ข้ามไปเนื้อหา

โลกอาหรับ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โลกอาหรับ
พื้นที่13,132,327 ตารางกิโลเมตร (5,070,420 ตารางไมล์)[1]
ประชากร436,000,000[2]
ความหนาแน่น29.839/กม2 (70.37/ตร ไมล์)[3]
จีดีพี (ราคาตลาด)2.782 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[4]
จีดีพีต่อหัว6,647 ดอลลาร์สหรัฐ[5]
เดมะนิมชาวอาหรับ
ประเทศ
ดินแดนสันนิบาตอาหรับ[6]
เขตเวลาUTC±00:00 ถึง UTC+04:00
โดเมนระดับบนสุด.africa, .asia
เมืองใหญ่เมืองสำคัญในโลกอาหรับ

โลกอาหรับ (อาหรับ: العالم العربي) อดีตมีชื่อว่า บ้านเกิดอาหรับ (الوطن العربي)[7][8][9] มีอีกชื่อว่า ชาติอาหรับ (الأمة العربية) หรือ รัฐอาหรับ[10] ประกอบด้วย 22 ประเทศอาหรับที่เป็นสมาชิกสันนิบาตอาหรับ[6] ประเทศส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตก, แอฟริกาเหนือ, แอฟริกาตะวันตก และแอฟริกาตะวันออก ภูมิภาคนี้แผ่จากมหาสมุทรแอตแลนติกทางตะวันตกจรดทะเลอาหรับทางตะวันออก และจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางเหนือจรดมหาสมุทรอินเดียทางตะวันออกเฉียงใต้[6] ส่วนตะวันออกของโลกอาหรับมีชื่อเรียกว่าอัลมัชริก และฝั่งตะวันตกมีชื่อเรียกว่าอัลมัฆริบ ภาษาอาหรับถือเป็นภาษากลางทั่วโลกอาหรับ

มอลตา ประเทศเกาะในยุโรปใต้ที่ภาษาประจำชาติมีที่มาจากภาษาอาหรับ (ผ่านภาษาอาหรับซิซิลี) ไม่ได้รวมในภูมิภาคนี้ เช่นเดียวกันกับประเทศชาด, เอริเทรีย และอิสราเอลที่ยอมรับภาษาอาหรับเป็นหนึ่งในภาษาราชการหรือภาษาที่ใช้ในการทำงาน แต่ไม่ได้รวมในภูมิภาคนี้เนื่องไม่ได้เป็นสมาชิกสันนิบาตอาหรับ (ถึงแม้ว่าชาดและเอริเทรียจะขอเป็นสมาชิกเต็มตัวใน ค.ศ. 2014 ก็ตาม) โลกอาหรับมีประชากรรวมประมาณ 422 ล้านคน (ณ ค.ศ. 2012)[11] และมีจีดีพีที่ 2.782 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (2018)

ในประวัติศาสตร์หลังสมัยคลาสสิก โลกอาหรับมักมีส่วนเกี่ยวโยงกับอดีตจักรวรรดิและรัฐเคาะลีฟะฮ์อาหรับ ชาตินิยมอาหรับถือกำเนิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ร่วมกับขบวนการชาตินิยมอื่น ๆ ในจักรวรรดิออตโตมัน มีการจัดตั้งสันนิบาตอาหรับขึ้นใน ค.ศ. 1945 เพื่อเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของอาหรับ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทำให้การรวมตัวทางการเมืองของประเทศอาหรับลุล่วงไปได้ โครงการนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ อุดมการณ์รวมกลุ่มอาหรับ (Pan-Arabism)[12][13]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Arab World – Surface area". indexmundi.com.
  2. "Arab World | Data". data.worldbank.org. สืบค้นเมื่อ 6 May 2022.
  3. "Population density (people per sq. km of land area) | Data". data.worldbank.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  4. "GDP (current US$) | Data". data.worldbank.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  5. "GNI per capita, Atlas method (current US$) | Data". data.worldbank.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  6. 6.0 6.1 6.2 Frishkopf: 61: "No universally accepted definition of 'the Arab world' exists, but it is generally assumed to include the twenty-two countries belonging to the Arab League that have a combined population of about 280 million (Seib 2005, 604). For the purposes of this introduction, this territorial definition is combined with a linguistic one (use of the Arabic language, or its recognition as critical to identity), and thereby extended into multiple diasporas, especially the Americas, Europe, Southeast Asia, West Africa, and Australia."
  7. Khan, Zafarul-Islam. "The Arab World – an Arab perspective". milligazette.com (ภาษาอังกฤษ).
  8. Phillips, Christopher (2012). Everyday Arab Identity: The Daily Reproduction of the Arab World (ภาษาอังกฤษ). Routledge. p. 94. ISBN 978-1-136-21960-3.
  9. Mellor, Noha; Rinnawi, Khalil; Dajani, Nabil; Ayish, Muhammad I. (2013). Arab Media: Globalization and Emerging Media Industries (ภาษาอังกฤษ). John Wiley & Sons. ISBN 978-0745637365.
  10. "Majority and Minorities in the Arab World: The Lack of a Unifying Narrative". Jerusalem Center For Public Affairs.
  11. "World Arabic Language Day". UNESCO. 18 December 2012. สืบค้นเมื่อ 12 February 2014.
  12. "Arab League Sends Delegation to Iraq". Encyclopedia.com. 8 October 2005. สืบค้นเมื่อ 13 February 2011.
  13. "Arab League Warns of Civil War in Iraq". Encyclopedia.com. 8 October 2005. สืบค้นเมื่อ 13 February 2011.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • คู่มือการท่องเที่ยว โลกอาหรับ จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)