พูดคุย:พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
เพิ่มหัวข้อพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นอดีตบทความที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นบทความคัดสรร กรุณาดูตามลิงก์ในหลักไมล์บทความด้านล่างเพื่อดูเหตุผลที่ทำให้การเสนอชื่อไม่ผ่าน สำหรับการเสนอชื่อเก่า ๆ ลองตรวจสอบกรุการเสนอชื่อ | ||||||||||||||||||||||||||||
|
บทความนี้อยู่ในโครงการวิกิต่อไปนี้: | |||||||||||||||||||||||||
|
การเปิดดูหน้าเว็บประจำวันของ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
กราฟควรแสดงอยู่ที่นี่แต่กราฟถูกปิดใช้งานชั่วคราว จนกว่ากราฟจะเปิดใช้งานอีกครั้ง ดูกราฟเชิงโต้ตอบที่ pageviews.wmcloud.org |
การอภิปรายภายในหน้านี้อาจกลายเป็นการโต้เถียงอย่างรุนแรงได้ โปรดใจเย็นและกรุณาตอบอย่างสันติวิธีในหน้านี้ |
ยังไม่มีกรุ (สร้าง) |
สิริพระชนมพรรษา/สิริพระชนมายุ
[แก้]สิริพระชนมพรรษาปีที่89 สิริพระชยมายุ 89 พรรษา
อ้างอิงก็ระบุชัดเจน http://www.matichon.co.th/news/319977 แก้ไข้ให้ถูกต้องด้วยครับ
ตอนนี้23พรรษา นุชบา นกอ่อนตา (คุย) 10:09, 12 พฤศจิกายน 2561 (ICT)
สงครามแก้ไข ประเด็นพระราชทรัพย์ เมษายน พ.ศ. 2555
[แก้]มีสงครามการแก้ไขและทำให้เกิดการสร้าง บทความใหม่/หน้าอภิปราย แตกออกจากบทความหลักไป แต่ประเด็นที่เป็นสงครามการแก้ไขยังคงเดิม และขยายสงครามการแก้ไขออกเป็นสองบทความ เพื่อระงับเหตุดังกล่าว ผมจึงได้ย้อนบทความไปรุ่นล่าสุดก่อนมีสงครามการแก้ไข และย้ายบทความที่สร้างใหม่มาเป็นส่วนหนึ่งของหน้าพูดคุยของบทความนี้
- พูดคุย:พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช/พระราชทรัพย์
- พูดคุย:พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช/พระราชทรัพย์ 2
- พูดคุย:พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช/พระราชทรัพย์ 3
และล็อกบทความนี้จากการแก้ไขทั้งปวงชั่วคราว
ขอให้ผู้เขียนทุกท่านใจเย็นๆ ใช้เหตุผลอภิปรายร่วมกันเพื่อหาทางพัฒนาบทความต่อไป โปรดมุ่งประเด็นไปที่บทความ หลีกเลี่ยงการว่ากล่าวผู้มีความคิดเห็นไม่ตรงกับตน ถ้ามีความจำเป็นก็ใช้หน้าประกาศเพื่อสอบถามความเห็นของชุมชนก็ได้
อนึ่งในประเด็นที่ว่าควรสร้างบทความใหม่ พระราชทรัพย์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช หรือไม่ ผมเห็นว่าไม่มีความจำเป็น เพราะเนื้อหาสาระที่แท้จริงมีเพียงส่วนของ privy purse
- สำหรับ Crown Property Bureau มีบทความความอยู่แล้ว มีอะไรก็ขยายความในนั้นได้
- สำหรับทรัพย์สินของแผ่นดิน ก็อาจแยกไปอีกบทความหนึ่ง (หรือทำเป็นหมวดหมู่) ก็ได้
ทั้งสองเรื่องนี้ควรอยู่เป็นบทความแยกกัน ไม่เกี่ยวกับบทความนี้โดยตรง --taweethaも (พูดคุย) 19:58, 17 เมษายน 2555 (ICT)
- ผมเห็นด้วยกับการรวมบทความครับ เพราะจากเนื้อหาที่อ่านมาก็ไม่ได้มากมายหรือสำคัญจนต้องแยกออกจากบทความ ส่วนเรื่องที่เป็นปัญหาได้ดูจากหน้าพูดคุยของบทความและผู้ใช้ที่แก้ไขเกี่ยวกับราชาศัพท์ (รวมถึงเรื่องอภิปรายเก่า) และแนวคิดคนละด้านที่ผู้ใช้ไม่ยอมรับซึ่งกันและกันครับ --N.M. (พูดคุย) 20:13, 17 เมษายน 2555 (ICT)
- ผมไม่เห็นด้วย กับการนำพระราชทรัพย์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มารวมในหน้าพระราชประวัติครับ เพราะมีเนื้อหารายละเอียดมาก ข้อมูลที่เขียนอยู่ตอนนี้ ก็ไม่ครบถ้วนอีกด้วย
- สิ่งที่ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ยอมรับกันได้หรือครับ ? แต่สิ่งที่เป็นความจริงที่ถูกต้อง มีหลักฐาน จนบางคนในนี้โต้แย้งผมไม่ออก แต่ขัดใจเขา จึงเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้
- และเป็นการไม่ให้เกียรติ ขอถามว่า ประวัติบุคคลทั่วโลก มีใครเอารายการทรัพย์สินไว้ในหน้าประวัติครับ ตอบกันได้ไหม ท่านผู้มีปัญญา รายการทรัพย์สิน ก็แยกไว้ ในหน้าพระราชทรัพย์ อีกหน้าสิครับ เพื่อความเหมาะสม
- แต่คงยอมรับกันไม่ได้หรอก เพราะต้องการพยายามแสดงให้เห็นว่า สถาบันร่ำรวยมากมายมหาศาล ให้ได้ แบบนี้ คือความต้องการของคุณใช่ไหมครับ จึงต้องพยายามไปเขียนในส่วนบนของพระราชประวัติ ในหลวงทรงร่ำรวยที่สุดในโลก ทั้งที่เนื้อหานี้ ควรจะอยู่ในส่วนพระราชทรัพย์ แต่เพราะใจคนเขียน มีอคติ อยากให้ผู้ที่อ่าน รู้สึกว่าสถาบันร่ำรวยมากมหาศาล
มีใครเถียงผมได้ ตอบมาเลยครับ
- ผมขอตั้งคำถามทำไม พระราชกรณียกิจ พระราชนิพนธ์ ถึงแยกไปอยู่อีกบทความได้ครับ ? เพราะเนื้อหาเยอะ หรือเพราะไม่อยากให้คนเห็นง่ายๆ ?
