[31] มีความบกพร่องด้านการพูดปรากฏชัดเจนเนื่องจากไม่สามารถนึกหาคำศัพท์ได้ ทำให้ใช้ศัพท์ผิดหรือใช้คำอื่นมาแทน (paraphasia) ทักษะการอ่านและการเขียนค่อยๆ เสียไปเรื่อยๆ[34][38] เมื่อเวลาผ่านไปการประสานงานเพื่อการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนจะลดลง ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันส่วนใหญ่ได้อย่างปกติ[39] ในระยะนี้ปัญหาความจำของผู้ป่วยจะแย่ลงเรื่อยๆ และผู้ป่วยไม่สามารถจำญาติสนิทของตนเองได้[40] ความทรงจำระยะยาวซึ่งแต่เดิมยังคงอยู่ก็จะค่อยๆ บกพร่องไป[41] และมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง อาการแสดงที่พบบ่อยคือการหนีออกจากบ้าน ความรู้สึกผิดปกติ สับสนหรือเห็นภาพหลอนในเวลาโพล้เพล้หรือกลางคืน (sundowning) [42] หงุดหงิดโมโหง่าย และอารมณ์แปรปรวน เช่นร้องไห้ ก้าวร้าวอย่างไม่มีเหตุผล หรือดื้อต่อผู้ดูแล ประมาณร้อยละ 30 ของผู้ป่วยอาจมีอาการเชื่อว่าบุคคล สิ่งของ หรือสถานที่เปลี่ยนแปลงไป (เรียกว่ากลุ่มอาการ Delusional misidentification syndrome) และอาจมีอาการหลงผิดอื่นๆ[43][26] อาจมีอาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้[44] อาการดังกล่าวทำให้เกิดความเครียดต่อผู้ดูแลหรือญาติ ซึ่งต้องตัดสินใจส่งผู้ป่วยไปยังสถานรับดูแลผู้ป่วยระยะยาวอื่นๆ เพื่อลดความเครียด[31][45]

สมองเสื่อมระยะสุดท้าย

ในระยะสมองเสื่อมระยะสุดท้าย (Advanced dementia) ผู้ป่วยต้องพึ่งพาผู้ดูแลตลอดเวลา ทักษะทางภาษาของผู้ป่วยลดลงแม้เพียงการพูดวลีง่ายๆ หรือคำเดี่ยวๆ จนกระทั่งไม่สามารถพูดได้เลย[34] แม้ว่าผู้ป่วยจะไม่สามารถพูดจาตอบโต้เป็นภาษาได้ แต่ผู้ป่วยมักสามารถเข้าใจคำพูดและตอบสนองกลับมาด้วยการแสดงอารมณ์[46] ถึงแม้ผู้ป่วยจะยังมีลักษณะก้าวร้าว แต่ลักษณะของภาวะไร้อารมณ์และอ่อนเพลียจะเด่นกว่า[31] ในที่สุดผู้ป่วยจะไม่สามารถทำกิจกรรมใดได้เลยหากขาดผู้ช่วยเหลือ มวลกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวร่างกายลดลงจนผู้ป่วยต้องนอนนิ่งอยู่เฉยๆ[47] และไม่สามารถป้อนอาหารด้วยตนเองได้[48] และสุดท้ายผู้ป่วยจะเสียชีวิตจากปัจจัยภายนอกอื่นๆ โดยตรง อาทิ แผลกดทับหรือโรคปอดบวม แต่ไม่ได้เสียชีวิตจากตัวโรคโดยตรง[49][50]

สาเหตุ

ไฟล์:TAU HIGH.JPG
ภาพทางจุลทรรศน์ของนิวโรไฟบริลลารี แทงเกิล (neurofibrillary tangle) ซึ่งเกิดจากโปรตีนเทา (tau protein) ที่ถูกเติมหมู่ฟอสเฟตมากผิดปกติ

มีถึง 3 สมมติฐานหลักที่อธิบายสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ สมมติฐานที่เก่าที่สุดซึ่งยาที่ใช้รักษาในปัจจุบันส่วนมากยึดเป็นพื้นฐานนั้นคือ สมมติฐานโคลิเนอร์จิก (cholinergic hypothesis) ซึ่งเชื่อว่าโรคอัลไซเมอร์เกิดจากการลดการสังเคราะห์สารสื่อประสาทชนิดแอซิทิลโคลีน (acetylcholine) สมมติฐานดังกล่าวปัจจุบันไม่ได้รับการสนับสนุนเนื่องจากการให้ยาเพื่อรักษาการขาดแอซิทิลโคลีนโดยตรงไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคอัลไซเมอร์มากนัก ผลทางโคลิเนอร์จิกอื่นๆ ที่เสนอขึ้นมาเช่นเป็นตัวเริ่มต้นการสะสมของแอมีลอยด์ (amyloid) [51]ทำให้เกิดการอักเสบของสมองโดยทั่ว[52]

ในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) มีการตั้ง สมมติฐานแอมีลอยด์ (amyloid hypothesis) ซึ่งเชื่อว่าการสะสมของแอมีลอยด์ บีตา (amyloid beta; Aβ) เป็นสาเหตุหลักของโรคอัลไซเมอร์[53][54] ทฤษฎีนี้เป็นที่น่าสนใจเนื่องจากยีนของสารตั้งต้นแอมีลอยด์ บีตา (amyloid beta precursor; APP) อยู่บนโครโมโซมคู่ที่ 21 และผู้ป่วยที่มีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง (ไตรโซมี 21 (trisomy 21)) หรือที่รู้จักกันว่ากลุ่มอาการดาวน์ (Down Syndrome) ซึ่งมียีนดังกล่าวมากกว่าปกติทั้งหมดล้วนแสดงอาการของโรคอัลไซเมอร์เมื่ออายุประมาณ 40 ปี[55][56] นอกจากนี้ ยีน APOE4 ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรมของโรคอัลไซเมอร์ ทำให้เกิดการสร้างแอมีลอยด์ในสมองอย่างมากมายก่อนจะเกิดอาการของโรค ดังนั้นจึงเชื่อว่าการสะสมของ Aβ ทำให้เกิดอาการทางคลินิกของโรคอัลไซเมอร์[57] หลักฐานเพิ่มเติมจากการศึกษาในหนูดัดแปลงพันธุกรรมให้มีการกลายพันธุ์ของยีน human APP พบการสร้างแอมีลอยด์ปริมาณมากจนมีลักษณะเหมือนคราบในสมอง เรียกว่า แอมีลอยด์ พลาก (amyloid plaques) และพยาธิสภาพของสมองคล้ายโรคอัลไซเมอร์ ร่วมกับการสูญเสียการเรียนรู้เชิงพื้นที่ (spatial learning) [58] ในการทดลองขั้นต้นกับมนุษย์พบว่าวัคซีนป้องกันโรคอัลไซเมอร์ขั้นทดลองสามารถกำจัดแอมีลอยด์ พลากได้ แต่ไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่ออาการสมองเสื่อม[59]

มีข้อสังเกตพบว่าการสะสมของแอมีลอยด์ พลากไม่มีความสัมพันธ์กับการตายของเซลล์ประสาท[60] ซึ่งสนับสนุนสมมติฐานข้อที่สามคือ สมมติฐานโปรตีนเทา (tau hypothesis) ซึ่งเชื่อว่าความผิดปกติของโปรตีนเทา (tau protein) เป็นตัวริเริ่มให้เกิดความผิดปกติตามมาเป็นลำดับ[54] สมมติฐานนี้เชื่อว่าโปรตีนเทาที่ถูกเติมหมู่ฟอสเฟตมากผิดปกติ (hyperphosphorylated tau) จะจับคู่กับโปรตีนเทาปกติสายอื่นๆ เกิดเป็นนิวโรไฟบริลลารี แทงเกิล (neurofibrillary tangles) สะสมภายในตัวเซลล์ประสาท[61] ผลดังกล่าวทำให้ไมโครทิวบูลสลายตัว และทำลายระบบการขนส่งสารในเซลล์ประสาท[62] กระบวนการดังกล่าวทำให้เกิดความผิดปกติในการสื่อสารทางชีวเคมีระหว่างเซลล์ประสาท และทำให้เซลล์ตายในเวลาต่อมา[63]

พยาธิสรีรวิทยา

จุลพยาธิสภาพของซีไนล์ พลากในซีรีบรัล คอร์เท็กซ์ของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ย้อมด้วยเงิน

ประสาทพยาธิสภาพ

ลักษณะที่พบในโรคอัลไซเมอร์คือการสูญเสียเซลล์ประสาทและไซแนปส์ภายในซีรีบรัล คอร์เท็กซ์และบริเวณใต้คอร์เท็กซ์ของสมอง ทำให้เกิดการฝ่อของสมองบริเวณที่เป็นโรค ซึ่งรวมถึงการเสื่อมของกลีบขมับ (temporal lobe) และกลีบข้างขม่อม (parietal lobe) และส่วนหนึ่งของกลีบด้านหน้า (frontal cortex) และซิงกูเลต ไจรัส (cingulate gyrus) ของสมอง[52]

ภาพทางจุลทรรศน์สามารถพบทั้งแอมีลอยด์ พลาก (amyloid plaque) และนิวโรไฟบริลลารี แทงเกิล (neurofibrillary tangle) ในสมองผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์[11] พลากมีลักษณะเป็นโปรตีนแอมีลอยด์ บีตาและสารองค์ประกอบของเซลล์ที่หนาแน่นและมักเป็นตะกอนอยู่ภายนอกและรอบๆ เซลล์ประสาท ซึ่งจะเจริญไปเป็นตะกอนโปรตีนเส้นใยบิดเกลียวภายในเซลล์ประสาทที่เรียกว่า แทงเกิล (tangle) แม้ว่าสมองของผู้สูงอายุหลายคนอาจพบพลากและแทงเกิลในสมองได้บ้างเนื่องจากความชราแต่สมองของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จะพบปริมาณคราบดังกล่าวมากกว่าในบริเวณจำเพาะของสมอง อาทิบริเวณกลีบขมับ[64]

