ข้ามไปเนื้อหา

ภูพระบาท ประจักษ์พยานแห่งวัฒนธรรมสีมาสมัยทวารวดี

พิกัด: 17°43′51.8″N 102°21′22.6″E / 17.731056°N 102.356278°E / 17.731056; 102.356278
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภูพระบาท ประจักษ์พยานแห่งวัฒนธรรมสีมาสมัยทวารวดี *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
หอนางอุสาภายในอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท
พิกัด17°43′51.8″N 102°21′22.6″E / 17.731056°N 102.356278°E / 17.731056; 102.356278
ประเทศ ไทย
ภูมิภาค **เอเชียและแปซิฟิก
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(iii), (v)
อ้างอิง1507
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2567 (คณะกรรมการสมัยที่ 46)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

ภูพระบาท ประจักษ์พยานแห่งวัฒนธรรมสีมาสมัยทวารวดี[1] เป็นหนึ่งในแหล่งมรดกโลกของประเทศไทย ตั้งอยู่ในอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี มีพื้นที่ทั้งสิ้นราว 5.86 ตร.กม.

สถานที่ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

[แก้]

การสงวนรักษาและการเตรียมการเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก

[แก้]

กรมศิลปากรได้ดำเนินการขอใช้พื้นที่ป่าสงวนจำนวน 3,430 ไร่ จากกรมป่าไม้ โดยได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นเขตโบราณสถานไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 98 ตอนที่ 63 เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2524 จากนั้นจึงได้พัฒนาแหล่งจนกลายเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทในที่สุด

  • วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2547 ยูเนสโกได้ขึ้นเป็นสถานที่ที่ได้รับขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้นเพื่อพิจารณาขึ้นเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม
  • พ.ศ. 2559 สภานานาชาติว่าด้วยการดูแลอนุสรณ์สถานและแหล่งโบราณคดี (ไอโคมอส) ได้แจ้งให้ทางการไทยทราบเกี่ยวกับการเสนออุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกของทางการไทย โดยมีข้อเสนอแนะให้ดำเนินการศึกษาในเชิงลึกเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของวัฒนธรรมของสีมากับพุทธศาสนา เพื่อนำไปสู่ศักยภาพที่โดดเด่นของอุทยานฯ รวมทั้งหากเป็นไปได้ เสนอให้พิจารณาเกณฑ์และขอบเขตการขึ้นทะเบียนอุทยานฯ ที่ทางการไทยเสนอ[2]
  • (ร่าง) ข้อมติเสนอให้ขึ้นทะเบียนอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทเป็นแหล่งมรดกโลก ประเภทภูมิทัศน์วัฒนธรรม และเสนอให้เปลี่ยนชื่อแหล่งเป็น "ภูพระบาท ประจักษ์พยานแห่งวัฒนธรรมสีมาสมัยทวารวดี" รวมทั้งขอให้ดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ภายหลังจากการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกด้วยคุณค่าความโดดเด่นของการแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมสีมาในสมัยทวารวดี[3]

เหตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก

[แก้]

"ภูพระบาท ประจักษ์พยานแห่งวัฒนธรรมสีมาสมัยทวารวดี" ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 46 เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ที่เดลี ประเทศอินเดีย[4] โดยผ่านข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก ดังนี้

  • (iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
  • (v) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตามกาลเวลา

ถือเป็นแหล่งมรดกโลกลำดับที่ 8 ของประเทศไทย และเป็นลำดับที่ 5 ในชนิดแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม

อ้างอิง

[แก้]
  1. UNESCO World Heritage Centre. Phu Phrabat, a testimony to the Sīma stone tradition of the Dvaravati period - UNESCO World Heritage Centre. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://whc.unesco.org/en/list/1507 [ม.ป.ป.].
  2. ICOMOS (2016a), Evaluations of Nominations of Cultural and Mixed Properties to the World Heritage List (WHC-16/40.COM/INF.8B1), http://whc.unesco.org/document/141702
  3. "เตรียมการเข้ม ดัน ภูพระบาท ขึ้นเป็น มรดกโลก คุณค่าโดดเด่น วัฒนธรรมสีมา สมัยทวารวดี". ข่าวสด. 3 กรกฎาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "ไทยเฮอีก! ยูเนสโก ประกาศ ภูพระบาท เป็นมรดกโลก เปิดเข้าชมฟรี 28 ก.ค. – 12 ส.ค.นี้". ข่าวสด. 27 กรกฎาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]