ข้ามไปเนื้อหา

โหราศาสตร์ไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนภูมิดวงดาวหนึ่งที่ใช้ในการทำนายตามโหราศาสตร์ไทย

โหราศาสตร์ไทย เป็นหนึ่งในวิชาที่ว่าด้วยการทำนายโชคชะตา เพื่อทำนายอนาคตที่อาจจะเกิดขึ้นกับบุคคล สังคม โดยใช้การโคจรของดวงดาวเป็นปัจจัยในการกำหนด

ว่ากันว่า โหราศาสตร์ไทยเป็นวิชาที่มาจากคัมภีร์พระเวทในศาสนาพราหมณ์ ที่มีอยู่ก่อนพระพุทธศาสนา โดยหลักของโหราศาสตร์ไทยนั้นตามหลักฐานที่มีอยู่ แสดงถึงการสืบทอดมาจากอินเดียตั้งแต่สมัยสุโขทัย มาจนถึงปัจจุบัน

ในทางพระพุทธศาสนา สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าได้มีพุทธานุญาตให้ พระภิกษุสงฆ์เรียนรู้วิชาโหราศาสตร์ในเรื่องฤกษ์ยาม เพื่อจะได้รู้เวลาทำอุโบสถสังฆกรรม อันเป็นกิจในพระพุทธศาสนา จึงได้มีชื่อ วัน เดือน ปี และฤกษ์แสดงไว้ท้ายบอกวัตรพระเป็นประเพณีสืบต่อมา[ต้องการอ้างอิง]

ดาว

[แก้]

ดาวส่วนมากอิงจากดาวในระบบสุริยะ ยกเว้นราหูซึ่งเป็นตำแหน่งที่ดวงจันทร์ผ่านจากใต้ระนาบสุริยวิถีขึ้นเหนือระนาบสุริยวิถี ส่วนตำแหน่งที่ดวงจันทร์ผ่านจากเหนือระนาบสุริยวิถีลงสู่ใต้ระนาบสุริยวิถีเรียกว่าเกตุสากลซึ่งอยู่ตรงข้ามราหูเสมอ แต่เกตุไทยซึ่งมีเฉพาะในโหราศาสตร์ไทยนั้นมีวิธีคำนวณเฉพาะ

ในแผนภูมิดวงจะแบ่งเป็น ๑๒ ช่องแทนราศีทั้ง ๑๒ ราศี ดาวแต่ละดวงจะแทนด้วยตัวเลข ๐-๙ ตำแหน่งดาวในแผนภูมิจะบอกว่าดาวดวงนั้นอยู่ราศีใด

เลข ชื่อ ย่อ ธาตุ เคราะห์ ทาย กำลัง เวลาโคจร
อาทิตย์ ไฟ บาปเคราะห์ ยศศักดิ์อัครฐาน ราศีละประมาณ ๑ เดือน
จันทร์ ดิน ศุภเคราะห์ รูปจริต จิตใจ ๑๕ ราศีละ  ๒ วันครึ่ง
อังคาร ลม บาปเคราะห์ กล้าแข็ง ขยัน ราศีละประมาณ ๔๕ วัน
พุธ น้ำ ศุภเคราะห์ เจรจาอ่อนหวาน ๑๗ ราศีละประมาณ ๑ เดือน
พฤหัสบดี ดิน ศุภเคราะห์ ปัญญาบริสุทธิ์ ๑๙ ราศีละประมาณ ๑ ปี
ศุกร์ น้ำ ศุภเคราะห์ โภคสมบัติ ๒๑ ราศีละประมาณ ๑ เดือน
เสาร์ ไฟ บาปเคราะห์ โทษทุกข์ ๑๐ ราศีละประมาณ ๒ ปี ๖ เดือน
ราหู ลม บาปเคราะห์ ลุ่มหลง มัวเมา ๑๒ ราศีละ ๑ ปี ๖ เดือน
เกตุ วิญญาณ บาปเคราะห์ อายุยืน ราศีละประมาณ ๕๕ วัน
มฤตยู อากาศ บาปเคราะห์ อาเพศ - ราศีละ ๗ ปี
การเกิดพักร มนท์ เสริด

การโคจรวิปริต (ผิดปกติ)ของดาว พักร (พ)   มนท์ (ม)   เสริด (ส)

  • พักร(Retrograde) คือ ดาวถอยหลัง ทำให้ผลที่จะได้ล่าช้า ไม่เป็นผล
  • มนท์(Stationary) คือ ดาวที่เดินช้า หยุดนิ่ง
  • เสริด(Progress) คือ ดาวที่เดินเร็ว กว่าปกติ

ดาวที่ไม่โคจร พักร มนท์ เสริด คือ ดาวอาทิตย์ จันทร์ ราหู เกตุ

คู่ดาว

[แก้]

อาทิตย์เป็นมิตรกับครู   จันทร์โฉมตรูพุธนงเยาว์

ศุกร์ปากหวานอังคารรับเอา  ราหูกับเสาร์เป็นมิตรแก่กัน


อาทิตย์ผิดอังคาร        พุธอันธพาลวิวาทราหู

ศุกร์กับเสาร์เป็นเสี้ยนศัตรู   จันทร์กับครูคูอริกัน

คู่มิตร คู่ศัตรู คู่สมพล คู่ธาตุ
๑-๕ ๑-๓ ๑-๖ ๑-๗
๒-๔ ๔-๘ ๒-๘ ๒-๕
๓-๖ ๖-๗ ๓-๕ ๓-๘
๗-๘ ๒-๕ ๔-๗ ๔-๖

ราศี

[แก้]

มาตราโหราศาสตร์

1   วงกลมจักรวาล             =          12    ราศี

1   วงกลมจักรวาล             =        360    องศา

1   ราศี                           =          30    องศา( 3 ตรียางค์ หรือ  9 นวางศ์)

1   ตรียางค์                      =         10     องศา ( 3 นวางศ์)

1    นวางศ์                       =          3      องศา 20 ลิปดา

1    องศา                        =         60      ลิปดา

1    ลิปดา                        =         60     พิลิปดา

เลข ราศี ย่อ ธาตุ เกณฑ์ ภาค ดาวประจำ
เมษ มษ ต้นธาตุ ไฟ ปัศวะ กลางคืน
พฤษภ พภ กลางธาตุ ดิน ปัศวะ
เมถุน มถ ปลายธาตุ ลม นระ
กรกฎ กฎ ต้นธาตุ น้ำ อัมพุ
สิงห์ สห กลางธาตุ ไฟ ปัศวะ กลางวัน
กันย์ กน ปลายธาตุ ดิน นระ
ตุล ตล ต้นธาตุ ลม นระ
พิจิก พจ กลางธาตุ น้ำ กิฏะ
ธนู ธน ปลายธาตุ ไฟ นระ
มังกร มก ต้นธาตุ ดิน อัมพุ
๑๐ กุมภ์ กภ กลางธาตุ ลม นระ กลางคืน ๘ (๗)
๑๑ มีน มน ปลายธาตุ น้ำ อัมพุ

ประเภทราศี (คุณะราศี)

[แก้]

ราศีต้นธาตุ(จรราศี)  คือ ราศีแกน ได้แก่ ราศี เมษ กรกฎ ตุล มังกร ราศีเหล่านี้มีอิทธิพลให้ดาวที่เข้ามาอยู่ในราศี มีความเข้มแข็ง หนักแน่นรุนแรง ขยายออกไป ไม่หยุดนิ่ง

ราศีกลางธาตุ(สถิรราศี) คือ ราศีที่อยู่หน้าราศีแกน (ทวนเข็มนาฬิกา) ได้แก่ ราศี พฤษภ สิงห์ พิจิก กุมภ์ราศีเหล่านี้มีอิทธิพลให้ดาวที่เข้ามาอยู่มีความมั่นคง หยุดนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง

ราศีปลายธาตุ(อุภัยราศี) คือ   ราศีที่อยู่หลังราศีแกน (ทวนเข็มนาฬิกา) ได้แก่ ราศี มิถุน กันย์ ธนู มีน ราศีเหล่านี้มีอิทธิพลให้ดาวที่เข้ามาอยู่ มีความไม่แน่นอน มีการเปลี่ยนแปลงเสมอ ทั้งดีและร้าย

ธาตุ

[แก้]

ราศีธาตุไฟ  หมายถึง สติปัญญา ความกระตือรือร้น ความก้าวหน้า ความสร้างสรรค์ ได้แก่ราศี เมษ สิงห์ ธนู

ราศีธาตุดิน  หมายถึง ความหนักแน่น มั่นคง การสะสม เงียบขรึม ได้แก่ราศี พฤษภ กันย์ มังกร

ราศีธาตุลม  หมายถึง การเคลื่อนไหว ผันผวนเปลี่ยนแปลง คล่องแคล่ว การติดต่อสื่อสาร ได้แก่ราศี เมถุน ตุล กุมภ์

ราศีธาตุน้ำ   หมายถึง ความเมตตา อ่อนไหว อ่อนโยน ไม่แน่นอน เฉื่อยช้า ได้แก่ราศี กรกฎ พิจิก มีน

เกณฑ์

[แก้]

องค์เกณฑ์นระ  

[แก้]

