ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาณาจักรปตานี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Longraya.reman (คุย | ส่วนร่วม)
ใส่อ้างอิง
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Longraya.reman (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มอ้างอิงรายพระนามกษัตริย์ปาตานี
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 150: บรรทัด 150:
| 7 || รายาเออร์มัสจายัม || พ.ศ. 2264-2271 (ขึ้นครองราชย์ครั้งที่สอง)
| 7 || รายาเออร์มัสจายัม || พ.ศ. 2264-2271 (ขึ้นครองราชย์ครั้งที่สอง)
|-
|-
| 8 || รายาอาหลงยูนุส || พ.ศ. 2271-2272
| 8 || รายาอาหลงยูนุส || พ.ศ. 2271-2272<ref>{{Cite journal|last=Teeuw|first=Andries|last2=Wyatt|first2=David K.|date=1970|title=Hikayat Patani the Story of Patani|url=https://doi.org/10.1007/978-94-015-2598-5|journal=SpringerLink|language=en|doi=10.1007/978-94-015-2598-5}}</ref>
|-
|-
| 9 || สุลต่านมูฮัมหมัด ดูวา || พ.ศ. 2319-2329
| 9 || สุลต่านมูฮัมหมัด ดูวา || พ.ศ. 2319-2329

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:23, 8 มิถุนายน 2566

ราชอาณาจักรปาตานี
ปาตานีดารุสลาม

كراجأن ڤتاني
Kerajaan Patani
รัฐสุลต่านปาตานี[1]
พ.ศ. 2000–พ.ศ. 2445
ธงชาติ
ธงชาติ
แผนที่ของอาณาจักรปาตานี
แผนที่ของอาณาจักรปาตานี
สถานะรัฐสุลต่าน
เมืองหลวงกรือเซะ
ภาษาทั่วไปภาษามลายูปัตตานี
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
สุลต่าน/รายา 
• พ.ศ.?-2043
รายาศรีวังสา( สุลต่านอิสมาอิล ชาห์ )
• พ.ศ. 2073-2106
รายามุซซอฟาร์
• พ.ศ. 2127-2159
รายาฮีเยา
• พ.ศ. 2178-2231
รายากูนิง
ประวัติศาสตร์ 
• สถาปนาอาณาจักร
พ.ศ. 2000
• เริ่มราชวงศ์กลันตัน
พ.ศ. 2231
• ภายใต้ปกครองของสยาม
พ.ศ. 2329
• รวมเข้ากับสยาม/ยกเลิกเจ้าเมืองปาตานี
พ.ศ. 2445
ก่อนหน้า
ถัดไป
อาณาจักรลังกาสุกะ
อาณาจักรรัตนโกสินทร์
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย และบางส่วนของประเทศมาเลเซีย

ราชอาณาจักรปาตานี (มลายู: كراجأن ڤتاني; Kerajaan Patani) หรือ รัฐสุลต่านปาตานี ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศไทย ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสงขลาบางส่วนในปัจจุบัน อาณาจักรปาตานีถือกำเนิดขึ้นก่อนอาณาจักรสยาม 500 ปี เริ่มจากเป็นเผ่าเล็ก ๆ รวมตัวกัน มีประชากรอาศัย 200-250 คน มีชื่อว่า ปีสัง โดยแต่ละปีจะมีตูวอลา (หัวหน้าเผ่าในสมัยนั้น) มาปกครอง และจะสลับทุก ๆ 1 ปี ต่อมามีชนกลุ่มใหญ่เข้ามามีบทบาทในแถบนี้มากขึ้น จนในที่สุด ก็ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรลังกาสุกะ และเปลี่ยนจากชื่อ ปีสัง มาเป็น บาลูกา ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 9 หลังจากนั้นราว 100 ปี ลูกชายกษัตริย์ลังกาสุกะได้เดินทางมาถึงที่นี้และรู้สึกประทับใจ เลยเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ปตาอีนิง แล้วก่อตั้งเป็นรัฐใหม่ ชื่อ รัฐปตาอีนิง จนมีพ่อค้ามากมายเข้ามาติดต่อค้าขายทั้งจีน อาหรับ แต่ชาวอาหรับเรียกที่นี้ว่า ฟาตอนี เลยมีคนเรียกดินแดนแห่งนี้แตกต่างกันออกไป เดิมอาณาจักรปาตานีนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน แต่ในราวพุทธศตวรรษที่ 21 ได้เริ่มเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม[2] โดยบางช่วงอาณาจักรแผ่ขยายครอบคลุมถึงรัฐกลันตันและรัฐตรังกานู ตอนกลางของประเทศมาเลเซีย[3] แต่หลังการสิ้นสุดปาตานีก็เริ่มเสื่อมลง จนตกอยู่ในอำนาจของสยามในปี พ.ศ. 2329 และกลายเป็นเมืองขึ้นเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2445 ก็ถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสยาม

ประวัติศาสตร์

ราชวงศ์ศรีวังสา

รายาฮิเยาขณะทรงพระคชาธาร

เมืองปัตตานีพัฒนาขึ้นมาจากหมู่บ้านเล็ก ๆ ริมฝั่งทะเล เมื่อมีเรือสินค้ามาจอดแวะอยู่บ่อย ๆ เมืองก็ขยายตัวออกไป มีผู้คนมาอาศัยหนาแน่น รายาศรีวังสาจึงย้ายเมืองหลวงจาก "โกตามะห์ลิฆัย" เมืองหลวงเก่า[4]มายังปัตตานี สมัยนั้นการติดต่อกับต่างชาติ โดยเฉพาะอินเดียและคาบสมุทรอาหรับได้ส่งผลสำคัญคือการยอมรับนับถือศาสนาอิสลามโดยตามตำนานกล่าวว่าชาวปาไซทำการรักษาอาการป่วยของรายาอินทิราที่ไม่มีใครสามารถรักษาให้หายได้ พระองค์จึงยินยอมรับนับถือศาสนาอิสลาม[5] และการดัดแปลงอักษรอาหรับเป็นอักษรยาวี นอกจากนี้ยังติดต่อกับอาณาจักรอยุธยาอย่างใกล้ชิด ดังที่ปรากฏในปี พ.ศ. 2106 ว่ากองทัพปัตตานีได้เดินทางมาถึงอยุธยา และได้ก่อความวุ่นวายขึ้น[6] จากเหตุการณ์นี้ทำให้ความสัมพันธ์กับอยุธยาตกต่ำลง ขณะที่เหตุการณ์ภายในก็เต็มไปด้วยการแย่งชิงอำนาจในหมู่เครือญาติเรื่อยมา จนกระทั่งไม่มีผู้สืบทอดอำนาจหลงเหลือ บัลลังก์รายาจึงตกเป็นของสตรีในที่สุด

อาณาจักรปัตตานีในช่วงสมัยรายาฮีเยา (พ.ศ. 2127-2159) ถึงรายากูนิง (พ.ศ. 2178-2231) ซึ่งล้วนเป็นกษัตรีย์ ถือเป็นอาณาจักรของชาวมลายูที่มีความรุ่งเรืองมากที่สุด หลังจากมะละกาตกเป็นเมืองขึ้นของโปรตุเกส ทำให้ปัตตานีกลายเป็นศูนย์กลางการค้าขายและมีความรุ่งเรืองมาก ดังบันทึกของชาวต่างชาติว่า

“พลเมืองปัตตานีมีชายอายุ 16-60 ปี อยู่ถึง 150,000 คน เมืองปัตตานีมีผู้คนหนาแน่น เต็มไปด้วยบ้านเรือน บ้านเรือนราษฎรนับตั้งแต่ประตูราชวังถึงตัวเมืองปลูกสร้างเรียงรายไม่ขาดระยะ หากว่ามีแมวเดินบนหลังคาบ้านหลังแรกไปยังหลังสุดท้าย ก็เดินได้โดยไม่ต้องกระโดดลงบนพื้นดินเลย”

และ “ปัตตานีมีแคว้นต่างๆ อยู่ภายใต้การปกครองถึง 43 แคว้น รวมทั้งตรังกานู และกลันตันด้วย”[7]

ในสมัยรายาฮิเยา การติดต่อค้าขายกับต่างชาติเจริญรุ่งเรืองมาก มีเรือสินค้าเข้ามาเทียบท่าอย่างไม่ขาดสาย และเริ่มการค้ากับฮอลันดา สเปน และอังกฤษเป็นครั้งแรก[8] พระองค์ยังพระราชทานพระขนิษฐาอูงูแก่สุลต่านแคว้นปะหัง เพื่อคานอำนาจกับแคว้นยะโฮร์[9] ต่อมาในสมัยรายาบีรู ปัตตานีและกลันตันรวมตัวกันเป็นสหพันธรัฐปตานี และทรงพระราชทานพระธิดากูนิง ธิดาของพระขนิษฐาอูงูกับสุลต่านแคว้นปะหัง แก่ออกญาเดโช บุตรเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช

แต่หลังจากรายาบีรูสวรรคตในปี 2167 รายาอูงูซึ่งเสด็จกลับมาจากปะหังก็ตัดสัมพันธ์กับอยุธยา ทรงยุติการส่งบรรณาการแด่อยุธยา ยกทัพตีเมืองพัทลุงและนครศรีธรรมราช พระนางยังให้พระธิดากูนิง ภรรยาของออกญาเดโช อภิเษกกับสุลต่านแคว้นยะโฮร์[10] ด้วยเหตุเหล่านี้ทำให้สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงส่งกองทัพเข้าโจมตีเมืองปัตตานีในปี พ.ศ. 2177 แต่ไม่อาจเอาชนะได้[11] เมื่อถึงปี พ.ศ. 2178 รายาอูงูเสด็จสวรรคต นำไปสู่การเจริญสัมพันธไมตรีที่แน่นแฟ้นของ 2 อาณาจักรขึ้นใหม่ในช่วงสั้น ๆ ปัตตานีส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทองแก่อยุธยาตามเดิม และรายากูนิงเสด็จเยือนกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 2184[12] แต่ความสัมพันธ์กับกลันตันกลับตกต่ำลง ราชวงศ์ศรีวังสาสิ้นสุดลง เมื่อกองทัพกลันตันยกทัพตีเมืองปัตตานีแตกในปี พ.ศ. 2231 รายากูนิงเสด็จหนีไปแคว้นยะโฮร์ และสิ้นพระชนม์ลงระหว่างทางที่แคว้นกลันตัน หลังจากนั้นมาอาณาจักรปัตตานีก็ไม่สามารถกลับมารุ่งเรืองได้อย่างเก่าอีก และอยู่ภายใต้การปกครองของกลันตัน เศรษฐกิจที่ซบเซาทำให้อาณาจักรอ่อนแอลง

รัตนโกสินทร์

ปืนใหญ่พญาตานี (ชื่อเดิม: ศรีปัตตานี) ซึ่งกองทัพของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ได้นำมาไว้ที่กรุงเทพฯ เมื่อครั้งสยามยกทัพไปตีเมืองปัตตานีสำเร็จใน พ.ศ. 2329
"บุหงามาศ" (bunga mas) หรือ ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง บรรณาการแด่สยาม

ในปี พ.ศ. 2329 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงยกทัพตีเมืองปัตตานีไว้ได้ ปัตตานีจึงเป็นประเทศราชของสยามตั้งแต่นั้นมา กองทัพสยามยึดเอาทรัพย์สมบัติและปืนใหญ่ที่หล่อในสมัยรายาบีรูไป 3 กระบอก แต่เหลือมาถึงกรุงเทพเพียง 1 กระบอก คือปืนใหญ่พญาตานี ปัจจุบันอยู่หน้ากระทรวงกลาโหม[13] ความไม่พอใจต่อการปกครองของชาวสยาม ก่อให้เกิดกบฏครั้งใหญ่ 4 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2334 และ พ.ศ. 2351 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงแยกอาณาจักรปัตตานีเป็น 7 หัวเมือง[14] และในปี พ.ศ. 2374 และ พ.ศ. 2381 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตัดสินพระทัยให้ราชวงศ์กลันตันปกครองปัตตานีต่อมา[6] กระทั่งปีพ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเตรียมการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล การปกครองโดยราชวงศ์กลันตันจึงยุติลง และถือเป็นปีสิ้นสุดของอาณาจักรปัตตานี ซึ่งกลายเป็นส่วนหนึ่งของสยามโดยสมบูรณ์ มณฑลปัตตานีก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2449 แต่ถึงปีพ.ศ. 2466 ชาวบ้านจำนวนมากก็ออกมาชุมนุมประท้วงข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงออกพระบรมราโชบายสำหรับมณฑลปัตตานี เมื่อ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 ไว้ 6 ข้อเพื่อแก้ไขความไม่เป็นธรรมของเจ้าหน้าที่และข้าราชการ[15] และนำไปสู่การยุบมณฑลปัตตานีเป็น 3 จังหวัด คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จนถึงทุกวันนี้

