เนินทรายรูปพระจันทร์เสี้ยว
เนินทรายรูปพระจันทร์เสี้ยว เป็นเนินทรายที่มีลักษณะคล้ายพระจันทร์เสี้ยว หรือลักษณะเป็นแนวโค้ง ซึ่งจะประกอบไปด้วยตะกอนทรายที่มีความกลมมนที่ดี, มักเกิดขึ้นในทะเลทรายที่มีอากาศแห้งแล้งมาก และมักเกิดในพื้นที่ที่ปริมาณตะกอนขนาดทรายมีน้อย โดยเนินทรายดังกล่าวจะมีการวางตัวขนานไปกับทิศทางลม เนินทรายชนิดดังกล่าวนี้จะมียอดเขาที่มีสันสูงชัน 2 ด้าน คือด้านแรกคือด้านหลังลม หรือปลายแหลมด้านหาง เป็นด้านที่ทำมุมทรงตัว (Angle of repose: ทางลาดที่มีมุมเอียงสูงสุด ซึ่งทำให้เศษหิน ดิน ทราย ไม่เลื่อนต่อไป โดยปกติมุมเอียงจะอยู่ระหว่าง 33-37 องศา กับแนวนอนทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะและขนาดของมวลนั้น ๆ ด้วย) กับทรายหรือทำมุมประมาณ 32 องศา จะทำให้เนินทรายชี้ไปในทิศทางที่ลมพัดไป อีกด้านคือด้านหน้าลม หรือปลายโค้งด้านหัวเนิน เป็นด้านที่เต็มไปด้วยลมและทำมุมประมาณ 15 องศา ทำให้เนินทรายชี้ไปทางด้านต้นลม โดยปกติแล้วเนินทรายรูปพระจันทร์เสี้ยวอาจจะมีความสูงเป็น 1-100 เมตร หรืออยู่ระหว่างจุดปลายสุดของพระจันทร์เสี้ยวหรือแนวโค้ง
โดยทั่วไปแล้ว เนินทรายรูปพระจันทร์เสี้ยวอาจจะปรากฏเนินทรายขนาดใหญ่ ซึ่งจะเรียกว่าเนินทราย ดังกล่าวว่า เนินทรายรูปพระจันทร์เสี้ยว (Barchan Dunes) หรือเนินทรายรูปพระจันทร์เสี้ยวขนาดใหญ่ (Megabarchan Dunes) ซึ่งมีการเคลื่อนของเนินทรายไปตามทิศทางของลม และอาจจะมีการรวมตัวกันเป็นเนินทรายที่มีขนาดความสูงประมาณ 100 กิโลเมตร
การเคลื่อนของเนินทรายรูปพระจันทร์เสี้ยวที่เป็นเนินทรายขนาดเล็กจะมีการเคลื่อนที่เร็วกว่าเนินทรายขนาดใหญ่ โดยที่การเคลื่อนที่จะมีการเคลื่อนที่เข้ามาชนกับส่วนหลังของเนินทรายที่มีขนาดใหญ่กว่าซึ่งจะทำให้เกิดการรวมตัวกันกลายเป็นเนินทรายที่มีขนาดใหญ่ขึ้น โดยกระบวนการดังกล่าวจะคล้ายคลึงกับคลื่นแสง, เสียงหรือน้ำที่มีการเคลื่อนที่ผ่านสิ่งอื่น ๆ เป็นเส้นตรง รายละเอียดของโครงสร้างของกระบวนการดังกล่าวนั้นจะมีความแตกต่าง และจะทำให้ไม่เป็นเส้นตรงซึ่งเรียกว่า soliton
การเคลื่อนของเนินทรายพยายามเลียนแบบพฤติกรรมของ soliton แต่จะแตกต่างกันตรงที่ตะกอนทรายจะไม่มีการเคลื่อนที่ผ่านสิ่งอื่น ๆ เมื่อเนินทรายขนาดเล็กมีการเคลื่อนที่ไปชนกับเนินทรายที่มีขนาดใหญ่กว่านั้น ลมจะมีการพัดพาตะกอนทรายมาตกสะสมบนบริเวณที่เนินทรายมีการชน และในเวลาเดียวกันนั้นตะกอนทรายจากเนินทรายก่อนหน้านี้จะถูกพัดออกมาเติมบริเวณที่เกิดการชนกัน โดยการเคลื่อนที่ชนกันของเนินทรายนั้นสามารถนำมาสันนิษฐานถึงขอบเขตของเนินทรายที่เกิดขึ้นก่อนโดยสังเกตได้จากการเคลื่อนที่ของเนินทรายที่มีขนาดเล็กกว่าที่เคลื่อนที่อยู่ ซึ่งจะลมจะเป็นตัวที่ช่วยให้มีการเคลื่อนที่ของเนินทรายด้วยความเร็ว
อ้างอิง
[แก้]- คณะอนุกรรมการจัดทำพจนานุกรมธรณีวิทยา. (2530). พจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา อังกฤษ-ไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
- ปัญญา จารุศิริ และคณะ. (2545). ธรณีวิทยากายภาพ. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
- Schwämmle, V., and H.J. Herrmann (2003). "Solitary wave behaviour of sand dunes". Nature 426 (Dec. 11): 619–620 Abstract. doi:10.1038/426619a.
- H. Elbelrhiti, P. Claudin, and B. Andreotti (2005). "Field evidence for surface-wave-induced instability of sand dunes". Nature 437 (Sep. 29): 720–723 Abstract. doi:10.1038/nature04058.