- เรียกว่า เอาแต่เนื้อหาให้เป็นไปตามที่ตนเองต้องการ พอมีความเห็นที่แตกต่างตัวเองบ้าง ยอมรับไม่ได้ ปากบอกว่า แก้ไขได้ หากเห็นว่าไม่ถูกต้อง แต่กลับล็อคบทความ ไม่ให้คนอื่นแก้ไข
- ในขณะที่ผมเขียนแก้ไข แม้เนื้อหาบางส่วน ผมไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการแสดงความเห็นอย่างลำเอียงมีอคติ หรือบิดเบือนอย่างชัดเจน แต่ผมกลับยอมให้ใส่ไว้ได้ ให้ผู้อ่านพิจารณา
- แต่สิ่งที่ท่านบังคับให้เป็นตามที่ท่านต้องการ เรียกว่าเป็นการตัดสินตามอคติ ความชอบของตนเอง ไม่รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ที่แตกต่าง แต่ชอบอ้างถึงสิทธิเสริภาพ ประชาธิปไตย
PandaReactor (พูดคุย) 10:33, 18 เมษายน 2555 (ICT)
- ความเห็นส่วนตัวผมเอง เมื่อเกิดสงครามแก้ไขเป็นหน้าที่ของผู้ดูแลที่จะดำเนินการ มีการบิดเบือนข้อมูลหรือไม่ต้องดูที่แหล่งอ้างอิง เป็นกลางหรือไม่ส่วนนี้หากในสถานการณ์ปกติเปิดโอกาสให้ฝ่ายสนับสนุนและคัดค้านแก้ไขอยู่แล้ว หากข้อมูลที่นำใส่ลงไปมีแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือและพิสูจน์ได้ไม่ว่าจะด้านลบด้านบวกไม่ผิดนโยบายวิกิพีเดีย ประเด็นสถาบันฯร่ำรวยไม่ใช่เรื่องเสียหายแต่ประการใดๆ อยู่ที่มุมมองของท่านเอง ขอให้เดินสายกลางอย่าสุดโต่ง ขอทำไปตามแหล่งข้อมูล --Sasakubo1717 (พูดคุย) 11:01, 18 เมษายน 2555 (ICT)
- แหล่งอ้างอิง
ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งกับการล็อกบทความนี้ สมควรล็อกอย่างถาวร หากต้องแก้ประเด็นไหนให้มาที่หน้าอภิปราย และที่อยากจะเห็นอีกอย่างก็คือ ข้อมูลที่ไม่มีแหล่งอ้างอิง (ดูได้จากป้ายต้องการอ้างอิงเฉพาะจุด) ในบางครั้งข้อความนั้นทำให้เนื้อหาของบทความเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ บทความอื่นๆก็เช่นกัน เขียนเอง ใส่ป้ายต้องการอ้างอิงเอง เป็นเรื่องไม่เหมาะสม --Sasakubo1717 (พูดคุย) 00:04, 18 เมษายน 2555 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย เพราะการล็อกถาวรไม่ต่างอะไรกับ Censorship ครับ อีกอย่างผู้ใช้เจตนาดีที่ไม่ได้แก้ในประเด็นพิพาทก็มีอยู่บ้าง แต่เห็นด้วยกับการล็อกกัน content dispute --∫G′(∞)dx 00:17, 18 เมษายน 2555 (ICT)
- ถึงคุณ Sasakubo1717
- เนื้อหาที่ผมเขียน โดยมีหลักฐานอ้างอิงละครับ จนคุณโต้แย้งผมไม่ออก คุณ Sasakubo1717 ลบเพราะคุณไม่ชอบใช่หรือไม่ สิ่งนี้คือการรับฟังความคิดเห็นผู้อื่นหรือไม่ ? คุณบอกว่า เข้าเว็บที่ผมส่งให้ชมไม่ได้ ก็ส่ง e-mail มาเลยครับ ผมจะหาเว็บส่งให้คุณดูเรื่อยๆ และ cap ภาพไปให้ชมด้วย
PandaReactor (พูดคุย) 10:55, 18 เมษายน 2555 (ICT)
- ผมจำไม่ได้คุณแก้ในประเด็นใดบ้าง อาจทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่ในระยะหลังผมไม่ได้ลบเนื้อหาที่มีแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ออกเว้นเสียแต่ว่าเนื้อหาไม่โดดเด่นพอที่จะใส่ไว้ --Sasakubo1717 (พูดคุย) 11:16, 18 เมษายน 2555 (ICT)
- ล็อกบทความโดยไม่มีผู้ใดแก้ไขได้เป็นการถาวร ผิดนโยบายบายวิกิพีเดีย (มีข้อยกเว้นคือแม่แบบหรือหน้าหลัก แต่หน้าบทความไม่ถือเป็นข้อยกเว้น) -- คำร้องนี้ไม่อาจทำได้
- ก่อนจะเขียนต้องดูว่าเขียนแล้วเป็นสารานุกรมเพิ่มความเข้าใจในประเด็นใดหรือไม่ก่อนที่จะพิจารณาเรื่องแหล่งอ้างอิง
- อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ประเด็นพึงพิจารณาสำหรับบทความนี้มีเพียง privy purse อาจไม่ต้องใส่รายละเอียดมากมายก็ได้ (ย้อนไปดูข้อ 2) ส่วนทรัพย์ของแผ่นดินและ CPB ควรเป็นบทความ/หมวดหมู่แยกต่างหาก ละมีลิงก์จากบทความนี้ออกไป
--taweethaも (พูดคุย) 12:49, 18 เมษายน 2555 (ICT)
- กรุณาใช้ข้อมูลการถือหุ้นปัจจุบันจาก (1.) ที่ผมหามานำมาใส่บทความในหลวงด้วยครับ เพราะข้อมูลเดิมที่มีอยู่นั้นล้าสมัยแล้ว และไม่ถูกต้องในปัจจุบัน ถือว่าเป็นการถอยหลังลงคลอง โปรดนำข้อมูลปัจจุบันมาแทนที่ด้วย เรื่องพระราชทรัพย์ที่แบ่งเป็นสามส่วนก็เช่นกันครับ ผมได้นำ พรบ. สองฉบับมาอ้างอิงแล้ว แต่ก็ถูกย้อนไปใช้รุ่นเดิม --浓宝努 17:07, 18 เมษายน 2555 (ICT)
- คุณฉัตรา ได้ให้คำแนะนำแทรกเอาไว้ในการอภิปรายก่อน ซึ่งหลายคนอาจจะไม่ทันเห็น เป็นข้อยืนยันว่า การเปิดเผยทรัพย์สินสามารถกระทำได้ (ไม่อ้างความเป็นสากล) ดังนี้ --浓宝努 17:42, 18 เมษายน 2555 (ICT)
บทความ en:Elizabeth II#Finances ที่เป็น Featured article ก็มีเขียนถึงหัวข้อนี้นะคะ น่าจะใช้เป็นแนวทางในการเขียนได้คะ --ฉัตรา (พูดคุย) 19:08, 14 เมษายน 2555 (ICT)
การวิพากษ์วิจารณ์พระองค์เป็นความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์
[แก้]การวิพากษ์วิจารณ์พระองค์เป็น "ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์" ข้อมูลส่วนนี้สมควรแก้โดยด่วน ความหมายผิดโดยสิ้นเชิง หากการวิพากษ์วิจารณ์เป็นความผิด รายการที่ทางโทรทัคน์ของไทยออกโครมๆ ทุกวันนี้คงติดคุกกันเต็มบ้านเต็มเมืองแล้ว การวิพากษ์วิจารณ์แล้วเป็นความผิดหมายความว่ากล่าวถึงไม่ได้เลย --Sasakubo1717 (พูดคุย) 11:47, 18 เมษายน 2555 (ICT)
ปรับปรุงบทนำ
[แก้]ผมต้องขออภัยที่ก่อนหน้านี้พยายามแก้ไขบทความด้วยตัวเอง ด้วยนึกว่า wiki เป็นที่ ๆ ใครก็ได้สามารถเข้ามาแก้ไขบทความได้ และบทความนั้น ๆ ก็ไม่ได้เป็นของผู้ใดผู้หนึ่ง
เข้าเรื่องนะครับ ผมขอเสนอให้แก้ไขดังต่อไปนี้ครับ
- แก้ไข "แม้ว่าพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่พระองค์ได้ทรงแทรกแซงการเมืองไทยหลายครั้ง โดยทรงได้รับการเชิดชูว่าทรงช่วย..." เป็น "พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญและทรงได้รับ..."
- ลบ "และยำเกรงพระองค์" เนื่องด้วยคำว่า to be revered แปลว่า "ให้ความเคารพอย่างสูง" แต่คำว่ายำเกรงสามารถส่อความหมายในแง่ลบได้ เช่น ยำเกรงเนื่องจากความกลัวในอำนาจ
- เปลี่ยนจาก "มีโทษสูง" ใน "ส่วนประมวลกฎหมายอาญาว่า การดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรืออาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์เป็นความผิดอาญามีโทษสูง[6]" เป็น "ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี" แล้วอ้าง รัฐธรรมนูญฉบับปี 55 แทน
ด้วยความเคารพ
--Pasitnat (พูดคุย) 5:59, 6 กรกฎาคม 2555 (ICT)
- "พระมหากษัตริย์" เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่ต้องมี "ทรง" อีกครับ
- พจนานุกรมว่า "ยำเกรง ก. เกรงกลัวเพราะความเคารพนับถือ" แต่จะใช้คำอื่นก็แล้วแต่เห็นสมควรครับ
- "มีโทษสูง" ก็น่าจะพอแล้วนะครับ เพราะรายละเอียดปลีกย่อยมีอยู่ในส่วน "สถานะพระมหากษัตริย์" แต่รัฐธรรมนูญปี 55 ไม่มีครับ ศาลรัฐธรรมนูญยังไต่สวนอยู่ ยังไม่ได้แก้กันเลย
- --Aristitleism (พูดคุย) 18:06, 6 กรกฎาคม 2555 (ICT)
- บรรทัดที่ย่อหน้า
- ตรงที่ผมเสนอให้แก้ไขหรือเอาออกคือ "แต่พระองค์ได้ทรงแทรกแซงการเมืองไทยหลายครั้ง" เพราะผมเห็นว่า คำว่าแทรกแซงการเมืองนั้นสื่อไปในทางว่าใช้พระราชอำนาจในเรื่องการเมืองเกินขอบเขตที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว พระองค์ทรงเข้าไปเกี่ยวข้องในเรื่องการเมืองตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้
- นั่นแหละครับ ผมว่าคำว่า revered ที่เขียนไว้ในแหล่งอ้างอิงนั้นหมายถึง ให้ความเคารพอย่างสูง อันเนื่องจากการพระบารมีและคุณความดีของพระองค์ท่านต่อพสกนิกรขาวไทย ผมจะขออนุญาตตัดคำนี้ออกแล้วเอาไปรวมกับข้อความก่อนหน้านะครับ
- "มีโทษสูง" เป็นคำกำกวม แต่หากไม่มีผู้ท้วงอื่น ก็ไม่มีปัญหาครับ เรื่องปีรัฐธรรมนูญ ผมเขียนผิดครับ ต้องเป็น 2550
ด้วยความเคารพ --Pasitnat (พูดคุย) 18:19, 6 กรกฎาคม 2555 (ICT)