ชีวเคมี

เอนไซม์ทำปฏิกิริยากับโปรตีนต้นกำเนิดแอมีลอยด์ (amyloid precursor protein; APP) โดยตัดโปรตีนเป็นท่อนๆ ท่อนที่ชื่อว่า บีตา-แอมีลอยด์ (beta-amyloid) มีความสำคัญในการสร้างซีไนล์ พลาก (senile plaques) ในโรคอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์จัดเป็นโรคจากความผิดปกติของการม้วนพับของโปรตีน (protein misfolding disease) เกิดจากการสะสมของแอมีลอยด์ บีตาและโปรตีนเทา (tau protein) ที่ม้วนพับผิดปกติภายในสมอง[65] พลากเกิดจากเปปไทด์ขนาดเล็กยาวประมาณ 39–43 กรดอะมิโน ชื่อว่าแอมีลอยด์ บีตา (Amyloid beta; อาจเขียนว่า A-beta หรือ Aβ) โดยแอมีลอยด์ บีตาเป็นชิ้นส่วนหนึ่งของโปรตีนต้นกำเนิดแอมีลอยด์ที่ชื่อว่า Amyloid precursor protein (APP) โปรตีนนี้เป็นทรานสเมมเบรนโปรตีน (transmembrane protein) ที่แทรกทะลุผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ประสาท โปรตีน APP มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโต การดำรงชีวิต และการซ่อมแซมของเซลล์ประสาท[66][67] ในโรคอัลไซเมอร์จะมีการสลายโปรตีน (proteolysis) โดยตัด APP ออกเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ ด้วยเอนไซม์[68] ชิ้นส่วนชิ้นหนึ่งที่เกิดขึ้นจะกลายเป็นเส้นใยแอมีลอยด์ บีตา ซึ่งจับตัวเป็นก้อนตกตะกอนหนาแน่นอยู่นอกเซลล์ประสาท เรียกว่า ซีไนล์ พลาก (senile plaques) [11][69]

ในโรคอัลไซเมอร์ การเปลี่ยนแปลงของโปรตีนเทา (tau protein) ทำให้เกิดการสลายของไมโครทิวบูลในเซลล์สมอง

นอกจากการสะสมของพลากแล้ว โรคอัลไซเมอร์ยังเกิดการรวมกลุ่มผิดปกติของโปรตีนเทา (tau protein) เซลล์ประสาททุกเซลล์จะมีไซโทสเกเลตอน (cytoskeleton) หรือโครงเซลล์ที่ค้ำจุนภายใน ซึ่งบางส่วนประกอบด้วยไมโครทิวบูล (microtubules) ไมโครทิวบูลนี้จะทำหน้าที่เหมือนรางรถไฟกล่าวคือเป็นเส้นทางลำเลียงสารอาหารและโมเลกุลจากตัวเซลล์ไปยังปลายแอกซอน (axon) หรือแกนประสาทและนำกลับเข้ามาในทางกลับกัน โปรตีนที่ชื่อว่า เทา (tau; Τ) ทำหน้าที่ช่วยให้ไมโครทิวบูลเสถียรหลังเกิดปฏิกิริยาฟอสโฟรีเลชั่น จึงเรียกโปรตีนเทาว่าเป็น Microtubule-associated protein (MAPs) ในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์โปรตีนเทาจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี คือมีปฏิกิริยาฟอสโฟรีเลชั่นมากกว่าปกติ ทำให้โปรตีนจับคู่กันเกิดเป็น นิวโรไฟบริลลารี แทงเกิล (neurofibrillary tangles) และรบกวนระบบการขนส่งของเซลล์ประสาท[70]

กลไกการเกิดโรค

ในปัจจุบันยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าการรบกวนการสังเคราะห์และการสะสมของแอมีลอยด์ บีตานั้นทำให้เกิดพยาธิสภาพของโรคอัลไซเมอร์ได้อย่างไร[71] สมมติฐานแอมีลอยด์มุ่งเน้นว่าการสะสมของเปปไทด์แอมีลอยด์ บีตาเป็นกลไกหลักที่กระตุ้นให้เกิดความเสื่อมของเซลล์ประสาท การสะสมของกลุ่มเส้นใยแอมีลอยด์ซึ่งเชื่อว่าโปรตีนพิษที่รบกวนภาวะธำรงดุลของไอออนแคลเซียมของเซลล์ ชักนำให้เกิดการตายของเซลล์แบบอะพอพโทซิส (apoptosis) [72] นอกจากนี้ยังเป็นที่ทราบกันว่า Aβ เกิดขึ้นอย่างจำเพาะภายในไมโทคอนเดรียในเซลล์ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์บางตัวและการใช้กลูโคสของเซลล์ประสาท[73]

กระบวนการอักเสบและไซโตไคน์ต่างๆ อาจมีบทบาทในพยาธิสภาพของโรคอัลไซเมอร์ด้วย การอักเสบเป็นเครื่องหมายของการทำลายเนื้อเยื่อในโรคต่างๆ และอาจเป็นผลจากการทำลายเนื้อเยื่อในโรคอัลไซเมอร์หรือเป็นสัญลักษณ์ของการตอบสนองทางระบบภูมิคุ้มกัน[74]

พันธุศาสตร์

โรคอัลไซเมอร์รูปแบบหนึ่งที่พบได้น้อยมากชื่อว่า โรคอัลไซเมอร์ชนิดเกิดเร็ว (Early-onset Alzheimer's disease) สามารถอธิบายได้ว่าเกิดจากการกลายพันธุ์ของยีน 3 ยีน ในขณะที่โรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ (65 ปีขึ้นไป) ที่พบเป็นส่วนใหญ่ยังไม่สามารถอธิบายได้ด้วยแบบจำลองทางพันธุกรรมเพียงอย่างเดียว โดยพบว่ายีน APOE เป็นปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรมที่สำคัญที่สุดของโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ แต่การมีอยู่ของยีนยังไม่เพียงพอที่จะอธิบายการเกิดของโรคทั้งหมดได้[75]

น้อยกว่าร้อยละ 10 ของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ชนิดที่เริ่มเกิดโรคก่อนอายุ 60 ปีมีสาเหตุมาจากการกลายพันธุ์ชนิดลักษณะเด่น (autosomal dominant) ซึ่งเรียกว่า โรคอัลไซเมอร์ในวงศ์ตระกูล (Familial Alzheimer's disease) เพราะฉะนั้นโรคอัลไซเมอร์ชนิดนี้จึงมีความชุกน้อยกว่าร้อยละ 0.01 ของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ทั้งหมด[75][76][77] การกลายพันธุ์พบในยีนต่างๆ กัน 3 ยีน ได้แก่ โปรตีนต้นกำเนิดแอมีลอยด์ Amyloid precursor protein (APP) และพรีเซนิลิน 1 และ 2 (presenilins 1 and 2) [75] การกลายพันธุ์ของยีน APP และพรีเซนิลินเพิ่มการผลิตโปรตีนเล็กๆ ชื่อว่า 42 ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของซีไนล์ พลาก[78]

นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ส่วนใหญ่เป็นชนิดที่ไม่มีการถ่ายทอดในวงศ์ตระกูล แต่สามารถพบยีนที่เป็นปัจจัยเสี่ยงได้ ปัจจัยเสี่ยงที่ทราบดีคืออัลลีล ε4 ของยีนแอโพไลโปโปรตีน อี (apolipoprotein E; APOE) โดยพบยีนนี้มีความเกี่ยวข้องมากถึง 50% ของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ[79] นักพันธุศาสตร์เชื่อว่ายังมียีนอื่นๆ อีกมากมายที่เป็นปัจจัยเสี่ยงหรือเป็นปัจจัยป้องกันการพัฒนาไปเป็นโรคอัลไซเมอร์ชนิดเกิดช้า[75] มากกว่า 400 ยีนที่ได้รับการทดสอบความสัมพันธ์กับโรคอัลไซเมอร์ชนิดเกิดช้าและไม่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม[75] ตัวอย่างหนึ่งเช่นความแปรผันของยีนรีลิน (reelin) ที่เกี่ยวกับความเสี่ยงของโรคนี้ในผู้หญิง[80]

การวินิจฉัย

ภาพเพท สแกน (PET scan) ของสมองผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์แสดงการสูญเสียการทำงานของกลีบขมับ (temporal lobe) ของสมอง

การวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ทางคลินิกมักอาศัยประวัติของผู้ป่วย ประวัติที่ได้จากญาติ และการสังเกตอาการตามลักษณะที่ปรากฏทางประสาทวิทยาและจิตประสาทวิทยาและจากการวินิจฉัยโดยคัดออก[81][82] การศึกษาจากภาพทางรังสีวิทยาเพิ่มเติมด้วยการถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ (ซีที สแกน; CT) หรือการสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก (เอ็มอาร์ไอ; MRI) ร่วมกับ Single photon emission computed tomography (SPECT) หรือโพซิตรอนอีมิสชันโทโมกราฟี (เพท สแกน; PET) ช่วยในการคัดพยาธิสภาพทางสมองหรือภาวะสมองเสื่อมอื่นๆ ออกได้[83] การประเมินทางจิตประสาทวิทยาอาทิการทดสอบความจำสามารถจำแนกระยะของโรคอัลไซเมอร์ได้[5] มีหน่วยงานทางการแพทย์หลายสถาบันได้สร้างเกณฑ์การวินิจฉัยสำหรับแพทย์เพื่อให้การวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์มีความง่ายและเป็นมาตรฐานมากขึ้น ในบางครั้งการวินิจฉัยสามารถยืนยันหรือกระทำหลังผู้ป่วยเสียชีวิตจากการศึกษาชิ้นส่วนสมองด้วยวิธีทางมิญชวิทยา (การศึกษาเนื้อเยื่อด้วยกล้องจุลทรรศน์) [84]

