ข้ามไปเนื้อหา

เฉิน เฉิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เฉิน เฉิง
陳誠
เฉิน เฉิง ขณะดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีที่ไต้หวัน
รองประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐจีน
ดำรงตำแหน่ง
20 พฤษภาคม 1954 – 5 มีนาคม 1965
ประธานาธิบดีเจียง ไคเชก
ก่อนหน้าหลี่ จงเหริน
ถัดไปหยาน เจียก้าน
นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐจีน
ดำรงตำแหน่ง
7 มีนาคม 1950 – 7 มิถุนายน 1954
ประธานาธิบดีเจียง ไคเชก
รองจาง ลี่เชิง
หฺวัง เฉากู่
ก่อนหน้าหยาน ซีชาน
ถัดไปยฺหวี หง-จฺวิน
ดำรงตำแหน่ง
30 มิถุนายน 1958 – 15 ธันวาม 1963
ประธานาธิบดีเจียง ไคเชก
รองหฺวัง เฉากู่
หวัง ยฺหวินอู่
ก่อนหน้ายฺหวี หง-จฺวิน
ถัดไปหยาน เจียก้าน
ประธานคนที่ 2 ของรัฐบาลท้องถิ่นไต้หวันประจำภูมิภาค
ดำรงตำแหน่ง
5 มกราคม 1949 – 21 ธันวาคม 1949
ประธานาธิบดีเจียง ไคเชก
หลี่ จงเหริน (รักษาการ)
ก่อนหน้าเว่ย์ เต้าหมิง
ถัดไปอู๋ กั๋วเจิน
หัวหน้าเจ้าหน้าที่คนที่ 1 แห่งกองทัพสาธารณรัฐจีน
ดำรงตำแหน่ง
23 มีนาคม 1946 – 12 พฤษภาคม 1948
ประธานาธิบดีเจียง ไคเชก
ก่อนหน้าตำแหน่งเพิ่งสถาปนา
ถัดไปกู้ จู้ท่ง
ผู้บัญชาการทหารสูงสุดคนที่ 1 แห่งกองทัพเรือสาธารณรัฐจีน
ดำรงตำแหน่ง
1 กรกฎาคม 1946 – 25 สิงหาคม 1948
ประธานาธิบดีเจียง ไคเชก
ก่อนหน้าตำแหน่งเพิ่งสถาปนา
ถัดไปกุ้ย หย่งชิง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดมกราคม 4, 1897
ชิงเทียน, มณฑลเจ้อเจียง, ราชวงศ์ชิง
เสียชีวิต5 มีนาคม ค.ศ. 1965(1965-03-05) (68 ปี)
กรุงไทเป, สาธารณรัฐจีน สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)
เชื้อชาติสาธารณรัฐจีน
พรรคการเมือง พรรคก๊กมินตั๋ง
คู่สมรสTan Xiang
บุตรChen Li-an
ญาติTan Yankai (father-in-law)
อาชีพนักการเมือง, นักการทหาร
รางวัลสาธารณรัฐจีน เครื่องอิสริยาภรณ์ตะวันสาดส่อง ท้องฟ้าสีคราม
นาซีเยอรมนี เครื่องอิสริยาภรณ์อินทรีเยอรมัน
ชื่อเล่นจอมทัพน้อย
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949)
สังกัดสาธารณรัฐจีน กองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน
สาธารณรัฐจีน กองทัพสาธารณรัฐจีน
ประจำการ1924–1950
ยศนายพล
หน่วย11th division
บังคับบัญชากองทัพบกที่ 18 (กองทัพปฏิวัติแห่งชาติ)
หมวด 11 (กองทัพปฏิวัติแห่งชาติ)
ผ่านศึก

เฉิน เฉิง (จีนตัวเต็ม: 陳誠; จีนตัวย่อ: 陈诚; พินอิน: Chén Chéng; 4 มกราคม ค.ศ. 1897 – 5 มีนาคม ค.ศ. 1965) เป็นนักการเมืองและการทหารของสาธารณรัฐจีน และเป็นหนึ่งในผู้บัญชาการกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีนโดยเป็นผู้บัญชาการในระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง และ สงครามกลางเมืองจีน หลังจากที่ย้ายไปไต้หวันที่ส่วนท้ายของสงครามกลางเมืองที่เขาทำหน้าที่เป็น ผู้ว่าราชการจังหวัดไต้หวัน , รองประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน และ นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐจีน เขายังเป็นตัวแทนของสาธารณรัฐจีน ในการเยี่ยมเยือนสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้เขายังช่วยในการริเริ่มการปฏิรูปที่ดินและโครงการลดภาษีที่ทำให้ลัทธิคอมมิวนิสต์กลายเป็นสิ่งที่ไม่น่าสนใจในไต้หวันซึ่งชาวนาสามารถครอบครองที่ดินได้ นามแฝงของเขาคือ เฉิน ฉือซิว (陳辭修; Chén Cíxiū).

ประวัติ

[แก้]

ชีวิตในช่วงแรก

[แก้]
เฉิน เฉิง ปี ค.ศ. 1920

เฉิน เฉิง เกิดในเมืองชิงเทียน, มณฑลเจ้อเจียง เขาสำเร็จการศึกษาจาก โรงเรียนทหารเป่าติ้ง ในปี 1922 และเข้ามาศึกษาที่โรงเรียนการทหารหวงผู่ สองปีต่อมา ที่นี่เป็นที่ซึ่งเขาพบ เจียง ไคเชก เป็นครั้งแรกซึ่งในขณะนั้นเจียงก็ได้เป็นผู้อำนวยการของสถาบัน ต่อมาเฉินได้เข้าร่วมเป็นทหารของกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน และมีส่วนเข้าร่วมรบในการกรีฑาทัพขึ้นเหนือ

บทบาทในกองทัพ

[แก้]
เฉิน เฉิง ยืนตรงกลางระหว่าง ไป้ ช่งฉี่(ซ้าย) หลี่ จงเหริน(ขวา)ขณะตรวจราชการที่เมืองหนานหนิง วันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1936

ในระหว่างการกรีฑาทัพขึ้นภาคเหนือ เฉินแสดงความสามารถในการเป็นผู้นำที่ยอดเยี่ยมของเขา ภายในหนึ่งปีแห่งการพิชิตเขาได้รับการเลื่อนตำแหน่งจากผู้บังคับบัญชาไปยังหน่วยงานต่างๆ

ต่อมาหลังจากการเดินทางเฉินก็เริ่มทำงานในสงครามต่อต้านขุนศึก ความสำเร็จของเขาในการต่อสู้เหล่านี้ทำให้เขาได้รับการเลื่อนตำแหน่งอีกครั้ง ในคราวนี้เขาได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการของกองทัพบกที่ 18 (กองทัพปฏิวัติแห่งชาติ)

เฉิน เฉิงได้ร่วมรบกับเจียง ไคเชกกรีฑาทัพขึ้นเหนือสำเร็จ โค่นล้มรัฐบาลเป่ยหยาง เป็นผลให้เหล่าขุนศึกถูกปราบ แผ่นดินรวมเป็นหนึ่ง มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ภายใต้รัฐบาลชาตินิยม หรือ "รัฐบาลจีนคณะชาติ" ของพรรคก๊กมินตั๋งที่กรุงหนานจิง ในระหว่างที่ทำพิธีจัดตั้งรัฐบาลเฉิน เฉิงได้ร่วมเป็นหนึ่งในพิธีที่กรุงหนานจิงด้วย

การงานที่รัฐบาลคณะชาติหนานจิง

[แก้]

เมื่อได้มีการตั้งรัฐบาลจีนคณะชาติที่กรุงหนานจิงแล้ว รัฐบาลจีนขณะนั้นได้รับความช่วยเหลือทางทหารจากรัฐบาลนาซีเยอรมัน เฉิน เฉิงได้รับมอบหมายให้เป็นผู้คุมและผู้ติดต่อกับเจ้าหน้าที่เยอรมัน ในการฝึกกองทัพที่เขาบัญชาการอยู่ นอกจากนี้เฉิน เฉิงยังได้เดินทางบินไปศึกษาดูงานที่เยอรมนีหลายครั้ง จนได้รับแต่งตั้งเป็นหนึ่งในคณะทูตทหารจีนประจำเยอรมันและได้รับมอบเครื่องอิสริยาภรณ์อินทรีเยอรมัน

การต่อต้านคอมมิวนิสต์

[แก้]

สงครามกลางเมืองจีนครั้งแรก

[แก้]

เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1931 เฉินได้รับมอบหมายให้ปราบปรามพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งมีกองทัพเป็นของตนเองคือกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนหรือ "กองทัพแดง" ภารกิจของเฉินในการรบต่าง ๆ เพื่อค้นหากำลังหลักของกองทัพแดง หน่วยของเฉินประสบกับการบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก ในการรณรงค์ต่อต้านคอมมิวนิสต์ครั้งที่ห้าในที่สุดเขาก็สามารถเอาชนะพวกคอมมิวนิสต์ได้และบีบให้กองทัพแดงเปิดฉากการเดินทัพทางไกล

การรณรงค์ต่อต้านกองทัพแดงสิ้นสุดลงหลังจาก อุบัติการณ์ซีอาน ซึ่งเจียงไคเชกและเจ้าหน้าที่ของเขาถูกบังคับให้ตกลงร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ เป็นการสิ้นสุดสงครามกลางเมืองจีนชั่วคราว พรรคก๊กมินตั๋งและพรรคคอมมิวนิสต์จีนร่วมมือกันเพื่อต่อต้านการรุกรานประเทศจีนของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น

สงครามต่อต้านญี่ปุ่น

[แก้]

สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง

[แก้]
เฉิน เฉิงในช่วงระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง
เฉิน เฉิง (ขวาด้านหลัง) ขณะตรวจพลทหารพร้อมจอมทัพเจียง ไคเชก (ด้านหน้า)

ในระหว่างยุทธการเซี่ยงไฮ้ เขาเป็นหนึ่งในผู้ช่วยทหารชั้นนำของเจียงไคเชก เฉินมีแนวความคิดที่จะแสวงหาการกระทำที่เด็ดขาดในภาคใต้แทนที่จะเผชิญหน้ากับญี่ปุ่นในภาคเหนือของจีน ซึ่งกองกำลังชาตินิยมอยู่ในสภาพที่ไม่ดีและขาดพาหนะขนส่ง หลังจากการล่มสลายของเมืองเซี่ยงไฮ้และเมืองหลวงหนานจิง ทำให้รัฐบาลจีนคณะชาติย้ายเมืองหลวงหนีไปเมืองอู่ฮั่น เฉินได้ย้ายไปตั้งหลักที่เมืองหูเป่ย เพื่อวางแผนบัญชาการรบป้องกันเมืองอู่ฮั่นในยุทธการอู่ฮั่น ในช่วงปี ค.ศ. 1938 อู่ฮั่นเป็นฐานทัพบัญชาการใหญ่ชั่วคราวของกองทัพจีน อย่างไรก็ตามกองทัพญี่ปุ่นสามารถเอาชนะกองทัพจีนได้แม้ว่าจะประสบกับความสูญเสียหนักและอู่ฮั่นถูกญี่ปุ่นเข้ายึด เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1938

ในปีต่อๆมาของสงคราม เฉิน เฉิงได้รับมอบหมายในการวางแผนป้องการเมืองฉางชาในยุทธการฉางชาและได้รับชัยชนะอย่างงดงามเป็นครั้งแรกต่อกองทัพญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1943 เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการกองกำลังรบนอกประเทศของจีนในการรบที่พม่า

เนื่องจากเฉินได้มีอาการเจ็บป่วยบ่อยๆ การบัญชาการของเขาได้ถูกแทนที่โดย เหว่ย หลี่หวง ซึ่งได้รับตำแหน่งให้ทำการแทน

สงครามกลางเมืองจีน

[แก้]
เฉิน เฉิงในนิตยสารกองทัพสาธารณรัฐ

หลังจากสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองสิ้นสุดลง เฉินกลายเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่กองทัพสาธารณรัฐและผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพเรือ เขาทำตามคำสั่งของจอมทัพเจียง ไคเชกในการปราบปรามพรรคคอมมิวนิสต์จีนให้สิ้นซากและเริ่มโจมตีพื้นที่ "ปลดปล่อย" ของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน การโจมตีของเขาครั้งนี้เป็นการเปิดฉากสงครามกลางเมืองจีนอีกครั้ง

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1947 เจียง ไคเชกได้แต่งตั้งเฉินเป็นผู้อำนวยการสำนักงานฐานทัพใหญ่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณแถบแมนจูเรีย โดยให้เป็นผู้บังคับบัญชากองกำลังจีนคณะชาติในการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในพื้นที่ดังกล่าว เฉิน เฉิงทำผิดพลาดครั้งสำคัญในการตัดสินใจยุบกองกำลังรักษาความปลอดภัยในท้องถิ่นเพราะพวกเขาเคยร่วมมือและรับใช้ในกองทัพแมนจูกัวของญี่ปุ่น เพียงเพราะเห็นว่าเป็นมรดกของผู้รุกรานชาวญี่ปุ่น อันเป็นผลให้ความแข็งแกร่งของกองทัพคณะชาติในแมนจูเรียลดลงจาก 1.3 ล้านเหลือน้อยกว่า 480,000 นาย นอกจากนี้เขายังสั่งปลดผู้บัญชาการทหารที่มีความสามารถมากที่สุดเช่น ตู้ หยูหมิง, ซุนลี่เจน, เจิ้งตงกวนและเฉินหมิงเหริน เป็นผลให้เขาประสบความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ต่อพรรคคอมมิวนิสต์และทำให้เจียงไคเชกถึงกับตำหนิเฉินอย่างรุนแรงที่หนานจิงและส่งเหว่ย หลี่หวงไปแทนที่เขาอีกครั้งในการรบต่อต้านคอมมิวนิสต์ที่เฉิ่นหยางในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุดแทนเขา[1] แต่กองทัพของเหว่ย หลี่หวงก็ไม่สามารถป้องกันกองทัพคอมมิวนิสต์ได้จึงประสบกับความพ่ายแพ้ เมื่อ ปี ค.ศ. 1949 รัฐบาลคณะชาติของพรรคก๊กมินตั๋งได้พ่ายแพ้สงครามกลางเมืองจีนให้กับพรรคคอมมิวนิสต์จีนและหนีไปตั้งรัฐบาลผลัดถิ่นที่เกาะไต้หวัน เฉิน เฉิงได้หลบหนีไปไต้หวันอย่างปลอดภัยและเพื่อรักษาโรคกระเพาะอาหารเรื้อรังของเขา

ที่ไต้หวัน

[แก้]
เฉินเฉิงผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีของเจียงไคเชกจัดงานแถลงข่าวปี ค.ศ. 1954

เจียงไคเชกได้แต่งตั้งเฉินเป็นผู้ว่าการมณฑลไต้หวันในปี ค.ศ. 1949 เพื่อวางแผนการพัฒนาของไต้หวันให้เป็นหนึ่งในฐานที่มั่นของก๊กมินตั๋ง หลังจากที่กองกำลังคณะชาติถอยกลับมายังไต้หวันเฉินก็วางมือจากกองทัพและหันมาดำรงตำแหน่งพลเรือนที่สำคัญเช่น ตำแหน่งรองผู้บริหารพรรคก๊กมินตั๋ง, รองประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐจีน

ในช่วงเวลาหลายปีที่เขาอยู่ที่ไต้หวันเขาได้แนะนำการปฏิรูปที่ดินและเศรษฐกิจต่างๆและดำเนินการบูรณะไต้หวัน ความคิดริเริ่มของนโยบาย "การลดค่าเช่า 375" ของเฉินนั้นมีจุดประสงค์ด้วยการหยุดการแพร่กระจายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในไต้หวัน นโยบายดังกล่าวทำให้เกษตรกรผู้เช่าต้องจ่ายเงินให้แก่เจ้าของที่ดินที่ 37.5% ของการเก็บเกี่ยว ก่อนที่จะมีคำสั่งเจ้าของที่ดินมักจะหาเงินมากกว่าครึ่งหนึ่งของค่าตอบแทน[2] เขาสร้างผลงานที่โดดเด่นให้ประชาชนชื่นชมกับการเปิดตัวโครงการก่อสร้างหลายแห่ง หนึ่งในนั้นคือ เขื่อนสือเหมิน ในมณฑลเถาหยวน ซึ่งช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมในขณะเดียวกันก็ช่วยเพิ่มจำนวนผลผลิตข้าว

ด้านการต่างประเทศ

[แก้]

เสียชีวิต

[แก้]

เฉิน เฉิง เสียชีวิตใน ค.ศ. 1956 เพราะเนื้องอกในตับ ต่อมาในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1995 มีการย้ายอัฐิของเขาไปไว้ที่ฝัวกวางชานในเทศมณฑลเกาสฺยง

อ้างอิง

[แก้]
  1. Taylor, Jay (2009). The Generalissimo: Chiang Kai-shek and the Struggle for Modern China. Harvard University Press. p. 381.
  2. Han Cheung (1 January 2017). "Taiwan in Time:The unwilling politician". Taipei Times. สืบค้นเมื่อ 1 January 2017.