การตรวจเลือด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเจาะหลอดเลือดดำ

การตรวจเลือด คือ การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์จากเลือดซึ่งปกติแล้วได้จากการเก็บสิ่งส่งตรวจโดยการเจาะเก็บเลือดจากหลอดเลือดดำบริเวณแขนหรือปลายนิ้ว การตรวจเลือดใช้สำหรับตรวจสอบสถาวะทางสรีรวิทยาและชีวเคมี เช่น โรค แร่ธาตุ การใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพ และการทำงานของอวัยวะต่างๆ นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ในการทดสอบสารเสพติด ถึงแม้เราจะใช้คำว่า "การตรวจเลือด" แต่การตรวจเลือดโดยทั่วไป (ยกเว้นทางโลหิตวิทยา) เราจะตรวจจากพลาสมาหรือซีรัมแทนของเซลล์เม็ดเลือด

การเจาะเลือด[แก้]

การเจาะเลือดเป็นวิธีการเก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อให้ได้เซลล์และของเหลวนอกเซลล์ (พลาสม่า,ซีรัม) เพื่อนำมาวิเคราะห์ เนื่องจากการหมุนเวียนของโลหิตไปทั่วร่างกายจะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการให้ออกซิเจนและสารอาหาร รวมถึงการนำของเสียกลับไปที่ระบบการขับถ่ายเพื่อกำจัดทิ้ง การตรวจเลือดจึงสามารถบ่งบอกสภาวะทางการแพทย์ได้มากมาย ดังนั้น การตรวจเลือดจึงเป็นการทดสอบทางการแพทย์ที่ถูกนำมาใช้โดยทั่วไป

ถ้าหากการทดสอบต้องการเลือดในปริมาณน้อยการ เราจะใช้การเจาะเลือดจากปลายนิ้วแทนการเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำบริเวณแขน พนักงานเจาะเลือด พยาบาล พนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ นักเทคนิคการแพทย์ รวมถึง แพทย์ จะเป็นผู้ที่ทำหน้าที่เจาะเลือดจากผู้เข้ารับบริการทางการแพทย์

ประเภทของการตรวจเลือด[แก้]

ขวดสุญญากาศสำหรับใส่เลือดสีต่างๆ ใช้สำหรับการส่งตรวจแตกต่างกัน

การตรวจทางชีวเคมี[แก้]

การตรวจทางชีวเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่ การตรวจโซเดียม, โพแทสเซียม,คลอไรด์, ไบคาร์บอเนต, ยูเรียไนโตรเจนในเลือด (BUN), แมกนีเซียม, ครีเอตินิน (Creatinine) น้ำตาล รวมไปถึง แคลเซียม ในบางกรณี เช่น การตรวจกลูโคส, คอเลสเตอรอล หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อาจต้องงดการบริโภคอาหารเป็นเวลา 8-12 ชั่วโมง ก่อนทำการเจาะเลือดเพื่อนำมาตรวจวิเคราะห์

การเก็บสิ่งส่งตรวจสำหรับการตรวจเลือด โดยปกติจะเก็บจากการเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำของผู้เข้ารับบริการทางการแพทย์ ส่วนการตรวจเลือดแบบพิเศษ เช่น การตรวจก๊าซในเลือดจะเก็บเลือดจากหลอดเลือดแดง การวิเคราะห์ก๊าซในเลือดจากหลอดเลือดแดงเป็นการตรวจสอบระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และออกซิเจนซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานของปอด แต่ก็สามารถใช้วัดค่าความเป็นกรดด่างในเลือดและระดับโซเดียมไบคาร์บอเนตได้เช่นกัน

สำหรับการทดสอบน้ำตาลกลูโคสโดยปกติเป็นการวัดระดับกลูโคส ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ส่วนการวัดความทนทานต่อน้ำตาลกลูโคส (Glucose tolerance test) เป็นการทดสอบอัตราการจัดการกลูโคสของร่างกาย

นอกจากนี้ มักจะมีการตรวจนับเซลล์เม็ดเลือดขาว (รวมถึง T - cell) ด้วย

ค่าปกติ[แก้]

การทดสอบ[1] ค่าต่ำ ค่าสูง หน่วย ข้อคิดเห็น
Sodium (Na) 136 145 mmol/L
Potassium (K) 3.5 5.5 mmol/L
Urea 2.5 6.4 mmol/L BUN - blood urea nitrogen
Urea 15 40 mg/dL
Creatinine - male 62 115 μmol/L
Creatinine - female 53 97 μmol/L
Creatinine - male 0.7 1.3 mg/dL
Creatinine - female 0.6 1.1 mg/dL
Glucose (fasting) 3.9 5.8 mmol/L ดูเพิ่ม glycosylated hemoglobin
Glucose (fasting) 70 105 mg/dL

การตรวจระดับโมเลกุล[แก้]

การตรวจระดับเซลล์[แก้]

ทางเลือกในอนาคต[แก้]

การตรวจน้ำลาย[แก้]

ในปี ค.ศ. 2008 นักวิทยาศาสตร์ประกาศว่า การตรวจน้ำลายสามารถนำมาใช้ทดแทนการตรวจเลือดบางอย่างได้และประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า เนื่องจากน้ำลายประกอบด้วยโปรตีนประมาณ 20% ของโปรตีนที่พบในเลือด[2]

Microemulsion[แก้]

กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 : นักวิจัยชาวแคนาดาได้พัฒนาไมโครชิปสำหรับการตรวจเลือด เรียกว่า microemulsion โดยหยดเลือดถูกจับอยู่ภายในโดยสารอื่น มันสามารถควบคุมขนาดที่แน่นอนและระยะห่างของละออง การทดสอบแบบใหม่นี้สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพ ความถูกต้อง และความเร็วของการทดสอบทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ รวมทั้ง สามารถทำให้มีราคาที่ถูก[3] microemulsion

SIMBAS[แก้]

มีนาคม ค.ศ. 2011 : ทีมนักวิจัยจาก UC Berkeley, DCU และ University of Valparaíso ได้ร่วมกันพัฒนา lab - on - a - chip ที่สามารถวินิจฉัยโรคได้ภายใน 10 นาทีโดยไม่ต้องใช้หลอดทดลองจากภายนอกและส่วนประกอบพิเศษ เรียกว่า Self-powered Integrated Microfluidic Blood Analysis System (SIMBAS) มันจะใช้ร่องเล็กๆ ไปจนถึงเซลล์เม็ดเลือดแยกออกจากพลาสม่า (ร้อยละ 99 ของเซลล์เม็ดเลือดถูกจับในระหว่างการทดลอง) นักวิจัยใช้ชิ้นส่วนพลาสติกเพื่อลดต้นทุนการผลิต[4][5]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. C. A. Burtis and E. R. Ashwood, Tietz Textbook of Clinical Chemistry (1994) 2nd edition, ISBN 0-7216-4472-4
  2. "Press TV - Saliva test to substitute blood test". Presstv.ir. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-21. สืบค้นเมื่อ 2011-08-09.
  3. New method for blood tests could radically cut costs http://www.vancouversun.com/technology/method+blood+tests+could+radically+costs+researcher/4233807/story.html
  4. Taylor, Kate (2011-03-18). "Blood analysis chip detects diseases in minutes". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-25. สืบค้นเมื่อ 2011-03-26. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  5. Dailey, Jessica (2011-03-22). "New SIMBAS Blood Analysis Biochip Can Diagnose Diseases In Minutes". Inhabitat.com. สืบค้นเมื่อ 2011-03-26. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)