ได้แก่ลัคนา  มิถุน  กันย์  ตุล  ธนู  และกุมภ์

นระสุริยะเรื้อง                        รังสี

โสระชีวะโดยมี                        ถูกต้อง

สามองค์เทพโสภี                   กุมลัคน์

ดวงชะตาใดพรั่งพร้อม          ยศนั้นนาพัน

ชุดดาวองค์เกณฑ์นระ  คือ  ๑ ๕  ๗   เงื่อนไขขององค์เกณฑ์นระ คือ  ต้องมีดาวทั้ง ๓ ดวงกุมลัคน์  จะได้ยศถาบรรดาศักดิ์เทียบเท่ากับนาพันไร่   ตรงนี้ผู้ศึกษาก็ต้องเทียบเองว่า  ในสมัยก่อนนั้น  ที่นาพันไร่นั้น  จะมั่งมีขนาดไหน  และในปัจจุบันนี้จะมั่งมีขนาดไหน  …  สำหรับในยุคปัจจุบัน  สำหรับผู้ที่มีดาวองค์เกณฑ์  จะเป็นการใช้วิชาความรู้  สติปัญญา  สร้างชื่อเสียงและหลักทรัพย์ต่างๆ ให้กับตัวเอง  … ตัวอย่างเช่น   นักร้องบางคน  ร้องเพลงฟังไม่รู้เรื่องเลย  แต่ก็ดังได้  ร่ำรวยได้  เพราะเป็นลักษณะของความคิดที่แปลกและแตกต่างไปจากคนอื่น  แต่ก็ใช่ว่าคนที่คิดต่างจะต้องดังเหมือนกันหมด

องค์เกณฑ์นระ  จะต้องมีดาวทั้ง 3 ดวงจึงจะครบองค์  จะส่งผลตามเงื่อนไขโดยตรงกับตัวของเจ้าชะตา  จะขาดดวงใดดวงหนึ่งไม่ได้   แต่หากไม่ครบองค์  จะส่งผลลดหลั่นกันลงไป

องค์เกณฑ์อัมพุช  

[แก้]

ได้แก่ลัคนา  กรกฎ   มังกร   มีน

อัมพุชพลจุ่งแจ้ง       สี่สถาน

พุธ ศุกร์ ชีวะวาร                  ส่งสร้อย

จันทร์องค์ประไพพาล          รุจิเรก

คุณย่อมแสดงใช่น้อย           ยศนั้นถึงพระยา

ชุดดาวองค์เกณฑ์อัมพุช  คือ   ๒  ๔  ๕  ๖   เงื่อนไขขององค์เกณฑ์อัมพุช  คือ  ต้องมีดาวทั้ง ๔  ดวงเป็น 4 แก่ลัคนา  คือ  มีดาว ๔ ดวงที่เรือนพันธุ   จึงจะได้ยศถาบรรดาศักดิ์เทียบเท่าพระยา  แต่หากไม่ครบองค์  จะส่งผลลดหลั่นกันลงไป

องค์เกณฑ์อัมพุช   จะส่งผลกับเรือนพันธุ  ซึ่งเป็นเรื่องของความเป็นปึกแผ่นมั่นคงของครอบครัวหรือของตระกูล  หมายถึงตัวเจ้าชะตาเองจะสร้างความเป็นปึกแผ่นมั่นคงให้กับครอบครัวได้  ไม่ตกต่ำ  สร้างฐานะได้ดีกว่าพื้นฐานฐานะดั้งเดิมของครอบครัว  ซึ่งในปัจจุบันนี้เราจะเห็นจากข่าวหรือสื่อต่างๆ ที่คนอายุน้อยๆ ก็สามารถสร้างหลักทรัพย์หลักฐานได้ดีจนสามารถเลี้ยงครอบครัวของตัวเองได้  จะเน้นเรื่องการสร้างความมั่นคงให้กับครอบครัวมากกว่าการสร้างชื่อเสียง

องค์เกณฑ์ปัศวะ  

[แก้]

ได้แก่ลัคนา  เมษ   พฤษภ  สิงห์

ปัศวะทศต้อง           องค์เกณฑ์

ชีวิจันทร์ภุมเมนทร์            ผ่องแผ้ว

อีกองค์สุริเยนทร์               ทรงยศ

สี่สถานเลิศแล้ว                  ยศนั้นถึงพระยา

ชุดดาวองค์เกณฑ์ปัศวะ  คือ   ๕  ๑  ๒  ๓   เงื่อนไขขององค์เกณฑ์ปัศวะ  คือ  ต้องมีดาวทั้ง ๔  ดวงเป็น 10 แก่ลัคนา  คือมีดาวทั้ง ๔  ดวงที่เรือนกัมมะ  จึงจะได้ยศถาบรรดาศักดิ์เทียบเท่าพระยา  แต่หากไม่ครบองค์  จะส่งผลลดหลั่นกันลงไป

องค์เกณฑ์ปัศวะ   จะส่งผลกับเรือนกัมมะ  ซึ่งเป็นเรือนเกี่ยวกับหน้าที่การงานโดยตรง  จะส่งผลให้หน้าที่การงานมีความเจริญก้าวหน้ามั่นคง  ได้รับตำแหน่งสูง  ดาววาสนาชุดนี้จะส่งผลให้  ทำงานแล้วมีคนเห็น มีคนชื่นชมผลงาน หรือผลงานโดนใจ  ซึ่งผลงานนั้นอาจจะดีหรือไม่ดีก็ได้  หรืออาจจะเป็นแค่การทำงานทำธรรมดา  ที่ใครๆ ก็ทำกันได้  แต่ถ้าไม่มีดาววาสนาชุดนี้แล้ว  ถึงจะทำงานรูปแบบเดียวกันก็จะไม่ได้รับการสนับสนุน  ยกย่อง  เท่าที่ควร  เกณฑ์นี้จะเน้นเรื่องการประกอบอาชีพโดยตรง  … ตัวอย่างเช่นคนเป็นดาวตลก  มาจากพื้นฐานที่ยากจน  แต่ก็สามารถใช้อาชีพนั้นสร้างการงานของตัวเองให้มั่นคง  จนเกิดความร่ำรวยได้  แต่ก็ใช่ว่าคนเป็นดาวตลกทุกคนจะแบบนี้ได้

องค์เกณฑ์กิฎะ    

[แก้]

ได้แก่ลัคนา   พิจิก

กิฏะสัตตะต้อง         ภุมเมนทร์

อสุรินทร์องค์เกณฑ์               กล่าวไว้

แม้ชาติตัวเวร                         อัปลักษณ์  ก็ดี

คุณก็แสดงให้                         ยศนั้นเสมอพงศ์

ชุดดาวองค์เกณฑ์กิฎะ  คือ   ๓  ๘    เงื่อนไขขององค์เกณฑ์กิฎะ คือ  ต้องมีดาวทั้ง ๒ ดวงเป็น 7 แก่ลัคนา คือมีดาว 2 ดวงอยู่ในเรือนปัตนิ  ซึ่งเป็นเรือนที่เกี่ยวกับคนรัก  คู่ครอง  ดาวชุดนี้จะส่งผลให้ได้รับการเกื้อกูลจากคนรัก  คู่ครอง  รวมถึงหุ้นส่วนชีวิต  แม้ว่าตัวเจ้าชะตาเองจะไม่ทำกิจการงานใดๆ    หรือทำสิ่งที่ไม่ดีเท่าไร  ผลก็ยังส่งให้ไม่ต่ำไปกว่าตระกูลเดิมหรือไม่ต่ำกว่าฐานะดั้งเดิมของครอบครัว

ตรียางค์

[แก้]

ปฐมตรียางค์   คือ      ๐ - ๑๐    องศา

ทุติยตรียางค์   คือ    ๑๑ - ๒๐   องศา

ตติยตรียางค์   คือ    ๒๑ - ๓๐   องศา

การวางดวงตรียางค์ คือ เราต้องดูจากองศาของ ดาวหรือ ลัคนา ว่ามีกี่องศา อยู่ตรียางค์อะไร ให้วางดาวหรือลัคนาลงในตรียางค์นั้นๆ โดยเริ่มนับจากราศีที่ดาวหรือลัคนาอยู่ เวียนทวนเข็มนาฬิกา ไปทีละจุดมุมตรีโกณ (ราศีธาตุเดียวกัน) และเรียก ตรียางค์ที่ดาว หรือลัคนา ไปอยู่นั้น ตามดาวเจ้าเรือนเกษตร ของราศีนั้นๆ

ตัวอย่างเช่น ลัคนาอยู่ราศีพิจิก มีค่าองศา ๑๓ องศา ก็เท่ากับว่า ลัคนาอยู่ใน ทุติยตรียางค์ เราก็วางลัคนา ลงในจุดมุมตรีโกณ(ธาตุน้ำ) ที่สอง นับจากราศีที่ลัคนาอยู่ ถัดไป ซึ่งก็คือ ราศีมีน  เรียกว่า ลัคนาเกาะตรียางค์พฤหัสบดี

ดาว ๑ อยู่ราศีกันย์ มีค่าองศา ๕ องศา ก็เท่ากับว่า ดาว ๑ อยู่ใน ปฐมตรียางค์ เราก็วางลัคนา (ดวงตรียางค์) ไว้ที่เดิม คือราศีกันย์ เรียกว่า ดาว ๑ เกาะตรียางค์พุธ

พิษ

[แก้]
  • พิษนาค ในตรียางค์ที่ ๑ ของราศีเมษ, กันย์, ธนู, มีน หากลัคนาหรือดาวเคราะห์มีจุดเกาะตรียางค์แรกระหว่าง 0-10 องศา เรียกว่า ลัคนาหรือดาวเคราะห์นั้นถูกพิษนาค ถ้าลัคนาถูกพิษนาคแล้วผู้นั้นมักขี้โรคตั้งแต่เด็ก เช่น เป็นโรคน้ำเหลืองเสีย โรคพุพอง เป็นฝี เป็นต้น

ถ้าดาวเคราะห์ใดหรือดาวเคราะห์เจ้าเรือนใดถูกพิษนาค ก็เป็นจุดเสื่อมแก่ดาวเคราะห์นั้นทำให้สภาพชีวิตเกี่ยวกับเรือนภพนั้นไม่สมบูรณ์ เช่น ชีวิตมีอุปสรรคมาก อนึ่ง โรคภัยไข้เจ็บอาจจะมาจากสัตว์ก็ได้เช่น ถูกงูกัด หรือภัยพิบัติอาจจะมีมาจากทางน้ำทางทะเล เป็นต้น (พิษนาค หมายถึง พญานาค งู สัตว์น้ำ และสัตว์ประเภทเลื้อยคลานทุกชนิด)

