รัฐบาลพลัดถิ่นโปแลนด์

พิกัด: 52°13′N 21°02′E / 52.217°N 21.033°E / 52.217; 21.033
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐบาลพลัดถิ่นแห่งสาธารณรัฐโปแลนด์

Rząd Rzeczypospolitej Polskiej na uchodźstwie
1939–1990
เพลงชาติมาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอ
(แปลว่า "โปแลนด์ยังไม่สูญสิ้น")
สถานะรัฐบาลพลัดถิ่น
เมืองหลวงวอร์ซอ (โดยนิตินัย)
เมืองหลวงขณะพลัดถิ่น Exile
ปารีส
(ค.ศ. 1939–1940)
อ็องเฌ
(ค.ศ. 1940)
ลอนดอน
(ค.ศ. 1940–1990)
ภาษาทั่วไปโปแลนด์
การปกครองรัฐบาลพลัดถิ่น
ประธานาธิบดี 
• 1939–1947
ววาดือสวัฟ ราตช์กีแยวิตช์ (คนแรก)
• 1989–1990
รือชาร์ด กาตส์ซอรอฟสกี (คนสุดท้าย)
นายกรัฐมนตรี 
• 1939–1943
ววาดือสวัฟ ชีคอร์สกี (คนแรก)
• 1986–1990
แอดวาร์ด เชเบนิกช์ (คนสุดท้าย)
ยุคประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่สองและสงครามเย็น
23 เมษายน ค.ศ. 1935
17 กันยายน 1939
5 กรกฎาคม ค.ศ. 1945
• ลัทธิคอมมิวนิสต์สิ้นสุดลง
22 ธันวาคม 1990
ก่อนหน้า
ถัดไป
สาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2
รัฐบาลเฉพาะกาลแห่งสาธารณรัฐโปแลนด์
สาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 3

รัฐบาลพลัดถิ่นโปแลนด์ เป็นที่รู้จักกันอย่างเป็นทางการว่า รัฐบาลพลัดถิ่นแห่งสาธารณรัฐโปแลนด์ (โปแลนด์: Rząd Rzeczypospolitej Polskiej na uchodźstwie) เป็นรัฐบาลพลัดถิ่นของโปแลนด์ ถูกก่อตั้งขึ้นในภายหลังจากการบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1939 และต่อมาโปแลนด์ถูกยึดครองโดยเยอรมนีและสหภาพโซเวียต ซึ่งทำให้สาธารณรัฐโปแลนด์ที่สองต้องยุติลง

แม้ว่าโปแลนด์จะถูกยึดครองโดยอำนาจฝ่ายศัตรู รัฐบาลพลัดถิ่นก็ยังได้ใช้อิทธิพลมากมายในโปแลนด์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ผ่านทางโครงสร้างของรัฐใต้ดินโปแลนด์และกองกำลังติดอาวุธ ขบวนการต่อต้านอาร์เมีย คราโยวา(กองทัพบ้านเกิด) ในต่างประเทศ ภายใต้อำนาจของรัฐบาลพลัดถิ่น หน่วยทหารโปแลนด์ที่หลบหนีจากการถูกยึดครองได้ต่อสู้รบภายใต้ผู้บัญชาการของตนเองในฐานะส่วนหนึ่งของกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรในยุโรป แอฟริกา และตะวันออกกลาง

ภายหลังสงคราม เมื่อดินแดนโปแลนด์ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของสาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์ ซึ่งเป็นรัฐบริวารของสหภาพโซเวียต รัฐบาลพลัดถิ่นก็ยังคงดำรงอยู่ แม้ว่าส่วนใหญ่จะไม่เป็นที่ยอมรับและไม่มีอำนาจที่มีประสิทธิภาพ เพียงหลังจากการปกครองของคอมมิวนิสต์ในโปแลนด์ได้ยุติลง รัฐบาลพลัดถิ่นได้ส่งต่อความรับผิดชอบอย่างเป็นทางการไปยังรัฐบาลใหม่ของสาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 3 ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1990

รัฐบาลพลัดถิ่นได้ตั้งอยู่ในฝรั่งเศส ระหว่างปี ค.ศ. 1939 ถึง 1940 ครั้งแรกในกรุงปารีส และต่อจากนั้นในอ็องเฌ ตั้งแต่ ค.ศ. 1940 ภายหลังจากฝรั่งเศสถูกยึดครอง รัฐบาลได้ย้ายไปยังกรุงลอนดอน และยังคงอยู่ในสหราชอาณาจักรจนกระทั่งได้ถูกยุบลงใน ค.ศ. 1990

อ้างอิง[แก้]

บรรณานุกรม[แก้]

  • Engel, David (2014). In the Shadow of Auschwitz: The Polish Government-in-exile and the Jews, 1939–1942 (ภาษาอังกฤษ). UNC Press Books. ISBN 9781469619576.
  • Cienciala, Anna M. "The Foreign Policy of the Polish Government-in-Exile, 1939–1945: Political and Military Realities versus Polish Psychological Reality" in: John S. Micgiel and Piotr S. Wandycz eds., Reflections on Polish Foreign Policy, New York: 2005. online
  • Davies, Norman. God's Playground: A History of Poland, Vol. 2: 1795 to the Present (2005)
  • Kochanski, Halik. The Eagle Unbowed: Poland and the Poles in the Second World War (2012) excerpt and text search

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

สื่อ[แก้]

Republic in Exile tells the story of the Polish government-in-exile in the form of five short episodes available on the YouTube channel: Polish Embassy UK

52°13′N 21°02′E / 52.217°N 21.033°E / 52.217; 21.033