รัฐสภาโซเวียต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐสภาโซเวียต

Верховный Совет СССР
ประเภท
ประเภท
สภาแห่งชนชาติ (Soviet of Nationalities) (สภาสูง)
สภาแห่งสหภาพ (Soviet of the Union) (สภาล่าง)
ประวัติ
สถาปนา2481
ยุบ2534
ก่อนหน้าสมัชชาชาวโซเวียตแห่งสหภาพโซเวียต และคณะกรรมการบริหารกลางแห่งสหภาพโซเวียต
ถัดมา
สมาชิก542 (เมื่อยุบ)
2250 (เมื่อมากที่สุด)
การเลือกตั้ง
การเลือกตั้งแบบไม่แข่งขันโดยตรง (2479—2532)
ได้รับเลือกตั้งโดยสภาผู้แทนราษฎรสหภาพโซเวียต (2532—2534)
การเลือกตั้งครั้งล่าสุด
4 มีนาคม 2527 (การเลือกตั้งโดยตรงครั้งสุดท้าย)
25 พฤษภาคม 2533 (การเลือกตั้งโดยอ้อม)
ที่ประชุม
พระราชวังเครมลิน มอสโกเครมลิน

รัฐสภาโซเวียต (อังกฤษ: Supreme Soviet of Union of Soviet Socialist Republics, All-Union Supreme Soviet, Supreme Council (ไทย: สภาสูงสุดแห่งสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต; (รัสเซีย: Верхо́вный Сове́т Союза Советских Социалистических Республик, อักษรโรมัน: Verkhovnyy Sovet Soyuza Sovetskikh Sotsialisticheskikh Respublik) บ้างเรียก สภาสูงสุด หรือโซเวียตสูงสุด[1] เป็นรัฐสภาระบบสภาคู่ในสหภาพโซเวียต และเป็นสถาบันเดียวที่มีอำนาจผ่านการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ รัฐสภาโซเวียตมีอำนาจสรรหาและแต่งตั้งคณะผู้บริหารสูงสุด (Presidium) ประกอบด้วยประธาน (ประมุขแห่งรัฐ) รองประธานและสมาชิกสมทบอื่นๆ สภารัฐมนตรี (Council of Ministers) ~เทียบเท่ากับคณะรัฐมนตรีในโลกที่ 1 ประกอบด้วยประธานสภารัฐมนตรี หรือ "นายกรัฐมนตรี" (หัวหน้ารัฐบาล) รองประธานสภารัฐมนตรี รัฐมนตรี ผู้ช่วยรัฐมนตรี ผู้พิพากษาศาลสูงสุด (Supreme Court) เอกอัครราชฑูตประจำในต่างประเทศ (Ambassador of the USSR to the ... ) ผู้แทนถาวรของสหภาพโซเวียตประจำสหประชาชาติ (Permanent Representative of the USSR to the United Nations) และรวมถึงอัยการสูงสุด (Procurator General) รัฐสภาโซเวียต โดยพื้นฐานวางบนหลักการอำนาจรวมศูนย์ (unified power) หรือ องค์กรสูงสุดแห่งอำนาจรัฐ (highest organ of state power) กล่าวคือเป็นสาขาเดียวในรัฐบาลที่มีอำนาจสูงสุดเหนือสาขาอื่นๆ ซึ่งอยู่ภายใต้การตัดสินของพรรคคอมมิวนิสต์ที่มีเลขาธิการเป็นผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์ และโดยส่วนมากเป็นผู้นำในทางพฤตินัยของประเทศในการกำหนดนโยบายของรัฐบาล และรวมถึงการแต่งตั้งคณะผู้ปกครอง (เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ในสาขาย่อยระดับสาธารณรัฐสหภาพ) ส่วนท้องถิ่นในระดับสาธารณรัฐสหภาพ (Union Republic).

โครงสร้าง[แก้]

รัฐสภาโซเวียตประกอบด้วยสองสภา ทั้งสองมีอำนาจนิติบัญญัติเท่ากัน สมาชิกได้รับเลือกตั้งเป็นวาระสี่ปี[2]

  • สภาโซเวียตแห่งสหภาพ (Soviet of the Union) ได้รับเลือกตั้งตามจำนวนประชากร โดยมีผู้แทน 1 คนต่อประชากร 300,000 คนจากแต่ละรัฐในสหภาพ
  • สภาโซเวียตแห่งชนชาติ (Soviet of Nationalities) เป็นสภาผู้แทนของชนชาติต่างๆในสหภาพ โดยสมาชิกแต่ละคนได้รับเลือกมาจากสาธารณรัฐสหภาพแห่งละ 33 คน, สาธารณรัฐปกครองตนเองแห่งละ 11 คน แคว้น ปกครองตนเอง (oblast) แห่งละ 5 คน และเขตปกครองตนเอง (autonomous okrug) แห่งละ 1 คน หน่วยบริหารชนิดเดียวกันจะส่งสมาชิกจำนวนเท่ากันโดยไม่ขึ้นกับขนาดหรือประชากร

ภายหลัง ค.ศ. 1989 รัฐสภาโซเวียตมีผู้แทน 542 คน (ลดจากเดิม 1,500 คน) การประชุมรัฐสภายังจัดบ่อยขึ้นจาก 6 เป็น 8 เดือนต่อปี[3] คณะผู้บริหารสูงสุดดำเนินปฏิบัติการวันต่อวันของรัฐสภาโซเวียตเมื่อไม่อยู่ในสมัยประชุม

อ้างอิง[แก้]

  1. นฤมิตร สอดศุข. "หลังม่านเหล็กสหภาพโซเวียต: พัฒนาการทางการเมือง การต่างประเทศ และเศรษฐกิจจากเลนินถึงกอร์บาชอฟ" (PDF). สืบค้นเมื่อ 12 December 2021. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  2. Great Soviet Encyclopedia, 3rd edition, entry on "Верховный Совет СССР", available online here[ลิงก์เสีย]
  3. Peter Lentini (1991) in: The Journal of Communist Studies, Vol. 7, No.1, pp. 69-94