วัลเทอร์ โคน
วัลเทอร์ โคน | |
---|---|
โคนใน ค.ศ. 2012 | |
เกิด | 9 มีนาคม ค.ศ. 1923 เวียนนา ออสเตรีย |
เสียชีวิต | 19 เมษายน ค.ศ. 2016 แซนตาบาร์บารา รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ | (93 ปี)
สัญชาติ | สหรัฐ |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยโทรอนโต มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด |
มีชื่อเสียงจาก | ทฤษฎีความหนาแน่นฟังก์ชันนัล แบบจำลองลัตทิงเกอร์–โคน ทฤษฎีบทออแอ็งแบร์ก–โคน สมการโคน–ชัม |
คู่สมรส | โลอิส (แอดัมส์)[1] มารา (วิชเนียก) ชิฟ[2] |
รางวัล | Oliver E. Buckley Condensed Matter Prize (1961) National Medal of Science (1988) Nobel Prize in Chemistry (1998) |
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | ฟิสิกส์, เคมี |
สถาบันที่ทำงาน | มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แซนดีเอโก มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แซนตาบาร์บารา |
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอก | จูเลียน ชวิงเงอร์ |
ลายมือชื่อ | |
วัลเทอร์ โคน (เยอรมัน: Walter Kohn; เสียงอ่านภาษาเยอรมัน: [ˈvaltɐ ˈkoːn]; 9 มีนาคม ค.ศ. 1923 – 19 เมษายน ค.ศ. 2016)[3] เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีและนักเคมีทฤษฎีชาวออสเตรีย-อเมริกันผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีร่วมกับจอห์น โพเพิลใน ค.ศ. 1998[4] จากผลงานด้านการสร้างพื้นฐานความเข้าใจคุณสมบัติทางอิเล็กทรอนิกส์ของวัสดุ โคนมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทฤษฎีความหนาแน่นฟังก์ชันนัล ซึ่งทำให้สามารถคำนวณโครงสร้างอิเล็กตรอนในทางกลศาสตร์ควอนตัมโดยใช้ความหนาแน่นอิเล็กตรอน (แทนที่จะใช้ฟังก์ชันคลื่นสำหรับระบบที่มีหลายอะตอม) การพัฒนาทฤษฎีดังกล่าวทำให้สามารถคำนวณโครงสร้างในระบบที่ซับซ้อนได้แม่นยำมากขึ้น และกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในด้านวัสดุศาสตร์ ฟิสิกส์เกี่ยวกับสภาวะควบแน่น และฟิสิกส์เชิงเคมีของอะตอมและโมเลกุล[5]
ชีวิตวัยเด็ก
[แก้]โคนเดินทางเข้าสู่สหราชอาณาจักรผ่านทางปฏิบัติการคินเดอร์ทรันสปอร์ท ซึ่งเป็นปฏิบัติการช่วยเหลือเด็กในพื้นที่ประเทศออสเตรียหลังจากอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้ผนวกรวมประเทศออสเตรียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเยอรมนี[6] เขามาจากครอบครัวเชื้อสายยิว และบันทึกว่า "ความรู้สึกของผมเกี่ยวกับประเทศออสเตรียบ้านเกิดของผมนั้นเต็มไปด้วยความปวดร้าว และจะยังคงเป็นเช่นนั้นตลอดไป ความทรงจำช่วงนั้นหลัก ๆ ประกอบด้วยชีวิตหนึ่งปีครึ่งในฐานะเด็กชายชาวยิวภายใต้การปกครองระบอบนาซี และพ่อแม่ของผม ซาโลม็อนและกิเทอร์ โคน ญาติพี่น้องและครูของผมถูกฆ่าตายในช่วงฮอโลคอสต์ ... ผมอยากจะบอกว่าผมมีอัตลักษณ์ความเป็นยิวอยู่เข้มข้น และในช่วงหลายปีที่ผ่านมาผมเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ เกี่ยวกับวัฒนธรรมของชาวยิว เช่นการก่อตั้งหลักสูตรยิวศึกษาที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แซนดีเอโก"[7][5] โคนระบุว่าตัวเขาเองเป็นนักเทวัสนิยม[8]