  • พิษครุฑ ในตรียางค์ที่ ๒ ของราศีพฤษภ, สิงห์, ตุลย์ และกุมภ์ ถูกพิษครุฑ ผู้ใดมีลัคนาในราศีดังกล่าวหรือดาวเคราะห์ใดอยู่ แต่ 11-20 องศา เรียกว่า ลัคนาหรือดาวเคราะห์นั้นถูกพิษครุฑ

ผู้ใดลัคนาถูกพิษเล็บครุฑ ผู้นั้นมักขี้โรค ถูกอะไรขีดข่วนเล็กๆ น้อยๆ ก็จะเป็นหนอง เป็นแผลไปนาน ทำให้เกิดแผลเป็น ถ้าดาวเคราะห์ถูกพิษครุฑ หรือดาวเคราะห์เจ้าเรือนถูกพิษครุฑ ก็จะเป็นจุดเสื่อมแก่เรือนภพนั้นๆ ทำให้เกิดอุปสรรคในการดำเนินชีวิตเกี่ยวกับเรือนภพนั้นๆ (พิษครุฑ หมายถึง พญาครุฑ สัตว์ปีกทุกชนิด ภยันตรายจากสัตว์จำพวกนก แมลง เช่นถูกต่อยหรือแตนต่อย ภัยทางอากาศ ตกจากที่สูง ภัยจากลมพายุ จากเครื่องบิน โรคภัยไข้เจ็บ หมายถึงโรคลมด้วย)

  • พิษสุนัข ในตรียางค์ที่ ๓ ของราศีมิถุน, กรกฎ, พิจิก และมังกร แต่ 21-30 องศาของราศี ลัคนาหรือดาวเคราะห์ใดอยู่ระหว่างจุดพิกัดในตรียางค์ที่ 3 ของราศีดังกล่าว เรียกว่า ถูกพิษสุนัข

ลัคนาของผู้ใดถูกพิษสุนัข (หรือพิษสุนัขบ้า)ผู้นั้นมักมีอารมณ์หงุดหงิดง่าย และมักจะทำอะไรบุ่มบ่ามขาดความยั้งคิด ดื้อรั้น เอาแต่ใจตัว มักจะถูกสุนัขกัด ถ้าดาวเคราะห์เจ้าเรือนใดถูกพิษสุนัข ก็จะเป็นจุดเสื่อมของดาวเคราะห์ดวงนั้นๆ (พิษสุนัข หมายถึง ภัยจากสัตว์สี่เท้าทุกชนิด เขี้ยวงา เช่น สุนัขกัด ภัยจากแผ่นดิน เช่น แผ่นดินไหว บ้านเรือนถล่มทับ ภูเขาพังทับ ภัยจากสัตว์จำพวกหนู ภัยจากการเดินทางโดยรถไฟและรถยนต์ เป็นต้น)

นวางค์

[แก้]

นวางศ์มีทั้งหมด ๙ ลูก แต่ละลูกมี ๓ องศา ๒๐ ลิปดา มีชื่อเรียกตามลำดับเลข คือ

  1. ปฐมนวางศ์
  2. ทุติยนวางศ์
  3. ตติยนวางศ์
  4. จัตุถนวางศ์
  5. ปัญจมนวางศ์
  6. ฉัฐมนวางศ์
  7. สัตมนวางศ์
  8. อัฐมนวางศ์
  9. นวมนวางศ์

การวางดวงนวางศ์ จะเริ่มนับลูกนวางศ์  ที่ราศีต้นธาตุ(แม่ธาตุ) ที่ดาวหรือ ลัคนา อยู่เท่านั้น ดาวหรือลัคนา อยู่ในลูกนวางศ์ที่เท่าไร ก็นับทวนเข็มนาฬิกาไปราศีละหนึ่งลูกนวางศ์

ตัวอย่างเช่น ลัคนา อยู่ราศีพิจิก (ธาตุน้ำ) มีค่าองศา ๑๓ องศา ก็เท่ากับว่า ลัคนาอยู่ใน จัตุถนวางศ์ (นวางศ์ลูกที่ ๔) โดยเริ่มนับที่ราศีต้นธาตุน้ำ ( ราศีกรกฎ ) ไปทีละราศี ราศีละหนึ่งลูกนวางศ์ ก็จะวาง ลัคนา อยู่ในราศีตุลย์ เรียกว่า ลัคนาเสวยนวางศ์ศุกร์

พระเคราะห์เสวยวรโคตมนวางศ์ หมายถึง ดาวหรือ ลัคนา มีองศาอยู่ในนวางศ์ที่ได้วรโคตมนวางศ์ ซึ่งเป็น นวางศ์ที่ทรงคุณภาพสูงสุดในราศีนั้น ถึงแม้จะมีจุดเสียอื่น ก็จะคุ้มโทษได้ มีกฏเกณฑ์ดังนี้

    จรราศี (ราศีแม่ธาตุ)          อันได้แก่ราศี  เมษ กรกฎ ตุลย์ มังกร     กำหนดให้ นวางศ์ลูกที่ ๑   เป็น วรโคตมนวางศ์

    สถิรราศี (ราศีกลางธาตุ)   อันได้แก่ราศี  พฤษภ สิงห์ พิจิก กุมภ์    กำหนดให้ นวางศ์ลูกที่ ๕   เป็น วรโคตมนวางศ์

    อุภัยราศี (ราศีปลายธาตุ)   อันได้แก่ราศี   มิถุน กันย์ ธนู มีน           กำหนดให้ นวางศ์ลูกที่ ๙   เป็น วรโคตมนวางศ์

ลัคนา

[แก้]

ลัคนา (Ascendant) หรือลัคน์ หมายถึง ตำแหน่งของขอบฟ้าด้านทิศตะวันออก ณ เวลาเกิด โหราศาสตร์ไทย เขียนแทนด้วย , ลั หรือ

ภพ

[แก้]

เรียกตามไทยว่า เรือนชะตามีอยู่ ๑๒  เรือน หรือ ๑๒  ภพ เมื่อคำนวณดวงชะตาวางลัคนาเรียบร้อยแล้ว ให้ถือเอาภพที่ลัคนาสถิต เป็นภพที่ ๑  แล้วนับเวียนซ้ายเรียงลำดับกันไป ซึ่งมีความหมายแต่ละภพ ดังนี้

๑.   ตนุ แปลว่า  ตัวตน –ได้แก่รูปร่างสภาพของบุคคล นิสัย ความประพฤติ จริต กิริยา สุขภาพ อนามัย ที่อยู่อาศัย (ตัวตนหมายถึง    ศีรษะจรดเท้า)

๒.   กดุมภะ แปลว่า สมบัติ – ได้แก่ทรัพย์สินเงินทอง ที่อื่น ๆ เรียกว่า ศูนย์พาหะคือทำให้เกิดกำลัง หรือหมายถึงครอบครัวก็ได้

๓.   สหัสชะ แปลว่า เกิดร่วมกัน – ได้แก่เพื่อน คนใกล้ชิด พี่น้องเกิดท้องเดียวกัน เรื่องเพื่อนต้องหมายถึงการสมาคม ทางสากลจึงหมายเอาถึงการเขียนจดหมาย การเดินทางใกล้ ๆ อีก

๔.   พันธุ แปลว่า ที่ติดเนื่องกัน – ได้แก่สิ่งที่ติดเนื่องมากับเจ้าชะตาเวลาเกิด เช่น บ้าน ที่ดิน พ่อ แม่ญาติพี่น้อง ทางภาระตะหมายถึงความสุขทั่ว ๆ ไป การศึกษาและ ยานพาหนะ

๕.   ปุตตะ แปลว่า การดื่ม ความยินดี  ได้แก่บุตร ธิดา บริวาร ควรหมายถึง ความรัก สถานที่ รื่นเริงบันเทิงใจ ความรู้สึกทางกามารมณ์ โชคลาภที่เกิดขึ้นเกินความคาดฝัน

๖.   อริ แปลว่า ศัตรู – ได้แก่ผู้คิดร้าย อุปสรรค โรคภัยไข้เจ็บ ทางภารตะหมายถึง หนี้สิน ภัยที่เกิดจากโจร ความทุกข์ระทม

๗. ปัตนิ แปลว่า สิ่งตรงข้าม – ได้แก่คู่ครอง การสมรส และยังหมายถึงการเซ็นสัญญาการติดต่อ ธุรกิจ การเดินทางได้อีก และคดีความด้วย

๘.   มรณะ แปลว่า การตาย – ได้แก่การแตกทำลาย การสูญเสีย การแปรสภาพ และยังหมายถึงสิ่งตาย ๆ เช่น มรดก พินัยกรรม ความสุดสิ้นของโรคภัยไข้เจ็บ เครื่องหมายทางเพศ

๙.   ศุภะ แปลว่า ความสวยงาม  -- ได้แก่ความสงบเรียบร้อย ได้แก่การงานภายในบ้าน ที่อยู่อาศัย การดำเนินชีวิต  การเดินทางไกล  เช่น ต่างประเทศ   ความเคารพเชื่อถือ

๑๐. กัมมะ แปลว่า การงาน – ได้แก่อาชีพ งานอดิเรก ตำแหน่งกรรมเก่าที่ตนสร้างมาแต่อดีตชาติ

๑๑. ลาภะ แปลว่า การได้  ---  ได้แก่โชค ความสำเร็จ เพื่อนหรือผู้ให้ความช่วยเหลือ อำนาจที่อยู่เหนือเจ้าชะตา

๑๒. วินาศ แปลว่า ความฉิบหาย – ได้แก่ความวิบัติ การจองจำกักขัง ศัตรูลับ การทรยศหักหลัง ความอึดอัดใจ การสุรุ่ยสุร่าย บาปนรก

ตนุลัคน์ คือดาวประจำราศีที่ลัคนาอยู่

ตนุเศษ

[แก้]

