สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง
สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง ဖၠုံ ထို့င်ဆိုဒ် အှ်ကုံခြိုင့် , ကညီ ဒီကလုၤ စၢဖှိၣ်ကရၢ | |
---|---|
ชื่อย่อ | KNU |
ประธาน | Saw Mutu Say Poe |
เลขาธิการ | Padoh Ta Doh Moo |
โฆษก | Padoh Saw Kwel Htoo Win Padoh Saw Ta Doh Moo Padoh Saw Hla Tun |
รองประธาน | Padoh Kwe Htoo Win |
คำขวัญ | "Give me liberty or death."[1] |
ก่อตั้ง | 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1947 |
ที่ทำการ | Lay Wah Law Khee Lar Manerplaw (จนถึงปี ค.ศ. 1995) |
ฝ่ายทหาร | กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง, องค์กรป้องกันแห่งชาติกะเหรี่ยง |
อุดมการณ์ | ปัจจุบัน:
อดีต: |
ศาสนา | ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ |
เพลง | "Dear Our People" |
เว็บไซต์ | |
www | |
ธงประจำพรรค | |
การเมืองพม่า รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง หรือ กะเหรี่ยงเคเอ็นยู (อังกฤษ: The Karen National Union: KNU; พม่า: ကရင် အမျိုးသား အစည်းအရုံး) คือ กลุ่มติดอาวุธชาวกะเหรี่ยงในพม่าที่ทำการสู้รบกับรัฐบาลพม่าตามแนวชายแดนไทย ในบริเวณอาณาเขตของพื้นที่ที่เรียกเป็นภาษากะเหรี่ยงว่า "กอซูเล" (Kawthoolei) ฝ่ายเคเอ็นยูได้สู้รบกับพม่ามานานเกินกึ่งศตวรรษมาแล้ว นับตั้งแต่ พ.ศ. 2491 โดยร่วมกับกองกำลังย่อยที่มีชื่อว่า กะเหรี่ยงเคเอ็นแอลเอ (Karen National Liberation Army - KNLA)
สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงอยู่ภายใต้การปกครองของนายพลโบเมียะมานานกว่า 30 ปีซึ่งได้ตั้งตนเป็นประธานาธิบดีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2519 - พ.ศ. 2543 (นายพลโบเมียะถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ในโรงพยาบาลในประเทศไทย) สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงสามารถเลี้ยงตนเองโดยการควบคุมตลาดมืดที่ทำการค้าชายแดนกับประเทศไทย
หลังจากการลุกฮือต่อต้านเผด็จการของประชาชนชาวพม่าที่เรียกว่า "เหตุการณ์ 8888 ทมิฬ" ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2531 และได้ล้มเหลวยุติลงด้วยการปราบปรามอย่างรุนแรงของรัฐบาลเมื่อเดือนกันยายนปีเดียวกัน หลังเหตุการณ์นี้ รัฐบาลพม่าได้หันไปขอความช่วยเหลือจากจีน มีการให้สัมปทานทางการค้าหลายอย่างแก่จีนเพื่อแลกเปลี่ยนกับอาวุธจำนวนมากทำให้กองทัพพม่ามีขนาดใหญ่และเข้มแข็งจากเดิมเป็นอันมาก และในช่วงนี้รัฐบาลพม่าก็ได้เริ่มเปิดการเจรจากับสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงที่ต่อสู้กับรัฐบาลและเปิดโอกาสให้มีการเจรจาเพื่อให้เข้ามาร่วมมือกับรัฐบาลหรือมิเช่นนั้นจะต้องถูกทำลายลงทั้งหมด แต่ฝ่ายกะเหรี่ยงไม่ยอม
กองกำลังของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงอ่อนแอลงมากจากการปราบปรามของฝ่ายรัฐบาลและได้เสียกองบัญชาการที่ "มาเนอพลอ" ใกล้กับชายแดนไทยเมื่อ พ.ศ. 2537 รวมทั้งการยอมเข้าร่วมมือกับรัฐบาลกองกำลังย่อยส่วนหนึ่งของกะเหรี่ยงเคเอ็นแอลเอที่เป็นกะเหรี่ยงฝ่ายนับถือพุทธที่เรียกตนเองว่า กองกำลังกะเหรี่ยงประชาธิปไตยฝ่ายพุทธ (Democratic Karen Buddhist Army - DKBA) กองกำลังกลุ่มนี้ได้รับมอบอาณาเขตพื้นที่ส่วนหนึ่งให้ปกครองตนเองเป็นการแลกเปลี่ยนที่ยอมร่วมมือกับรัฐบาล กองกำลังกระเหรียงพุทธนี้เองที่มีส่วนสำคัญช่วยรัฐบาลทหารพม่ายึดกองบัญชาการเคเอ็นยูที่มาเนอพลอได้ เหตุผลที่กะเหรี่ยงกลุ่มนี้อ้างในการเข้ากับฝ่ายรัฐบาลคือการถูกเอาเปรียบ เหลื่อมล้ำและไม่ได้รับความเป็นธรรมจากกะเหรี่ยงฝ่ายเคเอ็นยูซึ่งนับถือศาสนาคริสต์
สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงกับกะเหรี่ยงเคเอ็นแอลเอยังคงร่วมกันต่อสู้กับรัฐบาลพม่าต่อไป โดยจัดตั้งกองกำลังเป็นหน่วยทหารกองโจรขนาดเล็กหลบซ่อนอยู่ตามแนวชายแดนไทยโดยใช้วิธีตั้งค่ายแบบชั่วคราวที่เคลื่อนย้ายหนีได้สะดวก มีการประทะกันประปรายโดยตลอดมาจนถึงปัจจุบัน แม้กองทัพฝ่ายรัฐบาลจะมีขีดความสามารถที่จะกวาดล้างกองกำลังกะเหรี่ยงได้เป็นผลสำเร็จ แต่ก็จะเสียกำลัง ยุทธโปกรณ์และงบประมาณไปมาก ซึ่งอาจทำให้กองทัพพม่าโดยรวมอ่อนแอลง ฝ่ายรัฐบาลทหารพม่าจึงยังคงปล่อยให้เป็นเช่นนี้ไปก่อน
การสู้รบของชาวกะเหรี่ยงนับเป็นการสู้รบเพื่ออิสรภาพที่ยาวนานที่สุดในโลก คือนานมากถึง 59 ปี[ต้องการอ้างอิง]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The Politics of Pressure: KNLA". www.ibiblio.org. สืบค้นเมื่อ 27 January 2018.