เกณฑ์การวินิจฉัย

สถาบันโรคทางประสาทและการสื่อสารและโรคหลอดเลือดสมองแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (National Institute of Neurological and Communicative Disorders and Stroke) และสมาคมโรคอัลไซเมอร์และความผิดปกติที่เกี่ยวข้อง สหรัฐอเมริกา (Alzheimer's Disease and Related Disorders Association; หรือในปัจจุบันคือสมาคมโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's Association)) ได้สร้างเกณฑ์การวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ที่เป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุด คือ NINCDS-ADRDA Alzheimer's Criteria[85] เกณฑ์การวินิจฉัยดังกล่าวกำหนดให้ผู้ป่วยที่ปรากฏอาการของความบกพร่องในการรู้และสงสัยเป็นกลุ่มอาการภาวะสมองเสื่อมต้องได้รับการตรวจยืนยันโดยการประเมินทางจิตประสาทวิทยาเพื่อวินิจฉัยโอกาสเป็นโรคอัลไซเมอร์ ส่วนการวินิจฉัยแน่นอนได้แก่การตรวจยืนยันทางจุลพยาธิวิทยาคือการตรวจเนื้อเยื่อสมองทางจุลทรรศน์ พบว่าเกณฑ์การวินิจฉัยดังกล่าวมีความเชื่อถือได้และความสมเหตุสมผลดีเมื่อเทียบกับการวินิจฉัยยืนยันทางจุลพยาธิวิทยา [86] ในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มักพบความบกพร่องของในการรู้ 8 รูปแบบ ได้แก่ด้านความจำ, ภาษา, ทักษะด้านความรู้สึก, ความใส่ใจ, ทักษะการตีความ, การรู้กาลเทศะและบุคคล, การแก้ปัญหา และความสามารถเชิงหน้าที่ รูปแบบการรู้ที่บกพร่องดังกล่าวเทียบเท่ากับเกณฑ์การวินิจฉัย NINCDS-ADRDA Alzheimer's Criteria ดังที่ระบุในเกณฑ์การวินิจฉัยโรคทางจิตเวช Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (DSM-IV-TR) ซึ่งตีพิมพ์โดยสมาคมจิตเวชศาสตร์อเมริกัน[87][88]

เครื่องมือในการวินิจฉัย

การตรวจคัดกรองโรคทางจิตประสาทวิทยาสามารถช่วยวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ได้ ตัวอย่างเช่นการทดสอบให้ผู้ป่วยวาดตามแบบให้เหมือนในภาพ หรือทดสอบให้จำคำศัพท์ อ่านคำศัพท์ หรือบวกลบเลขง่ายๆ

การทดสอบทางจิตประสาทวิทยาต่างๆ เช่น แบบทดสอบสภาพสมองแบบย่อ (mini-mental state examination; MMSE) ถูกใช้อย่างกว้างขวางเพื่อประเมินความบกพร่องในการรู้เพื่อใช้วินิจฉัยโรค ส่วนชุดแบบทดสอบที่ละเอียดและครอบคลุมกว่านี้จะใช้ในระยะเริ่มต้นของโรคเพื่อประเมินให้ได้ผลที่แม่นยำกว่า[89][90] การตรวจทางประสาทวิทยาในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ระยะแรกๆ นั้นมักจะให้ผลปกติไม่แตกต่างไปจากภาวะความจำเสื่อมทั่วไป เว้นแต่จะปรากฏอาการบกพร่องทางการรู้ชัดเจน การตรวจทางประสาทวิทยาเพิ่มเติมจึงจำเป็นในการวินิจฉัยแยกโรคระหว่างโรคอัลไซเมอร์และโรคอื่นๆ[5] การซักประวัติจากสมาชิกในครอบครัวอาจช่วยในการประเมินภาวะโรค ผู้ดูแลผู้ป่วยอาจให้ข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับความสามารถในชีวิตประจำวันของผู้ป่วย รวมทั้งความถดถอยของหน้าที่ทางจิตเมื่อเวลาผ่านไป[91] ความเห็นหรือมุมมองของผู้ดูแลมักมีความสำคัญในการวินิจฉัยหากผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์นั้นไม่สามารถรับรู้ความเจ็บป่วยของตนเอง[92] หลายๆ ครั้งครอบครัวอาจไม่สามารถตรวจพบอาการความจำเสื่อมแต่แรกเริ่มจึงไม่สามารถให้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำแก่แพทย์[93] การทดสอบอื่นๆ จะให้ข้อมูลเพิ่มเติมในบางลักษณะของโรคหรืออาจช่วยตัดโรคอื่นๆ ที่น่าจะเป็นได้ การตรวจเลือดสามารถช่วยยืนยันภาวะความจำเสื่อมอื่นๆ ที่ไม่ใช่โรคอัลไซเมอร์ได้[5]ซึ่งมักพบได้น้อยแต่หายขาดได้[94] การทดสอบทางจิตวิทยาสำหรับภาวะซึมเศร้าอาจช่วยในการวินิจฉัยเพราะภาวะซึมเศร้าสามารถเกิดร่วมกับโรคอัลไซเมอร์ หรือเป็นสาเหตุของความบกพร่องในการรู้[95][96]

ภาพทางรังสีของสมองอาทิ SPECT หรือ PET ใช้เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ร่วมกับการใช้แบบทดสอบสภาพสมอง[97]ในผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมแล้ว ภาพ SPECT ช่วยในการแยกโรคอัลไซเมอร์ออกจากสาเหตุอื่นๆ ได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับการใช้แบบทดสอบทางจิตและการประเมินประวัติผู้ป่วย[98] เทคนิคใหม่ที่ชื่อว่า PiB PET ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อแสดงภาพแอมีลอยด์ บีตาที่สะสมภายในเซลล์ได้โดยตรงและชัดเจน โดยตรวจหาโมเลกุลกัมมันตรังสีที่จับกับแอมีลอยด์ บีตาอย่างจำเพาะ[99] วิธีการตรวจหาโรคอัลไซเมอร์ล่าสุดอีกวิธีหนึ่งคือการวิเคราะห์น้ำไขสันหลังเพื่อหาแอมีลอยด์ บีตาหรือโปรตีนเทา[100] ความก้าวหน้าทางวิทยาการทั้งสองดังกล่าวทำให้มีการเสนอให้กำหนดเกณฑ์การวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ใหม่[85][5]

การป้องกัน

จากการศึกษาทางระบาดวิทยา กิจกรรมที่ใช้ทักษะทางสติปัญญาเช่นเล่นหมากรุกหรือปฏิสัมพันธ์ทางสังคมพบว่าช่วยลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ แม้จะไม่พบความสัมพันธ์เชิงเหตุผลก็ตาม

การศึกษาจากทั่วโลกเพื่อวัดการป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์มักให้ผลการศึกษาที่ขัดแย้งกัน ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดสนับสนุนว่ามีวิธีใดที่ป้องกันโรคอัลไซเมอร์อย่างมีประสิทธิผล[101] อย่างไรก็ตามการศึกษาทางระบาดวิทยาหลายชิ้นแสดงความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ อาทิอาหาร โรคหลอดเลือดหัวใจ ยา หรือกิจกรรมที่ใช้ทักษะทางสติปัญญา กับการลดความเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ แต่ยังจำเป็นต้องมีงานวิจัยต่อไปเพิ่มเติมเพื่ออธิบายบทบาทว่าปัจจัยเหล่านี้ลดอัตราการเกิดของโรคนี้ได้อย่างไร[102]

ส่วนประกอบของอาหารเมดิเตอร์เรเนียน ได้แก่ ผักและผลไม้ ขนมปัง ข้าวสาลีและธัญพืชต่างๆ น้ำมันมะกอก ปลา และไวน์แดง ทั้งหมดสามารถลดความเสี่ยงและช่วงเวลาการเป็นโรคอัลไซเมอร์[103]

วิตามินหลายชนิดเช่น วิตามินบี12 วิตามินบี3 วิตามินซี หรือกรดโฟลิก ในบางงานวิจัยพบว่าช่วยลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์[104] แต่ในบางการศึกษากล่าวว่าไม่พบผลของวิตามินต่อการเกิดหรือการดำเนินโรคอย่างมีนัยสำคัญ ซ้ำยังอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่สำคัญ[105] สารเคอร์คิวมิน (curcumin) จากขมิ้นพบว่ามีประสิทธิผลบ้างในการป้องกันการทำลายสมองในหนูทดลอง[106]

แม้ว่าปัจจัยเสี่ยงด้านโรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น ภาวะเลือดมีคอเลสเทอรอลมาก ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และการสูบบุหรี่ จะเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงต่อการเกิดและระยะเวลาการดำเนินโรคอัลไซเมอร์[107][108] แต่การใช้ยากลุ่มสแตตินเพื่อควบคุมระดับคอเลสเทอรอลกลับไม่มีประสิทธิผลในการป้องกันหรือช่วยทำให้การดำเนินโรคอัลไซเมอร์ดีขึ้น[109][110] อย่างไรก็ตาม การใช้ยากลุ่มยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตรอยด์ (NSAIDs) เช่น แอสไพริน ไอบูโปรเฟน ช่วยลดความเสี่ยงจะเป็นโรคอัลไซเมอร์ในบางคน[111] ยาอื่นๆ เช่น ฮอร์โมนทดแทนในสตรี ไม่พบว่าช่วยป้องกันภาวะสมองเสื่อม[112][113] ในการทบทวนวรรณกรรมในปี พ.ศ. 2550 สรุปว่าไม่มีหลักฐานอันสอดคล้องกันหรือเชื่อได้ว่าแปะก๊วยให้ผลในการป้องกันความบกพร่องของการรู้[114] และการศึกษาล่าสุดสรุปว่าแปะก๊วยไม่มีผลในการลดอัตราอุบัติการณ์ของโรคอัลไซเมอร์[115]

กิจกรรมที่ใช้ทักษะทางสติปัญญาเช่นอ่านหนังสือ เล่นหมากกระดาน เล่นปริศนาอักษรไขว้ เล่นดนตรี หรือมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมช่วยชะลอการเกิดหรือลดความรุนแรงของโรคอัลไซเมอร์[116][117] การพูดได้สองภาษาสามารถชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์เช่นกัน[118]

ในบางการศึกษาพบว่าความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้นในผู้ทำงานที่ต้องได้รับสนามแม่เหล็ก[119][120] ได้รับโลหะโดยเฉพาะอย่างยิ่งอะลูมิเนียม[121][122] หรือได้รับตัวทำละลาย[123] แต่คุณภาพของการศึกษาดังกล่าวยังเป็นที่ถกเถียงกัน[124] รวมถึงบางการศึกษากลับสรุปว่าไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่างปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมกับการเกิดโรคอัลไซเมอร์[125][126][127][128]

การบำบัดและการจัดการ

ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคอัลไซเมอร์ให้หายขาด การรักษาที่มีในปัจจุบันให้ผลดีเล็กน้อยต่ออาการแต่เป็นเพียงแค่ประคับประคองหรือบรรเทาเท่านั้น การรักษาในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือการรักษาด้วยยา การรักษาทางจิตสังคม และการให้การดูแลผู้ป่วย

การรักษาด้วยยา

รูปร่างโมเลกุล 3 มิติของโดเนเพซิล (donepezil) ซึ่งเป็นแอนติโคลีนเอสเทอเรส (anticholinesterase) ที่ถูกใช้เพื่อรักษาอาการโรคอัลไซเมอร์
โครงสร้างโมเลกุลของเมแมนทีน (memantine) ซึ่งได้รับการรับรองให้ใช้รักษาอาการโรคอัลไซเมอร์ขั้นรุนแรง

ยาหรือเภสัชภัณฑ์ 4 ชนิดที่ในปัจจุบันได้รับการรับรองโดยหน่วยงานต่างๆ เช่น คณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) และหน่วยงานด้านยาของยุโรป (EMEA) ในการรักษาอาการทางการรู้ในโรคอัลไซเมอร์ ในกลุ่มนี้ยา 3 ชนิดเป็นแอนติโคลีนเอสเทอเรส (anticholinesterase) และอีก 1 ตัวคือเมแมนทีน (memantine) ซึ่งเป็นสารต้านตัวรับเอ็นเอ็มดีเอ (NMDA receptor antagonist) แต่ไม่มียาใดที่มีข้อบ่งชี้ในการชะลอหรือหยุดการดำเนินโรค

ลักษณะของโรคอัลไซเมอร์ที่เป็นที่เข้าใจกันคือ การลดการทำงานของเส้นประสาทโคลิเนอร์จิก (cholinergic)[129] แอนติโคลีนเอสเทอเรสถูกใช้เพื่อลดอัตราการทำลายแอซิทิลโคลีน (acetylcholine; ACh) ทำให้เพิ่มปริมาณความเข้มข้นของแอซิทิลโคลีนในสมองเพื่อสู้กับการลดลงของแอซิทิลโคลีนอันเนื่องจากการตายของเซลล์ประสาท[130] ในปี พ.ศ. 2551 แอนติโคลีนเอสเทอเรสที่ได้รับการรับรองในการรักษาอาการโรคอัลไซเมอร์คือ โดเนเพซิล (donepezil; ชื่อการค้า Aricept),[131] กาแลนทามีน (galantamine; ชื่อการค้า Razadyne), [132] และไรวาสติกมีน (rivastigmine ; ชื่อการค้า Exelon[133] และ Exelon Patch[134]) ซึ่งมีหลักฐานแสดงประสิทธิผลของยาต่อโรคอัลไซเมอร์ชนิดอ่อนหรือปานกลาง[135] และมีหลักฐานบางส่วนรับรองถึงการใช้ในโรคอัลไซเมอร์ขั้นรุนแรง เฉพาะโดเนเพซิลเท่านั้นที่ได้รับการรับรองในการรักษาภาวะสมองเสื่อมจากอัลไซเมอร์ขั้นรุนแรง[136] การใช้ยาเหล่านี้กลุ่มความบกพร่องทางการรู้เล็กน้อย (mild cognitive impairment) ไม่มีประสิทธิผลในการชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์ที่จะเกิดตามมาภายหลัง[137] ผลข้างเคียงของยาที่พบบ่อยคือคลื่นไส้อาเจียน อันเนื่องจากปริมาณโคลิเนอร์จิกมากเกินไป พบได้ประมาณร้อยละ 10-20 ของผู้ใช้ยาและมีความรุนแรงในระดับน้อยถึงปานกลาง ส่วนผลข้างเคียงที่พบได้น้อยคือตะคริว หัวใจเต้นช้า เบื่ออาหาร น้ำหนักลด และเพิ่มการสร้างกรดกระเพาะ[138]

แม้กลูตาเมตจะเป็นสารสื่อประสาทชนิดกระตุ้นที่มีประโยชน์ในระบบประสาท แต่หากมีปริมาณมากเกินไปในสมองอาจทำให้เซลล์ตายได้จากกระบวนการชื่อว่า ภาวะเอ็กไซโททอกซิก (excitotoxicity) อันเกิดจากการกระตุ้นอย่างมากเกินของตัวรับกลูตาเมต ภาวะเอ็กไซโททอกซิกเกิดขึ้นไม่เฉพาะในโรคอัลไซเมอร์เท่านั้นแต่ยังพบในโรคทางระบบประสาทหลายอย่าง เช่น โรคพาร์กินสันและโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (multiple sclerosis)[139] เมแมนทีน (Memantine; ชื่อการค้า Akatinol Axura Ebixa/Abixa Memox และ Namenda)[140] เป็นสารต้านตัวรับเอ็นเอ็มดีเอชนิดไม่แข่งขัน (noncompetitive NMDA receptor antagonist) ซึ่งถูกใช้ครั้งแรกเป็นสารต้านไข้หวัดใหญ่ สารนี้จะทำงานในระบบกลูตาเมเทอร์จิกโดยขัดขวางตัวรับเอ็นเอ็มดีเอและยับยั้งการกระตุ้นมากเกินของกลูตาเมต[139] เมแมนทีนมีประสิทธิภาพปานกลางในการรักษาโรคอัลไซเมอร์ชนิดปานกลางและรุนแรง แต่ประสิทธิผลในโรคอัลไซเมอร์ระยะแรกยังไม่เป็นที่ทราบ[141] ผลข้างเคียงของเมแมนทีนยังรายงานพบไม่บ่อยและไม่รุนแรง อาทิประสาทหลอน สับสน เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ และเหนื่อยล้า[142] การใช้ยาเมแมนทีนและโดเนเพซิลร่วมกันให้ประสิทธิผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่มีประสิทธิผลเพียงเล็กน้อยในทางคลินิก[143]

ยารักษาโรคจิต (antipsychotic) มีประโยชน์ในการลดความก้าวร้าวและอาการทางจิตในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ที่มีปัญหาด้านพฤติกรรม แต่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ปัญหาการเคลื่อนไหวหรือการรู้ลดลง จึงไม่ควรใช้ยานี้ในผู้ป่วยทุกราย[144][145] และหากใช้ในระยะยาวอาจส่งผลเกี่ยวข้องกับการเพิ่มภาวะการตาย[145]

การรักษาทางจิตสังคม

ห้องที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อการบำบัดด้วยบูรณาการการรับความรู้สึก เรียกว่า สโนซีเลน (snoezelen) เป็นการบำบัดผู้ป่วยสมองเสื่อมด้วยจิตสังคมโดยมุ่งเน้นอารมณ์

การรักษาทางจิตสังคมถูกใช้ร่วมกับการรักษาด้วยยา แบ่งออกเป็นวิธีมุ่งเน้นด้านพฤติกรรม (behaviour-oriented) , อารมณ์ (emotion-oriented) , การรู้ (cognition-oriented) หรือการกระตุ้น (stimulation-oriented) ส่วนงานวิจัยถึงประสิทธิผลนั้นยังไม่สามารถหาได้และไม่จำเพาะต่อโรคอัลไซเมอร์ แต่มุ่งเน้นไปยังภาวะสมองเสื่อมทั่วไปแทน[146]

การแก้ไขพฤติกรรมคือการพยายามระบุและลดสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนและผลที่ตามมาของพฤติกรรมปัญหา วิธีดังกล่าวยังไม่แสดงผลสำเร็จในการทำให้หน้าที่โดยรวมดีขึ้น[147] แต่สามารถช่วยลดปัญหาพฤติกรรมบางอย่างได้ เช่น การกลั้นปัสสาวะไม่ได้[148] ปัจจุบันยังขาดข้อมูลที่มีคุณภาพสูงเกี่ยวกับประสิทธิผลของเทคนิคดังกล่าวในการรักษาปัญหาพฤติกรรมอื่นๆ เช่น การชอบหนีออกจากบ้าน[149][150]

การรักษาที่มุ่งเน้นด้านอารมณ์ได้แก่ การบำบัดด้วยความทรงจำ (reminiscence therapy; RT), การบำบัดด้วยการให้เหตุผล (validation therapy), จิตบำบัดแบบประคับประคอง (supportive psychotherapy), การบูรณาการการรับความรู้สึก (sensory integration) หรือที่เรียกว่า สโนซีเลน (snoezelen), และการบำบัดด้วยการจำลองการมีอยู่ (simulated presence therapy; SPT)

มีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์น้อยมากหรือไม่เป็นทางการที่ยอมรับการรักษาด้วยจิตบำบัดแบบประคับประคอง แต่แพทย์บางส่วนพบว่าวิธีนี้ช่วยให้ผู้ป่วยที่บกพร่องไม่มากสามารถปรับความเจ็บป่วยของเขาได้[146]

การบำบัดด้วยความทรงจำ (reminiscence therapy; RT) คือการอภิปรายถึงประสบการณ์ในอดีตของแต่ละคนหรือของกลุ่ม ซึ่งบางครั้งอาจใช้ภาพถ่าย สิ่งของเครื่องใช้ในบ้าน ดนตรีหรือเสียง หรือสิ่งของที่ผู้ป่วยคุ้นเคยในอดีตมาช่วยในการบำบัด แม้จะยังมีการศึกษาที่มีคุณภาพน้อยชิ้นเกี่ยวกับประสิทธิผลของวิธีนี้ แต่การบำบัดด้วยความทรงจำให้ผลดีต่อการรู้และพื้นอารมณ์[151]

การบำบัดด้วยการจำลองการมีอยู่ (simulated presence therapy; SPT) นั้นคือการรักษาที่อาศัยพื้นฐานของทฤษฎีความผูกพัน (attachment theory) คือการเล่นเสียงบันทึกของญาติสนิทหรือบุคคลสนิทของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ มีหลักฐานชั้นต้นที่ยืนยันว่าการบำบัดแบบนี้ช่วยลดความวิตกกังวลและพฤติกรรมท้าทาย[152][153]

ท้ายที่สุด การบำบัดด้วยการให้เหตุผล (validation therapy) นั้นอาศัยพื้นฐานของการยอมรับความเป็นจริงและความจริงส่วนบุคคลของประสบการณ์ผู้อื่น ต่างจากการบูรณาการการรับความรู้สึก (sensory integration) ที่อาศัยการออกกำลังเพื่อกระตุ้นประสาทสัมผัสเป็นพื้นฐาน หลักฐานที่สนับสนุนถึงประโยชน์ในวิธีนี้ยังมีน้อย[154][155]