หลังสงครามโลกครั้งที่สองอุบัติขึ้น โคนซึ่งเป็นชาวออสเตรียถูกส่งตัวไปยังประเทศแคนาดาในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1940 โคนซึ่งอายุได้ 17 ปีในขณะนั้นเดินทางไปกับกองทหารของอังกฤษไปยังนครเกแบ็ก ประเทศแคนาดา ก่อนจะเดินทางขึ้นรถไฟไปยังค่ายผู้อพยพที่ทรัวรีวีแยร์โดยถูกกักตัวที่ค่ายในเมืองเชอร์บรุกก่อน โคนเข้าเรียนในสถานศึกษาภายในผู้อพยพก่อนจะสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยโทรอนโต อย่างไรก็ตาม โคนซึ่งมีสัญชาติเยอรมนี (หลังจากที่ออสเตรียถูกผนวกรวม) เขาไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าภายในอาคารที่สอนวิชาเคมี เขาจำต้องเข้าเรียนฟิสิกส์และคณิตศาสตร์แทน[7]
ผลงานด้านวิทยาศาสตร์
[แก้]โคนสำเร็จปริญญาตรีด้านคณิตศาสตร์ประยุกต์จากมหาวิทยาลัยโทรอนโตใน ค.ศ. 1945 หลังจากที่เข้าเรียนได้ 2 ปีครึ่งจากเวลาปกติ 4 ปี และเข้ารับราชการทหารเป็นเวลา 1 ปีเนื่องจากอยู่ในช่วงสงคราม ต่อมาใน ค.ศ. 1946 เขาสำเร็จปริญญาโทด้านคณิตศาสตร์ประยุกต์ที่โทรอนโตเช่นเดียวกัน ก่อนจะเข้าศึกษาระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเกี่ยวกับปัญหาการกระเจิงของระบบวัตถุสามชิ้น โดยมีที่ปรึกษาได้แก่จูเลียน ชวิงเงอร์ ในระหว่างที่โคนศึกษาที่ฮาร์วาร์ด เขายังได้รับอิทธิพลจากผลงานด้านฟิสิกส์ของแข็งของจอห์น แฮสบรุก แวน วเล็ก โคนสำเร็จการศึกษาใน ค.ศ. 1948
โคนเข้าทำงานวิจัยหลังปริญญาเอกที่โคเปนเฮเกนจากทุนสนับสนุนของสภาวิจัยแห่งประเทศแคนาดา ก่อนจะเข้าทำงานที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอนตั้งแต่ ค.ศ. 1950 ถึง 1960 ในช่วงนั้นเขายังทำงานร่วมกับห้องปฏิบัติการเบลล์ ซึ่งทำให้เขาได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานวิจัยด้านฟิสิกส์ของสารกึ่งตัวนำ และมีผลงานสำคัญร่วมกับโจอาคิน แมซแดก ลัตทิงเกอร์เช่นการพัฒนาแบบจำลองลัตทิงเกอร์-โคน เป็นต้น ซึ่งในระหว่างนั้นโคนได้สละสัญชาติแคนาดาและเป็นพลเรือนสหรัฐตั้งแต่ ค.ศ. 1957
ใน ค.ศ. 1960 โคนย้ายไปยังมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แซนดีเอโกซึ่งเพิ่งก่อตั้งใหม่ในขณะนั้น โดยดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์[9] จนถึง ค.ศ. 1979 ซึ่งในระหว่างนั้นโคนและนักศึกษาของเขาได้แก่จัญจัล กุมาร มชุมทารได้พัฒนา ทฤษฎีบทโคน–มชุมทาร ซึ่งเกี่ยวข้องกับแก๊สแฟร์มี[10][11] ก่อนที่โคนจะย้ายไปดำรงตำแหน่งหัวหน้าสถาบันฟิสิกส์ทฤษฎีที่แซนตาบาร์บารา เขาดำรงตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ที่ภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แซนตาบาร์บารา ใน ค.ศ. 1984 ที่ซึ่งเขาทำงานจนวาระสุดท้าย
ผลงานเกี่ยวกับทฤษฎีความหนาแน่นฟังก์ชันนัลของเขานั้นเริ่มต้นขณะที่เขาเดินทางไปเยือนเอกอลนอร์มาลซูว์เปรีเยอร์ที่กรุงปารีสร่วมกับปีแยร์ ออแอ็งแบร์ก ทฤษฎีบทออแอ็งแบร์ก–โคนได้รับการพัฒนาหลังจากนั้นร่วมกับลู เจว ชัม และสร้างสมการโคน–ชัมขึ้นมา ซึ่งสมการโคน–ชัมนั้นได้กลายมาเป็นอุปกรณ์สำคัญในวัสดุศาสตร์แผนใหม่[12] และยังใช้ในทฤษฎีควอนตัมของพลาสมาด้วย[12]
การเสียชีวิต
[แก้]โคนเสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 2016 ที่บ้านพักในเมืองแซนตาบาร์บาราเนื่องจากมะเร็งขากรรไกร โดยขณะนั้นเขามีอายุได้ 93 ปี[13][14][5]
รางวัลและเกียรติประวัติ
[แก้]- รางวัลโอลิเวอร์ อี. บักลีย์ด้านฟิสิกส์ของแข็ง (สมาคมฟิสิกส์แห่งสหรัฐ ค.ศ. 1961)
- รางวัลเดวิสสัน-เกอร์เมอร์ (สมาคมฟิสิกส์แห่งสหรัฐ ค.ศ. 1977)
- เหรียญวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (ค.ศ. 1988)
- รางวัลโนเบลสาขาเคมี (ค.ศ. 1998)
- ภาคีสมาชิกราชสมาคมแห่งลอนดอนชาวต่างชาติ (ค.ศ. 1998)[15][16][17]
- เครื่องอิสริยาภรณ์วิทยาศาสตร์และศิลปะแห่งออสเตรีย (ค.ศ. 1999)[18]
- เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐออสเตรียชั้นมหาอิสริยาภรณ์เงินพร้อมดารา (ค.ศ. 2008)[19]
งานวิจัยตีพิมพ์ที่สำคัญ
[แก้]- W. Kohn, "An essay on condensed matter physics in the twentieth century," Reviews of Modern Physics, Vol. 71, No. 2, pp. S59–S77, Centenary 1999. APS
- W. Kohn, "Nobel Lecture: Electronic structure of matter — wave functions and density functionals," Reviews of Modern Physics, Vol. 71, No. 5, pp. 1253–1266 (1999). APS
- D. Jérome, T.M. Rice, and W. Kohn, "Excitonic Insulator," Physical Review, Vol. 158, No. 2, pp. 462–475 (1967). APS
- P. Hohenberg, and W. Kohn, "Inhomogeneous Electron Gas," Physical Review, Vol. 136, No. 3B, pp. B864–B871 (1964). APS เก็บถาวร 2011-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- W. Kohn, and L. J. Sham, "Self-Consistent Equations Including Exchange and Correlation Effects," Physical Review, Vol. 140, No. 4A, pp. A1133–A1138 (1965). APS เก็บถาวร 2011-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- W. Kohn, and J. M. Luttinger, "New Mechanism for Superconductivity," Physical Review Letters, Vol. 15, No. 12, pp. 524–526 (1965). APS
- W. Kohn, "Theory of the Insulating State," Physical Review, Vol. 133, No. 1A, pp. A171–A181 (1964). APS
- W. Kohn, "Cyclotron Resonance and de Haas-van Alphen Oscillations of an Interacting Electron Gas," Physical Review, Vol. 123, pp. 1242–1244 (1961). APS
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Emma Stoye (22 April 2016). "Chemistry Nobel laureate Walter Kohn dies aged 93 | Chemistry World". Rsc.org.
- ↑ Newhouse, Alana (1 April 2010). "A Closer Reading of Roman Vishniac". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2015.
- ↑ "Memos | Office of the Chancellor". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-13. สืบค้นเมื่อ 2016-04-21.
- ↑ From Exile to Excellence เก็บถาวร พฤษภาคม 31, 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, by Karin Hanta (Austria Culture Vol. 9 No. 1 January/February 1999)
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Sham, Lu J. (2016). "Walter Kohn (1923–2016) Condensed-matter physicist who revolutionized quantum chemistry". Nature. 534 (7605): 38. Bibcode:2016Natur.534...38S. doi:10.1038/534038a. PMID 27251269.
- ↑ "Walter Kohn, onetime refugee who became Nobel laureate in chemistry, dies at 93". Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-31. สืบค้นเมื่อ 2016-04-25.
- ↑ 7.0 7.1 "Walter Kohn – Biographical". Nobel Prize Organization. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-13.
- ↑ Tegmark, Max (19 February 2013). "Top Scientists On God: Who Believes, Who Doesn't". The Huffington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2013. สืบค้นเมื่อ 13 May 2013.
I am very much a scientist, and so I naturally have thought about religion also through the eyes of a scientist. When I do that, I see religion not denominationally, but in a more, let us say, deistic sense. I have been influenced in my thinking by the writing of Einstein who has made remarks to the effect that when he contemplated the world he sensed an underlying Force much greater than any human force. I feel very much the same. There is a sense of awe, a sense of reverence, and a sense of great mystery.
- ↑ UCSB Physics Department Website เก็บถาวร 2010-06-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 'W. Kohn, BIOGRAPHICAL DETAILS'
- ↑ "Chanchal Kumar Majumdar (1938–2000) – An obituary" (PDF). Current Science. July 2000. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-07-17.
- ↑ Matthias Scheffler; Peter Weinberger (28 June 2011). Walter Kohn: Personal Stories and Anecdotes Told by Friends and Collaborators. Springer Science & Business Media. pp. 264–. ISBN 978-3-642-55609-8.
- ↑ 12.0 12.1 E. K. U. Gross and R. M. Dreizler, Density Functional Theory, Plenum 1993
- ↑ Pernett, Stephanie (April 22, 2016). "UCSB Professor and Nobel Laureate Walter Kohn Passes Away at 93". Daily Nexus. Santa Barbara, California. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 23, 2016. สืบค้นเมื่อ April 22, 2016.
- ↑ "Walter Kohn, Nobel-Winning Scientist, Dies at 93". The New York Times.com. April 25, 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 30, 2016. สืบค้นเมื่อ April 25, 2016.
- ↑ "Fellows of the Royal Society". London: Royal Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-16.
- ↑ "Fellowship of the Royal Society 1660–2015". Royal Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-15.
- ↑ Hohenberg, Pierre C.; Langer, James S. (2018-03-28). "Walter Kohn. 9 March 1923—19 April 2016". Biographical Memoirs of Fellows of the Royal Society (ภาษาอังกฤษ). 64: 249–259. doi:10.1098/rsbm.2017.0040. ISSN 0080-4606.
- ↑ "Reply to a parliamentary question" (PDF) (ภาษาเยอรมัน). p. 1305. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2012. สืบค้นเมื่อ 19 November 2012.
- ↑ "Reply to a parliamentary question" (PDF) (ภาษาเยอรมัน). p. 1874. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2012. สืบค้นเมื่อ 19 November 2012.
รายการอ้างอิง
[แก้]- "Quantum Chemistry Comes of Age," The Chemical Educator, Vol. 5, No. 3, S1430-4171(99)06333-7, doi:10.1007/s00897990333a, © 2000 Springer-Verlag New York, Inc.
- Freeview video interview with Walter Kohn by the Vega Science Trust
- วัลเทอร์ โคน ที่ Nobelprize.org including the Nobel Lecture, January 28, 1999 (a year later) Electronic Structure of Matter – Wave Functions and Density Functionals
- Kohn's faculty website เก็บถาวร 2010-06-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at University of California-Santa Barbara. Retrieved November 11, 2006.
- Obituary
- Hohenberg, Pierre C.; Langer, James S. (2016), "Walter Kohn", Physics Today, 69 (8): 64, Bibcode:2016PhT....69h..64H, doi:10.1063/PT.3.3274
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Andrew Zangwill (2014). "The education of Walter Kohn and the creation of density functional theory". arXiv:1403.5164 [physics.hist-ph].
- หน้ากำลังใช้แม่แบบ Lang-xx
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2465
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2559
- บุคคลจากเวียนนา
- บุคคลจากรัฐเกแบ็ก
- บุคคลจากแซนตาบาร์บารา (รัฐแคลิฟอร์เนีย)
- นักเคมีชาวออสเตรีย
- นักเคมีชาวอเมริกัน
- นักฟิสิกส์ชาวออสเตรีย
- นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน
- ชาวอเมริกันเชื้อสายออสเตรีย
- ชาวอเมริกันเชื้อสายยิว
- ชาวออสเตรียเชื้อสายยิว
- ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี
- ชาวออสเตรียผู้ได้รับรางวัลโนเบล
- ชาวอเมริกันผู้ได้รับรางวัลโนเบล
- นักฟิสิกส์ทฤษฎี
- นักเคมีทฤษฎี
- ภาคีสมาชิกราชสมาคมแห่งลอนดอน
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยโทรอนโต
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แซนดีเอโก
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แซนตาบาร์บารา
- สมาชิกเครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย
- เสียชีวิตจากมะเร็งช่องปาก