ข้ามไปเนื้อหา

มหาวิทยาลัยแองเกลียรัสกิน

พิกัด: 52°12′11.1″N 0°8′1.3″E / 52.203083°N 0.133694°E / 52.203083; 0.133694
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Anglia Ruskin University
มหาวิทยาลัยแองเกลียรัสกิน
คติพจน์ละติน: Excellentia per societatem
อังกฤษ: Excellence through partnership
ไทย: ความเป็นเลิศได้ด้วยความร่วมมือ
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐบาล
สถาปนาพ.ศ. 2401 (วิทยาลัยศิลปะเคมบริดจ์)
พ.ศ. 2535 (มหาวิทยาลัย)
ที่ตั้ง,
52°12′11.1″N 0°8′1.3″E / 52.203083°N 0.133694°E / 52.203083; 0.133694
วิทยาเขตในเมือง
สีฟ้าและทอง    
เครือข่าย
ระวังสับสนกับมหาวิทยาลัยอีสต์แองเกลีย ซึ่งตั้งอยู่คนละเมืองแต่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน คือ แองเกลีย

มหาวิทยาลัยแองเกลียรัสกิน (อังกฤษ: Anglia Ruskin University) เป็นมหาวิทยาลัยขนาดกลางตั้งอยู่ที่เคมบริดจ์, เชล์มสฟอร์ด, ปีเตอร์บะระ, และกรุงลอนดอน ถือกำเนิดจากวิทยาลัยศิลปะเคมบริดจ์ ซึ่งตั้งในปี พ.ศ. 2401[1]

ประวัติ

[แก้]

มหาวิทยาลัยแองเกลียรัสกิน ในชั้นแรกเป็นเพียงวิทยาลัยด้านการออกแบบและศิลปกรรมศาสตร์ชื่อ วิทยาลัยศิลปะเคมบริดจ์ (Cambridge School of Art) ตั้งโดยวิลเลียม จอห์น บีมองต์ (William John Beamont) เมื่อ พ.ศ. 2401 พิธีเปิดประกอบโดยจอห์น รัสคิน ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งวิทยาลัยวาดเขียนที่ออกซฟอร์ด[2] ครั้งนั้นวิทยาลัยตั้งอยู่ใกล้กับบริเวณคณะซิดนีย์ซัสเซกซ์ (Sidney Sussex College) ซึ่งเป็นคณะอาศัยของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เมื่อสถานที่คับแคบจึงย้ายไปยังถนนอีสต์โรดซึ่งเป็นที่ตั้งในปัจจุบัน ลุล่วงในปี พ.ศ. 2503 วิทยาลัยเปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยศิลปะและเทคโนโลยีเคมบริดจ์เชอร์ (Cambridgeshire College of Arts and Technology) ครั้นเมื่อสถาบันการศึกษาชั้นสูงเอสเซกซ์เข้ารวบรวมแล้ว จึงมีสภาพเป็นวิทยาลัยการศึกษาชั้นสูงแองเกลีย (Anglia Higher Education College) ในปี พ.ศ. 2532 สองปีต่อมาวิทยาลัยการศึกษาชั้นสูงฯ เปลี่ยนสถานะเป็นวิทยาลัยสารพัดช่าง ครั้นมีการตราพระราชบัญญัติการอุดมศึกษาและการศึกษาขั้นสูงในปี พ.ศ. 2535 วิทยาลัยสารพัดช่างแองเกลีย จึงกลายสภาพเป็นมหาวิทยาลัยชื่อ มหาวิทยาลัยโพลิเทคนิคแองเกลีย (Anglia Polytechnic University)[3] มหาวิทยาลัยได้ใช้ชื่อนี้สืบมาเนื่องจากคำ สารพัดช่าง ตรงกับพันธกิจของมหาวิทยาลัยในการฝึกนักปฏิบัติ และมีประโยชน์ต่อตัวนักศึกษาเองตลอดจนนายจ้าง ท้ายที่สุดเมื่อปี พ.ศ. 2548 จึงได้ใช้ชื่อมหาวิทยาลัยแองเกลียรัสกิน

ในอดีต โอดิล คริก ภรรยาฟรานซิส คริก นักอณูชีววิทยา นักฟิสิกส์ และนักประสาทวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้ได้รับการยกย่องเป็นผู้ร่วมค้นพบโครงสร้างโมเลกุลของกรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก หรือ ดีเอ็นเอ เคยทำงานที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้[4]

ส่วนงาน

[แก้]

มหาวิทยาลัยประกอบด้วยคณะวิชา 4 คณะ ดังนี้[5]

  • คณะศิลปศาสตร์ นิติศาสตร์ และสังคมศาสตร์
    • ภาควิชานิติศาสตร์
    • ภาควิชาศิลปกรรมศาสตร์
    • ภาควิชาภาษาอังกฤษและสื่อ
    • ภาควิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
    • ภาควิชาดุริยศิลป์และนาฏศิลป์
    • ศูนย์ภาษา
  • คณะบริหารธุรกิจลอร์ดแอชครอฟต์
  • คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ สังคมสงเคราะห์ และศึกษาศาสตร์
    • ภาควิชาเวชกิจฉุกเฉิน
    • ภาควิชาสหเวชศาสตร์และแพทยศาสตร์
    • ภาควิชาศึกษาศาสตร์
    • ภาควิชาครอบครัวและชุมชนศึกษา
    • ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์และสุขภาพปฐมภูมิ
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    • ภาควิชาชีวเวชศาสตร์และนิติวิทยาศาสตร์
    • ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์
    • ภาควิชาการคณนาและเทคโนโลยี
    • ภาควิชาชีววิทยา
    • ภาควิชาจิตวิทยา
    • ภาควิชาทัศน-โสตศาสตร์

ทิวทัศน์

[แก้]
ภาพมุมกว้างที่วิทยาเขตเคมบริดจ์

อ้างอิง

[แก้]
  1. Searby, Peter (1997), A History of the University of Cambridge: Volume 3 1750–1870, Cambridge: Cambridge University Press, p. 39, ISBN 978-0-521-35060-0, สืบค้นเมื่อ 2013-02-22
  2. Ruskin, John (29 October 1858), Cambridge School of Art: Mr Ruskin's Inaugural Address (Transcript of speech), London: Bell & Daldy (ตีพิมพ์ 1858), สืบค้นเมื่อ 2013-02-22
  3. Chopra Consultants (2005), Anglia Ruskin University, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2007, สืบค้นเมื่อ 2013-02-22
  4. "Cambridge Business News | Cambridgeshire Local Business & Corporate News". Cambridge-news.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กันยายน 2007. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2010.
  5. "Faculties". anglia.ac.uk. Anglia Ruskin University. 2011. สืบค้นเมื่อ 28 September 2017.url=

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]