อ้างอิง

  1. ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน ข้อมูลปรับปรุงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2544 เรียกดูเมื่อ 11 เมษายน พ.ศ. 2552
  2. Brookmeyer R, Gray S, Kawas C (1998). "Projections of Alzheimer's disease in the United States and the public health impact of delaying disease onset". Am J Public Health. 88 (9): 1337–42. PMC 1509089. PMID 9736873. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  3. ประมาณการณ์ความชุกใน ค.ศ. 2006:
  4. "What is Alzheimer's disease?". Alzheimers.org.uk. 2007. สืบค้นเมื่อ 2008-02-21. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 Waldemar G, Dubois B, Emre M; และคณะ (2007). "Recommendations for the diagnosis and management of Alzheimer's disease and other disorders associated with dementia: EFNS guideline". Eur. J. Neurol. 14 (1): e1–26. doi:10.1111/j.1468-1331.2006.01605.x. PMID 17222085. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  6. "Alzheimer's diagnosis of AD". Alzheimer's Research Trust. สืบค้นเมื่อ 2008-02-29.
  7. Tabert MH, Liu X, Doty RL, Serby M, Zamora D, Pelton GH, Marder K, Albers MW, Stern Y, Devanand DP (2005). "A 10-item smell identification scale related to risk for Alzheimer's disease". Ann. Neurol. 58 (1): 155–160. doi:10.1002/ana.20533. PMID 15984022.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  8. "Understanding stages and symptoms of Alzheimer's disease". National Institute on Aging. 2007-10-26. สืบค้นเมื่อ 2008-02-21.
  9. Mölsä PK, Marttila RJ, Rinne UK (1986). "Survival and cause of death in Alzheimer's disease and multi-infarct dementia". Acta Neurol. Scand. 74 (2): 103–7. PMID 3776457. {{cite journal}}: |access-date= ต้องการ |url= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  10. Mölsä PK, Marttila RJ, Rinne UK (1995). "Long-term survival and predictors of mortality in Alzheimer's disease and multi-infarct dementia". Acta Neurol. Scand. 91 (3): 159–64. PMID 7793228. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  11. 11.0 11.1 11.2 Tiraboschi P, Hansen LA, Thal LJ, Corey-Bloom J (2004). "The importance of neuritic plaques and tangles to the development and evolution of AD". Neurology. 62 (11): 1984–9. PMID 15184601. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  12. "Alzheimer's Disease Clinical Trials". US National Institutes of Health. สืบค้นเมื่อ 2008-08-18.
  13. "Can Alzheimer's disease be prevented" (pdf). National Institute on Aging. 2006-08-29. สืบค้นเมื่อ 2008-02-29.
  14. "The MetLife study of Alzheimer's disease: The caregiving experience" (PDF). MetLife Mature Market Institute. 2006. สืบค้นเมื่อ 2008-02-12. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  15. Thompson CA, Spilsbury K, Hall J, Birks Y, Barnes C, Adamson J (2007). "Systematic review of information and support interventions for caregivers of people with dementia". BMC Geriatr. 7: 18. doi:10.1186/1471-2318-7-18. PMC 1951962. PMID 17662119.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  16. Schneider J, Murray J, Banerjee S, Mann A (1999). "EUROCARE: a cross-national study of co-resident spouse carers for people with Alzheimer's disease: I—Factors associated with carer burden". International Journal of Geriatric Psychiatry. 14 (8): 651–661. doi:10.1002/(SICI) 1099-1166 (199908) 14:8<651::AID-GPS992>3.0.CO;2-B. PMID 10489656. {{cite journal}}: |access-date= ต้องการ |url= (help); ตรวจสอบค่า |doi= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  17. Murray J, Schneider J, Banerjee S, Mann A (1999). "EUROCARE: a cross-national study of co-resident spouse carers for people with Alzheimer's disease: II--A qualitative analysis of the experience of caregiving". International Journal of Geriatric Psychiatry. 14 (8): 662–667. doi:10.1002/(SICI) 1099-1166 (199908) 14:8<662::AID-GPS993>3.0.CO;2-4. PMID 10489657. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่า |doi= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  18. Bonin-Guillaume S, Zekry D, Giacobini E, Gold G, Michel JP (2005). "Impact économique de la démence (English: The economical impact of dementia)". Presse Med (ภาษาFrench). 34 (1): 35–41. ISSN 0755-4982. PMID 15685097. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  19. Meek PD, McKeithan K, Schumock GT (1998). "Economic considerations in Alzheimer's disease". Pharmacotherapy. 18 (2 Pt 2): 68–73, discussion 79–82. PMID 9543467.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  20. ระยะก่อนอาการทางคลินิก:
    • Linn RT, Wolf PA, Bachman DL; และคณะ (1995). "The 'preclinical phase' of probable Alzheimer's disease. A 13-year prospective study of the Framingham cohort". Arch. Neurol. 52 (5): 485–90. PMID 7733843. {{cite journal}}: |access-date= ต้องการ |url= (help); ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
    • Saxton J, Lopez OL, Ratcliff G; และคณะ (2004). "Preclinical Alzheimer disease: neuropsychological test performance 1.5 to 8 years prior to onset". Neurology. 63 (12): 2341–7. PMID 15623697. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
    • Twamley EW, Ropacki SA, Bondi MW (2006). "Neuropsychological and neuroimaging changes in preclinical Alzheimer's disease". J Int Neuropsychol Soc. 12 (5): 707–35. doi:10.1017/S1355617706060863. PMC 1621044. PMID 16961952. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  21. Perneczky R, Pohl C, Sorg C, Hartmann J, Komossa K, Alexopoulos P, Wagenpfeil S, Kurz A (2006). "Complex activities of daily living in mild cognitive impairment: conceptual and diagnostic issues". Age Ageing. 35 (3): 240–245. doi:10.1093/ageing/afj054. PMID 16513677.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  22. Arnáiz E, Almkvist O (2003). "Neuropsychological features of mild cognitive impairment and preclinical Alzheimer's disease". Acta Neurol. Scand., Suppl. 179: 34–41. doi:10.1034/j.1600-0404.107.s179.7.x. PMID 12603249. {{cite journal}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  23. Kazui H, Matsuda A, Hirono N; และคณะ (2005). "Everyday memory impairment of patients with mild cognitive impairment". Dement Geriatr Cogn Disord. 19 (5–6): 331–7. doi:10.1159/000084559. PMID 15785034. สืบค้นเมื่อ 2008-06-12. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  24. Rapp MA, Reischies FM (2005). "Attention and executive control predict Alzheimer disease in late life: results from the Berlin Aging Study (BASE)". American Journal of Geriatric Psychiatry. 13 (2): 134–141. doi:10.1176/appi.ajgp.13.2.134. PMID 15703322.
  25. Spaan PE, Raaijmakers JG, Jonker C (2003). "Alzheimer's disease versus normal ageing: a review of the efficiency of clinical and experimental memory measures". Journal of Clinical Experimental Neuropsychology. 25 (2): 216–233. PMID 12754679.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  26. 26.0 26.1 Craig D, Mirakhur A, Hart DJ, McIlroy SP, Passmore AP (2005). "A cross-sectional study of neuropsychiatric symptoms in 435 patients with Alzheimer's disease". American Journal of Geriatric Psychiatry. 13 (6): 460–468. doi:10.1176/appi.ajgp.13.6.460. PMID 15956265.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  27. Robert PH, Berr C, Volteau M, Bertogliati C, Benoit M, Sarazin M, Legrain S, Dubois B (2006). "Apathy in patients with mild cognitive impairment and the risk of developing dementia of Alzheimer's disease: a one-year follow-up study". Clin Neurol Neurosurg. 108 (8): 733–736. doi:10.1016/j.clineuro.2006.02.003. PMID 16567037.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  28. Palmer K, Berger AK, Monastero R, Winblad B, Bäckman L, Fratiglioni L (2007). "Predictors of progression from mild cognitive impairment to Alzheimer disease". Neurology. 68 (19): 1596–1602. doi:10.1212/01.wnl.0000260968.92345.3f. PMID 17485646.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  29. Small BJ, Gagnon E, Robinson B (2007). "Early identification of cognitive deficits: preclinical Alzheimer's disease and mild cognitive impairment". Geriatrics. 62 (4): 19–23. PMID 17408315. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  30. Petersen RC (2007). "The current status of mild cognitive impairment—what do we tell our patients?". Nat Clin Pract Neurol. 3 (2): 60–1. doi:10.1038/ncpneuro0402. PMID 17279076. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  31. 31.0 31.1 31.2 31.3 31.4 Förstl H, Kurz A (1999). "Clinical features of Alzheimer's disease". European Archives of Psychiatry and Clinical Neuroscience. 249 (6): 288–290. PMID 10653284.
  32. Carlesimo GA, Oscar-Berman M (1992). "Memory deficits in Alzheimer's patients: a comprehensive review". Neuropsychol Rev. 3 (2): 119–69. PMID 1300219. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  33. Jelicic M, Bonebakker AE, Bonke B (1995). "Implicit memory performance of patients with Alzheimer's disease: a brief review". International Psychogeriatrics. 7 (3): 385–392. doi:10.1017/S1041610295002134. PMID 8821346.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  34. 34.0 34.1 34.2 Frank EM (1994). "Effect of Alzheimer's disease on communication function". J S C Med Assoc. 90 (9): 417–23. PMID 7967534. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  35. Becker JT, Overman AA (2002). "[The semantic memory deficit in Alzheimer's disease]". Rev Neurol (ภาษาSpanish; Castilian). 35 (8): 777–83. PMID 12402233.{{cite journal}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  36. Hodges JR, Patterson K (1995). "Is semantic memory consistently impaired early in the course of Alzheimer's disease? Neuroanatomical and diagnostic implications". Neuropsychologia. 33 (4): 441–59. PMID 7617154. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  37. Benke T (1993). "Two forms of apraxia in Alzheimer's disease". Cortex. 29 (4): 715–25. PMID 8124945. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  38. Forbes KE, Shanks MF, Venneri A (2004). "The evolution of dysgraphia in Alzheimer's disease". Brain Res. Bull. 63 (1): 19–24. doi:10.1016/j.brainresbull.2003.11.005. PMID 15121235. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  39. Galasko D, Schmitt F, Thomas R, Jin S, Bennett D (2005). "Detailed assessment of activities of daily living in moderate to severe Alzheimer's disease". Journal of the International Neuropsychology Society. 11 (4): 446–453. PMID 16209425.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  40. Galasko D, Schmitt F, Thomas R, Jin S, Bennett D (2005). "Detailed assessment of activities of daily living in moderate to severe Alzheimer's disease". J Int Neuropsychol Soc. 11 (4): 446–53. PMID 16209425. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  41. Sartori G, Snitz BE, Sorcinelli L, Daum I (2004). "Remote memory in advanced Alzheimer's disease". Arch Clin Neuropsychol. 19 (6): 779–89. doi:10.1016/j.acn.2003.09.007. PMID 15288331. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  42. Volicer L, Harper DG, Manning BC, Goldstein R, Satlin A (2001). "Sundowning and circadian rhythms in Alzheimer's disease". Am J Psychiatry. 158 (5): 704–11. PMID 11329390. สืบค้นเมื่อ 2008-08-27. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  43. อาการทางประสาทจิตเวช:
    • Scarmeas N, Brandt J, Blacker D; และคณะ (2007). "Disruptive behavior as a predictor in Alzheimer disease". Arch. Neurol. 64 (12): 1755–61. doi:10.1001/archneur.64.12.1755. PMID 18071039. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
    • Tatsch MF, Bottino CM, Azevedo D; และคณะ (2006). "Neuropsychiatric symptoms in Alzheimer disease and cognitively impaired, nondemented elderly from a community-based sample in Brazil: prevalence and relationship with dementia severity". Am J Geriatr Psychiatry. 14 (5): 438–45. doi:10.1097/01.JGP.0000218218.47279.db. PMID 16670248. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
    • Volicer L, Bass EA, Luther SL (2007). "Agitation and resistiveness to care are two separate behavioral syndromes of dementia". J Am Med Dir Assoc. 8 (8): 527–32. doi:10.1016/j.jamda.2007.05.005. PMID 17931577. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  44. Honig LS, Mayeux R (2001). "Natural history of Alzheimer's disease". Aging (Milano). 13 (3): 171–82. PMID 11442300. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  45. Gold DP, Reis MF, Markiewicz D, Andres D (1995). "When home caregiving ends: a longitudinal study of outcomes for caregivers of relatives with dementia". J Am Geriatr Soc. 43 (1): 10–6. PMID 7806732. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  46. Bär M, Kruse A, Re S (2003). "[Situations of emotional significance in residents suffering from dementia]". Z Gerontol Geriatr (ภาษาGerman). 36 (6): 454–62. doi:10.1007/s00391-003-0191-0. PMID 14685735. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  47. Souren LE, Franssen EH, Reisberg B (1995). "Contractures and loss of function in patients with Alzheimer's disease". J Am Geriatr Soc. 43 (6): 650–5. PMID 7775724. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  48. Berkhout AM, Cools HJ, van Houwelingen HC (1998). "The relationship between difficulties in feeding oneself and loss of weight in nursing-home patients with dementia". Age Ageing. 27 (5): 637–41. PMID 12675103. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  49. Wada H, Nakajoh K, Satoh-Nakagawa T; และคณะ (2001). "Risk factors of aspiration pneumonia in Alzheimer's disease patients". Gerontology. 47 (5): 271–6. PMID 11490146. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  50. Gambassi G, Landi F, Lapane KL, Sgadari A, Mor V, Bernabei R (1999). "Predictors of mortality in patients with Alzheimer's disease living in nursing homes". J. Neurol. Neurosurg. Psychiatr. 67 (1): 59–65. PMC 1736445. PMID 10369823. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  51. Shen ZX (2004). "Brain cholinesterases: II. The molecular and cellular basis of Alzheimer's disease". Med. Hypotheses. 63 (2): 308–21. doi:10.1016/j.mehy.2004.02.031. PMID 15236795.
  52. 52.0 52.1 Wenk GL (2003). "Neuropathologic changes in Alzheimer's disease". J Clin Psychiatry. 64 Suppl 9: 7–10. PMID 12934968.
  53. Hardy J, Allsop D (1991). "Amyloid deposition as the central event in the aetiology of Alzheimer's disease". Trends Pharmacol. Sci. 12 (10): 383–88. PMID 1763432. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  54. 54.0 54.1 Mudher A, Lovestone S (2002). "Alzheimer's disease-do tauists and baptists finally shake hands?". Trends Neurosci. 25 (1): 22–26. PMID 11801334. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  55. Nistor M, Don M, Parekh M; และคณะ (2007). "Alpha- and beta-secretase activity as a function of age and beta-amyloid in Down syndrome and normal brain". Neurobiol. Aging. 28 (10): 1493–1506. doi:10.1016/j.neurobiolaging.2006.06.023. PMID 16904243. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  56. Lott IT, Head E (2005). "Alzheimer disease and Down syndrome: factors in pathogenesis". Neurobiol. Aging. 26 (3): 383–89. doi:10.1016/j.neurobiolaging.2004.08.005. PMID 15639317. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  57. Polvikoski T, Sulkava R, Haltia M; และคณะ (1995). "Apolipoprotein E, dementia, and cortical deposition of beta-amyloid protein". N. Engl. J. Med. 333 (19): 1242–47. PMID 7566000. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  58. หนูดัดแปลงพันธุกรรม:
    • Games D, Adams D, Alessandrini R; และคณะ (1995). "Alzheimer-type neuropathology in transgenic mice overexpressing V717F beta-amyloid precursor protein". Nature. 373 (6514): 523–27. doi:10.1038/373523a0. PMID 7845465. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
    • Masliah E, Sisk A, Mallory M, Mucke L, Schenk D, Games D (1996). "Comparison of neurodegenerative pathology in transgenic mice overexpressing V717F beta-amyloid precursor protein and Alzheimer's disease". J. Neurosci. 16 (18): 5795–811. PMID 8795633. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
    • Hsiao K, Chapman P, Nilsen S; และคณะ (1996). "Correlative memory deficits, Abeta elevation, and amyloid plaques in transgenic mice". Science (journal). 274 (5284): 99–102. PMID 8810256. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
    • Lalonde R, Dumont M, Staufenbiel M, Sturchler-Pierrat C, Strazielle C. "Spatial learning, exploration, anxiety, and motor coordination in female APP23 transgenic mice with the Swedish mutation". Brain Research (journal). 956: 36–44, year=2002. PMID 12426044.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  59. Holmes C, Boche D, Wilkinson D; และคณะ (2008). "Long-term effects of Abeta42 immunisation in Alzheimer's disease: follow-up of a randomised, placebo-controlled phase I trial". Lancet. 372 (9634): 216–23. doi:10.1016/S0140-6736 (08) 61075-2. PMID 18640458. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่า |doi= (help); ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  60. Schmitz C, Rutten BP, Pielen A; และคณะ (2004). "Hippocampal neuron loss exceeds amyloid plaque load in a transgenic mouse model of Alzheimer's disease". Am. J. Pathol. 164 (4): 1495–1502. PMC 1615337. PMID 15039236. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  61. Goedert M, Spillantini MG, Crowther RA (1991). "Tau proteins and neurofibrillary degeneration". Brain Pathol. 1 (4): 279–86. PMID 1669718. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  62. Iqbal K, Alonso Adel C, Chen S; และคณะ (2005). "Tau pathology in Alzheimer disease and other tauopathies". Biochim. Biophys. Acta. 1739 (2–3): 198–210. doi:10.1016/j.bbadis.2004.09.008. PMID 15615638. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  63. Chun W, Johnson GV (2007). "The role of tau phosphorylation and cleavage in neuronal cell death". Front. Biosci. 12: 733–56. PMID 17127334.
  64. Bouras C, Hof PR, Giannakopoulos P, Michel JP, Morrison JH (1994). "Regional distribution of neurofibrillary tangles and senile plaques in the cerebral cortex of elderly patients: a quantitative evaluation of a one-year autopsy population from a geriatric hospital". Cereb. Cortex. 4 (2): 138–50. PMID 8038565.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  65. Hashimoto M, Rockenstein E, Crews L, Masliah E (2003). "Role of protein aggregation in mitochondrial dysfunction and neurodegeneration in Alzheimer's and Parkinson's diseases". Neuromolecular Med. 4 (1–2): 21–36. doi:10.1385/NMM:4:1-2:21. PMID 14528050.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  66. Priller C, Bauer T, Mitteregger G, Krebs B, Kretzschmar HA, Herms J (2006). "Synapse formation and function is modulated by the amyloid precursor protein". J. Neurosci. 26 (27): 7212–21. doi:10.1523/JNEUROSCI.1450-06.2006. PMID 16822978. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  67. Turner PR, O'Connor K, Tate WP, Abraham WC (2003). "Roles of amyloid precursor protein and its fragments in regulating neural activity, plasticity and memory". Prog. Neurobiol. 70 (1): 1–32. PMID 12927332. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  68. Hooper NM (2005). "Roles of proteolysis and lipid rafts in the processing of the amyloid precursor protein and prion protein". Biochem. Soc. Trans. 33 (Pt 2): 335–8. doi:10.1042/BST0330335. PMID 15787600. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  69. Ohnishi S, Takano K (2004). "Amyloid fibrils from the viewpoint of protein folding". Cell. Mol. Life Sci. 61 (5): 511–24. doi:10.1007/s00018-003-3264-8. PMID 15004691. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  70. Hernández F, Avila J (2007). "Tauopathies". Cell. Mol. Life Sci. 64 (17): 2219–33. doi:10.1007/s00018-007-7220-x. PMID 17604998. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  71. Van Broeck B, Van Broeckhoven C, Kumar-Singh S (2007). "Current insights into molecular mechanisms of Alzheimer disease and their implications for therapeutic approaches". Neurodegener Dis. 4 (5): 349–65. doi:10.1159/000105156. PMID 17622778.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  72. Yankner BA, Duffy LK, Kirschner DA (1990). "Neurotrophic and neurotoxic effects of amyloid beta protein: reversal by tachykinin neuropeptides". Science (journal). 250 (4978): 279–82. PMID 2218531. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  73. Chen X, Yan SD (2006). "Mitochondrial Abeta: a potential cause of metabolic dysfunction in Alzheimer's disease". IUBMB Life. 58 (12): 686–94. doi:10.1080/15216540601047767. PMID 17424907. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  74. Greig NH, Mattson MP, Perry T; และคณะ (2004). "New therapeutic strategies and drug candidates for neurodegenerative diseases: p53 and TNF-alpha inhibitors, and GLP-1 receptor agonists". Ann. N. Y. Acad. Sci. 1035: 290–315. doi:10.1196/annals.1332.018. PMID 15681814. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  75. 