- ก็เกินรัฐธรรมนูญจริง ๆ นี่ครับ ไม่มีมาตราไหนในรัฐธรรมนูญ หรือประเพณีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ที่อนุญาตให้พระมหากษัตริย์ทำอย่างที่เคยเกิดขึ้นมา (ตั้งหัวหน้าคณะปฏิวัติ เป็นต้น) แต่เรื่องความเหมาะสมที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทำเช่นนั้น ก็ไม่ใช่ประเด็นที่จะต้องถกเถียงกัน จึงยุติแค่นี้ ประเด็นคือ มีการแทรกแซงจริงหรือไม่ ก็ปรากฏอยู่ว่ามี เช่น เรียกหัวหน้าทหารกับหัวหน้าฝ่ายประท้วงไปพูดคุยเพื่อขอให้หาทางออกกัน, ตั้งหัวหน้าคณะปฏิวัติ ฯลฯ ผมจึงเห็นว่า "แต่พระองค์ได้ทรงแทรกแซงการเมืองไทยหลายครั้ง" สามารถใส่ได้
- ที่จริงแปลมาจากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษน่ะครับ เขาว่า คนไทยบางคนทั้งเคารพ ทั้งยำเกรง มีอ้างอิงแยกเป็นสองกิริยาอาการ แต่ก็ไม่ได้ว่าอะไรครับถ้าจะแก้เป็นอื่น
- กำกวมอย่างไรหรือครับ ผมเพียงเห็นว่า ไม่ควรใส่รายละเอียดเยอะแยะในส่วนบทนำ แต่ก็ไม่ได้ว่าอะไรครับถ้าจะใส่
- --Aristitleism (พูดคุย) 18:35, 6 กรกฎาคม 2555 (ICT)
- ขอบคุณที่อนุญาตให้แก้ไขครับ
- ผมขออ้างอิงตามนี้นะครับ ส่วนหนึ่งของพระราชดำรัสในโอกาสที่ประธานศาลฎีกา (นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ) นำผู้พิพากษาประจำศาล สำนักงานศาลยุติธรรม เฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล วันอังคาร ที่ 25 เมษายน 2549 (อย่างไม่เป็นทางการ) "แล้วก็ขอยืนยันว่าไม่เคยสั่งการอะไรที่ไม่มีกฎเกณฑ์ของบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย. พระราชบัญญัติต่างๆ ทำถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ทุกอย่าง. อย่างที่เขาขอบอกว่าให้มี ให้พระราชทานนายกพระราชทาน ไม่เคย ไม่เคยมีข้อนี้ มีนายกแบบมีการรับสนองพระบรมราชโองการอย่างที่ถูกต้องทุกครั้ง. มีคนเขาก็อาจจะมา มาบอกว่าพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 เนี่ยทำตามใจชอบ. ไม่เคยทำอะไรตามใจชอบ. ตั้งแต่เป็นมา มีรัฐธรรมนูญหลายฉบับ แล้วก็ทำมาหลายสิบปี ไม่เคยทำอะไรตามใจชอบ. ถ้าทำไปตามใจชอบ ก็เข้าใจว่าบ้านเมืองล่มจมไปนานแล้ว. แต่ตอนนี้เขาขอให้ทำตามใจชอบ. แล้วเวลาถ้าเขา ถ้าทำตามที่เขาขอ เขาก็จะต้อง ต้องด่าว่านินทาพระมหากษัตริย์ว่าทำตามใจชอบ. ซึ่งไม่ใช่กลัว ถ้าต้องทำก็ต้องทำ แต่ว่ามันไม่ต้องทำ" .....ผมคิดถึงคำที่เหมาะสมกว่าคำว่าแทรกแทรงครับ ไม่อย่างนั้นควรจะต้องมีคำอธิบายเพิ่มเติม เช่น ในขอบเขตที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้หรือเพื่อลดความขัดแย้งที่จะนำไปสู่ความรุนแรงทางการเมืองได้ เป็นต้น
- ขอบคุณที่ให้แก้ไขในข้อนี้ครับ
- มีโทษสูง อาจหมายถึง จำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตก็ได้ครับ
- --Pasitnat (พูดคุย) 18:47, 6 กรกฎาคม 2555 (ICT)
- ไม่ต้องขอบคุณหรอกครับ ผมไม่มีอำนาจอนุญาต (และไม่ต้องขออนุญาตใครด้วย)
- คำพูดของคน ๆ หนึ่ง ในการยืนยันเรื่องเกี่ยวกับตนเองนั้น มีความน่าเชื่อถือน้อยนะครับ และจัดเป็นแหล่งอ้างอิงปฐมภูมิซึ่งต้องห้ามตามนโยบายวิกิพีเดีย กระนั้น สำหรับข้อความเดิมนั้นแปลมาจากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ จะแก้อย่างไรก็สุดแต่เห็นสมควรครับ
- เรื่องโทษก็เช่นกันครับ จะขยายความก็สุดแต่เห็นสมควรครับ
- --Aristitleism (พูดคุย) 18:58, 6 กรกฎาคม 2555 (ICT)
รบกวนตรวจทานพระนามเต็มครับ
[แก้]เนื่องจากในวิกี ลงพระนามเต็มไว้ว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร" ซึ่งตามหลักแล้วพระนามในพระสุพรรณบัฏ จะมีสัมผัสกัน และตามแหล่งข้อมูลออนไลน์อื่นๆ ลงพระนามเต็มไว้ว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร" แต่เนื่องจากไม่มีการอ้างอิงจึง ไม่แน่ใจว่าข้อมูลที่ได้ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ ขอบคุณล่วงหน้าครับ
--ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Patavee1999 (พูดคุย • หน้าที่เขียน) 15:48, 17 กรกฎาคม 2555
- เข้าใจว่าเป็นอย่างย่อครับ เคยเห็นอยู่ในรัฐธรรมนูญเป็นต้น --Aristitleism (พูดคุย) 15:59, 17 กรกฎาคม 2555 (ICT)
ถูกต้อง Nuchaba (คุย) 09:24, 30 กรกฎาคม 2561 (ICT)
พระราชทรัพย์
[แก้]ดิฉันเห็นมีการเพิ่มเติมข้อมูลทรัพสินย์ส่วนพระมหากษัตริย์เข้ามาในบทความด้วย มีความจำเป็นแค่ไหนสำหรับข้อมูลส่วนนี้คะ ถ้าจำเป็นดิฉันเห็นในบทความสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีอีกหลายหุ้นที่ไม่ได้เขียนในบทความนี้ สมควรจะเอามาลงในบทความด้วยหรือไม่คะ จริงๆ ดิฉันก็งงๆ ว่าทำไมถึงจำเป็นต้องแจกแจงพระราชทรัพย์กันขนาดนี้ เพราะอ่านจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร#การเงินซึ่งเป็น FA ยังไม่ต้องแจกแจงขนาดนี้เลยคะ อยากพัฒนาบทความนี้โดยเอาสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรเป็นต้นแบบ แต่ดิฉันเจอแบบนี้ก็ไปไม่ถูกเหมือนกัน --ฉัตรา (พูดคุย) 23:54, 19 มิถุนายน 2557 (ICT)
- เรื่องนี้เป็นเป็นปัญหามาแล้วครั้งหนึ่ง และผมก็เลิกสนใจแก้บทความนี้แล้วครับ บางบทความ มีแต่เนื้อหาชื่นชมหัวเรื่อง บทความนั้นก็คงอยู่อย่างปกติเรื่อยมา พอวันหนึ่งมีคนเอาเรื่องไม่ดีของหัวเรื่องใส่เข้าไป บทความนั้นจะถูกขึ้นป้าย ขาดความเป็นกลาง ทันที บางทีวิกิพีเดียไทยอาจเป็นแค่ที่ชุมนุมของแฟนคลับในเรื่องนั้นๆก็ได้ --Sasakubo1717 (พูดคุย) 23:14, 20 มิถุนายน 2557 (ICT)
- น่าเศร้าจริงๆ ครับ กับประโยคที่ว่า "วิกิพีเดียไทยอาจเป็นแค่ที่ชุมนุมของแฟนคลับในเรื่องนั้นๆ ก็ได้" โดยเฉพาะบทความนี้ และบทความที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย เพราะมีแต่เนื้อหาชื่นชมหัวเรื่อง และยังคงอยู่อย่างปกติเรื่อยมา พอวันหนึ่ง มีคนเอาเรื่องที่แค่อาจไม่ดีกับหัวเรื่องมาลง ก็จะมีผู้มาบอกว่า "ข้อมูลส่วนนี้มีความจำเป็นแค่ไหน" บ้าง "ทำไมถึงจำเป็นต้องแจกแจงกันขนาดนี้" บ้าง "เจอแบบนี้ก็ไปไม่ถูกเหมือนกัน" บ้าง หรือกล่าวอ้างถึงบทความอื่น เพื่อเสริมสร้างความชอบธรรมในการ "มีแต่เรื่องดีๆ" ของอีกบทความหนึ่งบ้าง ก็ตลกขื่นๆ ดีนะครับ อ้อ สำหรับเรื่องนี้ ผมคิดว่าจะไม่ถกเถียงกับใครต่อแล้วนะครับ เบื่อหน่ายเต็มที เสียเวลาทำธุระอย่างอื่น ไม่ต้องต่อความยาวสาวความยืด จากสิ่งที่ผมบ่นระบายหรอกนะครับ อย่างที่บอกคือ ก็แค่บ่นระบายไว้เท่านั้น ไม่คิดจะตอบโต้อะไรกับใครทั้งนั้นครับ ขอบคุณ สวัสดี (ยักไหล่ -- นี่ก็ "สลิ่ม จัง...." อีกเหมือนกันสินะ) -- Zenith Zealotry | เซนิตสโมสร | 18:06, 23 มิถุนายน 2557 (ICT)
- ผมมองว่า structure ของบทความ Queen Elizabeth มีทั้งส่วนที่กล่าวถึงทรัพย์สินส่วนพระองค์และส่วนพระมหากษัตริย์ (คล้าย ๆ กับทรัสต์) แต่ในบทความนี้ structure จะเน้นไปที่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งอาจไม่จำเป็นมากนักถ้าสมมุติมี Crown Estate เป็นบทความแยกออกไปอีก อย่างไรก็ดีส่วนที่มี claims ว่าเป็นกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลกอาจต้องเขียนแจงว่าไม่ใช่ (เช่นเดียวกับที่ใน Queen Elizabeth เขียนว่า "The Royal Collection ... is not owned by the Queen personally and is held in trust" เป็นต้น ตารางตัดออกเลยครับ --∫G′(∞)dx 17:01, 24 มิถุนายน 2557 (ICT)
ขอความอนุเคราะห์ล็อกสมบูรณ์
[แก้]เนื่องจากมีการก่อกวนมากครับผม กราบขอบพระคุณครับ--Longlivethekingofthailand (พูดคุย) 02:46, 22 ตุลาคม 2557 (ICT)
พระพลานามัย
[แก้]ข้อความ "พระอาการเจ็บแผลผ่าตัดบรรเทาลง" หมายถึงแผลผ่าตัดอะไรหรือครับ เหมือนจะไม่มีข้อมูลบอก --Horus | พูดคุย 22:16, 19 มกราคม 2559 (ICT)
บทความลำเอียง
[แก้]บทความของวิกิพีเดีย ได้ชื่อว่า #ไม่น่าเชื่อถือ เพราะลำเอียงนี่แหละ. อย่างบทความนี้ ไม่มีการพูดถึงสังคมโลก, เศรษฐกิจไทย, และเศรษฐกิจโลกเลย...ตลอดบทความ. คนที่คิดว่ามันไม่เกี่ยวกัน #คิดสั้น ไปนะ.
