กองทัพปลดปล่อยชาติตะอ้อง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองทัพปลดปล่อยชาติตะอ้อง
တအောင်း အမျိုးသား လွတ်မြောက်ရေး တပ်မတော်
มีส่วนร่วมในความขัดแย้งภายในพม่า
ธงของกองทัพปลดปล่อยชาติตะอ้อง
ปฏิบัติการมกราคม ค.ศ. 1992 (1992-01) – ปัจจุบัน
แนวคิดชาตินิยมตะอ้อง
สหพันธรัฐนิยม[1]
ผู้นำTar Aik Bong
Tar Bone Kyaw
Tar Hod Plarng
กองบัญชาการหนั่มซวาน ประเทศพม่า
พื้นที่ปฏิบัติการตองเปง รัฐฉาน
ส่วนหนึ่งของแนวหน้าปลดปล่อยรัฐปะหล่อง
พันธมิตรพันธมิตรเหนือ[2]

อื่น ๆ

ปรปักษ์รัฐ

ไม่ใช่รัฐ

การสู้รบและสงครามความขัดแย้งภายในประเทศพม่า

กองทัพปลดปล่อยชาติตะอ้อง (พม่า: တအောင်း အမျိုးသား လွတ်မြောက်ရေး တပ်မတော်; Ta'ang National Liberation Army ตัวย่อ TNLA) บ้างเรียก กองทัพตะอ้อง เป็นหน่วยติดอาวุธของแนวร่วมปลดปล่อยรัฐปะหล่อง (PSLF) ในประเทศพม่า

กองทัพตะอ้องเป็นที่รู้จักจากการต่อต้านการค้ายา, ออกปฏิบัติการทำลายล้างไร่ฝิ่น โรงผลิตเฮโรอีน และโรงผลิตแอมเฟตามีน[6][7][8][9][10] กองทัพตะอ้องกล่าวอ้างว่ามีพวกตนได้ทำการจับกุมคนลักลอบส่งฝิ่นและยาเสพติด สารเสพติดที่ถูกยึดได้จะถูกนำมาเผาในที่สาธารณะเพื่อป้องกันการค้ายา[5]

กองทัพตะอ้องเดิมทีตั้งขึ้นในชื่อ องค์การ/กองทัพปลดปล่อยรัฐปะหล่อง (Palaung State Liberation Organization/Army หรือ PSLO/A) ซึ่งต่อมาได้ลงนามสงบศึกกับรัฐบาลในปี 1991 และสลายตัวในปี 2005 หลังสลายตัว ผู้นำของกองทัพปลดปล่อยรัฐปะหล่อง Tar Aik Bong กับTar Bone Kyaw ได้ร่วมกันก่อตั้งกองทัพตะอ้อง ควบคู่กับแนวร่วมปลดปล่อยรัฐปะหล่อง เพื่อยืนกรานการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งการปกครองตนเองสำหรับชาวตะอ้อง ในปัจจุบัน กองกำลัง TNLA เป็นพันธมิตรกับกองกำลังเอกราชกะฉิ่น และ กองทัพรัฐฉานภาคเหนือ กองกำลังมีปฏิบัติการอยู่ในตอนเหนือของรัฐฉาน[11]

ในปี 2021 หลังการรัฐประหาร Tar Bone Kyaw ผู้บังคับบัญชาลำดับที่สองของกองทัพตะอ้อง ได้ประกาศตนว่าสนับสนุนรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติที่ตั้งขึ้นเพื่อต่อต้านรัฐบาลคณะรัฐประหารของกองทัพพม่า[12]

อ้างอิง[แก้]

  1. Hay, Wayne (17 February 2016). "Myanmar rebels continue fight despite ceasefire deal". www.aljazeera.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2019. สืบค้นเมื่อ 18 December 2016.
  2. Lynn, Kyaw Ye. "Curfew imposed after clashes near Myanmar-China border". Anadolu Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 May 2020. สืบค้นเมื่อ 21 November 2016.
  3. Thar, Ken; Khine, Tin Aung (2018-08-02). "300 Myanmar Villagers Flee Township as Ethnic Armies Approach". Radio Free Asia. Translated by Khet Mar. สืบค้นเมื่อ 2022-12-03.
  4. "Two helicopters used in fighting near northern Shan State's Naungcho". Mizzima (ภาษาอังกฤษ). 14 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2022. สืบค้นเมื่อ 4 May 2022.
  5. 5.0 5.1 Veits, Chris (July 2015). "Are the TNLA a threat to peace in Myanmar? - Inside the TNLA's war on drugs". Journeyman Pictures. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2015. สืบค้นเมื่อ 6 December 2015.
  6. Larsen, Niels (23 April 2015). "On Patrol With Myanmar Rebels Fighting Both the Army and Drug Addiction". VICE News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). No. Crime and Drugs. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 January 2016. สืบค้นเมื่อ 28 October 2015.
  7. "Fire and Ice: Conflict and Drugs in Myanmar's Shan State". Crisis Group (ภาษาอังกฤษ). 16 March 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2019. สืบค้นเมื่อ 4 January 2020.
  8. Weng, Lawi (16 March 2020). "TNLA Attacks Five Poppy-Growing Hubs in Northern Myanmar" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 March 2021. สืบค้นเมื่อ 3 April 2021.
  9. Ferrie, Jared (5 November 2015). "The drug war in Myanmar's mountains". The New Humanitarian (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). No. Forgotten Conflicts - Myanmar. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2021. สืบค้นเมื่อ 3 April 2021.
  10. Floramo, Vincenzo (11 July 2014). "The power of the flower" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2021. สืบค้นเมื่อ 3 April 2021.
  11. "Myanmar Peace Monitor - TNLA". 6 June 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 April 2021. สืบค้นเมื่อ 3 April 2021.
  12. "ဒီကနေ့ ဖွဲ့စည်းလိုက်တဲ့ အမျိုးသားညီညွတ်ရေးအစိုးရ NUG ကို ကြိုဆိုထောက်ခံကြောင်းနဲ့ ပူးပေါင်းဆောင်ရွက်နိုင်ဖို့ ကြိုးစားပြင်ဆင်သွားမယ်လို့ TNLA အထွေထွေအတွင်းရေးမှူး ဗိုလ်မှူးချုပ် တာဘုန်းကျော် က ကြေညာလိုက်ပါတယ်။". Facebook. Democratic Voice of Burma. 16 April 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 September 2022. สืบค้นเมื่อ 7 May 2021.