75.0 75.1 75.2 75.3 75.4 Waring SC, Rosenberg RN (2008). "Genome-wide association studies in Alzheimer disease". Arch. Neurol. 65 (3): 329–34. doi:10.1001/archneur.65.3.329. PMID 18332245. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  76. Hoenicka J (2006 March 1–15). "Genes in Alzheimer's disease". Rev Neurol. 42 (5): 302–05. PMID 16538594. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  77. Campion D, Dumanchin C, Hannequin D; และคณะ (1999). "Early-onset autosomal dominant Alzheimer disease: prevalence, genetic heterogeneity, and mutation spectrum". Am. J. Hum. Genet. 65 (3): 664–70. doi:10.1086/302553. PMC 1377972. PMID 10441572. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  78. Selkoe DJ (1999). "Translating cell biology into therapeutic advances in Alzheimer's disease". Nature. 399 (6738 Suppl): A23–31. PMID 10392577. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  79. Strittmatter WJ, Saunders AM, Schmechel D; และคณะ (1993). "Apolipoprotein E: high-avidity binding to beta-amyloid and increased frequency of type 4 allele in late-onset familial Alzheimer disease". Proc. Natl. Acad. Sci. USA. 90 (5): 1977–81. PMC 46003. PMID 8446617. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  80. Seripa D, Matera MG, Franceschi M; และคณะ (2008). "The RELN locus in Alzheimer's disease". J Alzheimers Dis. 14 (3): 335–44. PMID 18599960. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  81. Mendez MF (2006). "The accurate diagnosis of early-onset dementia". International Journal of Psychiatry Medicine. 36 (4): 401–412. PMID 17407994.
  82. Klafki HW, Staufenbiel M, Kornhuber J, Wiltfang J (2006). "Therapeutic approaches to Alzheimer's disease". Brain. 129 (Pt 11): 2840–55. doi:10.1093/brain/awl280. PMID 17018549. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  83. "Dementia: Quick reference guide" (PDF). London: (UK) National Institute for Health and Clinical Excellence. 2006. ISBN 1-84629-312-X. สืบค้นเมื่อ 2008-02-22. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  84. McKhann G, Drachman D, Folstein M, Katzman R, Price D, Stadlan EM (1984). "Clinical diagnosis of Alzheimer's disease: report of the NINCDS-ADRDA Work Group under the auspices of Department of Health and Human Services Task Force on Alzheimer's Disease". Neurology. 34 (7): 939–44. PMID 6610841. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  85. 85.0 85.1 Dubois B, Feldman HH, Jacova C; และคณะ (2007). "Research criteria for the diagnosis of Alzheimer's disease: revising the NINCDS-ADRDA criteria". Lancet Neurol. 6 (8): 734–46. doi:10.1016/S1474-4422 (07) 70178-3. PMID 17616482. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่า |doi= (help); ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  86. Blacker D, Albert MS, Bassett SS, Go RC, Harrell LE, Folstein MF (1994). "Reliability and validity of NINCDS-ADRDA criteria for Alzheimer's disease. The National Institute of Mental Health Genetics Initiative". Arch. Neurol. 51 (12): 1198–204. PMID 7986174. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  87. American Psychiatric Association (2000). Diagnostic and statistical manual of mental disorders: DSM-IV-TR (4th Edition Text Revision ed.). Washington DC: American Psychiatric Association. ISBN 0890420254.
  88. Ito N (1996). "[Clinical aspects of dementia]". Hokkaido Igaku Zasshi (ภาษาJapanese). 71 (3): 315–20. PMID 8752526. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  89. Tombaugh TN, McIntyre NJ (1992). "The mini-mental state examination: a comprehensive review". J Am Geriatr Soc. 40 (9): 922–35. PMID 1512391. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  90. Pasquier F (1999). "Early diagnosis of dementia: neuropsychology". J. Neurol. 246 (1): 6–15. PMID 9987708. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  91. Harvey PD, Moriarty PJ, Kleinman L; และคณะ (2005). "The validation of a caregiver assessment of dementia: the Dementia Severity Scale". Alzheimer Dis Assoc Disord. 19 (4): 186–94. PMID 16327345. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  92. Antoine C, Antoine P, Guermonprez P, Frigard B (2004). "[Awareness of deficits and anosognosia in Alzheimer's disease.]". Encephale (ภาษาFrench). 30 (6): 570–7. PMID 15738860.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  93. Cruz VT, Pais J, Teixeira A, Nunes B (2004). "[The initial symptoms of Alzheimer disease: caregiver perception]". Acta Med Port (ภาษาPortuguese). 17 (6): 435–44. PMID 16197855.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  94. Clarfield AM (2003). "The decreasing prevalence of reversible dementias: an updated meta-analysis". Arch. Intern. Med. 163 (18): 2219–29. doi:10.1001/archinte.163.18.2219. PMID 14557220. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  95. Geldmacher DS, Whitehouse PJ (1997). "Differential diagnosis of Alzheimer's disease". Neurology. 48 (5 Suppl 6): S2–9. PMID 9153154. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  96. Potter GG, Steffens DC (2007). "Contribution of depression to cognitive impairment and dementia in older adults". Neurologist. 13 (3): 105–17. doi:10.1097/01.nrl.0000252947.15389.a9. PMID 17495754. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  97. Bonte FJ, Harris TS, Hynan LS, Bigio EH, White CL (2006). "Tc-99m HMPAO SPECT in the differential diagnosis of the dementias with histopathologic confirmation". Clin Nucl Med. 31 (7): 376–8. doi:10.1097/01.rlu.0000222736.81365.63. PMID 16785801. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  98. Dougall NJ, Bruggink S, Ebmeier KP (2004). "Systematic review of the diagnostic accuracy of 99mTc-HMPAO-SPECT in dementia". Am J Geriatr Psychiatry. 12 (6): 554–70. doi:10.1176/appi.ajgp.12.6.554. PMID 15545324.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  99. PiB PET:
  100. Marksteiner J, Hinterhuber H, Humpel C (2007). "Cerebrospinal fluid biomarkers for diagnosis of Alzheimer's disease: beta-amyloid (1-42) , tau, phospho-tau-181 and total protein". Drugs Today. 43 (6): 423–31. doi:10.1358/dot.2007.43.6.1067341. PMID 17612711. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  101. การป้องกันโรคอัลไซเมอร์ที่ไม่ได้รับการสนับสนุน:
  102. Szekely CA, Breitner JC, Zandi PP (2007). "Prevention of Alzheimer's disease". Int Rev Psychiatry. 19 (6): 693–706. doi:10.1080/09540260701797944. PMID 18092245.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  103. อาหารเมดิเตอร์เรเนียน:
  104. วิตามินช่วยป้องกัน:
  105. วิตามินไม่ช่วยป้องกัน:
    • Morris MC, Evans DA, Schneider JA, Tangney CC, Bienias JL, Aggarwal NT (2006). "Dietary folate and vitamins B-12 and B-6 not associated with incident Alzheimer's disease". J. Alzheimers Dis. 9 (4): 435–43. PMID 16917153.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
    • Malouf M, Grimley EJ, Areosa SA (2003). "Folic acid with or without vitamin B12 for cognition and dementia". Cochrane Database Syst Rev (4): CD004514. doi:10.1002/14651858.CD004514. PMID 14584018.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
    • Sun Y, Lu CJ, Chien KL, Chen ST, Chen RC (2007). "Efficacy of multivitamin supplementation containing vitamins B6 and B12 and folic acid as adjunctive treatment with a cholinesterase inhibitor in Alzheimer's disease: a 26-week, randomised, double-blind, placebo-controlled study in Taiwanese patients". Clin Ther. 29 (10): 2204–14. doi:10.1016/j.clinthera.2007.10.012. PMID 18042476.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
    • Boothby LA, Doering PL (2005). "Vitamin C and vitamin E for Alzheimer's disease". Ann Pharmacother. 39 (12): 2073–80. doi:10.1345/aph.1E495. PMID 16227450.
    • Gray SL, Anderson ML, Crane PK, Breitner JC, McCormick W, Bowen JD, Teri L, Larson E (2008). "Antioxidant vitamin supplement use and risk of dementia or Alzheimer's disease in older adults". J Am Geriatr Soc. 56 (2): 291–295. doi:10.1111/j.1532-5415.2007.01531.x. PMID 18047492.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  106. เคอร์คิวมินในอาหาร:
    • Garcia-Alloza M, Borrelli LA, Rozkalne A, Hyman BT, Bacskai BJ (2007). "Curcumin labels amyloid pathology in vivo, disrupts existing plaques, and partially restores distorted neurites in an Alzheimer mouse model". Journal of Neurochemistry. 102 (4): 1095–1104. doi:10.1111/j.1471-4159.2007.04613.x. PMID 17472706.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
    • Lim GP, Chu T, Yang F, Beech W, Frautschy SA, Cole GM (2001). "The curry spice curcumin reduces oxidative damage and amyloid pathology in an Alzheimer transgenic mouse". Journal of Neuroscience. 21 (21): 8370–8377. PMID 11606625.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  107. Rosendorff C, Beeri MS, Silverman JM (2007). "Cardiovascular risk factors for Alzheimer's disease". Am J Geriatr Cardiol. 16 (3): 143–9. PMID 17483665.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  108. Patterson C, Feightner JW, Garcia A, Hsiung GY, MacKnight C, Sadovnick AD (2008). "Diagnosis and treatment of dementia: 1. Risk assessment and primary prevention of Alzheimer disease". CMAJ. 178 (5): 548–56. doi:10.1503/cmaj.070796. PMC 2244657. PMID 18299540. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  109. Reiss AB, Wirkowski E (2007). "Role of HMG-CoA reductase inhibitors in neurological disorders : progress to date". Drugs. 67 (15): 2111–20. PMID 17927279.
  110. Kuller LH (2007). "Statins and dementia". Curr Atheroscler Rep. 9 (2): 154–61. PMID 17877925. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  111. Szekely CA, Breitner JC, Fitzpatrick AL; และคณะ (2008). "NSAID use and dementia risk in the Cardiovascular Health Study: role of APOE and NSAID type". Neurology. 70 (1): 17–24. doi:10.1212/01.wnl.0000284596.95156.48. PMID 18003940. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  112. Craig MC, Murphy DG (2007). "Estrogen: effects on normal brain function and neuropsychiatric disorders". Climacteric. 10 Suppl 2: 97–104. doi:10.1080/13697130701598746. PMID 17882683. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  113. Mori K, Takeda M (2007). "[Hormone replacement Up-to-date. Hormone replacement therapy and brain function]". Clin Calcium (ภาษาJapanese). 17 (9): 1349–54. doi:CliCa070913491354. PMID 17767023. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่า |doi= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  114. Birks J, Grimley Evans J (2007). "Ginkgo biloba for cognitive impairment and dementia". Cochrane Database Syst Rev (2): CD003120. doi:10.1002/14651858.CD003120.pub2. PMID 17443523. สืบค้นเมื่อ 2008-02-22.