ถามว่า ตลอดเวลา 20 กว่าปี ตั้งแต่ยึดอำนาจจาก ร. 7 ไป จน จอมพลสฤษดิ์ ธนรัตน์ คืนพระราชอำนาจให้, ระหว่างนั้นรัฐบาลคณะราษฏร์ ทำอะไรแย่ๆ ไว้กับประชาชนบ้่าง, บทความไม่มีเกริ่น ไม่มีอ้างอิง ไม่มีพูดถึงเลย.
ความเป็นกลางและความอคติ
[แก้]อยากให้ลองพิจารณา เรื่องความเป็นกลางและความอคติที่มีในบทความนี้ดูกันอีกทีนะคะ เพราะเนื้อหาในหลายส่วนเห็นได้ชัดว่าบิดเบือนจากความเป็นจริง และยังกล้าอ้างอิงยกคำพูดหรือบทวิเคราะห์จากบุคคลต่างๆ นักวิชาการก็ดี สื่อมวลชนต่างประเทศก็ดี ที่ไม่มีทัศนะหรือมุมมองที่เป็นกลางเลย
ดิฉันศรัทธาและยกย่องแนวทางของวิกิพีเดียเสมอมา แต่ในวันนี้อยากจะตั้งคำถามเกี่ยวกับบทความนี้ได้ไหม ในเมื่อวิกิพีเดียยึดถือเรื่อง วิกิพีเดีย:มุมมองที่เป็นกลาง (ถ้าคิดจะเข้าไปอ่านกันบ้างนะคะ) แล้วกลับเผยแพร่เนื้อหาที่ย้อนแย้งอย่างยิ่งยวด
การอ้างอิงจากแหล่งที่ไม่เป็นกลาง
[แก้]โทมัส ฟุลเลอร์
[แก้]ข้อความที่มาจากงานเขียนของเขาว่า
"ขบวนการต่อต้านพระมหากษัตริย์ปัจจุบันเนื่องจากข้อเท็จจริงว่าพระมหากษัตริย์เดี๋ยวนี้กลายเป็นสมมติเทพ ยิ่งทำให้พระมหากษัตริย์ศักดิ์สิทธิ์เท่าไร ยิ่งทำให้อธิบายไม่ได้และอยู่นอกเหนือสามัญสำนึก" เและ ในปี 2558 รัฐบาลใช้งบประมาณ 540 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากกว่างบประมาณของทั้งกระทรวงการต่างประเทศ ไปกับการรณรงค์ส่งเสริมชื่อ "เทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์"
โทมัส ฟุลเลอร์ เป็นนักข่าวจาก นิวยอร์กไทม์ เคยเขียนบทความต่อต้านประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 มาแล้วหลายต่อหลายครั้ง ส่วนมากมีเนื้อหายุยงปลุกปั่น และขาดความเป็นกลาง บางครั้งนำไปสู่การงดเผยแพร่ในประเทศไทย แหล่งอ้างอิงแบบนี้ก็เอามาใช้อ้างอิงได้เหรอคะเนี่ยพึ่งจะทราบจริงๆ
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
[แก้]ข้อความส่วนที่บอกว่า
คณะกรรมการกฤษฎีกาวินิจฉัยว่า สำนักงานฯ มีฐานะเป็นเอกชน แต่เป็นหน่วยงานของรัฐ เพราะ "สถาบันพระมหากษัตริย์ก็เป็นส่วนหนึ่งของรัฐด้วย" สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล วิจารณ์ว่า ทรัพย์สินส่วนนี้แทบไม่ต่างกับทรัพย์สินส่วนพระองค์
เอาคำพูดของนักวิชาการที่มีจุดยืนล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์มาเป็นแหล่งอ้างอิง? เป็นกลางอย่างไรคะ หรือแค่อยากนำเสนอด้านเดียวก็ทำได้ แบบนี้ก็ได้เหรอคะ
ขาดบริบท ไม่ได้จะอธิบายเนื้อหาอะไร --Sry85 (พูดคุย) 17:35, 11 พฤศจิกายน 2559 (ICT)
- ตอบ ต้องการสื่อในประเด็นว่า ที่อ้างว่าทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน แท้จริงแล้วมีการเบิกจ่ายในลักษณะที่เหมือนกับทรัพย์สินส่วนพระองค์ จึงมีการวิจารณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้น ส่วนถ้าคุณคิดว่าไม่เป็นกลาง จะเอาคำชี้แจงของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มาลงก็ได้ --Horus | พูดคุย 18:45, 17 พฤศจิกายน 2559 (ICT)
ดันแคน แม็กคาร์โก
[แก้]ตามที่ยกคำกล่าวของ ดันแคน แม็กคาร์โก ว่า
เครือข่ายอนุรักษนิยมของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทำงานหลังฉากเพื่อสถาปนาอิทธิพลทางการเมืองในคริสต์ทศวรรษ 1990 แต่ถูกคุกคามโดยการชนะเลือกตั้งอย่างถล่มทลายของทักษิณ ชินวัตรในปี 2544 และ 2548 ...... ตุลาการเป็นส่วนที่สถาปนาอย่างดีของเครือข่ายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและเป็นลู่ทางหลักของพระองค์ในการใช้พระราชอำนาจนอกรัฐธรรมนูญแม้ภายนอกดูชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เขายังเน้นด้วยว่าเมื่อเทียบกับการตัดสินปล่อยตัวทักษิณของศาลรัฐธรรมนูญในปี 2544 ตุลาการเป็นส่วนสำคัญของ "เครือข่าย" ดังกล่าวมากกว่าในอดีตมากเพียงใด
ดันแคน แม็กคาร์โก คนนี้ เป็นอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยลีดส์ เจ้าของผลงาน "เดอะคิงเนเวอร์สมายล์" อันเป็นหนังสือต้องห้ามในราชอาณาจักรไทย งานเขียนของเขาถูกอ้างอิงโดย"วารสารฟ้าเดียวกัน" ซึ่งหลังตีพิมพ์แล้วได้ถูกระงับพิมพ์ทันทีจากเนื้อหาที่หมิ่นเหม่ และผิดกฎหมาย และคำกล่าวที่คุณยกมานี้ยังถูกนำไปใช้เป็นหัวข้อเสวนาของ ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ผู้ต้องหาคดีอาญาซึ่งหลบหนีคดีอยู่ในขณะนี้
ไม่น่าเชื่อว่า คุณจะ จงใจ อ้างอิงแหล่งข้อมูลด้านเดียว แฝงนัยยะแสดงความอคติและเกลียดชังได้ถึงขั้นนี้ นี่ไม่ใช่สารานุกรมเลย ยิ่งอ่านแล้วก็ยิ่งงง นี่บทความสารานุกรม หรือบทความการเมืองเลือกข้าง
บทความขาดความน่าเชื่อถือ ลอกแต่จากวิกิพีเดียภาษาอื่น
[แก้]อ่านแล้วลักษณะเหมือนอยากเขียนอะไรตามที่คิดเองขึ้นมาคนเดียว ขาดการนำเสนออย่างรอบด้าน พูดง่ายๆ คืออคติ และมโนภาพ
ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
[แก้]ข้อความส่วนที่บอกว่า
"วันที่ 14 ธันวาคม 2557 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานเงิน 200,000,000 บาท แก่ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ สุวะดีเพื่อใช้ในการดำรงชีพและดูแลครอบครัว มีข่าวกระทรวงการคลังยืนยันว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารขอรับเงินพระราชทานจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
อันนี้คือต้องการเขียนเพื่ออะไรคะ จะบอกว่าเป็นทรัพย์สินของกษัตริย์?? แล้วเคยคิดจะค้นหา หรือเคยทราบบ้างไหมคะ ว่าทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ คือทรัพย์สินที่ คณะราษฎรยึดจากพระราชวงศ์ให้ตกเป็นของแผ่นดิน ถ้าเป็นของพระมหากษัตริย์จริงๆ จะต้องขออนุญาตทำไมคะ นำมาใช้เลยไม่เร็วกว่าเหรอคะ
