กระแสเกาหลี
กระแสเกาหลี (เกาหลี: 한류; ฮันจา: 韓流; อาร์อาร์: Hallyu; แปล กระแส/คลื่นเกาหลี) หรือ คลื่นเกาหลี[1] (อังกฤษ: Korean Wave) เป็นปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมที่ทั่วโลกนิยมวัฒนธรรมร่วมสมัยของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นอย่างมากมาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 ความสนใจต่อวัฒนธรรมเกาหลีทั่วโลกได้รับอิทธิพลหลักมาจากการแพร่กระจายของเคป็อปและละครเกาหลี โดยความสำเร็จที่สำคัญได้แก่ โบอา, บีทีเอส และเพลง "คังนัมสไตล์" ของไซ เช่นเดียวกันกับ แดจังกึม จอมนางแห่งวังหลวง, เพลงรักในสายลมหนาว และ สควิดเกม เล่นลุ้นตาย กระแสเกาหลีได้รับการรับรองเป็นรูปแบบหนึ่งของอำนาจอ่อน และเป็นสินทรัพย์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญของเกาหลีใต้ โดยสร้างรายได้ทั้งจากการส่งออกและการท่องเที่ยว[2][3]
หลังวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย ค.ศ. 1997 และการตรวจพิจารณาอุตสาหกรรมบันเทิงเกาหลีใต้ของฝ่ายทหารสิ้นสุดลง เกาหลีใต้จึงกลายเป็นผู้ส่งออกวัฒนธรรมสมัยนิยมรายใหญ่ หลังการเพิ่มขึ้นของสื่อดาวเทียมในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 กระแสเกาหลีช่วงแรกขับเคลื่อนด้วยการเผยแพร่ละครและภาพยนตร์เกาหลีเข้าสู่จีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บางพื้นที่ นักข่าวจีนเป็นผู้คิดคำศัพท์ "กระแสเกาหลี" ครั้งแรกใน ค.ศ. 1999 ภายใต้ชื่อ หานหลิว (จีน: 韩流; พินอิน: hánliú; แปลตรงตัว: "คลื่นเกาหลี") ซึ่งสื่อถึงความสำเร็จของรายการโทรทัศน์เกาหลีใต้ในประเทศจีน จากนั้นในคริสต์ทศวรรษ 2000 ฮัลลยูจึงพัฒนาเป็นปรากฏการณ์ระดับโลก โดยขยายตัวอย่างรวดเร็วเข้าสู่เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และยุโรปตะวันออก ต่อมาใน ค.ศ. 2008 มูลค่าการส่งออกทางวัฒนธรรมของเกาหลีใต้แซงหน้ามูลค่าการนำเข้าทางวัฒนธรรมเป็นครั้งแรก[4] การขยายตัวนี้ได้รับแรงหนุนจากการถือกำเนิดของสื่อสังคมและอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการทำให้วงการบันเทิงเกาหลีเข้าถึงผู้ชมในต่างประเทศ รวมถึงการที่รัฐบาลเกาหลีใต้สนับสนุนปรากฏการณ์นี้ด้วย
ในประเทศไทย กระแสเกาหลีเริ่มต้นในราว ค.ศ. 2001 จากความสำเร็จของภาพยนตร์เรื่อง ยัยตัวร้ายกับนายเจี๋ยมเจี้ยม[5] จากนั้นในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2005 เมื่อช่อง 3 ได้นำละครโทรทัศน์เรื่อง แดจังกึม จอมนางแห่งวังหลวง เข้ามาฉาย ประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จนกลายเป็นปรากฏการณ์ ทำให้สถานีโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ ได้ซื้อลิขสิทธิ์ละครโทรทัศน์เกาหลีมาฉายแข่งขันกัน[6][7] จนกระทั่งในราวต้นปี ค.ศ. 2014 กระแสเกาหลีในประเทศไทยเริ่มสร่างซาลง มีการวิเคราะห์กันว่าวัฒนธรรมญี่ปุ่นจะหวนกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง[8]
ผลของกระแสเกาหลีทำให้มีการให้ความสนใจอุตสาหกรรมวัฒนธรรมเกาหลีแบบใหม่อย่างมาก เช่น การใช้สัญญาทาสในอุตสาหกรรมไอดอลและการแพร่กระจายของการค้ามนุษย์ทางเพศในเรื่องอื้อฉาวเบิร์นนิงซัน[9][10][11][12] มีหลายรายการและบุคคลในอุตสาหกรรมบันเทิงเกาหลีที่ถูกวิจารณ์ว่ามีคตินิยมเชื้อชาติ, การเลือกปฏิบัติตามผิวสี และกีดกันผู้หญิง ในขณะที่การฆ่าตัวตายของนักแสดงเกาหลีที่มีชื่อเสียงจำนวนมากเน้นย้ำถึงสภาพการทำงานที่โหดร้ายของอุตสาหกรรมนี้[13][14] นอกจากนี้ ผู้ชมชาวเกาหลีพินิจพิเคราะห์ละครย้อนยุคเกาหลีมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในด้านการปฏิเสธประวัติศาสตร์ (historical negationism) และการพรรณนาประวัติศาสตร์เกาหลีที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งทำให้ละคร สโนว์ดรอป ถูกคว่ำบาตร และละคร Joseon Exorcist ถูกยกเลิก[15][16]
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]ศัพท์ ฮัลลยู (เกาหลี: 한류; ฮันจา: 韓流) เป็นคำสร้างใหม่ที่มาจากรากศัพท์ 2 ราก ได้แก่ ฮัน (한; 韓) หมายถึง "เกาหลี" และ รีว (류; 流) หมายถึง "คลื่น" หรือ "กระแส"[17]: 419 ในวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 Beijing Youth Daily ตีพิมพ์บทความที่มีคำว่า "กระแสเกาหลี" (จีนตัวย่อ: 韩流; จีนตัวเต็ม: 韓流; พินอิน: hánliú; แปลตรงตัว: "คลื่นเกาหลี") แบบแรกในบทความที่กล่าวถึง "ความกระตือรือร้นของผู้ชมชาวจีนต่อละครโทรทัศน์และเพลงป็อปเกาหลี"[18] ในประเทศจีน ก็มีการใช้คำว่า "ไข้ฮัน" ด้วยการนำปรากฏการณ์ไปเทียบกับโรคไข้หวัดนกที่แพร่ระบาดในประเทศ[19] คำนี้เข้าสู่การใช้งานแบบทั่วไปหลังการออกอากาศละครรักเกาหลี เพลงรักในสายลมหนาว ซึ่งประสบความสำเร็จในประเทศญี่ปุ่น[20]: 13
ฮัลลยูสื่อถึงการแพร่กระจายวัฒนธรรมเกาหลีใต้ระหว่างประเทศตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 หลังการปกครองของทหารสิ้นสุดลง และการเปิดเสรีอุตสาหกรรมวัฒนธรรม[21] คำนี้โดยหลักหมายถึงการแพร่กระจายของโทรทัศน์ เพลงป็อป ภาพยนตร์ และแฟชั่นเกาหลี แต่คำนี้อาจรวมถึงแอนิเมชัน วิดีโอเกม เทคโนโลยี วรรณกรรม เครื่องสำอาง และอาหารเกาหลีด้วย[22][23][24]: 1 ในขณะที่ฮัลลยูรุ่นแรกในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 ถึงต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 ยังคงจำกัดอยู่ในเอเชียและอ้างถึงความนิยมของละครและภาพยนตร์เกาหลีในทวีปนี้ รุ่นที่สอง หรือฮัลลยู 2.0 ได้รับแรงหนุนหลักจากความนิยมเคป็อปที่เผยแพร่ผ่านฐานช่องทางออนไลน์อย่างยูทูบ[25]
คำวิจารณ์
[แก้]ในส่วนของจีน ญี่ปุ่น และไต้หวัน กระแสเกาหลีเผชิญกับการสะท้อนกลับอย่างรุนแรงและมีการนำไปเปรียบเทียบกับจักรวรรดินิยมด้านวัฒนธรรม[26][17]: 422 โดยในประเทศจีนและไต้หวัน กระแสเกาหลีมักถูกเรียกเป็น "การรุกรานทางวัฒนธรรม" และจำกัดจำนวนละครโทรทัศน์เกาหลีให้แก่ผู้ชมชาวจีน[27][26][28] ในงาน Tai Ke Rock Concert เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2005 Chang Chen-yue นักดนตรีชาวไต้หวัน ร้องเพลงแร็ปเหยียดผิวและผู้หญิงชื่อ "The Invasion of the Korean Wave" ซึ่งโจมตีทั้งแพ ยง-จุน, นักดนตรีหญิงชาวไต้หวัน และกระแสเกาหลี[29]
การสะท้อนกลับอย่างรุนแรงต่อกระแสเกาหลีอาจมีรากฐานมาจากลัทธิชาตินิยมหรือความขัดแย้งทางประวัติศาสตร์[30][31] อุตสาหกรรมเคป็อปก็ถูกวิจารณ์ในด้านการสนับสนุนการเหมารวมคนเอเชียในทางเพศ[17]: 422
ดูเพิ่ม
[แก้]- คูลเจแปน (Cool Japan)
- อำนาจอ่อนของจีน (Soft power of China)
- กระแสไทย (Thai Wave)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ""HALLYU" คลื่นความมั่งคั่งของเกาหลี". positioningmag. 2006-02-05. สืบค้นเมื่อ 17 October 2015.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Parc, Jimmyn (2022-08-09). "Korea's cultural exports and soft power: Understanding the true scale of this trend". Asialink (ภาษาอังกฤษ). University of Melbourne. สืบค้นเมื่อ 2023-03-21.
- ↑ Walsh 2014, p. 21.
- ↑ Jin 2016, p. 5.
- ↑ Kim, Audrey (2007-02-22). "Elisha Cuthbert Gets Her Sassy On In Unusual Romantic Comedy". MTV. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-23. สืบค้นเมื่อ 2008-05-12.
- ↑ "ปรากฏการณ์ แดจังกึม... กระหึ่มจอตู้". positioningmag. 2006-02-05. สืบค้นเมื่อ 14 October 2015.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "เกาหลี ฟีเวอร์ ซีรีส์ละครฮิตติดจอตู้". positioningmag. 2006-02-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 14 October 2015.
- ↑ "กระแสซีรีส์เกาหลีหดหาย? ญี่ปุ่นจะวนกลับมาอีก?". ไทยรัฐ. 2014-02-18. สืบค้นเมื่อ 14 October 2015.
- ↑ Williamson, Lucy (2011-06-15). "The dark side of South Korean pop music". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2023-03-21.
- ↑ Stiles, Matt (2017-12-19). "Death of K-pop star shines a spotlight on South Korea's suicide problem". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 2023-03-21.
- ↑ Tai, Crystal (2020-03-29). "Exploding the myths behind K-pop". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-03-21.
- ↑ Brown, August (5 April 2019). "K-pop's innocent image is shattered by the 'Burning Sun' scandal". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 19 March 2022.
- ↑ Dae-o, Kim (4 January 2020). "I have reported on 30 Korean celebrity suicides. The blame game never changes". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 19 March 2022.
- ↑ Campbell, Matthew; Kim, Sohee (6 November 2019). "The Dark Side of K-Pop: Assault, Prostitution, Suicide, and Spycams". www.bloomberg.com. สืบค้นเมื่อ 19 March 2022.
- ↑ Smail, Gretchen (10 February 2022). "This K-Drama Is One Of The Most Controversial Shows On Disney+". Bustle. BDG Media.
- ↑ Koo, Se-Woong (9 January 2022). "History Becomes Unmentionable in Historical K-Dramas". Korea Exposé. Mediasphere.
- ↑ 17.0 17.1 17.2 Danico, Mary (2014). Asian American Society: An Encyclopedia. Thousand Oaks, California: SAGE Publishing. doi:10.4135/9781452281889.
- ↑ Kim, Ji-myung (2012-08-03). "Serious turn for 'hallyu 3.0'". The Korea Times. สืบค้นเมื่อ 2013-03-17.
- ↑ Leung 2008, p. 59.
- ↑ K-drama: A New TV Genre with Global Appeal. Korean Culture (ภาษาอังกฤษ). Korean Culture and Information Service. 2011-12-01. ISBN 978-89-7375-167-9.
- ↑ Kim 2013, p. 4.
- ↑ Oh 2014, p. 53.
- ↑ Kim 2013, p. 1.
- ↑ Park, Hyesu (2020-12-11). Understanding Hallyu: The Korean Wave Through Literature, Webtoon, and Mukbang (ภาษาIndian English). Routledge India. doi:10.4324/9781003140115. ISBN 9781003140115.
- ↑ Anderson 2014, p. 119.
- ↑ 26.0 26.1 "Cultural technology and the making of K-pop". The New Yorker (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2012-10-01. สืบค้นเมื่อ 2023-03-16.
- ↑ Maliangkay, Roald (2006). "When the Korean Wave Ripples" (PDF). IIAS Newsletter. Vol. 42. International Institute for Asian Studies. p. 15.
- ↑ Yang 2008, p. 191.
- ↑ Yang 2008, p. 202–203: "Fuck your mother's cunt, fuck your mother's cunt, fuck Bae Yong-joon, Fuck Bae Yong-joon. Yuki, A-mei, Coco Lee, suck suck suck suck my dick."
- ↑ Cho, Hae-Joang (2005). "Reading the 'Korean Wave' as a Sign of Global Shift". Korea Journal. 45 (4): 147–182. S2CID 14568377.
- ↑ Nam, Soo-hyoun; Lee, Soo-jeong (16 February 2011). "Anti-Korean Wave Backlash Has Political, Historical Causes". Korea JoongAng Daily. สืบค้นเมื่อ 16 March 2011.
ข้อมูล
[แก้]- Jin, Dal Yong (2016-03-01), New Korean Wave: Transnational Cultural Power in the Age of Social Media (ภาษาอังกฤษ), Chicago: University of Illinois Press, doi:10.5406/illinois/9780252039973.001.0001, ISBN 978-0-252-09814-7, JSTOR 10.5406/j.ctt18j8wkv
- Kim, Youna (2013-11-05), "Introduction: Korean media in a digital cosmopolitan world", ใน Kim, Youna (บ.ก.), The Korean Wave: Korean Media Go Global (ภาษาอังกฤษ), London: Routledge, pp. 1–27, doi:10.4324/9781315859064, ISBN 978-1-315-85906-4
- Leung, Lisa (2008-02-01), "Mediating Nationalism and Modernity: The Transnationalization of Korean Dramas on Chinese (Satellite) TV", ใน Chua, Beng Huat; Iwabuchi, Koichi (บ.ก.), East Asian Pop Culture: Analysing the Korean Wave (ภาษาอังกฤษ), Hong Kong University Press, pp. 53–70, doi:10.5790/hongkong/9789622098923.003.0004, ISBN 978-962-209-893-0, JSTOR j.ctt1xwb6n.8
- Oh, Chuyun (2014-02-20), "The Politics of the Dancing Body: Racialized and Gendered Femininity in Korean Pop", ใน Kuwahara, Yasue (บ.ก.), The Korean Wave: Korean Popular Culture in Global Context (ภาษาอังกฤษ), New York: Palgrave Macmillan, pp. 53–81, doi:10.1057/9781137350282_4, ISBN 978-1-137-35027-5
- Walsh, John (2014-02-20), "Hallyu as a Government Construct: The Korean Wave in the Context of Economic and Social Development", ใน Kuwahara, Yasue (บ.ก.), The Korean Wave: Korean Popular Culture in Global Context (ภาษาอังกฤษ), New York: Palgrave Macmillan, pp. 13–31, doi:10.1057/9781137350282_2, ISBN 978-1-137-35027-5
- Yang, Fang-chih Irene (2008-02-01), "Rap(p)ing Korean Wave: National Identity in Question", ใน Chua, Beng Huat; Iwabuchi, Koichi (บ.ก.), East Asian Pop Culture: Analysing the Korean Wave (ภาษาอังกฤษ), Hong Kong University Press, pp. 191–216, doi:10.5790/hongkong/9789622098923.003.0011, ISBN 978-962-209-893-0, JSTOR j.ctt1xwb6n.15