แต่ถึงกระนั้นยังคงมีการชุมนุมประท้วงการปกครองจากรัฐบาลอยู่เสมอ เช่น พ.ศ. 2482 จอมพลแปลก พิบูลสงครามได้จัดตั้งสภาวัฒนธรรม บังคับให้ประชาชนสวมหมวก แต่งกายแบบไทย ทำตามวัฒนธรรมไทย ห้ามพูดภาษามลายู ฯลฯ รวมกับการกดขี่จากเจ้าหน้าที่รัฐจนลุกลามไปเป็นกบฏดุซงญอในพ.ศ. 2491 มีผู้เสียชีวิตกว่า 400 คน ตามมาด้วยการชุมนุมยืดเยื้อกว่า 45 วันของชาวจังหวัดปัตตานีนับแสนคนที่หน้ามัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี ในปีพ.ศ. 2518 หลังจากการวิสามัญฆาตกรรมชาวบ้าน 5 ศพ นำไปสู่เหตุวุ่นวายที่มีผู้ชุมนุมเสียชีวิต 12 ราย[16] และการประท้วงของชาวบ้านกว่า 3 หมื่นคน ใน พ.ศ. 2528 เมื่อกระทรวงศึกษาธิการออกคำสั่งให้ประดิษฐานพระพุทธรูปในโรงเรียน และอีก 3 ปีต่อมาก็ออกคำสั่งห้ามคลุมศีรษะ (ฮิญาบ) เข้าสถานศึกษา หรือกรณีมัสยิดกรือเซะ ที่มีผู้เสียชีวิต 107 คน และเหตุการณ์ตากใบ ซึ่งมีผู้เสียชีวิตอีกกว่า 84 คน ซึ่งก่อนหน้านั้นได้มีการยักยอกปืนของหลวงเพื่อใช้ก่อความไม่สงบ

ศาสนาอิสลามในปัตตานี

"ปัตตานี ดารุสสลาม" (فطانى د ارالسلام) มีความหมายว่า "ปัตตานี นครรัฐแห่งสันติภาพ" ได้เป็นนามเรียกขานภายหลังการเข้ารับอิสลามของสุลต่าน อิสมาอีล ชาห์ ซิลลุลลอฮฺ ฟิลอาลัม (ชื่อเดิมคือ พญาตูนักปาอินทิรามหาวังสา) ในราวปี ค.ศ.1457 [17]

ลำดับกษัตริย์และผู้ปกครองอาณาจักรปัตตานี

มัสยิดกรือเซะ สัญลักษณ์แห่งความรุ่งเรืองในอดีตของอาณาจักรปัตตานี
มณฑลปัตตานี พ.ศ. 2449-2466

ราชวงศ์ศรีวังสา[18][19][20]

ลำดับ พระนาม ปีที่ครองราชย์
1 รายาศรีวังสา พ.ศ. 2000-2043
2 รายาอินทิรา หรือรายามูฮัมหมัดชาห์ พ.ศ. 2043-2073
3 รายามุซซอฟาร์ พ.ศ. 2073-2106
4 รายามันโซร์ชาห์ พ.ศ. 2106-2115
5 รายาปาเตะสยาม พ.ศ. 2115-2116
6 รายาบะห์โดร์ พ.ศ. 2116-2127
7 รายาฮีเยา พ.ศ. 2127-2159
8 รายาบีรู พ.ศ. 2159-2167
9 รายาอูงู พ.ศ. 2167-2178
10 รายากูนิง พ.ศ. 2178-2231

ราชวงศ์กลันตัน

ลำดับ พระนาม ปีที่ครองราชย์
1 รายาบากาล พ.ศ. 2231-2233
2 รายาเออร์มัสกลันตัน พ.ศ. 2233-2247
3 รายาเออร์มัสจายัม พ.ศ. 2247-2250 (ขึ้นครองราชย์ครั้งแรก)
4 รายาเดวี พ.ศ. 2250-2259
5 รายาบึนดังบาดัน พ.ศ. 2259-2263
6 รายาลักษมณาดาจัง พ.ศ. 2263-2264
7 รายาเออร์มัสจายัม พ.ศ. 2264-2271 (ขึ้นครองราชย์ครั้งที่สอง)
8 รายาอาหลงยูนุส พ.ศ. 2271-2272[21]
9 สุลต่านมูฮัมหมัด ดูวา พ.ศ. 2319-2329
ลำดับ นาม ปีที่ปกครอง
10 รายาบังดังบันดัน หรือเต็งกูลูมิดีน พ.ศ. 2328-2334 ภายใต้การปกครองของสยาม
11 ดาโต๊ะปังกาลัน พ.ศ. 2334-2352
12 พระยาตานี (ขวัญซ้าย) พ.ศ. 2352-2358
13 พระยาตานี (พ่าย) พ.ศ. 2358-2359
14 ตวนสุหลง พ.ศ. 2359-2375
15 นิยูโซฟ พ.ศ. 2375-2381
16 เต็งกูมูฮัมหมัด พ.ศ. 2381-2399
17 พระยาวิชิตภักดีศรีสุรวังษารัตนาณาเขตรประเทศราช (เต็งกูปูเตะ) พ.ศ. 2399-2425
18 พระยาวิชิตภักดีศรีสุรวังษารัตนาณาเขตรประเทศราช (เต็งกูตีมุง) พ.ศ. 2425-2433
19 พระยาวิชิตภักดีศรีสุรวังษารัตนาณาเขตรประเทศราช (เต็งกูบอสู หรือสุไลมานซารีฟุดดีน) พ.ศ. 2433-2442
20 พระยาวิชิตภักดีศรีสุรวังษารัตนาเขตประเทศราช (เต็งกูอับดุลกอเดร์ กามารุดดีน) พ.ศ. 2442-2445

อ้างอิง

  1. อารีฟีน บินจิและคณะ. ประวัติศาสตร์และการเมืองในโลกมลายู, 2550, หน้า 63
  2. "อาณาจักรลังกาสุกะ"ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม 10 มกราคม 2554 [ลิงก์เสีย]
  3. "ปาตานีดารุสซาลาม"[ลิงก์เสีย]อ้างอิงจาก"สี่กษัตริยาปตานี : บัลลังก์เลือด และตำนานรักเพื่อแผ่นดิน" ศิลปวัฒนธรรม ฉบับวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 28 ฉบับที่ 5 โดย สุภัตรา ภูมิประภาส
  4. "จากลังกาสุกะ มาเป็นเมืองปัตตานี (2)"[ลิงก์เสีย] อ้างอิงจาก หนังสือประวัติเมืองลังกาสุกะ - เมืองปัตตานี โดย อนันต์ วัฒนานิกร
  5. "ราชาอินทิรา" เก็บถาวร 2013-03-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนหนังสือเรื่อง บุคคลสำคัญของปัตตานี โดย รศ.มัลลิกา คณานุรักษ์ (๒๕๔๕)
  6. 6.0 6.1 อิบรอฮิม ชุกรี. ประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรมลายูปะตานี. เชียงใหม่:ซิลค์เวอร์มบุ๊คส์, 2549
  7. "การต่อสู้ของรัฐปัตตานี ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน " บันทึกของAlexander Hamilton เก็บถาวร 2009-09-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน บทความประวัติเมืองปัตตานี-ปัตตานีนครแห่งสันติ
  8. "รายาฮิเยา" เก็บถาวร 2012-08-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ปัตตานี
  9. "ปัตตานีดารุสซาลาม | OK NATION". www.oknation.net (ภาษาอังกฤษ).
  10. "ปัตตานีดารุสซาลาม | OK NATION". www.oknation.net (ภาษาอังกฤษ).
  11. "ความสัมพันธ์ ระหว่างสยามกับปัตตานี (แบบย่อ)"[ลิงก์เสีย]จากโอเคเนชั่น โดย จอมมาร 26
  12. "ปัตตานีดารุสซาลาม | OK NATION". www.oknation.net (ภาษาอังกฤษ).
  13. "ปัตตานีที่ถูกลืม"Sejarah Kerjaan Patani
  14. "ศึกษาขบวนการแบ่งแยกดินแดนและการก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย”[ลิงก์เสีย] โดยอาจารย์ชิดชนก ราฮมมลา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  15. "พระบรมราโชบายเกี่ยวกับมณฑลปัตตานี 2466"[ลิงก์เสีย]พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ และสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ กับหัวเมืองปักษ์ใต้ โดยดร.ชัชพล ไชยพร
  16. "บันทึกความทรงจำของการต่อสู้ที่ถูกลืม : การประท้วงใหญ่ที่ปัตตานีปี 2518" บทความ ฟาตอนีออนไลน์
  17. "Muslim Separatism: The Moros of Southern Philippines and the Malays of Southern Thailand" Kadir Che Man (W.), Oxford University Press, 1990
  18. อิบรอฮิม ชุกรี. ประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรมลายูปะตานี. เชียงใหม่:ซิลค์เวอร์มบุ๊คส์, 2549
  19. "มลายู ดินแดนแห่งอารยธรรม"รายพระนามกษัตริย์,ราชินีและเจ้าเมืองที่ปกครองปาตานี
  20. "ประวัติการสร้างเมืองปัตตานี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-22. สืบค้นเมื่อ 2010-02-01.
  21. Teeuw, Andries; Wyatt, David K. (1970). "Hikayat Patani the Story of Patani". SpringerLink (ภาษาอังกฤษ). doi:10.1007/978-94-015-2598-5.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น