- ตอบ ที่บอกได้ว่าเป็นทรัพย์สินของกษัตริย์ เพราะกษัตริย์เป็นผู้อนุญาตแต่ผู้เดียว ที่บอกว่าเป็นของแผ่นดิน จริง ๆ รัฐบาลไม่มีอำนาจอะไรในทรัพย์ส่วนนี้เลย --Horus | พูดคุย 18:45, 17 พฤศจิกายน 2559 (ICT)
- ผมได้ย้อนการแก้ไขเนื้อหาส่วน "ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" พร้อมกับได้เพิ่มข้อมูลจากลิงก์ http://prachatai.com/journal/2011/06/35539 ที่ระบุว่า "ผลประโยชน์ทั้งหมดที่ได้จากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (หลังการหัก “ต้นทุน” ในการดำเนินงาน) พระมหากษัตริย์จะทรงจำหน่ายใช้สอย ในทางใดๆก็ได้ “ตามพระราชอัธยาศัย ไม่ว่าในกรณีใดๆ” นั่นหมายรวมถึงว่า จะทรงจำหน่ายใช้สอยในกรณีที่จะตีความว่าเป็น “ส่วนพระองค์” ก็ได้ กฎหมายให้อำนาจสิทธิ์ขาด ไม่มีข้อห้ามเลยแม้แต่น้อย (อันที่จริง แม้แต่พวก “ต้นทุน” ในการดำเนินงาน ที่กำหนดในวรรคแรก ก็ต้อง “ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้วเท่านั้น”)" แล้ว --Horus | พูดคุย 19:02, 17 พฤศจิกายน 2559 (ICT)
กรณี รัฐประหาร ปีพ.ศ. 2549
[แก้]มีการใช้ภาพ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน พล.ร.อ.สถิรพันธุ์ เกยานนท์ และ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุก เข้าเฝ้าฯ เอามาประกอบเพื่ออะไรคะ ข้อความในบทความก็ไม่เห็นจะมีส่วนเกี่ยวพันกับรูปรูปนี้ที่คุณเอามาลงเลยแม้แต่น้อย
พระมหากษัตริย์ไทย ทรงอยู่เหนือการเมือง ตามรัฐธรรมนูญทั้ง 17 ฉบับ บัญญัติไว้ แน่นอนว่าต่างชาติไม่ทราบถึงข้อนี้ และตอนนี้คุณก็กำลังลอกบทความของต่างชาติเหล่านั้นโดยเฉพาะงานเขียนของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ซึ่งกำลังสื่อว่าทรงเกี่ยวพันกับการเมือง เช่นรูปที่เห็น ซึ่งไม่ได้บอกอะไรเลย ไม่รู้เอามาลงทำไม
ภาพลักษณ์
[แก้]หัวข้อนี้แปลกประหลาดมาก ภาพลักษณ์ของพระองค์บางคนมองว่าเป็นเทพ บางคนมองว่าเป็นนักปราชญ์ บางคนมองว่าเป็นที่เคารพรัก หรือบางคนก็มอง เป็นอื่น คุณจะเอามาตรฐานหรือเอากฎเกณฑ์อะไรมาวัดคะ กฎเกณฑ์สูงส่งดีงามแค่ไหนถึงมาจำกัดความแทนคนเป็นล้านได้ หรือแค่คิดอยากแปลจากวิกิภาษาอังกฤษมาก็ทำ แค่นั้น เนี่ยเหรอสารานุกรม เนี่ยเหรอวิกิพีเดียภาษาไทย
เหนือสิ่งอื่นใดการจะเขียนบทความเกี่ยวกับบุคคล ไม่ว่าใครก็ตาม คุณน่าจะนำเสนอประวัติ และผลงานที่ปรากฏ มากกว่าจะเสนอว่าคนอื่นวิพากษ์วิจารณ์บุคคลนั้นอย่างไรมากกว่าไหมคะ บอกตามตรงว่าหมดศรัทธาในวิกิพีเดีย คงเลิกติดตามแล้วจริงๆ --Pluto p (พูดคุย)
- เห็นด้วยกับคุณหมดทุกข้อเลยครับ ดีแล้วครับ ที่คุณเริ่มประเด็นการอภิปราย บทความมีปัญหามากครับ ประโยคที่คุณนำมา เป็นไม่มีมุมมองที่เป็นกลาง โดยเฉพาะการเลือกข้อความที่เป็นการตัดสิน เป็นการแสดงความเห็น พิสูจน์ยืนยันไม่ได้ (คิดเอาเอง) ก่อให้เกิดคำถามข้อสงสัยในความเป็นกลาง เอาข้อความเหล่านี้ออกได้เลย ถ้าใครย้อนกลับ ก็ขอให้อภิปรายกันในนี้เลยครับ ว่าทำไมถึงย้อน อาจจะมีพวกย้อนอย่างเดียวไม่มาอภิปรายอะไร --Sry85 (พูดคุย) 12:51, 8 พฤศจิกายน 2559 (ICT)
- ผมคิดว่า ถ้าคุณ Pluto p ไม่เห็นด้วยกับข้อความส่วนไหน ควรนำข้อความจากแหล่งข้อมูลอื่นมาแย้งประกอบ ไม่ใช่การลบข้อมูลออกเฉย ๆ --พุทธามาตย์ (พูดคุย) 22:45, 8 พฤศจิกายน 2559 (ICT)
- ไม่สามารถทำอย่างนั้นได้แน่นอนค่ะ เหตุผลคือ
1.) ข้อมูลส่วนที่ดิฉันลบออกมันเป็นบทวิพากษ์วิจารณ์ คุณจะเอาอะไรมาแย้งคะ ถึงจะสะท้อนทุกมุมมองอย่างเป็นกลางและรอบด้านได้ แหล่งข้อมูลที่เอามาต้องวิเศษวิโสแค่ไหน หรือให้ไปหาจากเว็บหมิ่นเบื้องสูงต่างๆ อย่างที่เป็นอยู่ตอนนี้ ????
2.) ตามที่ดิฉันบอกไป ฉันยืนยันว่านี่คือสารานุกรม ข้อมูลที่ฉันลบไปมันไม่ไม่เป็นสารานุกรม แนะนำให้ไปอ่านสารานุกรมที่ง่ายที่สุดอย่างฉบับเยาวชนดูก็ได้ แล้วจะได้รู้จักสารานุกรมจริงๆ สักที
ฉันแน่ใจ ว่านี่คือการจงใจปกป้องข้อความบิดเบือนทั้งหลายไว้ในนี้ อย่าคิดว่าคุณจะทำได้ นี่คือเว็บยวิกิพีเดีย ไม่ใช่เว็บบล๊อกส่วนตัวที่จะเขียนอะไรหรือเอาคำพูดใครมาเขียนก็ได้ --Pluto p (พูดคุย)
- @พุทธามาตย์: ผมสนับสนุนที่เอาข้อความออก เพราะแหล่งอ้างอิงมีอคติ ไม่ได้มีความน่าเชื่อถืออะไร ไม่มีนัยยะสำคัญอะไร เหมือนมีคนที่ไม่ชอบคุณ ด่าคุณ กล่าวหาคุณลอย ๆ คุณจะแย้งด้วยอะไรเหรอครับ ด้วยความดีงามเหรอครับ ที่ใส่มามันก็ดูไม่มีเหตุผลซะเลยครับ ไม่รู้ใส่ทำไม เราก็พิจารณาถึงแหล่งที่มา ผมสนับสนุนที่เอาออกครับ ต้องแยกแยะระหว่างวิกิพีเดียไม่เซ็นเซอร์ กับ มุมมองที่เป็นกลางให้ออกครับ ภาษาที่ใช้ก็เป็นภาษาตัดสิน ข้อมูลลอย ๆ ครับ จำพวก เขาเล่าว่า เขาบอกว่า ดังนั้นคนนี้จึงเป็นอย่างนี้ มันเหมือนกับเอาประวัติ ร.4 ร.5 จากหนังสือของแอนนา ลีโอโนแวนส์ แล้วบอกว่า แอนนาเป็นผู้จุดประกายให้เกิดการเลิกทาส เนื้อหาอย่างนี้มันลอย ๆ มากครับ มีแต่ข้อสงสัย ถ้าให้ข้อมูลอย่างนี้จะเอาอะไรมาแย้งเหรอครับ--Sry85 (พูดคุย) 12:01, 9 พฤศจิกายน 2559 (ICT)
- มุมมองผม เรื่องที่มีข้อความเชิงกล่าวร้าย อันนี้ผมคิดเองนะ มีการทำเป็นขบวนการ เขียนหนังสือหรือบทความเพื่อโจมตีหัวเรื่อง จากนั้นอีกคนหนึ่งหรืออาจจะเป็นคนเดียวกันนำมาเขียนลงวิกิพีเดีย สมควรที่จะกำหนดแนวทางการเขียนวิกิพีเดียไทยเสียใหม่ เอาอ้างอิงที่บุคคลสามารถเข้าถึงได้โดยง่าย ไม่เอาอ้างอิงหนังสือบ้าบออะไรก็ไม่รู้เนื้อภายในเป็นยังก็ไม่รู้อีก แค่เขียนๆ แล้วแปะอ้างอิง เป็นอันจบพิธีกลายเป็นข้อมูลที่สมบูรณ์บนวิกิพีเดียทันที --Sasakubo1717 (พูดคุย) 21:18, 9 พฤศจิกายน 2559 (ICT)
- @Pluto p: คุณคิดไม่เป็นเหตุเป็นผลเลย และไม่เข้าใจแนวทางสารานุกรมของวิกิพีเดียเลยครับ ข้อมูลส่วนที่คุณลบออก มี 4 ส่วนคือ
- 1. พระบรมฉายาลักษณ์ตอน คปค. เข้าเฝ้า ทั้งที่รูปนี้สัมพันธ์กับเนื้อหาบทความ และเผยแพร่ในสื่อทั่วไปอยู่แล้ว มันไม่เป็นกลาง ไม่เป็นสารานุกรมตรงไหน???
- 2. เรื่องระบอบพระมหากษัตริย์แบบเครือข่าย (Network monarchy) เป็นประเด็นเกี่ยวกับบทบาทของพระองค์ต่อการเมืองไทย ผู้เขียนคือ Duncan McCargo เป็นศาสตราจารย์ทางรัฐศาสตร์ อีกแหล่งมาจากดอยช์ เวเลย์ ผมจึงเห็นว่าทั้งข้อมูลและแหล่งที่มาเหล่านี้ควรรับฟัง
- 3. เป็นความเห็นที่เดอะนิวยอร์กไทมส์อ้างจากสุลักษณ์ ศิวรักษ์ เกี่ยวกับการที่ภาครัฐทุ่มเทเทิดทูนสถาบันฯ เพื่อตอบโต้กลุ่มผู้ต่อต้านสถาบันฯ
- 4. ผมยอมรับว่าส่วนนี้บกพร่องที่ในไม่วิกิไม่อธิบายรายละเอียดมากพอ (ว่า ทรัพย์สินส่วนนี้แทบไม่ต่างกับทรัพย์สินส่วนพระองค์ อย่างไร?) แต่ข้อมูลมีนัยสำคัญกับเรื่องพระราชทรัพย์ เนื้อหาบทความอธิบายเป็นวิชาการมาก สมควรรับฟัง
- โดยสรุปผมเห็นว่า ข้อมูลที่ถูกลบ ไม่ใช่ข้อมูลลอย ๆ แต่มีนัยะสำคัญต่อบทความ ผู้แสดงความเห็นและสื่อที่ลงความเห็นมีความเป็นวิชาการ ซึ่งอาจโต้แย้งได้โดยใช้แหล่งข้อมูลทางวิชาการอื่น ๆ คุณ Pluto p กับคุณ Sry85 ไม่ควรด่วนตัดสินว่าหาอะไรมาแย้งไม่ได้ (หามาเถอะครับ ภาครัฐและสื่อไทยเทิดทูนสถาบันฯ มากมาย ต้องมีข้อมูลโต้แย้งอยู่ แต่เมื่อยังหาไม่ได้) การนำข้อมูลเหล่านี้ออก ถือว่าขัดกับนโยบายวิกิพีเดียไม่เซ็นเซอร์ กับ มุมมองที่เป็นกลาง ครับ ที่คุณ Sry85 อ้างกรณีแอนนา ลีโอโนแวนส์ นั่น ดูให้ดี ๆ นะครับ ก็เพราะฝ่ายไทยมีข้อมูลที่มาที่ไปการเลิกทาสโต้แย้งอยู่ เราจึงรู้ว่าข้ออ้างของนางไม่ถูกต้องอย่างไร ครับ --พุทธามาตย์ (พูดคุย) 09:30, 10 พฤศจิกายน 2559 (ICT)
- ถูกจับได้เลยโกรธสินะคะ ได้ค่ะจะตอบให้ก็ได้ ดิฉันไม่เห็นมีการนำเสนอทั้ง 2 ด้านหรือเป็นกลางมากพอก็เลยลบออก ซึ่งขอเรียนตอบตามคำถามที่คุณสงสัย ดังนี้คือ
- 1.) ตอนนี้คุณบอกว่าข้อมูลที่ถูกลบไปมีนัยยะสำคัญต่อบทความ ไม่ได้มาลอยๆ เพราะมีบทความวิชาการสนับสนุน มันก็จริงของคุณ คุณบอกว่าให้ดิฉันหาบทความมาแย้งให้ได้ แทนที่จะลบออก ก็แล้วในเมื่อคุณต้องการจะเขียนเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้ ทำไมไม่หามาใส่ไว้ทั้ง 2 มุมมองเองล่ะคะ ให้คนอื่นตามมาแย้งเพื่ออะไร นักวิชาการสูงส่งของคุณพวกนั้นเขียนบทความสารพัดบรรดามีทุกวัน มันจะมีบทความมาแย้งทุกประเด็นเลยไหมคะ (อย่าตอบว่ามีนะคะ ไม่งั้นก็ลองไปหามาแย้งให้ได้ทั้งหมดทุกข้อ ทุกประโยค) คือสุดท้ายแล้วมันจะต่างอะไรกับการเขียนโดยสอดแทรกความรู้สึกส่วนตัวลงไป ก็แค่ยืมแหล่งข้อมูลอื่นมาเป็นเครื่องมือให้ตัวเองแค่นั้น ทำไมรู้สึกเหมือนเป็นกระทู้พันทิปต้องมาตามแก้ตามล้างกันให้ได้ทุกเม็ด
- 2.) คุณอ้างแต่ความดีงาม ความเป็นวิชาการ ความเป็นหลักการ ต่างๆนาๆ ของแหล่งอ้างอิงที่คุณยกมา เยอะจนดิฉันปวดหัว แล้วบอกว่าควรให้คนได้อ่านเพราะมันเขียนไว้เป็นวิชาการ แต่คุณรู้หรือเปล่า ว่าทุกคนที่อ่านหนังสือเป็น สามารถรู้ได้ทันทีว่าข้อความลำเอียง แค่นี้ก็เพียงพอแล้วที่จะบอกว่างานเขียนของคุณล้มเหลวแล้วหรือไม่
- 3.) ทั้งหมดทั้งมวลที่คุณกล่าวมาไม่ว่าจะยกความหนักแน่นของแหล่งอ้างอิง หรือชี้ชวนให้หาข้อมูลมาแย้งให้ได้ ทั้งหมดเพียงเพื่อจุดประสงค์เดียวที่ดิฉันยังคงยืนยันว่าคุณ จงใจปกป้องข้อมูลเหล่านั้นไว้ในนี้ แล้วก็ไม่ต้องมาสาธยายความดีงามของแหล่งอ้างอิงให้ฟังอีก พอสักที นักวิชาการพวกนั้น คุณรู้ได้อย่างไรว่างานเขียนของเขามีจุดประสงค์อะไรบ้าง (บางทีคุณรู้ดีที่สุด) สุดท้ายคุณน่าจะตอบคำถามที่ตัวเองตั้งไว้ได้ว่าทำไมดิฉันถึงต้องลบออก ไม่ต้องใช้ตรรกะ เหตุผลคิดวิเคราะห์สูงส่งอะไรเลย อ่านแล้วคนทุกคนก็ตอบได้ --Pluto p (พูดคุย)
- ดูจากสำนวนภาษาแล้ว คนอ่านก็รู้ครับว่าใครแน่ที่โกรธและไม่อยู่ในหลักการ ผมอุตส่าห์ให้คุณชี้แจง 4 ประเด็นที่คุณลบออก แต่ที่คุณพรรณนามาข้างบน คุณ (1) หักล้างความน่าเชื่อถือของเขาไม่ได้ (2) ปฏิเสธนัยะสำคัญต่อบทความไม่ได้ (3) หาข้อมูลมาแย้งประเด็นนั้นไม่ได้ (4) พร่ำบอกแต่ว่าเขาลำเอียง ๆ สรุปใครกันแน่มีอคติและล้มเหลวในการเขียนบทความวิชาการ ทั้งที่ในหลวง ร. 9 เคยตรัสเมื่อปี 2548 ว่า "สามารถวิจารณ์กษัตริย์ได้" แต่พสกนิกรบางคนกลับเป็นแบบนี้ ผมปกป้องทุกข้อมูลที่มาจากแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือครับ น่าเสียดายที่การรับฟังหลักวิชาการมันน่าปวดหัว สำหรับคุณ ผมจะนำข้อมูลบางส่วนที่คุณลบกลับมา และยังรอใครก็ตามลงข้อมูลวิชาการแย้งประเด็นเหล่านี้ครับ --พุทธามาตย์ (พูดคุย) 10:50, 10 พฤศจิกายน 2559 (ICT)
- ผมว่าแทนที่จะวิจารณ์ว่า คุณคนนี้ดูไม่มีเหตุไม่มีผล คนนี้ไม่เป็นวิชาการ อ้างอิงที่ว่าฟันธงว่าน่าเชื่อถือแล้ว เรามุ่งประเด็นไปที่รายละเอียดเนื้อหาที่คุณ Pluto p คัดมาก (ส่วนที่มีปัญหา) มาพิจารณาดีกว่ามั๊ยครับ ว่าพอจะตัดทอน หรือมันมีน้ำหนักกันขนาด ตอนนี้เหมือนพูด "ภาพรวม" จนไม่รู้การอภิปรายนี้จะไปจบลงตรงไหน แล้วก็ไม่ชัดเจนด้วย --Sry85 (พูดคุย) 12:08, 10 พฤศจิกายน 2559 (ICT)
- ผมชี้ประเด็นลงรายละเอียดไปบ้างในข้างต้นแล้วครับคุณ Sry85 แต่ผู้ลบเองก็ออกอาการอย่างที่เห็น ดังนั้น ผมจะนำเนื้อหาบางส่วนกลับมาก่อน เพราะเบื้องต้นผู้ลบยอมรับแล้วว่า ส่วนที่ลบนั้น "มีนัยยะสำคัญต่อบทความ ไม่ได้มาลอยๆ เพราะมีบทความวิชาการสนับสนุน" --พุทธามาตย์ (พูดคุย) 12:39, 10 พฤศจิกายน 2559 (ICT)
ทำไมต้องอภิปรายที่หน้าพูดคุยส่วนตัวด้วยครับ ไปตอบหน้าพูดคุยคนอื่น ไปกวนเจ้าของหน้ารึเปล่า แล้วพูดประเด็นเกี่ยวกับบทความตรง ๆ ก็ไม่มาคุยตรงนั้นเหรอครับ --Sry85 (พูดคุย) 17:11, 11 พฤศจิกายน 2559 (ICT)
- ผมเขียนว่า "อภิปรายประเด็นส่วนตัว" ก็หมายถึงเฉพาะประเด็นส่วนตัวครับ ไม่ได้ยุติการอภิปรายเรื่องภาพลักษณ์ ในส่วนเรื่องภาพลักษณ์ยังคงอภิปรายที่นี่ต่อครับ --พุทธามาตย์ (พูดคุย) 18:17, 11 พฤศจิกายน 2559 (ICT)
