เทสลา (หน่วยวัด)
หน้าตา
เทสลา | |
---|---|
ระบบการวัด | หน่วยอนุพัทธ์เอสไอ |
เป็นหน่วยของ | ความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก |
สัญลักษณ์ | T |
ตั้งชื่อตาม | นิโคลา เทสลา |
การแปลงหน่วย | |
1 T ใน ... | ... มีค่าเท่ากับ ... |
ตามบทนิยาม | 1 Wb⋅m−2 |
หน่วยฐานเอสไอ | 1 kg⋅s−2⋅A−1 |
เทสลา (อังกฤษ: tesla สัญลักษณ์ T) เป็นหน่วยอนุพัทธ์เอสไอของการเหนี่ยวนำทางแม่เหล็กไฟฟ้า (รวมถึงความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็กด้วย)
1 เทสลา มีค่าเท่ากับ 1 เวเบอร์ต่อตารางเมตร ซึ่งหน่วยเทสลาถูกประกาศให้ใช้โดยทั่วกันในระหว่างการประชุมของที่ประชุมใหญ่ว่าด้วยการชั่งตวงวัดในปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) และตั้งชื่อเป็นการให้เกียรติแก่นิโคลา เทสลา[1] ตามข้อเสนอของวิศวกรไฟฟ้าชาวสโลวีเนีย แฟรนซ์ แอฟซิน (France Avčin)
นิยาม
[แก้]อนุภาคใด ๆ ที่มีประจุ 1 คูลอมบ์ และเคลื่อนที่ตั้งฉากตลอดกับสนามแม่เหล็ก 1 เทสลา ด้วยอัตราเร็ว 1 เมตรต่อวินาที อนุภาคนั้นจะได้ถูกแรงกระทำขนาด 1 นิวตัน โดยอิงตามกฎของแรงลอเรนซ์ ซึ่งหน่วยเทสลาสามารถแสดงเป็นหน่วยอนุพัทธ์เอสไอได้ดังต่อไปนี้
(สมการตัวสุดท้ายเป็นหน่วยฐานเอสไอ)[2]
หน่วยที่ใช้มีดังนี้
- A = แอมแปร์
- C = คูลอมบ์
- kg = กิโลกรัม
- m = เมตร
- N = นิวตัน
- s = วินาที
- H = เฮนรี
- V = โวลต์
- J = จูล
- Wb = เวเบอร์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Details of SI units". sizes.com. 2011-07-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-15. สืบค้นเมื่อ 2011-10-04.
- ↑ The International System of Units (SI), 8th edition, BIPM, eds. (2006), ISBN 92-822-2213-6, Table 3. Coherent derived units in the SI with special names and symbols เก็บถาวร 2007-06-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน