รายาบีรู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รายาบีรู
รายาแห่งปตานีดารุสซาลาม
ครองราชย์พ.ศ. 2159 - 2167 (8 ปี)
ก่อนหน้ารายาฮีเยา
ถัดไปรายาอูงู
รายามูดารายาอูงู
อัครมหาเสนาบดีเบินดาฮารา อังกูรัต มะตะรัม
สวรรคตพ.ศ. 2167
กรือเซะ
ราชวงศ์ศรีวังสา
พระราชบิดาสุลต่านมันซูร์ ชาห์
ศาสนาอิสลามนิกายซุนนี

รายาบีรู (มลายู: Raja Biru; راج بيرو) หรือ ราตูบีรู (Ratu Biru; راتو بيرو; พระราชสมภพ ประมาณ พ.ศ. 2109 – 2167) เป็นพระราชธิดาพระองค์รองจากทั้งหมดห้าพระองค์ของสุลต่านมันซูร์ ชาห์ รายาบีรูสืบราชสันตติวงศ์รัฐสุลต่านปาตานี ช่วง พ.ศ. 2159 - 2169 ถัดจากรายาฮีเยา พระเชษฐภคินี หลังจากนั้นรายาอูงู พระขนิษฐาของพระองค์ครองราชย์ต่อ ในภาษามลายู พระนามของพระองค์หมายถึง "สีน้ำเงิน" หรือ "ราชินีน้ำเงิน"

รัชสมัย[แก้]

รายาบีรูเสวยราชสมบัติเมื่อพระชนมายุราว 50 พรรษา ใน พ.ศ. 2159 ปาตานีถูกสยามรุกรานและแผ่อิทธิพลเข้ามา พระองค์จึงมีพระราชกระแสรับสั่งให้ชายเชื้อสายจีนนามว่าลิ้มโต๊ะเคี่ยม สร้างปืนใหญ่สามกระบอก[1] ปืนใหญ่กระบอกหนึ่งชื่อพญาตานี ถูกสยามยึดมาและปัจจุบันตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร[2][3] นอกจากนี้รายาบีรูยังเกลี้ยกล่อมให้รัฐสุลต่านกลันตันทางใต้ ผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของปาตานีด้วย[4] รายาบีรูเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2167

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Syukri, Ibrahim (1985). History of the Malay Kingdom of Patani. Ohio Uninversity Press. pp. 31–33. ISBN 978-0896801233.
  2. Bougas, Wayne (1990). "Patani in the Beginning of the XVII Century". Archipel. 39: 133. doi:10.3406/arch.1990.2624.
  3. Le Roux, Pierre (1998). "Bedé kaba' ou les derniers canons de Patani". Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient. 85: 125–162. doi:10.3406/befeo.1998.2546.
  4. Amirell, Stefan (2011). "The Blessings and Perils of Female Rule: New Perspectives on the Reigning Queens of Patani, c. 1584–1718". Journal of Southeast Asian Studies. 42 (2): 303–23. doi:10.1017/S0022463411000063.
  • A. Teeuw & D. K. Wyatt. Hikayat Patani: The Story of Patani. Bibliotheca Indonesica, 5. The Hague: Martinus Nijhoff, 1970.
  • Ahmad Fathy al-Fatani. Pengantar Sejarah Patani. Alor Setar: Pustaka Darussalam, 1994.
  • Wayne A. Bougas. The Kingdom of Patani: Between Thai and Malay Mandalas. Occasional Paper on the Malay World, no. 12. Selangor: Institut Alam dan Tamadun Melayu, Universiti Kebangsaan Malaysia, 1994.