คำว่า "ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท"
[แก้]ประโยคที่ว่า คนในบังคับของพระองค์แทนตนว่า "ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท" (the dust under your feet) มันไม่ใช่ ที่ถูกต้องคือตัวคนพูดจะต้องแทนตนเรียกว่า "ข้าพระพุทธเจ้า" , "ปวงข้าพระพุทธเจ้า" , "เกล้ากระหม่อม (แทนตัวผู้พูดที่เป็นชาย)" , "เกล้ากระหม่อมฉัน (แทนตัวผู้พูดที่เป็นหญิง) เพราะในความเป็นจริงแล้วคำว่า "ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท" หรือ "ใต้ฝ่าพระบาท" ไม่ได้ใช้แทนตัวคนพูดหรือคนในบังคับ แต่หมายถึงตัวเจ้านายระดับสูง ตั้งแต่ชั้น หม่อมเจ้า, พระองค์เจ้า, ขึ้นไปจนถึงพระมหากษัตริย์ ตามพระอิสริยยศ ของแต่ละพระองค์ ต่างหาก พูดง่าย ๆ ก็คือว่า คำว่า "ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท" นั้น ไม่ได้แปลว่า คนในบังคับหรือตัวประชาชน แต่ที่ถูกต้องคือ คำนี้ ขอย้ำว่า หมายถึง ตัวพระมหากษัตริย์ต่างหาก ใช้เรียกองค์พระมหากษัตริย์ต่างหาก มีการอุปมาอุปมัยมาจากเรื่องเล่าของพระมหากษัตริย์องค์หนึ่งเมื่อเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าและทรงนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ อย่างสูง (ขออนุญาตไม่อ้างอิงแหล่งที่มา เพราะอาจสื่อสารผิดพลาดได้ แต่อย่างไรก็ดี สามารถหาอ่านได้ตามเว็บทั่วไป หรือ งานพระราชพิธีฉลอง 60 ปี ค่ะ) ขอขอบคุณเจ้าของบทความเป็นอย่างยิ่ง สำหรับการอ่านความคิดเห็นของดิฉัน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการพิจารณาค่ะ ขอบคุณค่ะ --Green--
คลาดเคลื่อนเรื่องกฎหมาย
[แก้]บทความนี้ยังคลาดเคลื่อน/ไม่ถูกต้องอยู่ตรงที่บอกว่า
"พระองค์ไม่ทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้กฏหมายแพ่งและพาณิชย์เพื่อเพิ่มโทษหมิ่นประมาทด้วยโฆษณา หรือเพิ่มค่าเสียหายให้สูงกว่าเดิมที่มีผู้เสนอในปี 2535 ที่กำหนดให้สื่อมวลชนที่ละเมิดต้องชดใช้ค่าเสียหายอย่างน้อย 4 ล้านบาท"
ที่ว่า คลาดเคลื่อน/ไม่ถูกต้อง เพราะ
- ในปี 2535 มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา เพิ่มโทษหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ซึ่งก็ลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้เป็นกฎหมาย คือ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2535
- ส่วนที่ว่า "กฏหมายแพ่งและพาณิชย์เพื่อเพิ่มโทษ" ไม่รู้หมายถึงกฎหมายใด อาจจะหมายถึง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่กฎหมายนี้ไม่ใช่กฎหมายอาญา ไม่มีเรื่องโทษ จึงไม่อาจเพิ่มโทษในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้เป็นแน่
- ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีเรื่องค่าสินไหมทดแทนกรณีละเมิด (ตั้งแต่มาตรา 420) ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับประโยคข้างต้น แต่ค่าสินไหมทดแทนก็ไม่ใช่โทษ
- ประโยคข้างต้นนั้นอาจหมายถึง ปี 2535 มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาโดยเพิ่มโทษหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ก็เลยมีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อกำหนดให้สื่อมวลชนที่กระทำละเมิดด้วยการหมิ่นประมาทต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนอย่างน้อย 4 ล้านบาท แต่ปรากฏว่า ไม่ลงพระปรมาภิไธยแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เรื่องนี้ อะไรทำนองนี้ก็ได้
--YURi (พูดคุย) 19:44, 17 พฤศจิกายน 2559 (ICT)
การเขียนอายุของในหลวง ร.9
[แก้]สิริพระชนมพรรษาปีที่ 89 สิริพระชนมพรรษา 88 พรรษา
http://www.nationtv.tv/main/content/social/378520372/
เพิ่มหมวดหมู่
[แก้]ขอให้เพิ่มหมวดหมู่:ผู้รอดชีวิตจากการลอบสังหาร ในบทความด้วยครับ เพราะพระองค์เกือบถูกลอบปลงพระชนม์ที่ จ.ยะลา พ.ศ. 2520 ครับ--1.46.14.33 14:41, 20 มีนาคม 2561 (ICT) สำเร็จ --Horus (พูดคุย) 16:30, 20 มีนาคม 2561 (ICT)
ไม่ควรเพิ่มครับ Weetaeza (คุย) 11:03, 18 กันยายน 2562 (+07)
- @Weetaeza: มีเหตุผลที่ไม่ควรเพิ่มหมวดหมู่หรือไม่ครับ --Geonuch (คุย) 12:06, 18 กันยายน 2562 (+07)
ชื่อบทความ
[แก้]- การอภิปรายด้านล่างนี้ปิดแล้ว โปรดอย่าแก้ไข หากต้องการออกความเห็นภายหลัง ควรใช้ส่วนใหม่
ขอเสนอให้เปลี่ยนชื่อบทความนี้กลับเป็น "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" เพราะชื่อบทความเกี่ยวกับกษัตริย์ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนตามรัชกาล ดูอย่างบทความรัชกาลที่ 7 ที่พอสละราชสมบัติแล้วก็ใช้ยศเจ้าฟ้า แต่พอสวรรคตก็กลับมาเรียก "พระบาทสมเด็จพระ..." อย่างเดิม ถ้าจะใช้พระนามหลังจากพิธีบรมราชาภิเษกก็ได้แต่ให้เปลี่ยนทางแทนครับ --Wedjet (คุย) 03:20, 6 พฤษภาคม 2562 (ICT)
- ไม่ค่อยแน่ใจว่าชื่อบทความควรจะเป็นแบบเดิมหรือใหม่ อาจจะต้องรอมติจากการอภิปรายนี้ แต่ในระหว่างที่ยังไม่มีข้อตกลง หรือเพื่อป้องกันการปลี่ยนไปมา ขอเสนอให้เปลี่ยนชื่อบทความที่อ้างถึงพระองค์ โดยใส่แทนที่พระนามว่า "รัชกาลที่ 9" ไว้ชั่วคราวก่อน หรือจะตลอดไปก็ได้ เช่น พระราชพิธีทรงผนวชในรัชกาลที่ 9 -- Mda (คุย) 04:00, 6 พฤษภาคม 2562 (ICT)
- เห็นด้วย - เห็นควรให้ใช้ "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" ครับ ส่วนเนื้อหาก็ให้ปูขึ้นด้วยพระนามนี้ แล้วหมายเหตุไว้ว่า หรือพระนามที่ได้รับเฉลิมใหม่หลังสวรรคตคือ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรฯลฯ--Setawut (คุย) 02:59, 7 พฤษภาคม 2562 (ICT)
- เห็นด้วย - เห็นควรกับข้อเสนอของคุณ Setawut ครับ -- Mda (คุย) 21:15, 7 พฤษภาคม 2562 (ICT)
- เพิ่งเห็น พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย คำอ่าน และสรรพนาม คำขึ้นต้น คำลงท้าย ในการกราบบังคมทูล กราบทูล หน้า 1 ระบุพระปรมาภิไธยแบบย่อว่า พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงเห็นว่าบทความนี้ควรใช้ตามแบบย่อนี้ ส่วนบทความอื่น ๆ (คือพระราชพิธีต่าง ๆ) ที่เกี่ยวเนื่องกับพระองค์ ควรใช้พระอิสริยยศในขณะนั้น หรือระบุรัชกาล หรือระบุปี พ.ศ. แล้วแต่เหมาะสมครับ --พุทธามาตย์ (คุย) 14:24, 11 พฤษภาคม 2562 (ICT)
- เห็นด้วย - เห็นควรกับข้อเสนอของคุณ Setawut ครับ -- Mda (คุย) 21:15, 7 พฤษภาคม 2562 (ICT)
- ส่วนตัวมองว่าใช้ชื่อบทความ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร แบบนี้ดีแล้วครับ ใช้วิธีการเดียวกันกับบทความของรัชกาลที่ 8 ซึ่งปัจจุบันวิกิพีเดียใช้ชื่อบทความว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร โดยพระนามนี้เป็นพระนามที่รัชกาลที่ 9 ทรงโปรดเกล้าฯให้ถวาย เมื่อ พ.ศ. 2539 (http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2539/B/011/1.PDF) --Famefill (คุย) 22:34, 12 พฤษภาคม 2562 (ICT)
- สรุปตอนนี้มีอยู่สองทางเลือก คือ
- 1. ใช้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กรณีนี้ต้องเปลี่ยนชื่อบทความร.8 เป็น พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล โดยตัด "พระอัฐมรามาธิบดินทร" ออก
- 2. ใช้ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร กรณีนี้ไม่ต้องไปยุ่งกับชื่อบทความ ร.8
- สองทางนี้ ผมโอเคหมด --Setawut (คุย) 15:14, 18 พฤษภาคม 2562 (ICT)
- การอภิปรายด้านบนนี้รักษาไว้เป็นกรุ โปรดอย่าแก้ไข หากต้องการออกความเห็นภายหลัง ควรใช้ส่วนใหม่
Image
[แก้]อยากให้บทความกำหนดภาพในกล่องข้อมูลไว้ภาพเดียวเลย จึงขอปรึกษาว่าภาพใดดีที่สุดครับ (จะได้ไม่ต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาทีหลังอีก) --Wedjet (คุย) 17:04, 7 สิงหาคม 2562 (ICT)
- File:Anefo 911-6993 Aankomst Koning (cropped).jpg
- รูปนี้ครับ--Sir.B.T. (cn.Dr.Man) (คุย) 15:38, 22 เมษายน 2563 (+07)
- ขออธิบายเหตุผลด้วยนะครับ ว่าที่เลือกรูปตอนหนุ่มไม่ใช่ตอนล่าสุดเพราะอะไร จะได้มาคุยข้อดีข้อเสียหรือความเหมาะสมกัน --Horus (พูดคุย) 15:40, 22 เมษายน 2563 (+07)
- ในบทความสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ก็ใช้พระฉายาลักษณ์ของพระองค์สมัยสาวในกล่องข้อมูลครับ ร.9 ก็เลยให้ใช้พระบรมฉายาลักษณ์ตอนท่านสมัยหนุ่มๆ ไปเลย เพราะมันจะได้เป็นมาตรฐานเดียวกันไป แล้ววิกิพีเดียภาษาอังกฤษก็ใช้พระบรมฉายาลักษณ์ตามข้างต้นในกล่องข้อมูลครับ (ถ้าอธิบายไม่เข้าใจหรือใช้คำผิดอย่างไรขออภัยด้วยครับ ผมให้เหตุผลได้เท่านี้) :)--Sir.B.T. (cn.Dr.Man) (คุย) 15:48, 22 เมษายน 2563 (+07)
ใช่ครับเห็นด้วยให้รูปท่านตอนหนุ่มๆไปเลยเพราะทรงพระสิริโฉมมาก และจะได้สมกับเป็นน้องของร.8อีกอย่างคือเข้าใช้กันหมดเลยครับ Phudis Sornsetthee (คุย) 15:08, 29 กรกฎาคม 2564 (+07)
คำขอแก้ไขกึ่งป้องกัน เมื่อ 22 เมษายน 2563
[แก้]มีการตอบคำขอแก้ไขนี้แล้ว ตั้งตัวแปรเสริม |answered= หรือ |ans= เป็น no เพื่อเริ่มคำขออีกรอบ |
พระราชวงศ์ไทยก่อนหน้านั้น Emblem of the House of Chakri พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าศรีศรัศมิ์ พระวรชายา(2548-2557) พระเจ้าวรวงศ์เธอฯ พระวรชายาทิณดามาต พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าสิริวัฒนวรีนารีรัตน์ พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าทีปังกร รัศมีโชติ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ยาทรเกียรติคุณ ท่านผู้หญิงพลอยไพลิน เจนเซน ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า ดคก 183.89.37.160 16:38, 22 เมษายน 2563 (+07)
- เท่าที่ดูเหมือนเนื้อหาในแม่แบบพระราชวงศ์ไทย แต่ตอนนี้ก็ไม่เห็นมีในบทความแล้ว จะให้ทำอะไรหรือ --Horus (พูดคุย) 19:16, 22 เมษายน 2563 (+07)
ในส่วนที่ต้องการอ้างอิงเพิ่มเติม
[แก้]พระราชดำรัสของสมเด็จพระพันปี ครับ
- //youtu.be/U72riBMf2gc
--นิราราศน์ นิราราศน์ (คุย) 14:05, 13 มิถุนายน 2564 (+07)
เปลี่ยนพระบรมฉายาลักษณ์(รูปภาพ) รัชกาลที่9
[แก้]มีการตอบคำขอแก้ไขนี้แล้ว ตั้งตัวแปรเสริม |answered= หรือ |ans= เป็น no เพื่อเริ่มคำขออีกรอบ |
ขอความกรุณาเปลี่ยนภาพของร.9เป็นภาพนี้ด้วยครับhttps://pin.it/3Fj632P Phudis Sornsetthee (คุย) 18:44, 20 กรกฎาคม 2564 (+07)
Phudis Sornsetthee Phudis Sornsetthee (คุย) 21:37, 20 กรกฎาคม 2564 (+07)
- @Phudis Sornsetthee:
- ที่วิกิพีเดียใช้ภาพจากวิกิมีเดียคอมมอนส์ ไม่ได้ใช้จากพินเทอเรสต์ครับ
- โดยทั่วไปแล้วภาพที่ใช้ในบทความเกี่ยวกับบุคคลของวิกิพีเดียมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงรูปพรรณของบุคคล หากเป็นการใช้เพื่ออธิบายทั่วไปก็ไม่เกี่ยวกับว่าจะใช้ภาพวัยไหน สำหรับรายละเอียดอื่นดูเพิ่มเติมที่ วิกิพีเดีย:นโยบายการใช้ภาพ
- โปรดแจ้งเรื่องที่เดียว อย่าแจ้งหลายที่หรือในหน้าที่ไม่เกี่ยวข้องครับ
- ผู้ดูแลระบบไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่ของโครงการวิกิพีเดียและไม่ได้มีภาระงานในการเปลี่ยนรูปครับ
- --Geonuch (คุย) 07:24, 21 กรกฎาคม 2564 (+07)
- @Phudis Sornsetthee:
- @Phudis Sornsetthee: อยากรู้ว่าทำไมอยากให้เปลี่ยนรูปตอนแก่คะ ทั้งที่เป็นรูปล่าสุดที่มีก่อนเขาตาย ซึ่งแสดงถึงความเป็นปัจจุบันที่สุดของข้อมูลแล้ว --Miwako Sato (คุย) 18:06, 29 กรกฎาคม 2564 (+07)