  115. DeKosky ST, Williamson JD, Fitzpatrick AL; และคณะ (2008). "Ginkgo biloba for Prevention of Dementia". Journal of the American Medical Association. 300 (19): 2253–2262. สืบค้นเมื่อ 2008-11-18. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  116. Verghese J, Lipton RB, Katz MJ; และคณะ (2003). "Leisure activities and the risk of dementia in the elderly". N. Engl. J. Med. 348 (25): 2508–16. doi:10.1056/NEJMoa022252. PMID 12815136. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  117. Bennett DA, Schneider JA, Tang Y, Arnold SE, Wilson RS (2006). "The effect of social networks on the relation between Alzheimer's disease pathology and level of cognitive function in old people: a longitudinal cohort study". Lancet Neurol. 5 (5): 406–412. doi:10.1016/S1474-4422 (06) 70417-3. PMID 16632311. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่า |doi= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  118. Bialystok E, Craik FIM, Freedman M (2007). "Bilingualism as a protection against the onset of symptoms of dementia". Neuropsychologia. 42 (2): 459–464. doi:10.1016/j.neuropsychologia.2006.10.009.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  119. Davanipour Z, Tseng CC, Lee PJ, Sobel E (2007). "A case-control study of occupational magnetic field exposure and Alzheimer's disease: results from the California Alzheimer's Disease Diagnosis and Treatment Centers". BMC Neurol. 7: 13. doi:10.1186/1471-2377-7-13. PMC 1906833. PMID 17559686.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  120. Qiu C, Fratiglioni L, Karp A, Winblad B, Bellander T (2004). "Occupational exposure to electromagnetic fields and risk of Alzheimer's disease". Epidemiology. 15 (6): 687–94. PMID 15475717. สืบค้นเมื่อ 2008-09-22. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  121. Shcherbatykh I, Carpenter DO (2007). "The role of metals in the etiology of Alzheimer's disease". J. Alzheimers Dis. 11 (2): 191–205. PMID 17522444. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  122. Rondeau V, Commenges D, Jacqmin-Gadda H, Dartigues JF (2000). "Relation between aluminum concentrations in drinking water and Alzheimer's disease: an 8-year follow-up study". Am. J. Epidemiol. 152 (1): 59–66. PMC 2215380. PMID 10901330. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  123. Kukull WA, Larson EB, Bowen JD; และคณะ (1995). "Solvent exposure as a risk factor for Alzheimer's disease: a case-control study". Am. J. Epidemiol. 141 (11): 1059–71, discussion 1072–9. PMID 7771442. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  124. Santibáñez M, Bolumar F, García AM (2007). "Occupational risk factors in Alzheimer's disease: a review assessing the quality of published epidemiological studies". Occupational and Environmental Medicine. 64 (11): 723–732. doi:10.1136/oem.2006.028209. PMID 17525096.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  125. Seidler A, Geller P, Nienhaus A; และคณะ (2007). "Occupational exposure to low frequency magnetic fields and dementia: a case-control study". Occup Environ Med. 64 (2): 108–14. doi:10.1136/oem.2005.024190. PMID 17043077. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  126. Rondeau V (2002). "A review of epidemiologic studies on aluminum and silica in relation to Alzheimer's disease and associated disorders". Rev Environ Health. 17 (2): 107–21. PMID 12222737.
  127. Martyn CN, Coggon DN, Inskip H, Lacey RF, Young WF (1997). "Aluminum concentrations in drinking water and risk of Alzheimer's disease". Epidemiology. 8 (3): 281–6. PMID 9115023. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  128. Graves AB, Rosner D, Echeverria D, Mortimer JA, Larson EB (1998). "Occupational exposures to solvents and aluminium and estimated risk of Alzheimer's disease". Occup Environ Med. 55 (9): 627–33. PMC 1757634. PMID 9861186. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  129. Geula C, Mesulam MM (1995). "Cholinesterases and the pathology of Alzheimer disease". Alzheimer Dis Assoc Disord. 9 Suppl 2: 23–28. PMID 8534419.
  130. Stahl SM (2000). "The new cholinesterase inhibitors for Alzheimer's disease, Part 2: illustrating their mechanisms of action". J Clin Psychiatry. 61 (11): 813–814. PMID 11105732.
  131. "Donepezil". US National Library of Medicine (Medline Plus). 2007-01-08. สืบค้นเมื่อ 2008-03-20.
  132. "Galantamine". US National Library of Medicine (Medline Plus). 2007-01-08. สืบค้นเมื่อ 2008-03-20.
  133. "Rivastigmine". US National Library of Medicine (Medline Plus). 2007-01-08. สืบค้นเมื่อ 2008-03-20.
  134. "Rivastigmine Transdermal". US National Library of Medicine (Medline Plus). 2007-01-08. สืบค้นเมื่อ 2008-03-20.
  135. Birks J (2006). "Cholinesterase inhibitors for Alzheimer's disease". Cochrane Database Syst Rev (1): CD005593. doi:10.1002/14651858.CD005593. PMID 16437532.
  136. Birks J, Harvey RJ (2006). "Donepezil for dementia due to Alzheimer's disease". Cochrane Database Syst Rev (1): CD001190. doi:10.1002/14651858.CD001190.pub2. PMID 16437430.
  137. Raschetti R, Albanese E, Vanacore N, Maggini M (2007). "Cholinesterase inhibitors in mild cognitive impairment: a systematic review of randomised trials". PLoS Med. 4 (11): e338. doi:10.1371/journal.pmed.0040338. PMID 18044984.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  138. ข้อมูลในการสั่งยาแอนติโคลีนเอสเทอเรส:
  139. 139.0 139.1 Lipton SA (2006). "Paradigm shift in neuroprotection by NMDA receptor blockade: memantine and beyond". Nat Rev Drug Discov. 5 (2): 160–170. doi:10.1038/nrd1958. PMID 16424917.
  140. "Memantine". US National Library of Medicine (Medline). 2004-01-04. สืบค้นเมื่อ 2008-03-22.
  141. Areosa Sastre A, McShane R, Sherriff F (2004). "Memantine for dementia". Cochrane Database Syst Rev (4): CD003154. doi:10.1002/14651858.CD003154.pub2. PMID 15495043.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  142. "Namenda Prescribing Information" (PDF). Forest Pharmaceuticals. สืบค้นเมื่อ 2008-02-19.
  143. Raina P, Santaguida P, Ismaila A; และคณะ (2008). "Effectiveness of cholinesterase inhibitors and memantine for treating dementia: evidence review for a clinical practice guideline". Annals of Internal Medicine. 148 (5): 379–397. PMID 18316756. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  144. การใช้ยารักษาโรคจิต:
    • Ballard C, Waite J (2006). "The effectiveness of atypical antipsychotics for the treatment of aggression and psychosis in Alzheimer's disease". Cochrane Database Syst Rev (1): CD003476. doi:10.1002/14651858.CD003476.pub2. PMID 16437455.
    • Ballard C, Lana MM, Theodoulou M; และคณะ (2008). "A Randomised, Blinded, Placebo-Controlled Trial in Dementia Patients Continuing or Stopping Neuroleptics (The DART-AD Trial)". PLoS Med. 5 (4): e76. doi:10.1371/journal.pmed.0050076. PMID 18384230. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
    • Sink KM, Holden KF, Yaffe K (2005). "Pharmacological treatment of neuropsychiatric symptoms of dementia: a review of the evidence". JAMA. 293 (5): 596–608. doi:10.1001/jama.293.5.596. PMID 15687315.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  145. 145.0 145.1 Ballard C, Hanney ML, Theodoulou M, Douglas S, McShane R, Kossakowski K, Gill R, Juszczak E, Yu L-M, Jacoby R (9 January 2009). "The dementia antipsychotic withdrawal trial (DART-AD) : long-term follow-up of a randomised placebo-controlled trial". Lancet Neurology. doi:10.1016/S1474-4422 (08) 70295-3. PMID 19138567. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่า |doi= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |laysummary= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  146. 146.0 146.1 "Practice Guideline for the Treatment of Patients with Alzheimer's disease and Other Dementias" (PDF). American Psychiatric Association. 2007. doi:10.1176/appi.books.9780890423967.152139. สืบค้นเมื่อ 2007-12-28. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  147. Bottino CM, Carvalho IA, Alvarez AM; และคณะ (2005). "Cognitive rehabilitation combined with drug treatment in Alzheimer's disease patients: a pilot study". Clin Rehabil. 19 (8): 861–869. doi:10.1191/0269215505cr911oa. PMID 16323385. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  148. Doody RS, Stevens JC, Beck C; และคณะ (2001). "Practice parameter: management of dementia (an evidence-based review). Report of the Quality Standards Subcommittee of the American Academy of Neurology". Neurology. 56 (9): 1154–1166. PMID 11342679. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  149. Hermans DG, Htay UH, McShane R (2007). "Non-pharmacological interventions for wandering of people with dementia in the domestic setting". Cochrane Database Syst Rev (1): CD005994. doi:10.1002/14651858.CD005994.pub2. PMID 17253573.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  150. Robinson L, Hutchings D, Dickinson HO; และคณะ (2007). "Effectiveness and acceptability of non-pharmacological interventions to reduce wandering in dementia: a systematic review". Int J Geriatr Psychiatry. 22 (1): 9–22. doi:10.1002/gps.1643. PMID 17096455. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  151. Woods B, Spector A, Jones C, Orrell M, Davies S (2005). "Reminiscence therapy for dementia". Cochrane Database Syst Rev (2): CD001120. doi:10.1002/14651858.CD001120.pub2. PMID 15846613.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  152. Peak JS, Cheston RI (2002). "Using simulated presence therapy with people with dementia". Aging Ment Health. 6 (1): 77–81. doi:10.1080/13607860120101095. PMID 11827626.
  153. Camberg L, Woods P, Ooi WL; และคณะ (1999). "Evaluation of Simulated Presence: a personalised approach to enhance well-being in persons with Alzheimer's disease". J Am Geriatr Soc. 47 (4): 446–452. PMID 10203120. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  154. Neal M, Briggs M (2003). "Validation therapy for dementia". Cochrane Database Syst Rev (3): CD001394. doi:10.1002/14651858.CD001394. PMID 12917907.
  155. Chung JC, Lai CK, Chung PM, French HP (2002). "Snoezelen for dementia". Cochrane Database Syst Rev (4): CD003152. doi:10.1002/14651858.CD003152. PMID 12519587.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA