ข้ามไปเนื้อหา

รักเร่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รักเร่ ลักเล่
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Asterales
วงศ์: Asteraceae
เผ่า: Coreopsideae[1]
สกุล: Dahlia
Cav.
ชนิด

30 ชนิด, 20,000 สายพันธุ์

ชื่อพ้อง

Georgina Willd.[2] nom. illeg.

รักเร่ เป็นพันธุ์ไม้ดอกในสกุล Dahlia ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศเม็กซิโก, ทวีปอเมริกากลาง และประเทศโคลอมเบีย ดอกมีรูปทรงและสีสันสวยงามสะดุดตา ก้านดอกแข็งแรง นิยมปลูกเป็นไม้ตัดดอก เช่นเดียวกับกุหลาบ แต่ในประเทศไทยไม่นิยมปลูก เนื่องมาจากมีชื่อที่ไม่เป็นมงคล เป็นดอกไม้ประจำชาติประเทศเม็กซิโก[3]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

[แก้]

รักเร่เป็นไม้พุ่ม รากมีลักษณะคล้ายหัว ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามากมาย ดอกเป็นแบบเดียวกับเบญจมาศ ก้านดอกยาวแข็งแรง กลีบดอก แบ่งออกเป็น 2 ตอน กลีบดอกชั้นนอกนี้แผ่กว้างออก หรืออาจจะห่อเป็นหลอดก็ได้แล้วแต่ชนิดของดอก มีเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน กลีบรองดอก ด้านในเป็นแผ่นบาง ๆ เรียงกันเป็นระเบียบติดอยู่กับฐานของดอก ส่วนกลีบรองดอกด้านนอบเล็กกว่าด้านใน เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปไข่ ดอกมีหลายสี เช่น ชมพู น้ำเงิน ขาว แดง แสด ส้ม ม่วง และเหลือง เป็นต้น

การดูแล และการขยายพันธ์

[แก้]

รักเร่ชอบขึ้นในที่กลางแจ้งแดดจัด แต่มีความชื้นพอเพียง ควรปลูกในดินที่ร่วนซุยและระบายน้ำได้ดี บางครั้งจำเป็นต้องหาวัสดุคลุมดินให้รักเร่ เช่น ฟาง ใบไม้แห้ง หรือเปลือกถั่ว เป็นต้น สำหรับการขยายพันธุ์รักเร่นั้น สามารถเพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง ต่อกิ่ง หรือใช้ราก เมื่อต้นให้ดอกแล้วต้นจะแก่และโทรมไปในที่สุด โดยจะทิ้งรากที่เป็นหัวไว้ในดิน ให้ตัดต้นเหนือระดับดินประมาณ 3 นิ้ว เพราะส่วนของตาที่จะเจริญเป็นต้นใหม่จะอยู่บริเวณโคนต้น แล้วจึงขุดหัวขึ้นมาจากดิน

ประโยชน์

[แก้]

หัวใต้ดิน นำมาต้มกับหมูรับประทานแก้โรคหัวใจ แก้ไข้ต้น น้ำคั้นจากต้นมีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะอ่อน ๆ ฆ่าเชื้อ Staphylococcus แต่สำหรับใบรักเร่ บางพันธุ์มีพิษ ไม่นิยมรับประทาน

เกร็ด

[แก้]

ในอเมริกามีคดีฆาตกรรมดัง ที่ยังเป็นปริศนามาถึงทุกวันนี้อยู่คดีหนึ่งชื่อว่า Black Dahlia (ดอกรักเร่สีดำ)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Genus Dahlia". Taxonomy. UniProt. สืบค้นเมื่อ 2009-10-15.
  2. "Dahlia Cav". Germplasm Resources Information Network. United States Department of Agriculture. 1996-09-17. สืบค้นเมื่อ 2009-10-15.
  3. Harvey, Marian (1987). Mexican Crafts and Craftspeople. Associated University Presses. p. 19. ISBN 978-0-87982-512-6.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]