อำเภอหลังสวน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอหลังสวน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Lang Suan
สถานีรถไฟหลังสวน
คำขวัญ: 
หลังสวน เมืองผลไม้ พายเรือแข่ง
แหล่งทุเรียนกวน สวนสมเด็จ
แผนที่จังหวัดชุมพร เน้นอำเภอหลังสวน
แผนที่จังหวัดชุมพร เน้นอำเภอหลังสวน
พิกัด: 9°56′42″N 99°4′42″E / 9.94500°N 99.07833°E / 9.94500; 99.07833
ประเทศ ไทย
จังหวัดชุมพร
พื้นที่
 • ทั้งหมด935.0 ตร.กม. (361.0 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด73,521 คน
 • ความหนาแน่น78.63 คน/ตร.กม. (203.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 86110,
86150 (เฉพาะตำบลปากน้ำ บางน้ำจืด และหมู่ที่ 8, 10-14 ตำบลบางมะพร้าว)
รหัสภูมิศาสตร์8604
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอหลังสวน ถนนประชาราษฎร์ ตำบลขันเงิน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 86110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

หลังสวน เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดชุมพร ในอดีตเคยเป็นอำเภอขันเงิน จังหวัดหลังสวน[1]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอหลังสวนตั้งอยู่ทางตอนล่างของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติศาสตร์[แก้]

ลุ่มน้ำหลังสวนเป็นแหล่งที่มนุษย์เข้ามาอาศัยตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะที่อำเภอพะโต๊ะได้พบหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญคือ เครื่องมือหินขัดประเภทขวาน แต่เนื่องจากแม่น้ำหลังสวนเป็นแม่น้ำสายสั้น ๆ และมีที่ราบลุ่มน้อย ชุมชนในบริเวณดังกล่าวจึงไม่อาจจะพัฒนาเป็นชุมชนเกษตรกรรมขนาดใหญ่เหมือนเมืองชุมพร ไชยา นครศรีธรรมราช และพัทลุงได้ บทบาทของเมืองหลังสวนในระยะเริ่มแรกจึงเป็นเพียงชุมชนท่าเรือข้ามคาบมหาสมุทร และหมู่บ้านเกษตรกรรมขนาดเล็ก ดังนั้นจึงต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองดูแลของศูนย์อำนาจการปกครองท้องถิ่นที่มีอำนาจมากกว่าคือ เมืองชุมพร ตลอดมา

หลังสวนเป็นหัวเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งในแหลมมลายู เคยได้รับการยกฐานะเป็นหัวเมืองจัตวาขึ้นต่อกรุงเทพมหานครโดยตรงในสมัยต้นรัชกาลที่ 5 ครั้นเมื่อจัดตั้งมณฑลชุมพรในปี พ.ศ. 2439 หลังสวนจึงเป็นจังหวัดหนึ่งของมณฑลชุมพร และภายหลังได้ยุบจังหวัดหลังสวนลงเป็นอำเภอหลังสวนขึ้นกับจังหวัดชุมพร ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2475 ตราบเท่าทุกวันนี้

ที่มาของชื่อ[แก้]

เนื่องจากหลังสวนเป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งมาตั้งแต่สมัยโบราณ ชื่อที่เรียกจึงยากที่จะหาหลักฐานได้ว่ามีที่มาอย่างไร แต่เนื่องจากหลังสวนเป็นเมืองที่มีผลไม้มากจนกลายเป็นสินค้าสำคัญของเมืองนี้ ดังนั้น กระทรวงคมนาคมจึงได้สันนิษฐานในปี พ.ศ. 2459 ว่า คำว่า “หลังสวน“ น่าจะเพี้ยนมากจากคำว่า “รังสวน” หรือ “คลังสวน” ซึ่งหมายถึงแหล่งหรือที่รวมของผลไม้ทุกชนิดนั่นเอง

เมื่อครั้งที่พระยาอุปกิตศิลปสารเดินทางไปตรวจราชการที่เมืองหลังสวน ก็ได้สันนิษฐานเกี่ยวกับที่มาของคำว่า “หลังสวน” ไว้ดังนี้

“…คำว่าหลังสวน จะผิดหรือถูกขอฝากไว้ในที่นี้ด้วยคือ ริมฝั่งทั้งสองของแม่น้ำ ไม่เห็นมีบ้านเรือนอย่างแม่น้ำเรา มีแต่สวนครึ้มทั้งสองฟาก มีแต่ทางขึ้นลงจากแม่น้ำเท่านั้น ถามผู้แจวเรือว่า แถวนี้ไม่มีบ้านดอกหรือ เขาตอบว่า มี แต่อยู่หลังสวนขึ้นไป ภายหลังข้าพเจ้าไปเที่ยวตามบ้านเหล่านั้น ก็ได้เห็นจริงตามที่เขาพูด จึงสันนิษฐานว่า “เมืองหลังสวน” คงมาจากเค้าที่บ้านเมืองอยู่ข้างหลังสวนลึกเข้าไป…”

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอหลังสวนแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น 13 ตำบล 140 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[2]
แผนที่
1. หลังสวน Lang Suan
2,975
 แผนที่ตำบล
2. ขันเงิน Khan Ngoen
7,033
3. ท่ามะพลา Tha Maphla
9
3,330
4. นาขา Na Kha
13
8,766
5. นาพญา Na Phaya
19
5,293
6. บ้านควน Ban Khuan
17
8,139
7. บางมะพร้าว Bang Maphrao
14
4,607
8. บางน้ำจืด Bang Nam Chuet
14
5,122
9. ปากน้ำ Pak Nam
6
6,397
10. พ้อแดง Pho Daeng
10
2,277
11. แหลมทราย Laem Sai
12
3,528
12. วังตะกอ Wang Tako
13
9,044
13. หาดยาย Hat Yai
13
6,953

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอหลังสวนประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองหลังสวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหลังสวนและตำบลขันเงินทั้งตำบล รวมทั้งบางส่วนของตำบลพ้อแดง ตำบลแหลมทราย และตำบลวังตะกอ
  • เทศบาลตำบลปากน้ำหลังสวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากน้ำทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลวังตะกอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังตะกอ (นอกเขตเทศบาลเมืองหลังสวน)
  • เทศบาลตำบลท่ามะพลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่ามะพลาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาขา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาขาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาพญา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาพญาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านควนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางมะพร้าว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางมะพร้าวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำจืด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางน้ำจืดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพ้อแดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพ้อแดง (นอกเขตเทศบาลเมืองหลังสวน)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมทราย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแหลมทราย (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองหลังสวน)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหาดยาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหาดยายทั้งตำบล

อ้างอิง[แก้]

  1. แจ้งความกรมธรรมการ แผนกบัญชาการ เรื่อง มีผู้ก่อสร้างถาวรวัตถุขึ้นที่วัดโตนดจังหวัดหลังสวน
  2. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]