ข้ามไปเนื้อหา

พรรคคอมมิวนิสต์ (พม่า)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธงของพรรค

พรรคคอมมิวนิสต์ (อังกฤษ: Communist Party; พม่า: အလံနီကွန်မြူနစ်ပါတီ) เป็นพรรคคอมมิวนิสต์ในพม่าที่ตั้งขึ้นหลังจากกลุ่มหัวรุนแรงได้แยกออกจากพรรคคอมมิวนิสต์พม่าใน พ.ศ. 2489 ในปีเดียวกัน มีการต่อสู้ด้วยอาวุธเพื่อต่อต้านการปกครองของอังกฤษ ผู้นำพรรคคือตะคีนโซ่ อิทธิพลของพรรคลดลงหลังถูกปราบปรามใน พ.ศ. 2513

การแยกตัว

[แก้]

พรรคนี้แยกตัวออกมาจากพรรคคอมมิวนิสต์พม่าในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489[1] ตะคีนโซ่ประกาศเป็นผู้นำพรรค โดยประกาศว่าตะคีนต้านทู่นและตะคีนเต้นเพเป็นพวกจักรวรรดินิยมและเป็นฝ่ายต่อต้าน ความแตกแยกภายในพรรคคอมมิวนิสต์เกิดขึ้นหลังจากสุนทรพจน์ของบา เป ผู้นำสันนิบาตเสรีชนต่อต้านฟาสซิสต์ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2489 ซึ่งได้ประณามระบบการเมืองในสหภาพโซเวียต หลังสุนทรพจน์นี้ ตะคีนโซ่ได้ประกาศว่าบา เปเป็นเครื่องมือของจักรวรรดินิยม ทำให้สันนิบาตเสรีชนฯ ต่างต่อต้านตะคีนโซ่[2] ตะคีนโซ่ต้องการครอบงำคณะกรรมการของพรรคคอมมิวนิสต์พม่าแต่ถูกปฏิเสธแต่ตะคีนต้านทู่นและตะคีนเต้นเพปฏิเสธและขับตะคีนโซ่ออกจากคณะกรรมการของพรรค ตะคีนโซ่จึงประกาศจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ขึ้น[3][2] ตะคีนเมียะและกลุ่มของเขาเข้าร่วมกับตะคีนโซ่[4]

ธงแดงและธงขาว

[แก้]

พรรคนี้ถูกเรียกว่าพรรคคอมมิวนิสต์ธงแดงเพื่อให้ต่างจากพรรคเดิมที่เรียกว่าพรรคคอมมิวนิสต์ธงขาว เนื่องจากทั้งสองพรรคมีตราทางทหารที่ต่างกัน พรรคนี้ประกาศเป็นพรรคนิยมลัทธิทรอตสกี[5] ในขณะที่พรรคธงขาวเน้นความร่วมมือกับสันนิบาตเสรีชนฯ พรรคธงแดงประกาศให้มีการต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษโดยตรง[3][6]อย่างไรก็ตาม พรรคธงแดงมีความสำคัญทางการเมืองน้อยกว่าพรรคธงขาว

กิจกรรม

[แก้]

พรรคธงแดงได้จัดตั้งขบวนการเพื่อเคลื่อนไหวทั่วทั้งพม่าต่อต้านการจ่ายค่าเช่าและภาษี[7] ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2489 ทอร์ เฮนรี ไนต์ ผู้นำรัฐบาลพม่าได้ประกาศให้พรรคธงแดงเป็นพรรคผิดกฎหมาย เมื่อ 10 กรกฎาคม[2] และคว่ำบาตรสหภาพแรงงานที่เป็นสาขาของพรรค[8] พรรคธงขาวได้ออกมาประท้วงการตัดสินใจของรัฐบาลในครั้งนี้

พรรคธงแดงได้เริ่มต่อสู้ทางทหารเพื่อต่อต้านอังกฤษและฝ่ายขวาในสันนิบาตเสรีชนฯ[9] ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2489 อองซานได้ประกาศต่อต้านพรรคธงแดง การต่อต้านพรรคธงแดงถูกยกเลิกชั่วคราวในเดือนคุลาคม พ.ศ. 2489[2][10] ก่อนจะถูกคว่ำบาตรอีกครั้งในเดือนมกราคม พ.ศ. 2490 ทำให้พรรคลงไปสู้ใต้ดิน พรรคธงขาวได้ประท้วงการคว่ำบาตรพรรคธงแดงอีกครั้งในเดือนเมษายน พ.ศ. 2490 พรรคธงแดงนั้นได้ออกมาเรียกร้องให้คว่ำบาตรการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ต่อมา ใน พ.ศ. 2491 การต่อสู้ด้วยอาวุธของพรรครุนแรงขึ้นในที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดี[11] และกลุ่มของอู เซนดาได้ก่อการต่อสู้ในยะไข่ด้วย ใน พ.ศ. 2492.[2][12] กลุ่มของตะคีนเมียะได้แยกตัวออกจากพรรคและกลับไปเข้าร่วมกับพรรคธงขาว[13]

การเสื่อมถอย

[แก้]

หลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2499 การปราบปรามจากฝ่ายรัฐบาลรุนแรงขึ้นหลังอู้นุประกาศนโยบายกองทัพเพื่อประชาธิปไตยใน พ.ศ. 2501 นักรบของพรรคจำนวนมากได้มอบตัวต่อทางการ คาดว่าใน พ.ศ. 2504 พรรคเหลือทหารประมาณ 500 คน ตะคีนโซ่ได้เข้าร่วมในการเจรจาสันติภาพกับรัฐบาลใน พ.ศ. 2506 ด้วย[14]

การแยกตัวในยะไข่

[แก้]

ใน พ.ศ. 2505 กลุ่มของพรรคในยะไข่ได้แยกตัวออกไปและประกาศจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ยะไข่ซึ่งเน้นที่การเรียกร้องเอกราชของยะไข่[15][16]

การจับกุมตะคีนโซ่

[แก้]

การต่อสู้เพื่อต่อต้านรัฐบาลของพรรคดำเนินต่อไปจนกระทั่งตะคีนโซ่ถูกกองทัพพม่าจับกุมได้ใน พ.ศ. 2513[17] โดยในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2513 กองทัพได้โจมตีกลุ่มของตะคีนโซ่ที่ทางเหนือของทิวเขายะไข่ และถูกจับกุมตัวได้ หลังจากนั้นพรรคได้หมดบทบาทไป[18]

พรรคในยะไข่

[แก้]

ใน พ.ศ. 2521 กองกำลังของพรรคคอมมิวนิสต์ธงแดงในยะไข่และพรรคคอมมิวนิสต์ยะไข่ถูกกองทัพพม่าโจมตีอย่างหนักในเขตชนบทและถูกผลักดันไปยังแนวชายแดนบังกลาเทศ

อ้างอิง

[แก้]
  1. Khrushchev, Nikita Sergeevich, and Sergeĭ Khrushchev. Memoirs of Nikita Khrushchev. Volume 3, Statesman,1953-1964. University Park, Pa: Pennsylvania State University, 2007. p. 752
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Thompson, Virginia. Burma's Communists, published in Far Eastern Survey May 5, 1948
  3. 3.0 3.1 Seabury Thomson, John. Marxism in Burma, in Trager, Frank N (ed.). Marxism in Southeast Asia; A Study of Four Countries. Stanford, Calif: Stanford University Press, 1959. p. 33
  4. Lintner, Bertil. The Rise and Fall of the Communist Party of Burma (CPB). Southeast Asia Program series, no. 6. Ithaca, N.Y.: Southeast Asia Program, Cornell University, 1990. p. 10
  5. Khrushchev, Nikita Sergeevich, and Sergeĭ Khrushchev. Memoirs of Nikita Khrushchev. Volume 3, Statesman,1953-1964. University Park, Pa: Pennsylvania State University, 2007. p. 762
  6. Jukes, Geoffrey. The Soviet Union in Asia. Berkeley, Calif: Univ. of California Press, 1973. p. 137
  7. Andrus, J. Russell. Burmese Economic Life. 1956. p. 88
  8. Hensengerth, Oliver. Burmese CP in relations between China and Burma
  9. Butwell, Richard. U Nu of Burma. Stanford, Calif: Stanford University Press, 1969. p. 95
  10. Kratoska, Paul H. South East Asia, Colonial History. London: Routledge, 2001. p. 21
  11. Low, Francis. Struggle for Asia. Essay index reprint series. Freeport, N.Y.: Books for Libraries Press, 1972. p. 73
  12. Chan, Aye. The Development of a Muslim Enclave in Arakan (Rakhine) State, Burma (Myanmar), published in SOAS Bulletin of Burma Research, Vol 3, No. 2, Autumn 2005
  13. Lintner, Bertil. The Rise and Fall of the Communist Party of Burma (CPB). Southeast Asia Program series, no. 6. Ithaca, N.Y.: Southeast Asia Program, Cornell University, 1990. p. 67
  14. Lintner, Bertil. The Rise and Fall of the Communist Party of Burma (CPB). Southeast Asia Program series, no. 6. Ithaca, N.Y.: Southeast Asia Program, Cornell University, 1990. p. 27
  15. Two Arakanese communists released after 20-years in prison เก็บถาวร 2011-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  16. Win, Khaing Aung. Arakanese Nationalism and the Struggle for National self-determination (An overview of Arakanese political history up to 1988) เก็บถาวร 2010-08-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  17. Alagappa, Muthiah. Political Legitimacy in Southeast Asia: The Quest for Moral Authority. Contemporary issues in Asia and the Pacific. Stanford, Calif: Stanford University Press, 1995. p. 369
  18. Lintner, Bertil. The Rise and Fall of the Communist Party of Burma (CPB). Southeast Asia Program series, no. 6. Ithaca, N.Y.: Southeast Asia Program, Cornell University, 1990. p. 28