อ็องรี ดูว์น็อง
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
อ็องรี ดูว์น็อง | |
---|---|
Henri Dunant | |
เกิด | Jean-Henri Dunant 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1828 เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ |
เสียชีวิต | 30 ตุลาคม ค.ศ. 1910 Heiden, สวิตเซอร์แลนด์ | (82 ปี)
สุสาน | Friedhof Sihlfeld, Zürich-Wiedikon, สวิตเซอร์แลนด์ |
สัญชาติ | สวิส |
พลเมือง | สวิส ฝรั่งเศส (ตั้งแต่ ค.ศ. 1859[1][2][3]) |
อาชีพ | นักกิจกรรมทางสังคม, นักธุรกิจ, นักเขียน |
มีชื่อเสียงจาก | ผู้ก่อตั้งกาชาด |
บุตร | 1 |
รางวัล | รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ (1901) |
อ็องรี ดูว์น็อง หรือที่รู้จักในชื่อ อังรี ดูนังต์ (ฝรั่งเศส: Henri Dunant) ชื่อเต็ม ฌ็อง อ็องรี ดูว์น็อง (Jean Henri Dunant; 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1828 – 30 ตุลาคม ค.ศ. 1910) เป็นนักธุรกิจ และนักช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ชาวสวิส เขาเป็นผู้ให้กำเนิดคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศและสภากาชาดประจำชาติ เพื่อช่วยเหลือบรรเทาทุกข์เมื่อเกิดภัยสงครามและภัยพิบัติต่าง ๆ และได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ใน ค.ศ. 1901 ร่วมกับเฟรเดริก ปาซี (Frédéric Passy)
นายอ็องรี ดูว์น็อง เกิดที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นผู้เคร่งศาสนา โดยมีความเชื่อตามแนวทางของนิกายคาลวิน และตั้งมั่นในหลักการ "จงรักเพื่อนบ้านของท่าน" ("Love thy neighbor") เขาได้เดินทางไปทั่วยุโรปเพื่อบรรยายถึงความชั่วร้ายเรื่องความเป็นทาส (slavery) ใน ค.ศ. 1859 ระหว่างอยู่ที่ประเทศอิตาลี เขาได้ไปที่สนามรบของสงครามแห่งโซลเฟริโน และได้เห็นทหารที่ได้รับบาดเจ็บนับพันคน ถูกปล่อยทิ้งรอความตายในสนามรบตามยถากรรม โดยไม่ได้รับแม้แต่การรักษาพยาบาลเบื้องต้น ที่อาจรักษาชีวิตของคนเหล่านี้ได้ หลังจากที่เขากลับถึงกรุงเจนีวา เขาได้เขียนบทความเกี่ยวกับประสบการณ์ครั้งนี้ของเขา ในชื่อ Un Souvenir de Solferino (ความทรงจำแห่งซอลเฟรีโน) ซึ่งได้ตีพิมพ์ในวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1862 ในบทความเขาได้พยายามผลักดันให้มีการจัดตั้ง เครือข่ายนานาชาติของอาสาสมัครเพื่อบรรเทาทุกข์ขึ้น หนังสือของเขาได้รับความสนใจจาก สภาบริหารประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (Switzerland's Federal Council) และส่งผลให้ประเทศสวิตเซอร์แลนด์สนับสนุนให้มีการประชุมสัมมนานานาชาติขึ้นใน ค.ศ. 1863 เพื่ออภิปรายถึงแนวความคิดของดูว์น็องที่เขาได้เขียนไว้ในบทความ เก้าบทความ (Nine Articles) มีประเทศเข้าร่วมการประชุมสัมนาในวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 1864 ทั้งหมด 16 ประเทศ และในจำนวนนั้น 12 ประเทศได้ให้การสนับสนุนในเนื้อหา ซึ่งต่อมาได้กลายมาเป็น คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ และอนุสัญญาเจนีวาฉบับที่หนึ่ง
ช่วงหลายปีหลังจากนั้น ดูว์น็องได้เขียนบทความเกี่ยวกับการปลดอาวุธ และการตั้งศาลระหว่างประเทศ เพื่อแก้ปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างประเทศ เขาได้ละเลยการงานส่วนตัวจนต้องตกเป็นหนี้สิน ประสบกับความยากจน และได้หายหน้าหายตาไป
นอกจากนี้ อ็องรี ดูว์น็อง ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มฟรีเมสัน (freemasonry)[ต้องการอ้างอิง]
ในขณะที่มีการให้รางวัลโนเบลเป็นครั้งแรกนั้น ก็มีข้อโต้แย้งว่า เขาควรจะได้รับรางวัลนี้หรือไม่[ต้องการอ้างอิง] เนื่องจากในขณะนั้นองค์กรกาชาดได้ถูกจัดตั้งเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว และบทบาทของ อ็องรี ดูว์น็อง ก็ได้ถูกลืมเลือนไปเช่นกัน ได้มีข้อเสนอให้เขาได้รับรางวัลโนเบลในสาขาแพทยศาสตร์ เนื่องมาจากบทบาทขององค์กรกาชาดในขณะนั้น ผลการประนีประนอมในท้ายที่สุดได้มีการตัดสินให้เป็นรางวัลร่วมในสาขาสันติภาพ โดยได้รับร่วมกับเฟรเดริก ปาซี ซึ่งเป็นนักต่อสู้เพื่อสันติภาพที่มีชื่อเสียงของฝรั่งเศส และถึงแม้ว่าอ็องรี ดูว์น็อง จะมีชีวิตที่ยากจนในขณะนั้น แต่เขาก็บริจาคเงินรางวัลที่ได้รับทั้งหมดเพื่อการกุศล
อ็องรี ดูว์น็อง เสียชีวิตใน ค.ศ. 1910
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Société Henry Dunant (French)
- Biography of Henry Dunant (French original) เก็บถาวร 2008-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Nobel website biography of Henri Dunant เก็บถาวร 2004-08-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Red Cross Movement and Nobel Prizes เก็บถาวร 2002-06-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Henri Dunant image & some info
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Durand, Roger: "Un Français de coeur, passion d’Henry Dunant pour sa nouvelle patrie" in Durand Roger/Dunant Christiane: "Henry Dunant citoyen de Culoz, français de cœur". Société Henry Dunant and Ville de Culoz, 2003, p. 159
- ↑ Jean de Senarclens: อ็องรี ดูว์น็อง in German, French and Italian in the online Historical Dictionary of Switzerland. Version of 24 novembre 2014.
- ↑ "Mairie de Culoz - Personnages célèbres". www.culoz.fr. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-05. สืบค้นเมื่อ 21 March 2018.