การหาตนุเศษ คือให้ดูว่า ลัคนาอยู่ในราศีใด มีดาวอะไรเป็นเกษตร เริ่มนับลัคนาเป็น ๑  ไปหาดาวตนุลัคน์ของตน (คือดาวเจ้าเรือนเกษตรประจำราศีลัคนา) นับได้เท่าใดเอาเป็นตั้งลง แล้วเอาราศีที่ดาวตนุลัคน์ของตนสถิตอยู่เป็น ๑  นับไปหาดาวเจ้าเรือนเกษตรที่ดาวตนุลัคน์อาศัยอยู่ ได้เท่าใดเอามาคูณ แล้วเอา ๗ หาร เหลือเศษเท่าใดให้ไปกากบาทที่จำนวนเศษนั้นคือกาลงที่ดวงดาวที่เป็นจำนวนเศษ เรียกว่าตนุเศษ หากลัคนา อยู่ในราศีที่มีดาวเกษตรเป็นเจ้าเรือนประจำอยู่ หรือเรียกว่าดาวเกษตรกุมลัคน์อยู่ด้วยแล้ว จะนับได้ ๑ และไม่ต้องนับต่อไปอีก ให้ถือว่าเศษ ๑ หรือดาวอาทิตย์ คือ ๑  เป็นตนุเศษ

ถ้าลัคนาอยู่ราศีกุมภ์ให้นับหาเสาร์ ไม่ใช่นับการาหู เพราะราหูไม่มีเกณฑ์เป็นตนุเศษ

มาตรฐานดาว

[แก้]

เกษตร คือ ดาวที่ครองราศีต่าง ๆ ทั้ง ๑๒ ราศี ดวงชาตาใดที่มีดาวพระเคราะห์อยู่ในตำแหน่งเกษตร ถือว่าเป็นดวงชาตาดี มั่นคงมีหลักฐาน มีความประพฤติดี

ประเกษตร  คือ ดาวพระเคราะห์ที่เป็นข้าศึกตรงข้ามกับเกษตร เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ประ จะอยู่ในราศีตรงข้ามกับเกษตร ถือว่าไม่ดี มีกำลังอ่อนให้ผลตรงข้ามกับเกษตร ขาดความสามารถ ไม่เอาการเอางาน อาภัพ เช่น อังคาร อยู่ในราศีเมษเป็นเกษตร เปลี่ยนมาอยู่ราศีตรงข้ามคือราศีตุลย์

อุจจ์  มีความหมายว่าสูง ดังนั้นดวงชาตาใดมีดาวพระเคราะห์ที่สถิตในราศีอันเป็นตำแหน่งอุจจ์ของดวงดาวนั้น จัดว่าดวงชาตานั้นประเสริฐยิ่ง ให้คุณมากกว่าดาวพระเคราะห์ที่เป็นเกษตร และให้คุณผาดโผนกว่าปกติธรรมดา

อุจจาวิลาศ คือดาวที่กำลังโคจรจะก้าวขึ้นไปสู่อุจจ์

อุจจาภิมุข  แปลว่า ดวงดาวที่อยู่ข้างหน้า ขึ้นหน้าล้ำหน้า หรือเกินหน้าออกไป จากตำแหน่งดวงอุจ จึงเป็นดาวที่ให้คุณหย่อน เพราะเป็นดาวที่อยู่ในเกณฑ์จะลดลงต่ำมา

นิจ  แปลว่าต่ำ ดาวพระเคราะห์ที่เป็นนิจจะส่งผลกดดวงชาตาให้ต่ำลง ไม่มีกำลังให้คุณแก่ดวงชาตา ทำให้ถอยวาสนา เป็นคนอาภัพ ดาวพระเคราะห์ที่อยู่ในราศีเปลี่ยนเรือนกับอุจจ์ จัดเป็นดาวพระเคราะห์คู่ศัตรู เรียกว่านิจ ส่งผลให้ดุจดังปรเกษตรเป็นศัตรูกับเกษตร

ราชาโชค หมายถึง โชคของพระราชา  ให้คุณ คล้ายดวงอุจจาวิลาส  แต่ส่งผลไปในทางนิยม หรือเสน่ห์ดึงดูด การได้มาโดยง่าย

เทวีโชค  คือดาว ที่อยู่ใน ราศีตรงข้าม กับดวง ราชาโชค  ให้คุณ แบบเดียวกับ ราชาโชค แต่น้อยกว่า ราชาโชคเล็กน้อย

มหาจักร  แปลว่า ความเจริญดีงามอย่างใหญ่ ดวงดาวที่เป็นมหาจักร คือตำแหน่งของดวงดาวที่จะนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง และร่ำรวยอันยิ่งใหญ่จริงๆ เป็นตำแหน่งดาวที่ให้คุณสมบัติอันดี

จุลจักร คือดาวที่สถิตอยู่ในราศีตรงข้ามกับดวงดาวมหาจักร เป็นตำแหน่งของดาวเคราะห์ที่ให้คุณน้อยกว่าดาวเคราะห์มหาจักร

มษ พภ มถ กฎ สห กน ตล พจ ธน มก กภ มน
เกษตร
ประเกษตร
อุจจ์
อุจจาวิลาศ
อุจจาภิมุข
นิจ
ราชาโชค
เทวีโชค
มหาจักร
จุลจักร
ปกิณกะโชค
จตุสดัย ๑๘ ๔๕ ๒๖ ๓๗

ฤกษ์

[แก้]

ฤกษ์บน

[แก้]

ฤกษ์บน หรือ นพดลฤกษ์ คือคราวหรือเวลาซึ่งเหมาะเป็นชัยมงคลเบื้องสูงโดยถือตำแหน่งของพระจันทร์ผ่านฤกษ์ ผ่านกลุ่มดาวฤกษ์ต่าง ๆ ทั้ง ๒๗ คำนวณตาม ปฏิทินโหราศาสตร์ไทย สุริยยาตร์ แบ่งฤกษ์เป็น ๙ กลุ่มดังนี้

