เติมศักดิ์ กฤษณามระ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เติมศักดิ์ กฤษณามระ
อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดำรงตำแหน่ง
4 มิถุนายน พ.ศ. 2518 – 3 มิถุนายน พ.ศ. 2520
(1 ปี 365 วัน)
ก่อนหน้าศ.ดร.อรุณ สรเทศน์
ถัดไปศ.ดร.เกษม สุวรรณกุล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 กันยายน พ.ศ. 2470 (96 ปี)
ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสนางสายจิตร กฤษณามระ (ณ สงขลา)

ศาสตราจารย์กิตติคุณ เติมศักดิ์ กฤษณามระ ผู้อำนวยการสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานราชินีมูลนิธิ

ประวัติ[แก้]

ศาสตราจารย์กิตติคุณ เติมศักดิ์ กฤษณามระ เกิดเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2470 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนโตของศาสตราจารย์อุปการคุณ พระยาไชยยศสมบัติ (เสริม กฤษณามระ) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และคุณหญิงศรี ไชยยศสมบัติ สมรสกับนางสายจิตร กฤษณามระ (ณ สงขลา) (ถึงแก่อนิจกรรม) บุตรีเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) กับท่านผู้หญิงน้อม ศรีธรรมาธิเบศ มีบุตร-ธิดา รวม 2 คน

การศึกษา[แก้]

ศาสตราจารย์กิตติคุณ เติมศักดิ์ กฤษณามระ จบชั้นมัธยมจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา[1] จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขา Commerce ที่สหราชอาณาจักร จากนั้นยังได้ศึกษาเพิ่มเติมอีกที่ The Institute of Chartered Accountants และ The Institute of Chartered Accountants ที่สหราชอาณาจักรเช่นกัน

การทำงาน[แก้]

ศาสตราจารย์กิตติคุณ เติมศักดิ์ กฤษณามระ เริ่มรับราชการตำแหน่งอาจารย์ในคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2499 ได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ทางวิชาการบัญชีในปี พ.ศ. 2510 และได้ดำรงตำแหน่งคณบดีเมื่อ พ.ศ. 2514 นอกจากนั้นยังได้รับหน้าที่สำคัญหลายตำแหน่งในการบริหารมหาวิทยาลัย คือ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา รองอธิการบดีฝ่ายทรัพย์สิน และได้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี จาก พ.ศ. 2518 ถึง พ.ศ. 2520 ต่อมาได้ลาออกจากราชการเป็นข้าราชการบำนาญเมื่อ พ.ศ. 2520 แต่ทางจุฬาฯได้ขอให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันภาษาเมื่อ พ.ศ. 2521 และได้ขอให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2525 และ ในปี พ.ศ. 2530 ได้ขอพระบรมราชานุญาตพระราชทานชื่อของ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็น “สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ” และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ. 2541 จนถึงปัจจุบันนี้

เคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[2]

เกียรติคุณที่ได้รับการยกย่อง[แก้]

  • ศาสตราจารย์กิตติคุณจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2529
  • ปริญญาบัญชีดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2530
  • นิสิตเก่าเกียรติยศ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551
  • ปูชนียาจารย์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2554

กิจกรรมพิเศษอื่น ๆ[แก้]

  • กรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย
  • ที่ปรึกษาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  • กรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี
  • กรรมการธนาคารศรีนคร
  • กรรมการธนาคารมหานคร
  • กรรมการสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย
  • กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ประธานกรรมการราชินีมูลนิธิ
  • นายกสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย
  • เหรัญญิกมูลนิธิประชาธิปก-รำไพพรรณี
  • ประธานมูลนิธิศาลาพระราชศรัทธา
  • ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ บริษัท กรุงกวี จำกัด
  • ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตบริษัทดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. รายนามนักเรียนเก่าเตรียมอุดมศึกษารุ่น 6 จำนวน 59 คน[ลิงก์เสีย]
  2. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕, ๑๘ เมษายน ๒๕๒๓
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๙๓ ง หน้า ๒๒๔๖, ๑๒ มิถุนายน ๒๕๒๒
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๘๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๒๗

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]


ก่อนหน้า เติมศักดิ์ กฤษณามระ ถัดไป
ศาสตราจารย์ ดร.อรุณ สรเทศน์
อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(4 มิถุนายน พ.ศ. 2518 - 3 มิถุนายน พ.ศ. 2520)
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.
เกษม สุวรรณกุล