  1. ทลิทโทฤกษ์ ทลิทโทฤกษ์ แปลว่า ผู้ขอ คนเมตตา รักใคร่ ขออะไรก็ได้ มีดาวเกตุ(9) เป็นดาวเจ้าฤกษ์ เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ การขอสิ่งต่าง ๆ ต้องการความเมตตาสงสาร เห็นอกเห็นใจ เพราะถือว่าเป็นฤกษ์ของชูชก ทำการขอสิ่งใดก็ง่าย เช่น การขอหมั้น ขอแต่งงาน ทวงหนี้ กู้ยืม ร้องทุกข์ การทำการใด ๆ เพื่อให้ผู้อื่นสงสารกรุณา มีความเมตตา เกิดเสน่ห์ มหานิยม คนนิยมชมชอบ เปิดร้านขายของ สมัครงาน ทำการใด ๆ ที่ริเริ่มใหม่ (ฤกษ์ ๑, ๑๐, ๑๙)
  2. มหัทธโนฤกษ์ แปลว่า เศรษฐี คนร่ำรวย ผู้รุ่งเรืองเป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ การมงคลต่าง ๆ เพื่อความมั่นคงในทรัพย์สินเงินทอง ผลประโยชน์ เช่น เปิดห้างร้าน เปิดบริษัท ขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาน ปลูกสร้างอาคาร ธุรกิจการเงิน ธุรกิจด้านบัญชี การค้าอุตสาหกรรม เปิดห้างร้าน เปิดร้านค้าต่าง ร้านแลกเงิน ร้านขายทอง ลาสิกขาบท สะเดาะเคราะห์ และ สารพัดงานมงคลที่ต้องการความร่ำรวยมีเงินทอง ทรัพย์สินมากมาย , มหัทธโนฤกษ์มีดาวศุกร์(6) เป็นดาวเจ้าฤกษ์ เด่นในเรื่องความรัก กิจการสถานบันเทิง ดนตรี ศิลปะ เสื้อผ้า ของแต่งกาย การตกต่าง งานออกแบบ ร้านอาหาร ธุรกิจด้านความงาม ร้านเสริมสวย ก็จะเด่นมากขึ้นไปอีก (ฤกษ์ ๒, ๑๑, ๒๐)
  3. โจโรฤกษ์ แปลว่า ผู้ช่วงชิง มีดาวอาทิตย์เป็นดาวเจ้าฤกษ์ เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ คนโบราณใช้ในการปล้นค่าย จู่โจมโดยฉับพลัน ฉวยโอกาส แย่งชิง ข่มขวัญ บีบบังคับ ทำการปราบปราม การแข่งขันช่วงชิง การแย่งอำนาจและผลประโยชน์ งานเสี่ยง ๆ ในระยะสั้น ๆ การปฏิวัติงานของบุคคลในเครื่องแบบใช้กำลัง ช่วงชิงแข่งขัน ในการธุรกิจ การกีฬา การเอาชนะในทุกรูปแบบ ก็มักจะใช้ฤกษ์นี้ประกอบการ (ฤกษ์ ๓, ๑๒, ๒๑)
  4. ภูมิปาโลฤกษ์ แปลว่า ผู้รักษาแผ่นดิน เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ การมงคลต่าง ๆ งานที่ต้องการความมั่นคงถาวร งานเกี่ยวกับที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ การเกษตร การเช่าซื้อ ก่อสร้าง ปลูกเรือน ยกศาลพระภูมิ แต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ ลาสิกขาบท อุปสมบท เปิดอาคารห้างร้าน และ ใช้ได้สารพัดงานมงคลทั้งปวง , ภูมิปาโลฤกษ์มีดาวจันทร์(2) ครองเป็นเจ้าฤกษ์ ดังนั้น ธุรกิจที่ข้องกับดาวจันทร์ก็คือ ธุรกิจทางน้ำ สื่อสารมวลชน ความงาม โฆษณาประชาสัมพันธ์ ก็จะเด่นมากขึ้น (ฤกษ์ ๔, ๑๓, ๒๒)
  5. เทศาตรีฤกษ์ แปลว่า คนต่างถิ่น ผู้ท่องเที่ยว เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ งานการติดต่อการค้าระหว่างถิ่น งานด้านต่างประเทศ ต่างชาติ ภาษาต่างประเทศ กิจการทัวร์ ธุรกิจนำเข้า ส่งออก เกี่ยวกับการงานที่ต้องการให้มีผู้คนเข้าออกมากมาย เกี่ยวกับความสนุกสนานชักชวนคนเข้าออกมาก เปิดโรงมหรสพ สถานเริงรมย์ โรงแรม ร้านอาหาร โรงหนัง สถานบันเทิง ตลาดและศูนย์การค้า การประกอบอาชีพนอกสถานที่ อาชีพเร่ร่อน อาชีพที่ต้องย้ายที่อยู่เสมอ , เทศาตรีฤกษ์มีดาวอังคาร(3) เป็นดาวเจ้าฤกษ์ กิจการที่เป็นด้านอุตสาหกรรม เครื่องยนต์กลไก การซ่อมแซม อุตสาหกรรมเหล็ก โลหะ เครื่องจักร การก่อสร้าง ยานยนต์ก็จะมีผลดีเป็นพิเศษ (ฤกษ์ ๕, ๑๔, ๒๓)
  6. เทวีฤกษ์ แปลว่า นางพญา ราชินี มีเสน่ห์ โชคลาภ เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ งานที่ต้องการความเรียบร้อยสวยงาม มีชื่อเสียง การเข้าหาผู้หลักผู้ใหญ่ การหมั้นหมายและสมรส การส่งตัวเจ้าสาวและเข้าห้องหอ การทำกิจการที่ต้องการชื่อเสียงและมีเสน่ห์ งานมีเกียรติ งานเชิงศิลปะตกแต่งชั้นสูง เปิดร้านค้าอัญมณีเครื่องประดับ ร้านเสริมสวย ตัดเย็บเสื้อผ้า การประชาสัมพันธ์ ลาสิกขาบท ขึ้นบ้านใหม่ ขอความรัก งานเพื่อความสงบเรียบร้อย และ สารพัดงานมงคลทั้งปวง , เทวีฤกษ์มีดาวราหู(8) เป็นเจ้าฤกษ์ แสดงถึงความลุ่มหลง หลงใหล มีเสน่ห์ และให้คุณเป็นพิเศษแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกับ ต่างชาติ ต่างภาษา ร้านอาหาร สุรายาเมา และบ่อนการพนัน บาร์ไนต์คลับ (ฤกษ์ ๖, ๑๕, ๒๔)
  7. เพชฌฆาตฤกษ์ แปลว่า ผู้ทำการตัด การแบ่ง เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ การฟันผ่าอันตรายและอุปสรรค ต่อสู้เสี่ยงภัยต่าง ๆ อาสางานใหญ่ ทำกิจปราบปรามศัตรู ตัดสินคดีความ งานที่ใช้การตัดสินใจอย่างเด็ดขาด ประกอบพิธีไสยศาสตร์ ปลุกเสกเครื่องรางของขลัง ลงเลขยันต์ สร้างวัตถุมงคลแบบคงกระพันชาตรี สร้างสิ่งสาธารณะกุศลสงเคราะห์ เปิดโรงพยาบาล การรักษาโรคเรื้อรังที่หายยาก ๆ การยาตราทัพ เจิมอาวุธยุทธภัณฑ์ สร้างโบสถ์วิหารการเปรียญ คล้ายกับโจโรฤกษ์ แต่ฤกษ์นี้จะแรงกว่า , เพชฌฆาตฤกษ์ มีดาวพฤหัส(5) เป็นดาวเจ้าฤกษ์ ก็จะให้คุณโดดเด่นทางด้านการศึกษา และการศาสนา การปฏิบัติทางจิตภาวนาเป็นพิเศษ (ฤกษ์ ๗, ๑๖, ๒๕)
  8. ราชาฤกษ์ แปลว่าผู้ยิ่งใหญ่ พระเจ้าแผ่นดิน ผู้มีอำนาจวาสนา เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ งานราชพิธี งานราชการงานเมือง สร้างที่ประทับ งานที่ต้องการชักจูงให้ผู้อื่นดำเนินตาม การเข้ารับตำแหน่งงาน การแสวงหาชื่อเสียงเกียรติยศ การเข้าหาผู้หลักผู้ใหญ่ เปิดโรงเรียน สถาบัน สถานที่ราชการ งานมงคลสมรสที่หรูหรามีเกียรติ ลาสิกขาบท การขึ้นบ้านใหม ่(สามัญชนควรเว้น ถ้าหาฤกษ์ไม่ได้ก็พออนุโลมใช้ได้ เพื่อดวงชะตาและความเหมาะสม) และ งานมงคลทั้งปวง , ราชาฤกษ์ มีดาวเสาร์(7) เป็นดาวเจ้าฤกษ์ กิจการที่ข้องกับงานอุตสาหรรมขนาดใหญ่ โรงงานผลิต การก่อสร้าง งานเชิงสาธารณะ งานราชการ รัฐวิสาหกิจ ก็จะให้ผลดีมากเป็นพิเศษ (ฤกษ์ ๘, ๑๗, ๒๖)
  9. สมโณฤกษ์ แปลว่า ความสุข ความสงบ นักบวช นักสอนศาสนา เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ ทำพิธีกรรมทางศาสนา และ ทางนักบวช เช่น การทำขวัญนาค การอุปสมบท หล่อพระและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เข้ารับการศึกษา และ การกระทำทุกอย่างเพื่อความสงบร่มเย็นเป็นสุข สงเคราะห์ในฤกษ์นี้ได้ ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ทำบุญต่ออายุ ผูกข้อมือ สู่ขวัญ โกนผมไฟ , สมโณฤกษ์ มีดาวพุธ(4) เป็นดาวเจ้าฤกษ์ กิจการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา การสื่อสาร ขนส่งมวลชน กิจการที่เกี่ยวกับงานด้านเอกสาร สัมมนา งานวิจัย จะให้ผลดีเป็นพิเศษ (ฤกษ์ ๙, ๑๘, ๒๗)

ฉินทฤกษ์ ,ฤกษ์ขาด(นวางศ์ขาด) ,ภินทุบาท(ติณฤกษ์)

[แก้]

ลักษณะทั้ง ๓ นี้ เป็นฤกษ์เสีย ไม่เหมาะแก่งานมงคล แต่ก็อาจจะใช้ได้กับงานบางอย่าง

ฉินทฤกษ์  มี ๒ ลักษณะคือ

  • เอกตรีนิ คือ ฤกษ์ ที่บาทฤกษ์ นวางศ์ลูกที่ ๙ ของราศีธาตุไฟ(เมษ, สิงห์,ธนู) ไปคาบเกี่ยวกับอีก ๓ นวางศ์ ในราศีธาตุดิน ถัดไป(พฤษภ,กันย์,มังกร) ได้แก่ ฤกษ์ที่ ๓ , ๑๒ , ๒๑ ซึ่งอยู่ในหมวด โจโรฤกษ์
  • ตรีนิเอก คือ ฤกษ์ ที่ นวางศ์ลูกที่ ๗ – ๙ ของราศีธาตุลม (มิถุน ,ตุลย์, กุมภ์) คาบเกี่ยวกับอีก ๑ นวางศ์ในราศีธาตุน้ำ ถัดไป(กรกฎ,พิจิก,มีน) ได้แก่ ฤกษ์ที่ ๗ , ๑๖ , ๒๕  ซึ่งอยู่ในหมวด เพชฌฆาตฤกษ์

ฤกษ์ขาด (นวางศ์ขาด)

คือ ฤกษ์ที่ไม่มีบาทฤกษ์(นวางศ์) คาบเกี่ยวกัน สองราศี (สุดฤกษ์ ก็สุดราศีพอดี ไม่มีการคาบเกี่ยวไปอีกในราศีถัดไป) ซึ่งก็คือ ปลายราศีธาตุน้ำ ต้นราศีธาตุไฟ (กรกฎ-สิงห์ ,พิจิก-ธนู ,มีน-เมษ)

ภินทุบาท(ติณฤกษ์,ฤกษ์อกแตก)

คือ ฤกษ์ที่คร่อมราศี สองบาทฤกษ์แรก อยู่ราศีธาตุดิน อีกสองบาทฤกษ์หลัง อยู่ในราศีธาตุลม ถัดไป(พฤษภ-มิถุน, กันย์-ตุลย์, มังกร-กุมภ์) ได้แก่ ฤกษ์ที่ ๕ ,๑๔ ,๒๓ ซึ่งอยู่ในหมวด เทศาตรีฤกษ์

ฤกษ์เข้า เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ ขึ้นบ้านใหม่ เข้าบ้าน โกนจุก รับผู้คนสิ่งของเข้าบ้าน ฤกษ์ขันหมาก ส่งตัว กลับจากที่ไกล ๆ ( ฤกษ์ 3 , 4 , 5 , 10 , 11 , 12 , 17 , 18 , 19 , 24 , 25 , 26 )

ฤกษ์ออก เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ เดินทาง ลาสิกขาบท ออกเดินทางไกล ๆ ไปนาน ยาตราทัพ ( ฤกษ์ 1 , 2 , 7 , 8 , 9 , 14 , 15 , 16 , 22 , 23 )

ฤกษ์กรรมบาท เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ เก็บรักษาทรัพย์สิน เงินทองให้มั่นคง ( ฤกษ์ 6 , 13 , 20 , 27 )

ฤกษ์ยายี เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ เคลื่อนที่ย้าย ไปทำการที่อื่น ๆ ( ฤกษ์ 2 , 4 , 6 , 7 , 9 , 11 , 13 , 15 , 18 , 20 , 22 , 24 , 25 )

ฤกษ์นคร เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ ทำการอยู่กับที่ ( ฤกษ์ 1 , 3 , 5 , 8 , 10 , 12 , 14 , 16 , 17 , 19 , 21 , 26 )

ฤกษ์ล่าง

[แก้]

ฤกษ์ล่าง หรือ ภูมิดลฤกษ์ ซึ่งเหมาะเป็นชัยมงคลทางเบื้องใต้ฟ้า หรือเบื้องต่ำบนพื้นดิน โดยมนุษย์เป็นผู้กำหนดขึ้น โดยใช้วันทั้ง 7 ประกอบด้วยดิถี ขึ้น แรม และเดือน ปี ทางจันทรคติ เป็นหลักในการคำนวณนับ เช่น ดิถีอำมฤตโชค ดิถีมหาสิทธิโชค ดิถีไม่ดี ดิถีมหาสูญ ดิถีอัคนิโรธ ดิถีร้าย/วันทรธึก ดิถีอายกรรมพลาย กระทิงวัน ดิถีเรียงหมอน ดิถีแมลงปอ วันลอย วันจม วันฟู

ดิถีอำมฤตโชค เป็นดิถีดีที่สุด ดิถีความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ ดิถีทิพย์ เหมาะแก่การมงคล ดีสำหรับงานทั่วไปเกี่ยวกับความราบรื่นและสบาย ใช้ได้ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม แต่ที่นิยมถือกันว่าข้างขึ้น ดีกว่าข้างแรม แต่อย่างไรก็ตามข้างแรมก็ใช้ได้ให้คุณเช่นกัน

ดิถีมหาสิทธิโชค เป็นดิถีที่ดีรองลงมา ดิถีความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ เหมาะแก่การมงคล ดีสำหรับงานสำคัญ โดยเฉพาะโครงการระยะสั้น ใช้ได้ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม แต่ที่นิยมถือกันว่าข้างขึ้น ดีกว่าข้างแรม แต่อย่างไรก็ตามข้างแรมก็ใช้ได้ให้คุณเช่นกัน

ดิถีสิทธิโชค เป็นดิถีที่ดีรองลงมา โชคดี ให้ลาภผล เหมาะแก่การมงคล ดีสำหรับงานที่เป็นโครงการระยะยาว ใช้ได้ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม แต่ที่นิยมถือกันว่าข้างขึ้น ดีกว่าข้างแรม แต่อย่างไรก็ตามข้างแรมก็ใช้ได้ให้คุณเช่นกัน

ดิถีชัยโชค เป็นดิถีที่ดีรองลงมา ดิถีแห่งชัยชนะ เหมาะแก่การมงคล ดีสำหรับงานที่ต้องต่อสู้แข่งขันหรือรบทับจับศึก ใช้ได้ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม

ดิถีราชาโชค เป็นดิถีที่ดีรองลงมา เหมาะแก่การมงคล ดีสำหรับงานที่ต้องขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ใช้ได้ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม

ข้างขึ้นข้างแรม ของดิถีต่างๆ (ตัวเลขคือ ข้างขึ้น/แรม)
วัน-ดิถีดี
ดิถีอำมฤตโชค
ดิถีมหาสิทธิโชค ๑๑ ๑๔ ๑๐ ๑๑
ดิถีสิทธิโชค ๑๔ ๑๒ ๑๓ ๑๐ ๑๕
ดิถีชัยโชค ๑๐
ดิถีราชาโชค ๑๑ ๑๐ ๑๑
วัน-ดิถีร้าย จ    
ทักทิน
ทรทึก
ยมขันธ์ ๑๒ ๑๑
ทัคธทิน ๑๒ ๑๑ ๑๐
อัคนิโรธ
ทินกาล ๑๐
ทินสูร ๑๒ ๑๐ ๑๕
กาลโชค ๑๐
กาลสูร
กาลทัณฑ์ ๑๒ ๑๑ ๑๐
โลกาวินาศ ๑๐
วินาศ    
พิลา       ๑๐ ๑๒ ๑๒
มฤตยู       ๑๐
วันบอด       ๑๔ ๑๑
กาลทิน ๑๐ ๑๐
ดิถีพิฆาต ๑๒ ๑๑
พระกาล ๑๑

ดิถีอัคนิโรธ

[แก้]

อัคนิโรธหรือนางกาลกรรณีวิลัยวรรณ ก็คือชื่อของบุตรีของพญามัจจุราช มีผมแดง แต่งกายและทัดดอกไม้แดง เหาะล่องลอยมาในอากาศแล้วก็ตกลงสู่บ้านเรือนผู้คนในวันดิถีต่าง ๆ แสดงถึงอาเพศและเคราะห์หามยามร้ายต่าง ๆ หากเราไปกระทำการมงคล ที่ต้องกับอัคนิโรธในวันนั้น ๆ

ขึ้น/แรม ๑ ค่ำ อัคนิโรธตกลงในวัวควาย ท่านห้ามซื้อขายวัวควาย เปิดคอกปศุสัตว์

ขึ้น/แรม ๒ ค่ำ อัคนิโรธตกลงในป่า ห้ามไปเที่ยวป่า เดินทางในป่าเขา ต้ดไม้

ขึ้น/แรม ๓ ค่ำ อัคนิโรธตกลงในน้ำ ห้ามมิให้เดินทางโดยทางน้ำ ทางเรือ เล่นน้ำ หรือขุดบ่อขุดสระ

ขึ้น/แรม ๔ ค่ำ อัคนิโรธตกลงในภูเขา ห้ามไปเที่ยวเขา ปีนเขา

ขึ้น/แรม ๕ ค่ำ อัคนิโรธตกลงในที่ทางเขตคาม ห้ามิให้แบ่งที่ทาง รังวัดที่ดิน

ขึ้น/แรม ๖ ค่ำ อัคนิโรธตกลงในบ้านเรือน ห้ามมิให้ทำการมงคลยกเสาเอก ปลูกบ้านเรือน ขึ้นบ้านใหม่การมงคลในบ้านเรือน

ขึ้น/แรม ๗ ค่ำ อัคนิโรธตกลงในพระราชวัง ห้ามมิให้ทำการอภิเษกพระราชา

ขึ้น/แรม ๘ ค่ำ อัคนิโรธตกลงในยวดยาน ห้ามมิให้ซื้อขายยวดยาน หัดขับขี่ ออกรถใหม่ ฯลฯ

ขึ้น/แรม ๙ ค่ำ อัคนิโรธตกลงในแผ่นดิน ห้ามมิให้ขุดหลุมปลูกเรือน ขุดดิน ขุดบ่อ ถมดิน ฯลฯ

ขึ้น/แรม ๑๐ ค่ำ อัคนิโรธตกลงในเรือ ห้ามลงเรือ ห้ามต่อเรือ เอาเรือลงจากคาน

ขึ้น/แรม ๑๑ ค่ำ อัคนิโรธตกลงในพืชพรรณ ห้ามปลูกต้นไม้ เพาะชำ หว่าน ตอนต้นไม้ ฯลฯ

ขึ้น/แรม ๑๒ ค่ำ อัคนิโรธตกลงในตัวสตรี ห้ามซ่องเสพกับสตรี แต่งงาน ส่งตัวเจ้าสาว ฯลฯ

ขึ้น/แรม ๑๓ ค่ำ อัคนิโรธตกลงในตัวบุรุษ ห้ามซ่องเสพกับบุรา แต่งงาน ส่งตัวเข้าเรือนหอ ฯลฯ

ขึ้น/แรม ๑๔ ค่ำ อัคนิโรธตกลงในพัทธสีมา ห้ามมิให้ทำการอุปสมบทและบรรพชา

ขึ้น/แรม ๑๕ ค่ำ อัคนิโรธตกลงในเทวาอารักษ์ทั้งหลาย ห้ามมิให้ทำการเซ่นสรวงบวงพลี ไหว้ครู บูชาเทพทั้งปวง

วันภาณฤกษ์ หรือ ดีถีอายกรรมพราย

[แก้]

ตามตำราท่านห้ามไม่ให้ทำการมงคล และเดินทาง จะเป็นอันตรายต่างๆ นาๆ ถ้าทำการ วันปฐม จะลำบาก ,ทุติยะ จะเป็นอันตราย และตติยะ จะฉิบหาย

เดือน ปฐม ทุติยะ ตติยะ
๑๓ ๑๔ ๑๕
๑๐ ๑๑ ๑๒
๑๐
๑๑ ๑๓ ๑๔ ๑๕
๑๒
๑๐ ๑๑
วันดี-ร้าย ความหมาย
อำมฤคโชค               ความสำเร็จดี มีโชคดี
สิทธิโชค (มหาวัน) ความสำเร็จดี สมปรารถนา                                                    
มหาสิทธิโชค       ความสำเร็จอันดียิ่ง
ราชาโชค             โชคดี โชคที่ยิ่งใหญ่ โชคจากผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้สูงศักดิ์
ชัยโชค                 โชคดี มีชัยชนะ
ทักทิน                 วันที่ถูกทักท้วง ติเตียน เสื่อมเสีย
ทรทึก               วันที่ถูกลบหลู่ ครหานินทา
ทัคธทิน วันที่ไฟจะไหม้
ยมขันธ์ วันที่เหมือนอยู่ในกองนรก
อัคนิโรธ วันที่เหมือนอยู่ในกองไฟ ไฟจะรบกวน
ทินกาล วันตาย
ทินสูร วันที่จะเกิดการรบ ฆ่ากัน
กาลโชค วันที่โชคร้าย โชคแห่งความตาย
กาลสูร วันที่ถูกเบียดเบียน
กาลทัณฑ์ วันที่ถูกลงโทษ
โลกาวินาศ วันแห่งความเสียหาย พินาศ
วินาศ วันแห่งความพินาศ  
พิลา วันที่แตกหัก    
มฤตยู วันแห่งความตาย      
วันบอด วันแห่งความหมองเศร้า มืดมน ไม่เป็นผล    
กาลทิน วันแห่งโทษทุกข์


ดิถีมหาสูญ

[แก้]

เป็นวันห้ามทำการมงคล ซึ่งโบราณถือกันมาก แม้ตรงกับวันดีเท่าใดห้ามการมงคล ดิถีมหาสูญแต่โบราณนั้นท่านกำหนดตามเดือนทางจันทรคติและดิถี มี 2 ตำราดังนี้

  • ตำราโหราศาสตร์ไทย ปฏิทินโหราศาสตร์ไทย อ.ทองเจือ ใช้ราศีอาทิตย์(๑) และแรมค่ำ คำนวณ
อาทิตย์ มษ พภ มถ กฎ สห กน ตล พจ ธน มก กภ มน
ขึ้น/แรม ๑๐ ๑๒ ๑๐ ๑๒
  • ตำราพรหมชาติ ใช้แรมค่ำ เดือนจันทรคติ คำนวณ
เดือน ๖, ๓ ๗, ๑๐ ๘, ๕ ๑๑, ๒ ๙, ๒ ๑, ๔
ขึ้น/แรม ๑๒ ๑๐

ดิถีเรียงหมอน

[แก้]

ดิถีเรียงหมอน หรือดิถีแมลงปอ นี้ ใช้ในการแต่งงานถือฤกษ์แต่งงาน ขึ้น ๗, ๑๐, ๑๓ ค่ำ และแรม ๔, ๘, ๑๐, ๑๔ ค่ำ วันที่กำหนดไว้นี้ นับว่าเป็นวันเรียงหมอนได้ ดังนั้นการให้ฤกษ์แต่งงาน ควรหาฤกษ์ให้ตรงกับวันเรียงหมอนจึงจะดี

ดิถีที่เกิดโทษ คือ ขึ้น ๑, ๑๑, ๑๕ ค่ำ กับแรม ๗, ๙ ค่ำ ถ้าส่งตัวในวันดังกล่าว หญิงจะตายก่อนชาย อยู่ไม่ทันถึงแก่เฒ่า

ขึ้น ๒ ค่ำ ชายจะตายก่อนหญิง

แรม ๓, ๖ ค่ำ หญิงจะคลอดบุตรยาก คลอดแล้วบุตรจะตาย มิฉะนั้นตัวเองจะตาย

ขึ้น ๓, ๔, ๘, ๙, ๑๔ กับแรม ๑๑, ๑๒, ๑๓, ๑๕ ค่ำ จะอยู่กันไม่ยืด ต้องจากกัน

ขึ้น ๕, ๖, ๑๒ กับแรม ๒ ค่ำ เมื่อหญิงตั้งครรภ์ จะต้องตายจากกันข้างหนึ่ง ท่านว่าร้ายแรงยิ่งนัก

วันลอย วันฟู วันจม

[แก้]

วันลอย เป็นวันเหมาะแก่ การเริ่มต้นกิจการงาน และการมงคล สะดวก ไม่ติดขัด

วันฟู เป็นวันเหมาะแก่ วันที่ทำกิจการ การงาน การทำมาหากินและการอาชีพต่าง ๆ ของคนไทยในอดีต ซึ่งรวมถึงการทำการมงคลในเรื่องที่เกี่ยวด้วย งานที่อยู่กับที่

วันจม เป็นวันห้ามทำการมงคล ริ่เริ่มใหม่ ให้ทำแต่กิจการที่ทำอยู่หรือทำในเรื่องเล็กน้อย เพราะมักจะมีอุปสรรค เหตุขัดข้องเกิดขึ้น ห้ามเดินทางจากที่อยู่ เหมาะสำหรับ ออกคำสั่งบังคับบัญชา ประกาศ สั่งการ จ้างคน จ้างลูกน้อง หรือต้องการความเหนือกว่ามีอำนาจกว่า อำนาจควบคุม

ตำราพรหมชาติ ตำราโหราศาสตร์ไทย
เดือน วันลอย วันฟู วันจม วันลอย วันฟู วันจม
อาทิตย์ อังคาร พฤหัส อาทิตย์ อังคาร พฤหัส
จันทร์ พุธ ศุกร์ พุธ ศุกร์ อาทิตย์
อังคาร พฤหัส เสาร์ พฤหัส เสาร์ จันทร์
พุธ ศุกร์ อาทิตย์ ศุกร์ อาทิตย์ อังคาร
พฤหัส เสาร์ จันทร์ เสาร์ จันทร์ พุธ
๑๐ ศุกร์ อาทิตย์ อังคาร อาทิตย์ อังคาร พฤหัส
๑๑ เสาร์ จันทร์ พุธ จันทร์ พุธ ศุกร์
๑๒ อาทิตย์ อังคาร พฤหัส อังคาร พฤหัส เสาร์
จันทร์ พุธ ศุกร์ พุธ ศุกร์ อาทิตย์
อังคาร พฤหัส เสาร์ พฤหัส เสาร์ จันทร์
พุธ ศุกร์ อาทิตย์ ศุกร์ อาทิตย์ อังคาร
พฤหัส เสาร์ จันทร์ เสาร์ จันทร์ พุธ

ทักษา

[แก้]

ทักษา ทักษาปกรณ์ เป็นหลักการตั้งชื่อพื้นฐานตามโหราศาสตร์ที่สำคัญ คนไทยทั่วไปนิยมยึดถือปฏิบัติกันมากที่สุด ตามที่โบราณาจารย์ท่านได้กำหนด คำว่าทักษา ในทางโหราศาสตร์มีใช้หลายตำรา ทักษาหมายถึงดาวอัฏฐเคราะห์ ทั้ง 8 ที่มีลำดับการจัดเรียงเฉพาะ คือ พระอาทิตย์ (1) พระจันทร์ (2) พระอังคาร (3) พระพุธ (4) พระเสาร์ (7) พระพฤหัสบดี (5) พระราหู (8) และพระศุกร์ (6) ในการใช้ทักษาจะแทนด้วยวันเกิดซึ่งจะมีเพิ่ม พระราหู (8) หรือวันพุธกลางคืนเข้ามาด้วย เพื่อการอธิบายขอแยกเป็น 2 ส่วน คือ ภูมิ และ ทักษาภูมิ

ภูมิ

[แก้]

ภูมิหรือตำแหน่งจะมี 8 ภูมิ แต่ละภูมิหรือตำแหน่ง จะมีเรื่องราว ชื่อความหมายความเป็นมงคลอยู่ โดยจัดเรียงลำดับ ได้แก่

๑. บริวาร - ส่งเสริม แก้ไขเรื่อง บุตร สามี ภรรยา ลูกน้อง คนในปกครอง คนในบ้าน รวมไปจนถึงเพื่อนและมิตรสหาย สัตว์เลี้ยง การเกื้อหนุนจุนเจือไม่ขาด บารมี ผู้ใต้บังคับบัญชาให้ความเคารพ น่าเชื่อถือ มีดีมีเด่นในคนหมู่มาก

๒. อายุ - ส่งเสริม แก้ไขเรื่อง วิถีความเป็นอยู่ สุขภาพดี แข็งแรง อายุยืนยาว ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บร้ายแรงเบียดเบียน ไม่เครียด กายเป็นสุข ใจเป็นสุข

๓. เดช - ส่งเสริม แก้ไขเรื่อง บารมี เกียรติยศ ชื่อเสียง อำนาจ ให้คนเคารพยำเกรง การควบคุมบังคับบัญชาคนได้ ผู้ใต้บังคับบัญชาเชื่อฟัง กล้าหาญ เด็ดเดี่ยวจริงจังหนักแน่น เข้มแข็ง

๔. ศรี - ส่งเสริม แก้ไขเรื่อง สิ่งที่เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต หลักทรัพย์สิน บ้าน เรือกสวนไร่นา อสังหาริมทรัพย์ โชคลาภ เสน่ห์ที่ทำให้คนรักใคร่เมตตา มีสิริมงคล

๕. มูละ - ส่งเสริม แก้ไขเรื่อง ทรัพย์ ทรัพย์สินเงินทอง ทุนทรัพย์ผล ประโยชน์ หรือมรดก หลักฐานความมั่นคง ทำมาค้าขึ้น มีกำไร ประสบความสำเร็จในเรื่องเงิน ๆทอง ๆ

๖. อุตสาหะ - ส่งเสริม แก้ไขเรื่อง ความขยันหมั่นเพียร ให้เกิดผลสำเร็จ มีมานะอุตสาหะ หนักเอาเบาสู้ ไม่ท้อถอย มีความพยายามของตนเอง มีความรับผิดชอบ หัวคิดริเริ่มพยายาม แรงจูงใจ ทิฐิมานะ การประกอบกิจการค้า การเกษตรกรรม

๗. มนตรี - ส่งเสริม แก้ไขเรื่อง การอุปถัมภ์ค้ำชู ส่งเสริม อุปการะ สงเคราะห์เกื้อหนุนจากผู้ใหญ่ ครูอาจารย์ เจ้านาย และมีผู้ให้การช่วยเหลือ การดำเนินชีวิตและหน้าที่การงาน ครอบครัว ชอบไฝ่รู้

๘. กาลกิณี - โชคร้าย อัปมงคล ศัตรูคู่แข่ง คู่อาฆาต อุปสรรค ความยุ่งยาก ติดขัด เสียหาย วุ่นวายในการดำเนินชีวิต ความเหน็ดเหนื่อย ไม่มีโชคลาภห้ามนำอักษรในวรรคกาลกิณี นี้มาตั้งชื่อ

ทักษา

[แก้]

แทนด้วยดาวอัฏฐเคราะห์ หรือพระเคราะห์ทั้ง 8 ตามวันเกิด (การนับวันในทางโหราศาสตร์ซึ่งมีเพิ่ม พระราหู หรือพุธกลางคืน)

ดาวอัฏฐเคราะห์ หรือทักษามีการจัดเรียงลำดับแบบเฉพาะสลับตำแหน่งกันไม่ได้ คือ พระอาทิตย์ (1) พระจันทร์ (2) พระอังคาร (3) พระพุธ (4) พระเสาร์ (7) พระพฤหัสบดี (5) พระราหู (8) และพระศุกร์ (6) ตามลำดับ แตกต่างจากการจัดลำดับวันตามปรกติ ซึ่งเรียง วันอาทิตย์ - วันเสาร์ หรือ ราหู โดยแต่ละวันหรือดาวพระเคราะห์แต่ละดวง จะมีอักขระ และชื่อนามประจำตำแหน่ง ดังนี้

ดาวพระเคราะห์ นาม อักขระ
อาทิตย์(๑) ครุฑนาม อ และสระต่างๆ
จันทร์(๒) พยัคฆนาม ก ข ค ฆ ง
อังคาร(๓) ราชสีนาม จ ฉ ช ซ ฌ ญ
พุธ(๔) โสณนาม ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ
เสาร์(๗) นาคนาม ด ต ถ ท ธ น
พฤหัส(๕) มุสิกนาม บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม
ราหู(๘) คชนาม ย ร ล ว
ศุกร์(๖) อัชชนาม ศ ษ ส ห ฬ ฮ

อักขระอาทิตย์ (๑) อนุโลมให้ใช้ไม้หันอากาศ และเครื่องหมายทัณฑฆาต (การันต์) ได้

การวางทักษา

[แก้]

การวางหรือหมุนทักษามีวิธีการคือ ตั้งภูมิตำแหน่งคงที่แล้วหมุนทักษา หรือ ให้ทักษาคงที่แล้วหมุนภูมิก็ได้ โดยให้ทักษาวันเกิด อยู่ที่ตำแหน่งบริวารเสมอ จะได้อักขระภูมิทักษาทั้งหมด โดยอักขระต่าง ๆจะหมุนตามตำแหน่ง ย้ายไปอยู่ภูมิต่าง ๆ เช่นเกิดวันอาทิตย์ ให้หมุนอาทิตย์มาอยู่ที่ภูมิบริวาร

บริวาร

อายุ

เดช

กาลกิณี

ศรี

มนตรี

อุตสาหะ

มูละ

ทักษาของแต่ละวันเกิด (ราหู=พุธกลางคืน)
บริวาร
อายุ
เดช
ศรี
มูละ
อุตสาหะ
มนตรี
กาลกิณี

ตรีวัย

[แก้]

ตรีวัยหรือวัยทั้งสาม เป็นหลักวิชาพยากรณ์แบบหนึ่งในวิชาโหราศาสตร์ จะเว้นเสียไม่ได้ ด้วยเป็นหลักสำคัญอันมีกฎเกณฑ์ตายตัว ควบคู่ไปกับการเจริญวัยของมนุษย์ทุกคน ตามเกณฑ์อายุ

การหาตรีวัย

[แก้]

ให้ดูที่ตนุเศษ ตนุเศษอยู่ที่ราศีใด ดาวเคราะห์เจ้าเกษตรราศีนั้นเป็นดาวตนุเกษตร และราศีที่ตนุเศษสถิตอยู่เรียกภพตนุเกษตร นับเป็นภพตนุ แล้วนับเรื่อยไปจนภพวินาศ

หลักตรีวัยจะแบ่งชีวิตเป็นสามวัย หรือ ตรีวัย และจะมีวัยเทียบหรือวัยเบียนอีกหนึ่ง คือ

๑. ปฐมวัย ประกอบด้วย ภพตนุ ภพกฎุมภะ ภพกัมมะ

๒. มัจฉิมวัย ประกอบด้วย ภพสหัชชะ ภพศุภะ ภพลาภะ

๓. ปัจฉิมวัย ประกอบด้วย ภพพันธุ ภพปุตตะ ภพปัตนิ

๔. เป็นวัยเทียบ หรือวัยเบียน ภพอริ ภพมรณะ ภพวินาศ

แต่ละวัยอายุ ๒๕ ปี ภพละ ๘ ปี ๔ เดือน

ปฐมวัย มัชฌิมวัย ปัจฉิมวัย วัยเทียบ
ตนุ (๐-๘.๔) สหัสชะ (๒๕-๓๓.๔) พันธุ (๕๐-๕๘.๔) อริ
กดุมภะ (๘.๔-๑๖.๘) สุภะ (๓๓.๔-๔๑.๘) ปุตตะ (๕๘.๔-๖๖.๘) มรณะ
กัมมะ (๑๖.๘-๒๕) ลาภะ (๔๑.๘-๕๐) ปัตนิ (๖๖.๘-๗๕) วินาศ

ปฐมวัย

[แก้]

นับตั้งแต่แรกเกิดเจริญวัยขึ้นมา จนอายุได้ ๘ ปี ๔ เดือน วัยนี้อยู่ในขอบเขตของภพตนุ ชีวิตในวัยเด็ก สุขสมบูรณ์ สนุกสนาน มีความสุขสมวัย ก็ดูที่ภพตนุ

อายุ ๘ ปี ๔ เดือนกับ ๑ วันไปจนถึงอายุ ๑๖ ปี ๘ เดือน ตกอยู่ในภพกฎุมภะ เป็นวัยรุ่นวัยคะนองวัยเรียน จะได้รับการส่งเสริมการเรียน ก็ดูที่ภพกฎุมภะ

จนมาอายุ ๑๖ ปี ๘ เดือนกับอีก ๑ วัน ไปจนถึง ๒๕ ปี ตกในภพกัมมะ เรียกว่าเป็นวัยของหนุ่มสาว ที่เรียนจบเริ่มทำงาน หรือเรียนต่อ ป.โท มีกำลัง สติปัญญา ที่จะใช้ตามอารมณ์ความต้องการของวัยเจริญพันธุ์ หรือตามเหตุผลในการสร้างตัว สร้างงานให้เจริญก้าวหน้า

มัชฌิมวัย

[แก้]

อายุตั้งแต่ ๒๕ ปี กับ ๑ วัน ถึงอายุ ๓๓ ปี ๔ เดือน ตกในภพสหัชชะ ต้องรับผิดชอบตนเองและครอบครัว มีวิถีการดำเนินชีวิตที่ต้องรับผิดชอบต่อคนรอบข้างและตนเอง กำลังก่อร่างสร้างตัว ร่างกาย สติปัญญา กำลังปราดเปรื่อง จะสำเร็จหรือเหนื่อยยาก ก็ดูที่ภพสหัชชะ

ตั้งแต่อายุ ๓๓ ปี ๔ เดือนกับอีก ๑ วัน ไปจนถึงอายุ ๔๑ ปี ๘ เดือน อยู่ในเขตของภพศุภะ วิถีของคนในวัยนี้ ต้องรับผิดชอบความเป็นอยู่ของลูกและครอบครัวอย่างเต็มเปี่ยม จึงพร้อมชนกับอุปสรรคและปัญหาทุกอย่างเพื่อความอยู่รอด พยายามสร้างความมั่นคงความเจริญรุ่งเรือง ให้ตัวเองและครอบครัว

อายุ ๔๑ ปี ๘ เดือนกับ ๑ วัน ถึงอายุ ๕๐ ปี ตกอยู่ในภพลาภะชีวิตในวัยนี้จะมีเหตุการณ์ต่าง ๆมากมาย เต็มไปด้วยภาระความรับผิดชอบที่ขยายมากขึ้นจากช่วงก่อน ต้องต่อสู้ในบางคน และกำลังฟุ้งเฟ้อหลงระเริงในแสงสีเสียง จะผ่านจากวัยนี้อย่างสวยงาม หรือบอบช้ำ ก็ดูที่ภพลาภะ

ปัจฉิมวัย

[แก้]

จากอายุ ๕๐ ปี ขึ้นไปจนถึงอายุ ๕๘ ปี ๔ เดือน ตกอยู่ในภพพันธุ อยู่ในเกณฑ์วัยสูงอายุ แต่กำลังร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ยังมีประสิทธิภาพดี ราชการก็ยังไม่เกษียณอายุ จะมีชีวิตราบรื่นสบาย หรือต้องคอยจัดการกับปัญหาที่ลูกหลานหามาให้ปวดหัว หรือไม่ตัวเองก็ออกไปหาปัญหามาเอง

ตั้งแต่อายุ ๕๘ ปี ๔ เดือน กับอีก ๑ วัน ถึงอายุ ๖๖ ปี ๘ เดือน ตกอยู่ในอาณาเขตของภพปุตตะ ก็ต้องคอยส่งเสริมและแก้ปัญหาให้ลูกหลาน บริวารคนรอบข้าง ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้เพื่อไว้บอกกล่าวสั่งสอนผู้คน และต้องระวังสุขภาพความป่วยไข้ ดูที่ภพปุตตะ

อายุ ๖๖ปี ๘ เดือน กับ ๑ วัน ถึงอายุ ๗๕ ปี อยู่ที่ภพปัตนิ จะใช้ชีวิตให้สุขสมวัย หรือยังมีเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจอีก ก็ดูที่ภพปัตนิ

จากนั้นก็ยังมีวัยเทียบหรือวัยเบียน ที่มีความหมายเป็นสองนัยด้วยกัน คือ นำมาแบ่งเป็นภพละ ๘ ปี ๔ เดือน

กับใช้เป็นตัวบ่อนเบียนทำให้ภพที่ดีนั้นเสื่อมโทรมลง

การพยากรณ์จร ในตรีวัยนั้นให้เปลี่ยนตามอายุทักษา คือ เป็นปีไป ไม่ใช่ วัยหนึ่งอายุ ๘ ปี ๔ เดือน เหตุเพราะใช้ทักษาในการอ่านดวงชะตาเพื่อพยากรณ์ และกำเนิดตรีวัย ก็มีมาแต่คัมภีร์ทักษาพยากรณ์

ในอายุปีใดดาวในวัยต่างใด เป็นเดช ศรี มนตรี แล้วสัมพันธ์กับลัคนา วัยนั้นก็จะให้คุณ ส่งเสริมเจ้าชะตา แต่ถ้าเป็นกาลกิณี หรือดาววัยนั้น ๆ อยู่ในทุสถานะภพ ก็ทำให้มีอุปสรรค ความเสื่อมถอย มาสู่เจ้าชะตา

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]